เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ขงจื๊อ

ดัชนี ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

สารบัญ

  1. 18 ความสัมพันธ์: การยิงธนูมณฑลชานตงม่อจื๊อราชวงศ์ถังลัทธิขงจื๊อหลุน-อฺวี่อี้จิงจวนซุน ซือจ้ง โหยวดนตรีคณิตศาสตร์ซุนจื๊อประวัติศาสตร์ประเทศจีนปรัชญาโบราณเม่งจื๊อเหยียน หุย8 กันยายน

  2. ทฤษฎีการศึกษา
  3. บุคคลที่เกิด 551 ปีก่อนคริสตกาล
  4. บุคคลที่เสียชีวิต 479 ปีก่อนคริสตกาล
  5. ลัทธิขงจื๊อ
  6. ศาสดา

การยิงธนู

การยิงธนูของชาวทิเบต การยิงธนู (archery) เป็นศิลปะการใช้อาวุธประเภทใช้ยิงจากที่ไกล มักใช้กันในสงครามหรือการสู้รบต่างๆ ประกอบด้วยคันธนู (bow) ซึ่งมีไว้เสียบลูกศร (arrow) ที่ปลายเป็นเหล็กแหลม คันธนูจะมีรูปร่างโค้งและขึงด้วยสายธนู (bow string) ในการยิงธนูจะเริ่มจากการเอาลูกศรมาเสียบไว้ข้างคันธนูกับสายธนู จากนั้นก็จะดึงสายธนูให้ตึงเพื่อสะสมพลังงาน เมื่อปล่อยสายธนู พลังงานที่สะสมในคันธนูจะทำให้ลูกธนูพุ่งไปข้างหน้า ความไกลและความแรงขึ้นอยู่กับผู้ยิง ธนูมีหลายแบบเช่น ธนูอาบยาพิษเป็นต้น ปัจจุบันธนูได้พัฒนาเป็นเกมกีฬาในกีฬายิงธนูไป.

ดู ขงจื๊อและการยิงธนู

มณฑลชานตง

มณฑลชานตง ใช้ตัวย่อว่า 鲁 (หลู่) ที่มาของชื่อมณฑลชานตงมาจากคำว่า ชาน (山, shān) ที่หมายถึงภูเขา และคำว่า ตง (东, dōng) ที่หมายถึงทิศตะวันออก มณฑลชานตงมีเมืองหลวง (เมืองใหญ่สุด) คือเมืองจี๋หนาน มณฑลนี้มีเนื้อที่ 156,700 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 20 ของจีน) แต่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีน คือประมาณ 91,800,000 คน (2004) มีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 586 คนต่อตารางกิโลเมตร นับเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 5 ของจีน ตัวเลข GDP รวมในปี..

ดู ขงจื๊อและมณฑลชานตง

ม่อจื๊อ

ม่อจื๊อ (พ.ศ. 74-พ.ศ. 153) เป็นนักปรัชญาชาวจีน นับได้ว่าเป็นคู่แข่งผู้หนึ่งของขงจื๊อ หลักคำสอนของม่อจื๊ออยู่ในหนังสือที่มีชื่อเดียวกับชื่อของเขา คือ ม่อจื๊อ ประกอบด้วยข้อเขียน 53 บท เป็นทั้งข้อเขียนของเขาเองและที่สานุศิษย์ช่วยกันเรียบเรียงต่อเติม และมามีอิทธิพลเหนือชาวจีนหลังจากที่เขาตายไปแล้วประมาณ 500 ปี ม่อจื๊อ มีชื่อจริงว่า มั่ว ตี๋ (墨翟) สถานที่เกิดไม่แน่นอน บ้างก็ว่ามาจากแคว้นสุ้ง (ปัจจุบันอยูระหว่างมณฑลเหอหนานและมณฑลซานตง) บ้างก็ว่ามาจากแคว้นเดียวกับขงจื๊อ คือมาจากแคว้นหลู่ แนวความคิดของม่อจื๊อเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อแนวความคิดของขงจื๊ออย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าความต้องการที่เหมือนกันคือ เพื่อปรับปรุงให้สังคมดีขึ้น แต่ม่อจื๊อไม่นิยมวิธีการของขงจื๊อ โดยโจมตีว่า "เป็นวิธีการที่ไม่ได้ผลและเสียเวลา" ม่อจื๊อเน้นถึง ประโยชน์และความใช้ได้ของขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าจะต้องยึดถือตามขงจื๊อทั้งหมด เชื่อในความเป็นไปของโลกหน้า สนับสนุนให้มนุษย์มีความรักซึ่งกันและกัน เขาเชื่อว่าความรักโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ ชนชั้น หรือความยากดีมีจน ประณามการทำสงคราม ความแตกต่างระหว่างแนวความคิดของขงจื๊อกับม่อจื๊อนี้ ทำให้ขงจื๊อได้รับขนานนามว่า "เป็นนักประมวลขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีมาใช้" แต่ม่อจื๊อเป็น "นักวิจารณ์ นักติชม" นอกจากนี้ม่อจื๊อยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำความรู้ทางด้านตรรกวิทยาเข้ามาใช้ในจีนเป็นคนแรก เกี่ยวกับตำแหน่งผู้ปกครองม่อจื๊อมีความเห็นว่า "ผู้ปกครองควรได้ตำแหน่งเพราะความดีและความสามารถส่วนตัวมากกว่าได้มาโดยการสืบตำแหน่ง ถ้าผู้ปกครองไม่มีความสามารถก็ควรจะยกตำแหน่งนี้ให้ที่ปรึกษาจะดีกว่า".

ดู ขงจื๊อและม่อจื๊อ

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ดู ขงจื๊อและราชวงศ์ถัง

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ดู ขงจื๊อและลัทธิขงจื๊อ

หลุน-อฺวี่

หลุน-อฺวี่ หลุน-อฺวี่> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/002/1.PDF --> (论语; Analects) แปลว่า "ปกิณกคดี" เป็นคัมภีร์พื้นฐานของสำนักปรัชญาขงจื่อ เป็นคัมภีร์รวมบทสนทนาที่เหล่าศิษย์สำนักขงจื่อได้รวบรวมขึ้นหลังมรณกรรมของขงจื่อ หลุน-อฺวี่ ฉบับปัจจุบันแบ่งออกเป็น 20 เล่ม (แต่ละเล่มแบ่งออกเป็นบทย่อย ๆ หลายบท) ชื่อของแต่ละเล่มเรียกตามอักษรสองหรือสามตัวเแรกของบทที่หนึ่งในเล่มนั้น ๆ มิได้เป็นการตั้งชื่อเล่มเพื่อสื่อความหมายแต่อย่างใด ข้อความส่วนมากในหลุน-อฺวี่ เป็นบันทึกการสนทนาระหว่างขงจื่อกับบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกศิษย์ เจ้าเมือง ขุนนาง ผู้หลีกลี้สังคม นายด่าน หรือกระทั่งคนบ้า โดยขงจื่อมีบทบาทเป็นผู้สนทนาหลักซึ่งถ่ายทอดความคิดหรือคำสอนให้กับคู่สนทนา (มีอยู่ไม่กี่บทเท่านั้นที่ผู้สนทนาหลักไม่ใช่ขงจื่อ แต่เป็นศิษย์ซึ่งภายหลังได้รับยกย่องให้เป็นอาจารย์ในสำนัก เช่น เจิงจื่อ (曾子) กับ โหยวจื่อ (有子).

ดู ขงจื๊อและหลุน-อฺวี่

อี้จิง

อี้จิง อี้จิง คือวิชาที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง จากมีเป็นไม่มี ไม่มีเป็นมี บวกกลายเป็นลบ ลบกลายเป็นบวก จึงมีการแทนสิ่งเหล่านี้ด้วยเส้นเต็มและเส้นขาดสองแบบ เมื่อนำมารวมกันหกเส้นหรือฉักลักษณ์ (ฉักก.

ดู ขงจื๊อและอี้จิง

จวนซุน ซือ

วนซุนซือ แซ่จวนซุน นามว่าซือ (จีน: 颛孙师; Pinyin: Zhuānsūn Shī) หรือ จื่อจัง (จีน: 子张; Pinyin: Zīzhāng) คนรัฐเฉิน (陈国人) สมัยยุคปลายชุนชิว (春秋末年) จวนซุนซือ เป็น 1 ใน 72 ลูกศิษย์เอกของขงจื่อ มีอายุอ่อนกว่าขงจื่อ 48 ปี เป็นคนมีความสามารถสูง ตรงไปตรงมา ขงจื่อจึงวิจารณ์ว่า “จื่อจังนั้นมากเกิน ส่วนจื่อเซี่ยนั้นก็หย่อนเกิน” นอกจากจะรักการเรียนแล้ว จื่อจังยังมักจะตั้งคำถามไต่ถามขงจื่อเสมอ และทุกครั้งที่ขงจื่อตอบคำถามของจื่อจัง จื่อจังก็จะจดบันทึกอย่างตั้งใจ ซึ่งในคัมภีร์หลุนอีว์ (论语) ปรากฏคำถามของจื่อจัง คำตอบของขงจื่อ และบทสนทนาระหว่างขงจื่อ กับจื่อจัง ดังนี้.

ดู ขงจื๊อและจวนซุน ซือ

จ้ง โหยว

้งโหยว (จีน: 仲由; Pinyin: Zhòngyóu)หรือ จื่อลู่ (จีน: 子路; Pinyin: Zǐ Lù)ชาวรัฐหลู่(鲁国人)เป็นศิษย์ที่มีอายุอ่อนกว่าขงจื่อ 9 ปี อุปนิสัยห้าวหาญ อารมณ์ร้อน เป็นคนโผงผาง หุนหันพลันแล่น สุวรรณา สถาอานันท.

ดู ขงจื๊อและจ้ง โหยว

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ดู ขงจื๊อและดนตรี

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity.

ดู ขงจื๊อและคณิตศาสตร์

ซุนจื๊อ

ซุนจื๊อ ซุนจื๊อ ราวปี 312–230 ก่อนคริสตกาล เป็นนักปรัชญาชาวจีน เป็นสานุศิษย์ของขงจื๊อเช่นเดียวกับเม่งจื๊อ เขาเป็นคนเมืองเชาซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลหูเป่ย กับมณฑลซันซี มีชื่อว่ากวง แต่เป็นที่รู้จักในชื่อ ซุน ชิง (Hsun Ching) พออายุได้ 50 ปี เดินทางไปศึกษาที่รัฐชี เขาบันทึกแนวคิดของเขาเป็นความยาว 32 บท แนวคิดของเขาที่ปรากฏในหนังสือชื่อ ซุนจื๊อ เห็นว่า "ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ชั่วร้าย ซึ่งเกิดจากอารมณ์มีความต้องการอยากที่จะได้ เพื่อที่จะขจัดความชั่วร้าย มนุษย์จะต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบแห่งข้อบังคับของสังคม ความดีงามและการศึกษาก็มีส่วนช่วยทำให้มนุษย์เป็นคนดีได้เช่นกัน" แนวคิดของเขาตรงกันข้ามกับเม่งจื๊อ โดยถ้าเปรียบเทียบเม่งจื๊อเป็นขาว ซุนจื๊อก็เป็นดำ นอกจากนี้เขายังปฏิเสธสิ่งที่เหลือเชื่อ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ด้วยหลักเหตุและผล จัดได้ว่าเขาเป็นผู้ยกย่องความเป็นเหตุเป็นผลด้วยผู้หนึ่ง.

ดู ขงจื๊อและซุนจื๊อ

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ดู ขงจื๊อและประวัติศาสตร์

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ดู ขงจื๊อและประเทศจีน

ปรัชญาโบราณ

ปรัชญาโบราณเป็นการศึกษาแนวคิดทางปรัชญาโดยอิงอยู่กับช่วงสมัยในประวัติศาสตร์ เช่น เกิดขึ้นมาในตอนไหน ก่อนหน้าช่วงเวลานั้นความคิดทางปรัชญาปรากฏอยู่เป็นอย่างไร ในสมัยที่แนวคิดทางปรัชญาหนึ่งๆ ปรากฏตัวขึ้นนั้นมีแนวคิดใดอีกบ้างที่ปรากฏอยู่ แนวคิดเหล่านั้นได้สนทนาโต้ตอบกันหรือไม่ อย่างไร และหลังจากนั้นเกิดอะไรกับทัศนะทางปรัชญาที่มีต่อมาขนาดไหน อย่างไรบ้าง หมวดหมู่:ปรัชญาโบราณ ro:Filosofia antică greco-romană.

ดู ขงจื๊อและปรัชญาโบราณ

เม่งจื๊อ

ม่งจื๊อ เม่งจื๊อ หรือในทางตะวันตกรู้จักในชื่อ เมนเชียส (Mencius) ปีเกิดที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือประมาณ 372 - 289 ก่อนคริสตกาล หรืออาจราว 385 - 303/302 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญาชาวจีน เป็นคนเมืองจูทางตอนใต้ของมณฑลชานตง เม่งจื๊อได้รับถ่ายทอดแนวความคิดของขงจื๊อมาจากหลานชายของขงจื๊อเอง จึงถือว่าเป็นลูกศิษย์ของขงจื๊อคนหนึ่ง เม่งจื๊อชอบเดินทางออกสั่งสอนหลักความคิดของเขาและก่อนที่เขาจะลาออกจากราชการ เขาแต่งหนังสือขึ้นรวม 7 เล่ม เป็นบันทึกคำสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเขา มีการรวมรวบเข้าเป็น 4 เล่มใหญ่ และได้กลายเป็นรากฐานการศึกษาหลักปรัชญาของเม่งจื๊อในเวลาต่อมา แนวคิดของเม่งจื๊อ กล่าวว่า "โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนมีพื้นฐานเป็นคนดีมาแต่กำเนิด แต่สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่าง ๆ ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงไป" เม่งจื๊อเชื่อว่า ความดีทั้งหมดสามารถต่อเติมให้กับมนุษย์ได้ด้วยการศึกษาศิลปะวิทยาการต่าง ๆ การศึกษาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากประชาชนเป็นผู้กระทำ แต่เกิดจากบรรดาผู้ปกครองที่ไม่มีการศึกษา ฉะนั้นผู้ปกครองควรเป็นนักปรัชญาหรือไม่ก็ควรให้นักปรัชญามาเป็นปกครอง ในกรณีที่นักปกครองไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้น ในข้อนี้เขาเน้นว่าชนชั้นบริหารรัฐบาลควรเป็นผู้ที่มีการศึกษา ผู้มีการศึกษาจะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของประชาชนได้ดีกว่าQuale, G.Robina: Eastern Civilization (Prentice Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey, 1975) P.

ดู ขงจื๊อและเม่งจื๊อ

เหยียน หุย

หยียน หุย (颜回)เป็นคนรัฐหลุ่ (鲁国人) เป็นศิษย์คนโปรดของขงจื่อ เขาได้รับการยกย่องมเยจากขงจื่อมากที่สุดและบ่อยที่สุด เขาเป็นคนที่ฉลาดเฉลียว มีปัญญา เป็นคนใฝ่เรียนและรักเรียน เป็นคนที่มีจิตใจมุ่งมั่น ขงจื่อถือว่าเหยียน หุย เป็นผู้ที่รักมนุษยธรรมจริงๆ เขามีฐานะยากจน เขามีอายุสั้นนัก เสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 32 ปีเท่านั้น เหยียน หุย เป็นคนเงียบๆ ไม่อบเถียงหรือแย้งอะไรขงจื่อ หากเขาสามารถนำคำสอนทุกอย่างของขงจื่อไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ดังนั้นขงจื่อจึงมีคุณลักษณะที่จะสืบต่อและประสานคำสอนของขงจื่ออันหลากหลายได้ดีที่สุด ในคัมภีร์หลุน-อฺวี่ (论语 Lun Yu)มีคำพูดที่บันทึกไว้เกี่ยวกับเหยียน หุย หลายบท แต่ละบทจะแสดงถึงลักษณะต่างๆ ของเหยียน หุย และยังแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของขงจื่อที่มีต่อเหยียน หุย ด้วย ดังนี้.

ดู ขงจื๊อและเหยียน หุย

8 กันยายน

วันที่ 8 กันยายน เป็นวันที่ 251 ของปี (วันที่ 252 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 114 วันในปีนั้น.

ดู ขงจื๊อและ8 กันยายน

ดูเพิ่มเติม

ทฤษฎีการศึกษา

บุคคลที่เกิด 551 ปีก่อนคริสตกาล

บุคคลที่เสียชีวิต 479 ปีก่อนคริสตกาล

ลัทธิขงจื๊อ

ศาสดา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Confuciusข่งฟูจื่อ