โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซีย

ดัชนี การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซีย

รถไฟฟ้าโมโนเรลในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย รถไฟรางหนัก (รวมทั้งรถไฟความเร็วสูง) รถไฟฟ้ารางเบา และรถไฟฟ้าโมโนเรล รถไฟรางหนักมักใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างเมือง ขณะที่รถไฟฟ้ารางเบามักใช้ขนส่งผู้โดยสารในเมืองเท่านั้น มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ส่วนรถไฟฟ้าโมโนเรล มีในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางครอบคลุมรัฐส่วนใหญ่ในมาเลเซียตะวันตก ส่วนในมาเลเซียตะวันออก มีเฉพาะรัฐซาบะฮ์ ทางรถไฟในมาเลเซียตะวันตกเชื่อมต่อกับประเทศสิงคโปร์และประเทศไท.

14 ความสัมพันธ์: กัวลาลัมเปอร์การรถไฟรัฐซาบะฮ์การขนส่งในประเทศมาเลเซียมาเลเซียตะวันออกมาเลเซียตะวันตกรัฐซาบะฮ์รางเดี่ยวรถไฟรางเบารถไฟความเร็วสูงท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศไทยเคแอลโมโนเรล

กัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและกัวลาลัมเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การรถไฟรัฐซาบะฮ์

การรถไฟรัฐซาบะฮ์ (ตัวย่อ: SSR) หรือชื่อเดิม การรถไฟบอร์เนียวเหนือ เป็นบริษัทที่ดำเนินการสายรถไฟในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย และเป็นรถไฟสายเดียวบนเกาะบอร์เนียว ทางรถไฟเป็นทางเดี่ยว ระยะทาง 134 กิโลเมตร วิ่งจากเมืองตันจงอะรู (ชานเมืองโกตากีนาบาลู) ไปยังเมืองเตอนอม.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและการรถไฟรัฐซาบะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่งในประเทศมาเลเซีย

ทางหลวงสายเหนือ-ใต้ของมาเลเซีย (ยาว 966 กิโลเมตร) ซึ่งตัดผ่านรัฐทั้ง 7 ของมาเลเซีย เป็นทางหลวงที่ยาวที่สุดในประเทศ สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การคมนาคมในประเทศมาเลเซีย เริ่มตั้งแต่สมัยอาณานิคมของอังกฤษ มีการคมนาคมหลากหลายรูปแบบซึ่งพัฒนาเรื่อยมา ระบบถนนในมาเลเซียนั้นกว้างขวาง ครอบคลุมระยะทาง 63,445 กิโลเมตร รวมทั้งทางด่วน 1,630 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักของประเทศยาว 800 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ชายแดนไทยไปจนถึงสิงคโปร์ ระบบถนนในมาเลเซียตะวันตกนั้นมีคุณภาพ ในขณะที่ระบบถนนในมาเลเซียตะวันออกนั้นไม่มีการพัฒนาเลย ประเทศมาเลเซียมีท่าอากาศยานนานาชาติทั้งหมด 5 แห่ง สายการบินหลักคือ มาเลเซียแอร์ไลน์ ส่วนทางรถไฟในมาเลเซียนั้น ครอบคลุมระยะทาง 1798 กิโลเมตร ในกัวลาลัมเปอร์จะมีระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลและรถไฟฟ้าราง.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและการขนส่งในประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันออก

แผนที่แสดงที่ตั้งของมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันออก (Malaysia Timur) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีชายแดนติดต่อกับอินโดนีเซียและบรูไน และมีทะเลจีนใต้กั้นอยู่ระหว่างมาเลเซียตะวันออกและมาเลเซียตะวันตก มาเลเซียตะวันออกเป็นที่ตั้งของรัฐและดินแดนสหพันธ์ 3 แห่ง ได้แก่ รัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวะก์ และดินแดนสหพันธ์ลาบวน หมวดหมู่:ประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและมาเลเซียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันตก

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและมาเลเซียตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐซาบะฮ์

ซาบะฮ์ (Sabah) เป็นรัฐที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย และยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เนอเกอรีดีบาวะฮ์บายู (Negeri di bawah bayu) ซึ่งหมายถึง ดินแดนที่อยู่ใต้ลม ก่อนที่จะเข้าร่วมอยู่กับสหพันธรัฐมาเลเซียนั้น ซาบะฮ์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีชื่อว่านอร์ทบอร์เนียว (บอร์เนียวเหนือ) ซาบะฮ์เป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ มีขนาดเล็กกว่ารัฐซาราวะก์ ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้ของเกาะเรียกว่ากาลิมันตันเป็นของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงของรัฐคือโกตากีนาบาลู เดิมมีชื่อว่า เจสเซลตัน (Jesselton).

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและรัฐซาบะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รางเดี่ยว

รถรางเดี่ยวในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย รางเดี่ยว (monorail) เป็นระบบขนส่งทางรางชนิดหนึ่ง ต่างจากระบบเดิมแทนที่จะมีราวเหล็กสองราวประกอบเป็นราง กลับมีลักษณะเป็นราวเหล็กเส้นเดียวให้รถวิ่งผ่าน คำว่า monorail มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440 โดยอ็อยเกิน ลังเงิน (Eugen Langen) วิศวกรชาวเยอรมัน โดยประสมคำว่า mono (เดี่ยว) และ rail (ราวเหล็กสำหรับประกอบรางรถไฟ) เข้าด้วยกัน รถที่ใช้รางเดี่ยวจะวิ่งบนทางที่มีขนาดแคบกว่าตัวรถ โดยอาจมีครีบสำหรับกอดรัดให้ตัวรถติดกับทางไว้ก็ได้ นิยมใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดกลาง จำนวนคนไม่มาก ต่างจากระบบรถรางหนัก (heavy rail) ซึ่งขนส่งคนได้ในปริมาณที่มากกว.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและรางเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟรางเบา

รถไฟฟ้ารางเบาในลอสแอนเจลิส รถไฟรางเบา หรือ รถไฟฟ้ารางเบา (Light rail) เป็นระบบขนส่งมวลชนที่ให้บริการในเขตเมือง ขับเคลื่อนโดยใช้ล้อหรือไฟฟ้า และตู้โดยสารที่ใช้จะเท่ากับหรือมากกว่า 1 ตู้ก็ได้ รถไฟฟ้ารางเบา มักถูกจัดให้คล้ายกับรถราง จะแบ่งตามขีดความสามารถในการขนส่งผู้โดยสารจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ         1 ระบบขนส่งมวลชน Light Rail Transit System LRT เป็นระบบขนส่งมวลชนเบาที่ขนส่ง ทางราง โดยขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและวิ่งบนรางเหล็ก มีทั้งที่วิ่งบนท้องถนนและบนเขตทางของตัวเองโดยเฉพาะมีความจุของผู้โดยสารประมาณ 20 000 ถึง 40 000 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง         2 ระบบขนส่งมวลชนหนัก Heavy Rail Transit System HRT เรียกกันทั่วไปว่ารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหรือ “ รถไฟฟ้า ” เป็นระบบหนึ่งของยานพาหนะประเภทขนส่งมวลชนที่มีเส้นทางเป็นรางอยู่ใต้ดินหรือรางยกระดับ โดยทั่วไปอาจจะเรียกว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน Underground หรือ Subway หรือระบบรางในอุโมงค์ Tube หรือรถไฟลอยฟ้า Elevated Rail เป็นการขนส่งตามเส้นทางที่ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นไปตามตารางเวลา สำหรับความจุของผู้โดยสารประมาณ 40 000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ข้อมูลจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและรถไฟรางเบา · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟความเร็วสูง

รถไฟชิงกันเซ็ง รุ่น E5 TGV 2N2 ของ SNCF ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงที่พัฒนาให้มีห้องโดยสาร 2 ชั้น ขณะอยู่ที่เมืองแฟรงเฟิร์ตของเยอรมนี รถไฟความเร็วสูง หรือ ระบบรางความเร็วสูง (High-Speed Rail (HSR)) เป็นระบบการขนส่งทางรางที่วิ่งด้วยความเร็วสูงกว่าระบบขนส่งทางรางทั่วไปอย่างมาก โดยการใช้ระบบล้อเลื่อน (rolling stock) พิเศษรวมกับระบบรางที่ออกแบบมาให้ใช้โดยเฉ.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและรถไฟความเร็วสูง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (Lapangan Terbang Antarabangsa Kuala Lumpur) ตั้งอยู่ที่เขตเซปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 กิโลเมตร เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้เป็นท่าอากาศยานหลัก แทน ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุล อาซิส ซาห์ (ซูบัง) ซึ่งตั้งห่างอยู่ทางทิศเหนือ (ปัจจุบันเปิดทำการในสายภายในประเทศ และเครื่องบินขนาดเล็ก) และเป็นท่าอากาศยานหลักของมาเลเซียแอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก และแอร์เอเชีย ได้รับรางวัลท่าอากาศยานที่ดีที่สุด จาก (AETRA awards) ปี 2005 และ (ACI-ASQ awards) ปี 2006.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เคแอลโมโนเรล

แอลโมโนเรล เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลในกัวลาลัมเปอร์, ประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2003 จำนวน 11 สถานี รวมระยะทาง ประกอบด้วยรางเดี่ยวยกระดับคู่ขนาน เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ สถิติผู้โดยสารต่อปี เมื่อ ค.ศ. 2008 มีจำนวน 21,765,233 คน.

ใหม่!!: การขนส่งระบบรางในประเทศมาเลเซียและเคแอลโมโนเรล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rail transport in Malaysiaการรถไฟในมาเลเซีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »