โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระทีปังกรพุทธเจ้า

ดัชนี พระทีปังกรพุทธเจ้า

ระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัปที่แล้ว.

22 ความสัมพันธ์: พระพุทธเจ้าพระสรณังกรพุทธเจ้าพระแม่องค์ธรรมพระโพธิสัตว์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพุทธวงศ์กัปมหายานมะกอกมธุรัตถวิลาสินียุคสามกัปสุดท้ายรายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีตฤดูกาลลัทธิอนุตตรธรรมวัชรยานสมณะหลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุอสงไขยดาวศุกร์เถรวาทเทวทูต

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสรณังกรพุทธเจ้า

ระสรณังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปคือ พระทีปังกรพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายของกัปนั้น.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและพระสรณังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและพระแม่องค์ธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า

หลังจากพระศาสนาพระทีปังกรพุทธเจ้าอันตรธานไป เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิเลยอยู่ถึง 1 อสงไขยสุญกัป เรียกว่า เสละอสงไขย จากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ มีชื่อว่า สารกัป มีพระพุทธเจ้ามาเกิด 1 พระองค์ ชื่อ พระโกณฑัญญพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและพระโกณฑัญญพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พุทธวงศ์

ทธวงศ์ (พุทฺธวํส) หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ 24 พระองค์ เพราะ 24 พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 25 พระองค์ในพุทธวง.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและพุทธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

กัป

กัป หรือ กัลป์ (กปฺป; कल्प กลฺป) หมายถึง ช่วงระยะเวลาอันยาวนานของโลก จนไม่สามารถกำหนดเป็นวัน เดือน หรือปีได้ พบในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและกัป · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มะกอก

มะกอก หรือ มะกอกป่า ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ กอกกุก, กูก (เชียงราย); กอกหมอง (เงี้ยว – ภาคเหนือ); ไพแซ (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย มาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงถึง 25 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเลี้ยงไม่มีขน เปลือกเรียบสีเทาแตกเป็นร่องเล็กน้อย เปลือกข้างในมีริ้วสีชมพูสลับขาว ใบประกอบ มีใบย่อย 3 – 5คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรุปขอบขนาน หรือรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาวตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีขนาดเล็ก มี 5 กลีบเกสรมีตัวเมียแยกเป็นสี่แฉก ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ ลักษณะรูปไข่หรือรูปรี เมื่อสุกผลสีเหลืองหม่น มีรอยแต้มสีน้ำตาลทั่วผล มะกอกเป็นพืชที่ให้ผลตลอดปี ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถขึ้นได้โดยทั่วไป พบในป่าเบญจพรรณและป่าแดงทั่วไป ขึ้นได้ดินแทบทุกชนิด และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่ชุมชื่น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ซึ่งอาจปลุกลงหลุมได้.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและมะกอก · ดูเพิ่มเติม »

มธุรัตถวิลาสินี

มธุรัตถวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในพุทธวงศ์ แห่งขุททกนิกาย ผลงานของพระพุทธทัตตะ ซึ่งเป็นพระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังพระพุทธโฆสะ เนื้อหาหลักของคัมภีร์นี้ ก็เพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวที่ปรากฏในหมวดพุทธวงศ์ ซึ่งว่าด้วยพุทธประวัติ พระจริยาวัตร และพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าพระองค์ต่าง.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและมธุรัตถวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามกัปสุดท้าย

วิธีประสานมือเป็นลัญจกรรูปรากบัวประจำยุคขาวยุคสามกัปสุดท้าย (三期末劫) เป็นความเชื่อทางอันตวิทยาของลัทธิบัวขาว และได้สืบทอดมาจนกลายเป็นคำสอนหลักของลัทธิอนุตตรธรรมในปัจจุบัน ความเชื่อนี้ระบุว่าในช่วงปลายกัป พระแม่องค์ธรรมได้แบ่งธรรมกาล (陽) ออกเป็น 3 ยุค คือ คือยุคเขียวของพระทีปังกรพุทธเจ้า ยุคแดงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งสิ้นสุดไปแล้ว และปัจจุบันคือยุคขาวของพระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและยุคสามกัปสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีต

ระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องพุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและรายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีต · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ฤดูกาล (Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและฤดูกาล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

สมณะ

มณะ (श्रमण; Samaṇa) แปลว่า ผู้สงบ ผู้แสวงหา นักพรตMonier Monier-Williams, श्रमण zramaNa, Sanskrit-English Dictionary, Oxford University Press, page 1096 เป็นขบวนการศาสนาแบบอินเดียสมัยโบราณที่คู่ขนานไปกับศาสนาพราหมณ์ และเป็นต้นกำเนิดของศาสนาเชน ศาสนาพุทธ รวมถึงลัทธิอาชีวกและลัทธิจารวาก พัฒนาการทางศาสนาที่สำคัญที่เกิดจากขบวนการสมณะ ได้แก่ การฝึกโยคะ สังสารวัฏ และโมกษะ ซึ่งยังแพร่หลายในศาสนาแบบอินเดียจวบจนปัจจุบันFlood, Gavin.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและสมณะ · ดูเพิ่มเติม »

หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ

ระวิศวภัทร ฉายา เส็กก่วงโต่ว เป็นชาวไทยที่ออกบวช ณ ภูเขาเก้ายอด หรือภูเขาจิ่วหัวซาน ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 พุทธบรรพตของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแปลพระสูตรมหายานจากพระไตรปิฎกภาษาจีนเป็นภาษาไทย จำนวนมากกว่า 20 พระสูตร และเน้นการนำข้อวัตรปฏิบัติที่ปรากฏในพระสูตรมหายานออกมาปฏิบัติได้จริง ปัจจุบันเป็นรองประธานและคณะทำงานโครงการแปลพระสูตรมหายานจีน-ไทยเฉลิมพระเกียรติ (崇聖大乘佛經中泰翻譯組.; Chinese-Thai Mahāyāna Sūtra Translation Project in Honour of His Majesty the King.).

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและหลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ · ดูเพิ่มเติม »

อสงไขย

อสงไขย (असंख्येय อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นจำนวนธรรมชาติเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 (10,000,00020) หรือ 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว) บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข 10^ ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและอสงไขย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เทวทูต

ทวทูต หมายถึง ทูตของเทพ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้ระลึกถึงธรรมดาของชีวิต จนเกิดความสังเวชแล้วเร่งทำความดี ใน "ทูตสูตร" พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่าเทวทูตมี 3 จำพวก ได้แก.

ใหม่!!: พระทีปังกรพุทธเจ้าและเทวทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระสมันตประภาพุทธเจ้าพระสมาธิประภาพุทธเจ้าพระพุทธทีปังกรพระทีปังกรพระประทีปประภาพุทธเจ้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »