โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระวันรัต

ดัชนี สมเด็จพระวันรัต

มเด็จพระวันรัต (อ่านว่า วันนะรัด) แปลว่า ผู้ยินดีในการอยู่ป่า ผู้รักการอยู่ป่า เดิมใช้คำว่า พนรัตน์ และ วันรัตน์ ซึ่งแปลว่า ป่าแก้ว ปัจจุบันเป็นราชทินนามสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วันรัตน์ เป็นนามที่ได้มาจากลังกา สันนิษฐานตามคำแปลว่าคงเป็นสังฆนายกฝ่ายอรัญวาสี คู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นสังฆนายกฝ่ายคามวาสี ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ ปรากฏนามนี้ครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ว่าพระพนรัตน์ป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีสินในการก่อกบฏพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2553.

44 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช)พระอาจารย์อาจ พนรัตนพระธรรมไตรโลก (ชื่น)กรรมฐานราชทินนามวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารวัดราชบุรณราชวรวิหารวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดโสมนัสราชวรวิหารวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสมเด็จพระราชาคณะสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม)สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก)สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร)สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต)สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสงครามยุทธหัตถีอรัญวาสีธรรมยุติกนิกายคามวาสีประเทศศรีลังกา

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช)

ระศรีศิลป์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราชประสูติแต่นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ มีพระเชษฐา 1 พระองค์ ได้แก่ พระยอดฟ้า ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ทรงได้รับการอุปการะจากสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา จนกระทั่ง พระองค์มีพระชันษา 20 พรรษาได้คิดขบถขึ้นและนำไปสู่การสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อม.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและพระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช) · ดูเพิ่มเติม »

พระอาจารย์อาจ พนรัตน

ระอาจารย์อาจ พนรัตน เป็นพระภิกษุชาวไทย เคยดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพนรัตน ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แต่ภายหลังถูกถอดจากสมณศักดิ์เนื่องจากมีพฤติกรรมรักร่วม.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและพระอาจารย์อาจ พนรัตน · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมไตรโลก (ชื่น)

ระธรรมไตรโลก นามเดิม ชื่น เป็นพระภิกษุชาวไทยในนิกายเถรวาท อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร และอดีตสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 3 แห่งกรุงธนบุรี.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและพระธรรมไตรโลก (ชื่น) · ดูเพิ่มเติม »

กรรมฐาน

กรรมฐาน (บาลี:kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่าง อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชทินนาม

ราชทินนาม คือ นาม หรือชื่อที่ได้รับพระราชทานซึ่งแสดงถึงตำแหน่ง หน้าที่ของขุนนางด้วย โดยราชทินนามนั้นจะอยู่ต่อท้าย บรรดาศักดิ์ไทย เช่น.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและราชทินนาม · ดูเพิ่มเติม »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (/พระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม/) หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนาในปี พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบุรณราชวรวิหาร

วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดเลียบ" เชื่อกันว่าพ่อค้าชาวจีนนาม "เลี้ยบ" เป็นผู้สร้างถวาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณะ" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหม.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดราชบุรณราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ อยู่เลขที่ 72 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร สร้างในสมัย กรุงศรีอยุธยา ยุคนั้นเป็นวัดราษฎร์ เรียกว่า วัดเจ๊สัวหง หรือ แจ๊สัวหง หรือ เจ้าสัวหง หรือ วัดขรัวหง เพราะตั้งตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้าง คือ นายหง วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร วัดหลวงชั้นโท คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งตามทะเบียนเลขที่ ๑๐๒ ถนนวังเดิม ๒ หรือ ถนนอิสรภาพ ๒๘ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร และ กองทัพเรือ (พระราชวังธนบุรีเดิม) ตั้งอยู่บนเนื้อที่ขนาด ๔๖ ไร่ ๑ งาน ๒๓ ตารางวา จากหลักฐานจดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๔ ได้บันทึกไว้ว่า วัดหงส์รัตนารามนี้ พื้นที่วัดเดิมเป็นของโบราณมีมานานสำหรับเมืองธนบุรี คำคนแก่เก่า ๆ เป็นอันมากเรียกว่า วัดเจ้าขรัวหง แลว่ากันว่าจีนเจ๊สัวมั่งมี บ้านอยู่กะดีจีน สร้างขึ้นไว้แต่ในครั้งโน้น จีนที่มั่งมี คนเรียกว่า เจ้าขรัว ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเรียกชื่อว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช (รัชกาลที่ ๑) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาศวรวิหาร รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาสวรวิหาร รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) จนถึงปัจจุบัน เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ซึ่งขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงพระยศสถานที่ตั้งประวัติวัดหงส์รัตนาราม เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สืบต่อจาก กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสิงหนาทฯ ได้ประทับ ณ พระราชวังเดิม พระราชวังจึงมีฐานะเป็นพระบวรราชวังใหม่ ขึ้นตำแหน่งหนึ่ง สมตามนัยแห่ง ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าตอนประสูติของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ดังนี้ การประสูติดังนี้ เป็นไปที่พระที่นั่งข้างในหลังตะวันตก พระราชวังปากคลองบางกอกใหญ่ ครั้งนั้นเรียก พระบวรราชวังใหม่ อยู่ในกำแพงกรุงธนบุรีโบราณวัดหงส์ฯ ซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ตลอดสถานที่พระบวรราชวังนี้ จึงมีสร้อยนามเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ครั้งนั้นว่า วัดหงส์อาวาศขวรวิหาร ดังหลักฐานประกอบด้วยตามในพระราชทินนามสมณศักดิ์พระราชาคณะที่พระธรรมอุดม (พระธรรมวโรดมปัจจุบัน) ซึ่งได้เลื่อนจากพระธรรมไตรโลกฯ (พระธรรมไตรโลกาจารย์ปัจจุบัน) ในรัชกาลที่ ๑ ว่า พระธรรมอุดม บรมญาณอดุลยสุนทร ตีปีฎกธรามหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดหงส์อาวาศบวรวิหาร พระอารามหลวง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร มีสร้อยนามเปลี่ยนแปลงเป็นทางการว่า วัดหงส์อาวาสวรวิหาร หลักฐานในข้อนี้ พิจารณา ได้ตามพระราชทินนามสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม ซึ่งได้เลื่อนจากสมณศักดิ์เดิมที่ พระพรหมมุนี (ด่อน) กล่าวไว้ดังนี้ ให้ พระพรหมมุนีเป็นพระพิมลธรรม อนันตญาณนายก ตีปฎกธรามหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดหงส์อาวาสวรวิหาร พระอารามหลวง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร คงมีนามเรียกเต็มว่า วัดหงสาราม ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือประชุมพงศารภาคที่ ๒๕ ตอนที่ ๓ เรื่องตำนานสถานที่ และวัสดุต่าง ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะ และมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดหงส์ฯ ดังมีข้อความกล่าวไว้เป็นเชิงประวัติว่า วัดนี้นามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมา เป็น วัดหงสาราม และในสำเนาเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๒ ซึ่ง หม่อมเจ้าพระประภากร บวรวิสุทธิวงศ์ วัดบวรนิเวศน์วิหาร ทรงเทศนาถวาย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้นามว่า วัดหงสาราม ในเรื่องเกี่ยวกับวัดหงส์ฯ แม้แต่ในพระอารามหลวงที่ เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เรียบเรียงถวายรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวไว้เช่นเคียวกัน แต่กล่าวพิเศษออกไปว่า เรียกวัดหงสาราม มาแต่รัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นว่าเมื่อเรียกโดยไม่มีพิธีรีตองสำคัญอะไร ก็คงเรียกวัดหงสาราม ทั้ง ๓ รัชกาล ก็เป็นได้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) นี้ สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ได้ทรงรับปฏิสังขรณ์จากการทรงชักชวนของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเกณฑ์ต่อให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระยศ เจ้าฟ้ามงกุฎ ให้รื้อพระอุโบสถเก่าแปลงปลูกเป็นวิหาร แต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงรับทำ จึงเป็นพระภาระของสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ แต่พระองค์เดียว ส่วน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งแรกทรงรับพระภาระสร้างโรงธรรมตึกใหญ่ขึ้นใหม่ แต่ในครั้งหลังสมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์สิ้นพระชนม์ การยังไม่เสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงรับเป็นพระธุระทั้งพระอุโบสถ และพระวิหาร และสิ่งอื่นอีก ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ได้พระราชทานสร้อยนามวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหารใหม่ แลเป็นหลักฐานสืบมาจนบัดนี้ว่า วัดหงส์รัตนาราม ตามในจดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๔ ได้กล่าวไว้ว่า เดิมเป็นพระอุโบสถหลังเก่าวัดหงส์ฯ ครั้งก่อนสมัยอยุธยา เมื่อมาถึงสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ ขยายทั้งตัววัด และสร้างพระอุโบสถใหม่ และอื่นอีก คงเลิกใช้อุโบสถเก่า ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ จากหลักฐานประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ ว่าด้วยพระเจดีย์วิหาร ที่ทรงสถาปนาในรัชกาลที่ ๔ เรื่องที่ ๑๕ โดยมีเนื้อความว่า “วัดหงส์รัตนาราม วัดนี้ตามเดิมว่า วัดเจ้าขรัวหงส์ แล้วเปลี่ยนมาเป็น วัดหงสาราม สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเขมาภิรตาราม โปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดหงส์ฯ การยังไม่ทันเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ และพระราชทานนามว่า วัดหงส์รัตนาราม คำสร้อยนามวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหารที่ว่า รัตนาราม นั้น บ่งความหมายเป็นสองประการคือ รัตน แปลว่า แก้ว ประการหนึ่ง และคำว่า อาราม ซึ่งแปลว่า วัด ประการหนึ่ง เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน จึงได้ความหมายว่า วัดท่านแก้ว มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานสร้อยนามวัดหงส์ฯ นั้น ก็เพื่อถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า แก้ว เป็นการถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จบรมราชอัยกี ผู้เป็นพระบุพการีของ พระบรมราชชนนี พระราชอนุชา และพระองค์ท่าน ตามธรรมเนียมนิยมของพุทธสานิกชน เมื่อบำเพ็ญบุญกุศลแล้ว จึงอุทิศผลบุญ อีกประการหนึ่ง วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดที่ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ ทรงเคยอุปถัมภ์ และปฏิสังขรณ์มาในอดีต ทรงคุ้นเคยกับสถานที่ และเสด็จบำเพ็ญกุศลเป็นประจำในขณะที่ทรงพระชนม์อยู่ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ได้ถูกจัดลำดับศักดิ์เป็น พระอารามหลวงชั้นโท และมีฐานะเป็น พระอารามชั้นราชวรวิหาร ตามพระบามราชโองการประกาศ เรื่องจัดระเบียบพระอารามหลวงเป็น ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นสามัญ โดยมีสร้อยนามตามฐานะเป็น ราชวรมหาวิหาร ราชวรวิหาร วรมหาวิหาร วรวิหาร โดยลำดับ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๘ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร จึงได้สร้อยว่า วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร มาจนถึงปัจจุบัน ย้อนไปในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ถือเป็นวัดที่มีสำคัญอย่างมาก นอกจากตั้งติดกับพระบรมราชวังที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเป็นเอกอุปถัมภก บูรณปฏิสังขรณ์ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นการใหญ่ และทรงสร้อยนามวัดอย่างเป็นทางการว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร ด้วย เดิมทีนั้นเป็นวัดร้าง ทั้งนี้ยังทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นที่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า ทรงสร้างศาลาโรงธรรมขนาดเท่าพระอุโบสถขึ้นทางด้านหน้า และทรงสร้างกุฏิ และเสนาสนะอื่น ๆ ทั้งพระอาราม ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี บันทึกไว้ว่า ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอุปถัมภ์ปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ทั่วพระอาราม พระอุโบสถ การเปรียญ เสนาสนะ และกุฏิ ได้ทรงสร้างใหม่ทั้งสิ้น ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ มีหลักฐานยืนยันตรงกันอีกว่า ครั้งมาเมื่อกรุงธนบุรี พระสงฆ์ผู้รู้หลักนักปราชญ์มาอยู่มาก ผู้ที่มีอุตสาหะเล่าเรียนก็ได้เข้าไปอยู่มาก เจ้าแผ่นดินกรุงธนบุรีจึงขยายภูมิวัดออกไปใหญ่ แล้วสร้างพระอุโบสถใหญ่ตรงหน้าพระอุโบสถเก่า แล้วสร้างโรงธรรมหันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถใหม่ สร้างฐานใหญ่เท่ากันทั้งสองหลัง ตั้งอยู่อย่างนั้นนานมาจนถึงเวลาแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ในพระบรมราชวงศ์นี้ ในปีพุทธศักราช ๒๓๓๓ สมเด็จพระลูกยาเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าจุ้ย) ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เสด็จผนวช ณ วัดหงษ์อาวาสวิหาร (วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร) นี้ เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบท ตลอดจนพระราชนิกูล และข้าใต้สำนัก ล้วนแต่อุปสมบทวัดแห่งนี้เกือบทั้งสิ้น และนอกจากนี้ สมเด็จพระอัครมเหสี (หอกลาง) กรมหลวงบาทบริจาสอน และพระเจ้าน้านางเธอ กรมหลวงเทวินทร์สุดา ได้เสด็จบำเพ็ญกุศล ฟังเทศน์ ถือศีลปฏิธรรมอยู่ ณ วัดแห่งนี้อยู่เนือง ๆ วัดหงษ์อาวาสวิหาร แห่งนี้ อยู่ในราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และพระองค์มักเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถ หลังว่างจากพระภารกิจเสมอ วัดหงษ์อาวาสวิหาร จึงนับว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และสวยงามวัดหนึ่งในยุคสมัยนั้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนในละแวกใกล้เคียง จึงพร้อมใจกันสร้างศาลขึ้นที่ริมคลองคูวัดเชิงสะพานข้ามคลองหน้าวัด ด้านทิศตะวันตก เพื่อถวายเป็นพระราชอนุสรณ์เป็นแห่งแรก และปรากฏเป็นที่สักการะเคารพของประชาชนในท้องถิ่นแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คือ ศาลเจ้าพ่อตากวัดหงส์ฯ นอกจากทรงบูรณปฏิสังขรณ์ และทรงสร้างศาสนวัตถุอื่นแล้ว พระองค์ทรงนำความเจริญทางด้านการศึกษา วางไว้เป็นฐานรากแห่งพระพุทธศาสนาที่วัดหงษ์อาวาสวิหาร หรือ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร จึงเป็นแหล่งสรรพวิชา บ่มเพาะความรู้ขั้นสูงในยุคสมัยนั้น และเป็นชุมนุมสงฆ์ผู้รู้หลักนักปราชญ์ แห่งกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร จากหลักฐานบันทึก มีรายนาม ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดโสมนัสราชวรวิหาร

วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร หรือ วัดโสมนัสวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีภาพจิตกรรฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่รัชการที่ 4 โปรดให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี 2395 ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกลซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด) และยังมีเจดีย์องค์เล็ก (เจดีย์มอญ) อีกองค์ที่มีลักษณะสวยงามเช่นเดียวกับปรินิพพานสถูปในอินเดีย และหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร และที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง ปัจจุบันมีการสร้างและปรับปรุงอาคารต่างๆ ภายในวัด อาทิเช่น ตึก 150 ปี โรงเรียนพระปริยัติธรรม (ตึกสาลักษณาลัย) ซึ่งเป็นตึกเก่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา ศาลาสำนักงานภาค ศาลาสถิต ศาลามุขหน้าวัด ตึก 80 ปีสมเด็จพระวันรัต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี โรงเรียนวัดโสมนัส กองการฌาปนกิจกรมทหารบก สุสานทหาร อยู่ภายในบริเวณวั.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดโสมนัสราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร อยูในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ใกล้สะพานกษัตริย์ศึกและสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) อยู่รวมกับ "โรงเรียนเทพศิรินทร์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 ขณะมีพระชนมายุครบ 25 พรรษาพอดี เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์ วันที่ 3 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะแก่พระภิกษุฝ่ายมหานิก.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

มเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า (พระนามเดิม พระเทียรราชา) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีบุญญาธิการมากเพราะทรงมีช้างเผือกในครอบครองถึง 7 ช้าง จนได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก ในรัชกาลนี้ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากคราวขุนวรวงศาธิราช สภาพบ้านเมืองไม่ได้สงบสุขเท่าที่ควร มีเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะสงครามกับกรุงหงสาวดี.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาคณะ

ัดยศสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะ สมเด็จพระญาณวโรดม สมเด็จพระราชาคณะ เป็นสมณศักดิ์รองจากสมเด็จพระสังฆราช สูงกว่าพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีคำนำหน้าราชทินนามว่า "สมเด็จ" เดิมทีสมเด็จพระราชาคณะเป็นตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นเจ้าคณะใหญ่มาตลอด จนกระทั่งมีการแยกออกมาเมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสง..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระราชาคณะ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม จับ สุนทรมาศ ฉายา ตธมฺโม เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ไทย เช่น เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร เจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต) และกรรมการมหาเถรสมาคม.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

มเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต (นามเดิม:จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม จ่าย ฉายา ปุณฺณทตฺโต เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร และอดีตเจ้าคณะใหญ่หนใต้.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม ทรัพย์ สุนทรัตต์ ฉายา โฆสโก เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง สมาชิกสังฆสภา กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม ฑิต ฉายา อุทโย เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร และอดีตเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม นิรันตร์ ฉายา นิรนฺตโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารและกรรมการมหาเถรสมาคม.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม แดง ฉายา สีลวฑฺฒโน เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และผู้สร้างวัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม เฮง ฉายา เขมจารี เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร และแม่กองบาลีสนามหลวง.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม เผื่อน คงธรรม ฉายา ติสฺสทตฺโต เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ไทย เช่น เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะมณฑลราชบุรี สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)

มเด็จพระวันรัตน์เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 123 นามเดิม ทับ ฉายา พุทฺธสิริ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2349 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434) เป็นสมเด็จพระวันรัตรูปที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระ 10 องค์ผู้เป็นต้นวงศ์ธรรมยุติกนิกาย ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโสมนัสราชวรวิหาร นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระมหาเถระที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ชอบธุดงค์ และเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ปลด เกตุทัต ฉายา กิตฺติโสภโณ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปี 1 เดือน 13 วัน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริพระชันษา 73 ปี.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ปุ่น สุขเจริญ ฉายา ปุณฺณสิริ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2515 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดำรงพระยศอยู่ 1 ปีเศษ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สิริพระชันษาได้ 77 ปี.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม แพ ฉายา ติสฺสเทโว เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481ราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ก, ๑๕ พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)

มเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่า มี ประสูติเมื่อวันพุธขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)

มเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ศุข เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

มเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่า ด่อน เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2365 ดำรงตำแหน่ง 20 ปีสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2385 สิริพระชันษาได้ 81 ปี พระประวัติในตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2304 ได้เป็นที่ "พระเทพโมลี" อยู่ที่วัดหงส์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และได้เป็นที่ "พระพรหมมุนี" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นที่ "พระพิมลธรรม" เมื่อปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)

มเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบุรณราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2386 ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 6 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2392 เมื่อพระชันษาได้ 86 ปี พระประวัติตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2301 เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมุนี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เลื่อนเป็น พระพรหมมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2359 ต่อมาเป็น พระธรรมอุดม และได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระพนรัตน เมื่อปี พ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากในระยะเวลาที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์กำลังอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงสถิต ณ วัดราชบูรณะตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ ทำให้ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นอันเลิกไปตั้งแต่นั้นมา และสมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อครั้งก่อน เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ยังคงสถิตอยู่ ณ พระอารามนับสืบต่อไป เป็นแบบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการส่งสมณทูตไปลังกาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2387 โดยทางเรือและเดินทางกลับในปีเดียวกัน พร้อมกับ ได้ยืมหนังสือพระไตรปิฎกมาอีก 30 คัมภีร์ พร้อมทั้งมีภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ชาวลังกา ติดตามมาด้วยกว่า 40 คน การที่มีพระสงฆ์ชาวลังกาเดินทางเข้ามาสยามบ่อยครั้ง จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ขณะผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร รับภาระต้อนรับดูแลพระสงฆ์ชาวลังกา ดังนั้น วัดบวรนิเวศจึงมีหมู่กุฎีไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่า คณะลังก.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

มเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ..

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สงครามยุทธหัตถี

ระมหาอุปราชมังกะยอชวา สงครามยุทธหัตถี เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2135 ระหว่างอยุธยากับพม่า ผลของสงครามครั้งนั้นปรากฏว่าอยุธยาเป็นฝ่ายชนะถึงแม้จะมีกำลังพลน้อยกว.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและสงครามยุทธหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

อรัญวาสี

อรัญวาสี (อ่านว่า อะ-รัน-ยะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในป่า, ผู้อยู่ประจำป่า อรัญวาสี เป็นชื่อเรียกคณะสงฆ์โบราณคณะหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในป่าห่างชุมชน เรียกว่า คณะอรัญวาสี คู่กับ คณะคามวาสี ซึ่งตั้งวัดอยู่ในชุมชน อรัญวาสี ปัจจุบันหมายถึงภิกษุผู้อยู่ในป่าหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า พระป่า ซึ่งมีกิจวัตรประจำวันเน้นหนักไปในทางวิปัสสนาธุระคืออบรมจิต เจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีปอนหรือสีกรัก มุ่งการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด อรัญวาสี ถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะขึ้นไป เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระป.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและอรัญวาสี · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมยุติกนิกาย

ตราคณะธรรมยุต ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "มหานิกาย".

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและธรรมยุติกนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

คามวาสี

มวาสี (อ่านว่า คา-มะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ผู้ประจำอยู่ในหมู่บ้าน หมายถึงภิกษุที่พำนักอยู่ตามวัดในหมู่บ้านหรือในตัวเมือง มีกิจวัตรประจำเน้นหนักไปในทางคันถธุระ คือศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจคือการบริหารปกครอง การเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลัก เรียกกันทั่วไปว่า พระบ้าน พระเมือง ซึ่งเป็นคู่กับคำว่า อรัญวาสี คือ พระป่า คามวาสีถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระบ้าน ทั้งพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิก.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและคามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: สมเด็จพระวันรัตและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วันรัต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »