สารบัญ
47 ความสัมพันธ์: บัตเตอร์เวิร์ทพ.ศ. 2515พอร์ตกลังพาราณสีกัวลาลัมเปอร์การรถไฟรัฐซาบะฮ์การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียการขนส่งในประเทศมาเลเซียมาเลเซียตะวันออกมาเลเซียตะวันตกมิตซูบิชิระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัวรัฐกลันตันรัฐมะละการัฐตรังกานูรัฐซาบะฮ์รัฐปะลิสรัฐปีนังรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันรันเตาปันจังรถจักรดีเซลรถจักรไอน้ำรถดีเซลรางรถไฟชานเมืองเคทีเอ็มสหราชอาณาจักรสายพอร์ตกลังสายอัมปังสายเซอเร็มบันสถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ทสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์อาณานิคมอำเภอสุไหงโก-ลกอำเภอหาดใหญ่อีโปะฮ์ทางรถไฟทางเดี่ยว (รถไฟ)ประเทศญี่ปุ่นประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศอินเดียประเทศจีนประเทศแคนาดาประเทศเยอรมนีโจโฮร์บะฮ์รูเคทีเอ็ม อีทีเอสเซอเริมบัน
บัตเตอร์เวิร์ท
ัตเตอร์เวิร์ท (Butterworth) หรือภาษามลายูเรียกว่า บากัน (Bagan "ท่าเรือ") และชื่อภาษาจีนว่า เป่ย์ไห่ (北海 "ทะเลทางเหนือ") เป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งของรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งส่วนแผ่นดินเซอเบอรังเปอไร (เดิมเรียก พรอวินซ์เวลเลสลีย์) ตรงข้ามกับเมืองจอร์จทาวน์ มีประชากร 107,591 คน เมืองนี้ก่อตั้งขึ้นช่วยศตวรรษที่ 19 ถูกเรียกเป็นภาษามลายูว่า บากัน แปลว่า "ท่าเรือ" ส่วนชื่อ บัตเตอร์เวิร์ท ถูกตั้งตามชื่อของวิลเลียม จอห์น บัตเตอร์เวิร์ท อดีตผู้ปกครองอาณานิคมช่องแคบ จากที่นี่สามารถเดินทางต่อไปยังจอร์จทาวน์บนเกาะปีนังได้โดยการเดินทางด้วยเรือปีนังเฟอร์รีเซอร์วิซ หรือทางบกด้วยการนั่งรถยนต์ข้ามสะพานปีนัง และจากสถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ทก็สามารถเดินทางต่อไปยังกัวลาลัมเปอร์ หรือกรุงเทพมหานครได้การรถไฟแห่งประเทศไท.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและบัตเตอร์เวิร์ท
พ.ศ. 2515
ทธศักราช 2515 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1972 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและพ.ศ. 2515
พอร์ตกลัง
อร์ตกลัง (Port Klang) หรือ เปอลาบูฮันกลัง (Pelabuhan Klang) มีชื่อเดิมว่า พอร์ตสเวตเตนแฮม (Port Swettenham) เป็นเมืองและประตูหลักทางทะเลสู่มาเลเซีย ยังเป็นท่าเรือที่ใหญ่และคับคั่งที่สุดของประเทศ เศรษฐกิจของเมืองเกี่ยวข้องกับกิจการด้านท่าเรือ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกลังทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 6 กม.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและพอร์ตกลัง
พาราณสี
ราณสี (Bārāṇasī พาราณสี; वाराणसी, Vārāṇasī วาราณสี) เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี (Kingdom of Kashi) ในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากลัคเนาซึ่งเป็นเมืองหลวงของอุตตรประเทศเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร พาราณสีมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน เป็นเมืองที่ศักดิสิทธิ์ที่สุดหนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิสิทธิ์ (สัปดาปุริ, Sapta Puri) ในความเชื่อของศาสนาฮินดูและศาสนาเชน พาราณสีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปี เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอินเดียและยังจัดเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกด้วย ถือว่าเป็นสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดียและเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก ครั้งสมัยอาณานิคม เมืองนี้มีชื่อว่า เบนาเรส (Benares) พาราณสียังเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลายด้าน โดยมีอาณาเขตครอบคลุมถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารน.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและพาราณสี
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและกัวลาลัมเปอร์
การรถไฟรัฐซาบะฮ์
การรถไฟรัฐซาบะฮ์ (ตัวย่อ: SSR) หรือชื่อเดิม การรถไฟบอร์เนียวเหนือ เป็นบริษัทที่ดำเนินการสายรถไฟในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย และเป็นรถไฟสายเดียวบนเกาะบอร์เนียว ทางรถไฟเป็นทางเดี่ยว ระยะทาง 134 กิโลเมตร วิ่งจากเมืองตันจงอะรู (ชานเมืองโกตากีนาบาลู) ไปยังเมืองเตอนอม.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและการรถไฟรัฐซาบะฮ์
การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซีย
รถไฟฟ้าโมโนเรลในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย รถไฟรางหนัก (รวมทั้งรถไฟความเร็วสูง) รถไฟฟ้ารางเบา และรถไฟฟ้าโมโนเรล รถไฟรางหนักมักใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างเมือง ขณะที่รถไฟฟ้ารางเบามักใช้ขนส่งผู้โดยสารในเมืองเท่านั้น มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ส่วนรถไฟฟ้าโมโนเรล มีในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางครอบคลุมรัฐส่วนใหญ่ในมาเลเซียตะวันตก ส่วนในมาเลเซียตะวันออก มีเฉพาะรัฐซาบะฮ์ ทางรถไฟในมาเลเซียตะวันตกเชื่อมต่อกับประเทศสิงคโปร์และประเทศไท.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและการขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซีย
การขนส่งในประเทศมาเลเซีย
ทางหลวงสายเหนือ-ใต้ของมาเลเซีย (ยาว 966 กิโลเมตร) ซึ่งตัดผ่านรัฐทั้ง 7 ของมาเลเซีย เป็นทางหลวงที่ยาวที่สุดในประเทศ สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การคมนาคมในประเทศมาเลเซีย เริ่มตั้งแต่สมัยอาณานิคมของอังกฤษ มีการคมนาคมหลากหลายรูปแบบซึ่งพัฒนาเรื่อยมา ระบบถนนในมาเลเซียนั้นกว้างขวาง ครอบคลุมระยะทาง 63,445 กิโลเมตร รวมทั้งทางด่วน 1,630 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักของประเทศยาว 800 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ชายแดนไทยไปจนถึงสิงคโปร์ ระบบถนนในมาเลเซียตะวันตกนั้นมีคุณภาพ ในขณะที่ระบบถนนในมาเลเซียตะวันออกนั้นไม่มีการพัฒนาเลย ประเทศมาเลเซียมีท่าอากาศยานนานาชาติทั้งหมด 5 แห่ง สายการบินหลักคือ มาเลเซียแอร์ไลน์ ส่วนทางรถไฟในมาเลเซียนั้น ครอบคลุมระยะทาง 1798 กิโลเมตร ในกัวลาลัมเปอร์จะมีระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลและรถไฟฟ้าราง.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและการขนส่งในประเทศมาเลเซีย
มาเลเซียตะวันออก
แผนที่แสดงที่ตั้งของมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันออก (Malaysia Timur) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีชายแดนติดต่อกับอินโดนีเซียและบรูไน และมีทะเลจีนใต้กั้นอยู่ระหว่างมาเลเซียตะวันออกและมาเลเซียตะวันตก มาเลเซียตะวันออกเป็นที่ตั้งของรัฐและดินแดนสหพันธ์ 3 แห่ง ได้แก่ รัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวะก์ และดินแดนสหพันธ์ลาบวน หมวดหมู่:ประเทศมาเลเซีย.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและมาเลเซียตะวันออก
มาเลเซียตะวันตก
มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและมาเลเซียตะวันตก
มิตซูบิชิ
มิตซูบิชิ กรุ๊ป เป็นเครือบริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่นโดยมีบริษัทในเครือกว่า 30 บริษัท ก่อตั้งขึ้นในปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและมิตซูบิชิ
ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ เป็นระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยสายลวดตัวนำเปลือย แขวนไว้กับลูกถ้วยฉนวนซึ่งยึดตรึงที่เสา กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขารับกระแสไฟฟ้าเหนือศีรษะที่เรียกว่า แหนบรับไฟ เข้าสู่ระบบขับเคลื่อนขบวนรถ เพื่อให้ครบวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านรางรถไฟหรือราวเหล็กเส้นที่สี่ซึ่งต่อสายดินไว้ ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะมักต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าแรงสูง เพื่อลดการสูญเสียจากการส่งไฟฟ้าเป็นระยะทางไกล ๆ ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ มีชื่อเรียกอื่นดังนี้.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
รัฐกลันตัน
กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรัฐกลันตัน
รัฐมะละกา
มะละกา (Melaka; ยาวี: ملاك; Malacca) เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุขแต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน ในอดีต มะละกาเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามากว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัตช์ และมลายู ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกาจากองค์การยูเนสโก.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรัฐมะละกา
รัฐตรังกานู
ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรัฐตรังกานู
รัฐซาบะฮ์
ซาบะฮ์ (Sabah) เป็นรัฐที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย และยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เนอเกอรีดีบาวะฮ์บายู (Negeri di bawah bayu) ซึ่งหมายถึง ดินแดนที่อยู่ใต้ลม ก่อนที่จะเข้าร่วมอยู่กับสหพันธรัฐมาเลเซียนั้น ซาบะฮ์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีชื่อว่านอร์ทบอร์เนียว (บอร์เนียวเหนือ) ซาบะฮ์เป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ มีขนาดเล็กกว่ารัฐซาราวะก์ ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้ของเกาะเรียกว่ากาลิมันตันเป็นของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงของรัฐคือโกตากีนาบาลู เดิมมีชื่อว่า เจสเซลตัน (Jesselton).
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรัฐซาบะฮ์
รัฐปะลิส
ปะลิส หรือเดิมสะกดว่า ปลิศ หรือ เปอร์ลิศ (Perlis, ยาวี: فرليس) มีชื่อเต็มคือ เปอร์ลิซอินเดอรากายางัน (Perlis Indera Kayangan; ยาวี: ڤرليس ايندرا كايڠن) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดในมาเลเซีย อยู่ทางตอนเหนือสุดของมาเลเซียตะวันตก และติดชายแดนประเทศไทย ประชากรของรัฐมีจำนวน 198,335 คน ในปี 2543 ในจำนวนนี้เป็นชาวมลายูประมาณ 166,200 คนหรือร้อยละ 78, ชาวจีน 24,000 คนหรือร้อยละ 17, ชาวอินเดีย 3,700 คน และอื่น ๆ 5,400 คน) เมืองหลวงของรัฐปะลิสคือ กังการ์ เมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครคืออาเรา นอกจากนี้เมืองการค้าสำคัญบริเวณชายไทย-มาเลเซียคือปาดังเบซาร์ ส่วนเมืองท่าของรัฐซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐคือกัวลาปะล.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรัฐปะลิส
รัฐปีนัง
ปูเลาปีนัง (Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวล.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรัฐปีนัง
รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน
นอเกอรีเซิมบีลัน (Negeri Sembilan, อักษรยาวี: نڬري سمبيلن) เป็น 1 ใน 13 รัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,650 ตารางกิโลเมตร คำว่า "เนอเกอรีเซิมบีลัน" แปลว่า 9 รัฐ สืบเนื่องจากในสมัยก่อนแบ่งการปกครองเป็น 9 อำเภอ มีเมืองหลวงชื่อ เซอเริมบัน เป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน
รันเตาปันจัง
นนสายหนึ่งในรันตูปันจัง รันตูปันจัง (Rantau Panjang) เป็นเมืองแห่งหนึ่งในรัฐกลันตัน ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ตรงข้ามกับอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีธนาคารที่สำคัญได้แก่ Maybank (ธนาคารมาลายัน), Bank Simpanan Nasional (ธนาคารออมสินมาเลเซีย) และ Agro Bank Malaysia (ธนาคารเกษตรกรรมมาเลเซีย).
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรันเตาปันจัง
รถจักรดีเซล
รถจักรดีเซล (Diesel locomotive) สามารถหมายถึง.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรถจักรดีเซล
รถจักรไอน้ำ
รถจักรไอน้ำ (Steam locomotive) เป็น รถไฟในยุคแรกที่ใช้กลไกของแรงดันไอ (น้ำ) ในการผลักดันให้ล้อรถหมุนและทำให้รถเคลื่อนที่ ซึ่งในปัจจุบันรถจักรประเภทนี้แทบไม่มีใช้ให้เห็นกันแล้ว.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรถจักรไอน้ำ
รถดีเซลราง
วนรถนำเที่ยวที่ 987 กรุงเทพ - สวนนงนุช ในชานชาลารางที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 428/427 อุบลราชธานี - นครราชสีมา - อุบลราชธานี ขณะจอดเทียบที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟนครราชสีมา ขบวนรถท้องถิ่นที่ 428 อุบลราชธานี - นครราชสีมาช ขณะจอดเทียบที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟบุรีรัมย์ รถดีเซลราง (diesel railcar) เป็นรถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องด้วยตนเอง เดิมทีการรถไฟได้นำรถชนิดนี้มาใช้งานในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรถดีเซลราง
รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม เป็นระบบรถไฟฟ้าชานเมืองขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซีย ดำเนินการโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (เคทีเอ็ม) เปิดใช้งานครั้งแรกในปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
สหราชอาณาจักร
หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและสหราชอาณาจักร
สายพอร์ตกลัง
อร์ตกลัง (สายสีแดงในแผนที่) เป็นหนึ่งในสองเส้นทางของรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม ดำเนินการโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (เคทีเอ็ม) เปิดให้บริการครั้งแรกในปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและสายพอร์ตกลัง
สายอัมปัง
อัมปัง เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีสีประจำเส้นทางคือสีเหลือง ระยะทาง สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานได้ เส้นทางนี้มีจำนวนทั้งหมด 25 นาที.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและสายอัมปัง
สายเซอเร็มบัน
ซอเร็มบัน เป็นหนึ่งในสองเส้นทางของรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม ดำเนินการโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (เคทีเอ็ม) เปิดให้บริการในปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและสายเซอเร็มบัน
สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ท
ในสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ท หรือสะกดว่า บัตเตอร์เวอร์ธ (Butterworth) เป็นสถานีรถไฟของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในเมืองบัตเตอร์เวิร์ท เขตนอร์ทเทิร์นเซอบรังปไร รัฐปีนัง โดยในอดีตจะมีรถไฟของประเทศไทยมาปลายทางที่สถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธวันละ 2 ขบวน คือ ขบวนรถไฟกรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ-กรุงเทพ จากสถานีนี้สามารถเดินทางด้วยรถไฟไปยังกัวลาลัมเปอร์ และประเทศสิงคโปร์ได้.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและสถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ท
สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
นีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ โดยจากจุดนี้ทางรถไฟจะแยกออกเป็นสองสาย คือ.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
นีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เป็นสถานีรถไฟหลักของกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย เปิดทำการเมื่อ 16 เมษายน ค.ศ.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
อาณานิคม
ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและอาณานิคม
อำเภอสุไหงโก-ลก
อำเภอสุไหงโก-ลก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส มีตัวเมืองขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ตอนล่าง.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและอำเภอสุไหงโก-ลก
อำเภอหาดใหญ่
อำเภอหาดใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของนครหาดใหญ่ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของภาคใต้ หาดใหญ่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในหลายด้าน เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะแถบประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน และอินเดี.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและอำเภอหาดใหญ่
อีโปะฮ์
อีโปะฮ์ (Ipoh, اڤوه) เป็นเมืองหลวงของรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย อยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปทางทิศเหนือราว 200 กิโลเมตร (125 ไมล์) ตามเส้นทางด่วนสายเหนือ-ใต้ อีโปะห์ได้รับการพัฒนาเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่สำคัญในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จากการตื่นตัวในการทำอุตสาหกรรมเหมืองดีบุก ด้านสถาปัตยกรรม เมืองมีห้องแถวจีนที่มีเอกลักษณ์แบบยุคอาณานิคม.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและอีโปะฮ์
ทางรถไฟ
ทางรถไฟในไซตามะ ทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรถไฟเป็นยานพาหนะ รางรถไฟนั้นประกอบด้วยรางสองราง ซึ่งปกติทำมาจากเหล็กกล้า วางบนวัตถุที่ตั้งฉากกับตัวราง โดยสร้างจากไม้หรือคอนกรีต วัตถุนี้เป็นตัวกำหนดระยะระหว่างของรางเรียกว่า "เกจ" (gauge).
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและทางรถไฟ
ทางเดี่ยว (รถไฟ)
| ทางเดี่ยวในเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ทางเดี่ยว (single track (rail)) เป็นทางรถไฟที่มีทางวิ่งเพียงทางเดียว มักใช้กับเส้นทางที่มีรถไฟผ่านน้อยและเส้นทางรถไฟสาขาย่อย สำหรับทางเดี่ยวในประเทศไทย มีประมาณร้อยละ 94.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและทางเดี่ยว (รถไฟ)
ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและประเทศญี่ปุ่น
ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและประเทศมาเลเซีย
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและประเทศสิงคโปร์
ประเทศอินเดีย
อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและประเทศอินเดีย
ประเทศจีน
ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและประเทศจีน
ประเทศแคนาดา
แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและประเทศแคนาดา
ประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและประเทศเยอรมนี
โจโฮร์บะฮ์รู
ร์บะฮ์รู (Johor Bahru, บ้างสะกดว่า Johor Baharu, Johor Baru, Johore Bahru; อักษรยาวี: جوهر بهرو) มีชื่อเดิมว่า ตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) และ อิซกันดาร์ปูเตอรี, Teo Li Meng, 15 August 2010, 东南亚华文资料中心, retrieved 11 December 2012 (Iskandar Puteri) และเป็นที่รู้จักในชื่อย่อว่า เจบี.
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและโจโฮร์บะฮ์รู
เคทีเอ็ม อีทีเอส
ทีเอ็ม อีทีเอส เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าระหว่างเมืองอีโปะฮ์–กัวลาลัมเปอร์ในประเทศมาเลเซีย เดิมรถไฟฟ้าสายนี้เคยวิ่งจากกัวลาลัมเปอร์ไปเซอเร็มบัน แต่หยุดให้บริการในเดือนตุลาคม..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและเคทีเอ็ม อีทีเอส
เซอเริมบัน
ซอเริมบัน (Seremban) เป็นหนี่งในเขตทั้งเจ็ดเขตของรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เป็นเมืองหลวงของรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน อยู่ในประเทศมาเลเซีย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..
ดู เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูและเซอเริมบัน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ เคทีเอ็มเคเรตาปิทะนาห์มลายู