โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

สมเด็จพระวันรัต vs. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

มเด็จพระวันรัต (อ่านว่า วันนะรัด) แปลว่า ผู้ยินดีในการอยู่ป่า ผู้รักการอยู่ป่า เดิมใช้คำว่า พนรัตน์ และ วันรัตน์ ซึ่งแปลว่า ป่าแก้ว ปัจจุบันเป็นราชทินนามสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วันรัตน์ เป็นนามที่ได้มาจากลังกา สันนิษฐานตามคำแปลว่าคงเป็นสังฆนายกฝ่ายอรัญวาสี คู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นสังฆนายกฝ่ายคามวาสี ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ ปรากฏนามนี้ครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ว่าพระพนรัตน์ป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีสินในการก่อกบฏพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2553. มเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่า ด่อน เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2365 ดำรงตำแหน่ง 20 ปีสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2385 สิริพระชันษาได้ 81 ปี พระประวัติในตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2304 ได้เป็นที่ "พระเทพโมลี" อยู่ที่วัดหงส์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และได้เป็นที่ "พระพรหมมุนี" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นที่ "พระพิมลธรรม" เมื่อปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนาในปี พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”.

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารและสมเด็จพระวันรัต · วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)

มเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบุรณราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2386 ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 6 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2392 เมื่อพระชันษาได้ 86 ปี พระประวัติตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2301 เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมุนี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เลื่อนเป็น พระพรหมมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2359 ต่อมาเป็น พระธรรมอุดม และได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระพนรัตน เมื่อปี พ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากในระยะเวลาที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์กำลังอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงสถิต ณ วัดราชบูรณะตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ ทำให้ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นอันเลิกไปตั้งแต่นั้นมา และสมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อครั้งก่อน เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ยังคงสถิตอยู่ ณ พระอารามนับสืบต่อไป เป็นแบบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการส่งสมณทูตไปลังกาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2387 โดยทางเรือและเดินทางกลับในปีเดียวกัน พร้อมกับ ได้ยืมหนังสือพระไตรปิฎกมาอีก 30 คัมภีร์ พร้อมทั้งมีภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ชาวลังกา ติดตามมาด้วยกว่า 40 คน การที่มีพระสงฆ์ชาวลังกาเดินทางเข้ามาสยามบ่อยครั้ง จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ขณะผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร รับภาระต้อนรับดูแลพระสงฆ์ชาวลังกา ดังนั้น วัดบวรนิเวศจึงมีหมู่กุฎีไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่า คณะลังก.

สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) · สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)และสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)

สมเด็จพระวันรัต มี 44 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.08% = 2 / (44 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สมเด็จพระวันรัตและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »