เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หาริตี

ดัชนี หาริตี

หารีตี (Hārītī) เป็นยักขินีในเมืองเปศวาร์และในเทพปกรฌัมทางภูมิภาคต้าเซี่ยซึ่งมีที่มาจากเทวีสวัสวดีในวัฒนธรรมฮินดู แต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงตรงที่นางหารีตีเป็นปอบกินคน นางมีบุตรนับร้อยและรักบุตรเป็นอันมาก แต่จับบุตรของผู้อื่นมาเป็นภักษาหารให้แก่บุตรนาง ครั้นพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่แว่นแคว้นดังกล่าวจากทางแม่น้ำสินธุ ก็เกิดเรื่องเล่าใหม่ว่า สตรีผู้หนึ่งซึ่งบุตรถูกนางหาริตีลักไปได้วอนขอให้พระโคตมพุทธเจ้าทรงช่วยปกป้องบุตรนางด้วย พระองค์จึงทรงลักพาไอชี (Aiji) บุตรสุดท้องของนางหารีตีไปซ่อนไว้ได้บาตร นางหารีตีออกตามหาบุตรไปทั่วท้องจักรวาลแต่ก็ไม่พบ ที่สุด นางจึงมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า นางเองบุตรหายไปหนึ่งเวลายังเป็นทุกข์ร้อนถึงเพียงนี้ แล้วบิดามารดาผู้อื่นซึ่งบุตรถูกนางลักไปฆ่ากินนั้นจนล่วงลับตลอดไปนั้นจะไม่ร้อนรนเป็นร้อยเท่าพันเท่าหรือ นางหารีตีเมื่อเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานใจของบิดามารดาผู้อื่น จึงปวารณาตัวเป็นผู้คุ้มครองเด็กและเป็นอุบาสิกา ทั้งหันไปบริโภคผลมณีพืชแทนเนื้อเด็ก ภายหลัง นางกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการพิทักษ์รักษาเด็ก การคลอดง่าย การเลี้ยงดูอุ้มชูเด็กอย่างมีความสุข ชีวิตคู่ผัวตัวเมียสุขสันต์ปรองดอง และชีวิตครอบครัวร่มเย็นมั่นคง นางหาริตียังคุ้มครองพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และสตรีไร้บุตรยังมักกราบไหว้นางหาริตีเพื่อขอบุตรด้วย กล่าวได้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนามาถึงดินแดนเปศวาร์แล้ว นางหาริตีก็เปลี่ยนจากยักขินีตามวัฒนธรรมเปอร์เซียดั้งเดิมไปเป็นผู้อภิบาลพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกับที่ในช่วงต้นพระพุทธศาสนาใช้กลืนลัทธิวิญญาณนิยม ต่อมา วัฒนธรรมเกี่ยวกับนางหาริตีก็แพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเช่นญี่ปุ่น และหาริตีในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเรียก "คิชิโมะจิง" หรือ "คิชิโบะจิง".

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: พระโคตมพุทธเจ้าพิพิธภัณฑ์บริติชกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ยุคคะมะกุระวิญญาณนิยมสัทธรรมปุณฑรีกสูตรทับทิมแม่น้ำสินธุเปศวาร์

  2. รากษส
  3. เทพธิดาในศาสนาพุทธ
  4. เทวีจีน

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ดู หาริตีและพระโคตมพุทธเจ้า

พิพิธภัณฑ์บริติช

้านหน้าของ '''บริติช มิวเซียม''' ใจกลางของพิพิธภัณฑ์มีการรื้อพัฒนาใหม่ใน ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ให้เป็นมหาราชสำนักของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ล้อมรอบห้องอ่านหนังสือเดิม ห้องสมุดอันโด่งดังภายในบริติชมิวเซียม บริติชมิวเซียม หรือที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมนุษยที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.

ดู หาริตีและพิพิธภัณฑ์บริติช

กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์

“กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ (Cornucopia หรือ Horn of plenty; Cornu Copiae) เป็นสัญลักษณ์ของอาหารและความอุดมสมบูรณ์ที่ใช้กันมาราวห้าร้อยปีก่อนคริสต์ศักราชบางครั้งก็เรียกว่า “กรวยแห่งอมาลเธีย” (Horn of Amalthea) หรือ “กรวยแห่งการเก็บเกี่ยว” (Harvest cone) “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” พบบ่อยในงานศิลปะทุกแขนงมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมันในการใช้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และการให้กำเนิด ในตำนานเทพเจ้ากรีกเทพีอมาลเธีย (Amalthea) เป็นแพะผู้เลี้ยงดูซูสด้วยน้ำนมของตนเอง เมื่อเขาของอมาลเธียหักด้วยอุบัติเหตุโดยซูสขณะที่กำลังเล่นกันซึ่งทำให้อมาลเธียกลายเป็นยูนิคอร์น เทพซูสผู้รู้สึกผิดก็คืนเขาให้ เขานั้นจึงมีอำนาจเหนือธรรมชาติที่จุสิ่งใดก็ได้ที่ผู้เป็นเจ้าของต้องการ ภาพดั้งเดิมเป็นภาพเขาแพะที่เต็มไปด้วยผลไม้และดอกไม้ เทพเช่นเทพีฟอร์ชูนา (Fortuna) บางภาพจะถือกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ กรวยก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของการให้กำเนิด อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าเทพีอมาลเธียอาจจะเป็นนิมฟ์ที่ถูกขอให้มาเลี้ยงซูสเมื่อถูกซ่อนตัวจากโครเนิส อมาลเธียก็นำซูสไปซ่อนไว้ที่เขาไอไกออน (Mount Aigaion) ที่แปลว่าภูเขาแพะ ซึ่งอาจจะหมายความว่าอมาลเธียเป็นนิมฟ์ที่เป็นแพะหรือเป็นนิมฟ์ที่ดูและแพะก็ได้ ฉะนั้นเขาที่หักอาจจะเป็นเขาของอมาลเธียหรือเขาของแพะของอมาลเธียที่หักขณะที่เล่นกับซูสก็ได้ เพื่อเป็นการตอบแทนเทพซูสจึงสร้าง “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าอมาลเธียเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของกลุ่มดาวแพะทะเล การสร้างงานศิลปะในสมัยใหม่ของ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” มักจะเป็นกรวยที่สานด้วยหวายที่มีรูปร่างเหมือนเขาแพะที่บรรจุด้วยสิ่งต่างสำหรับฉลองเช่นผลไม้และผัก ในทวีปอเมริกาเหนือ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” กลายมามีความสัมพันธ์กับเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้าและการเก็บเกี่ยว ในรัฐบริติชโคลัมเบีย “Cornucopia” เป็นชื่อของเทศกาลไวน์และอาหารประจำปีที่ฉลองกันที่วิสเลอร์ นอกจากนั้นสัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฏในธงและตราของรัฐไอดาโฮ, รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐนิวเจอร์ซีย์ และในตราของประเทศโคลอมเบีย, ประเทศเปรู และประเทศเวเนซุเอลา “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” ใช้ในเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์ของการมีบุตร, โชค และความอุดมสมบูรณ์ ผู้นับถือคริสต์ศาสนาบางกลุ่มก็กล่าวเตือนไม่ให้ใช้สัญลักษณ์ที่ว่านี้เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้าย และเปรียบเทียบกับ “เขา” ที่บรรยายในพระคัมภีร์ที่หมายถึงพระเยซูเท็จ (Antichrist).

ดู หาริตีและกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์

ยุคคะมะกุระ

มะกุระ หรือ อ่านแบบไทย คะมะกุระ ตรงกับปีค.ศ. 1185-ค.ศ. 1333 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะกุระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคะมะกุระ ส่วนจักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง ในยุคคะมะกุระญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของ กุบไลข่าน ในสมัย ราชวงศ์หยวน ซึ่งโดนโจมตีครั้งแรกในปี..

ดู หาริตีและยุคคะมะกุระ

วิญญาณนิยม

วิญญาณนิยม (จาก ภาษาลาติน anima, "ลมหายใจ, วิญญาณ, ชีวิต") คือ ความเชื่อทางศาสนาที่ว่า วัตถุสิ่งของ สถานที่ หรือ สัตว์ทั้งหลาย ต่างมีสารัตถะทางจิตวิญญาณ (spiritual essence) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าสรรพวัตถุและสรรพสัตว์ (ซึ่งรวมถึง ต้นไม้ ก้อนหิน ลำธาร สภาพอากาศ งานหัตถกรรมของมนุษย์ และแม้แต่คำพูด) ล้วนแต่มีวิญญาณ มีชีวิต และ/หรือมีเจตจำนง (agency) เป็นของตัวเอง ลัทธิวิญญาณนิยมเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีอยู่ก่อนศาสนาจัดตั้งทุกรูปแบบ และถือกันว่าเป็นมุมมอง/ทัศนคติทางจิตวิญาณ หรือของความเชื่อเหนือธรรมมชาติอย่างแรกที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งพบหลักฐานเกี่ยวกับความเชื่อนี้ย้อนหลังไปถึงยุคหินเก่า ซึ่งเป็นสมัยมนุษย์ยังท่องเที่ยวไปตามพื้นที่ต่างๆเพื่อล่าสัตว์ หรือเก็บรวมรวบของป่า และสื่อสารกับจิตวิญญาณของธรรมชาติ ในแง่นี้ความเชื่อแบบศาสนาเชมัน (shaman) หรือลัทธิที่นับถือพ่อมดหมอผีว่าเป็นผู้ที่สื่อสารกับธรรมชาติได้ จึงมีความเกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม ในวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยศาสนาวิญญาณนิยม เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อสื่อถึงระบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง โดยเฉพาะเวลาที่นำไปเปรียบเทียบกับระบบความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือศาสนาจัดตั้งที่เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากแต่ละวัฒนธรรมจะมีตำนานความเชื่อ นิทานเทพปกรณัม และพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป แนวคิด "วิญญาณนิยม" จึงใช้สื่อถึงสายใยความต่อเนื่องในระดับรากฐานของทัศนคติทางจิตวิญญาณ หรือในเรื่องเหนือธรรมชาติของชนพื้นเมือง ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากความคิดความเชื่อ หรือคำสอนของลัทธิที่มาจากภายนอก จนถึงขนาดว่าบางครั้งทัศนคติทางวิญญาณดังกล่าวอาจจะฝังรากลึกลงไปในระบบความเชื่อของชนพื้นเมืองนั้นมาแต่ปฐมกาล จนทำให้ชนพื้นเมืองดังกล่าวไม่มีคำที่ใช้เรียกระบบความเชื่อนั้นในภาษาของตน.

ดู หาริตีและวิญญาณนิยม

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ดู หาริตีและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ทับทิม

ทับทิม อาจหมายถึง.

ดู หาริตีและทับทิม

แม่น้ำสินธุ

วเทียมแม่น้ำสินธุ แม่น้ำสินธุ (Indus River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในปากีสถาน และเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 21 ในแง่ของการไหลผ่านประจำปี มักถูกพูดว่าเป็นเส้นชีวิตของชาวปากีสถาน ต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่บริเวณที่ราบสูงทิเบต ใกล้กับทะเลสาบมานาซาโรวาร์ ความยาวรวมของแม่น้ำมีความยาว 3,180 กิโลเมตร (1,976 ไมล์) และมีการไหลของน้ำมากกว่า 1,165,000 ตร.กม.

ดู หาริตีและแม่น้ำสินธุ

เปศวาร์

ปศวาร์ (Peshawar) เป็นเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปากีสถาน มีพิพิธภัณฑ์ แหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนา ชื่อเดิมคือเมืองปุรุษปุระ เคยเป็นที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกในสมัย พระเจ้ากนิษกะ ราชวงศ์กุษาณ.

ดู หาริตีและเปศวาร์

ดูเพิ่มเติม

รากษส

เทพธิดาในศาสนาพุทธ

เทวีจีน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ KishibojinKishimojinคิชิโมะจิงนางยักษ์หาริตี