โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตรุษจีน

ดัชนี ตรุษจีน

pinoy301770 ตรุษจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (正月) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (除夕) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ" ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี..

53 ความสัมพันธ์: บรรพบุรุษชาชนบัลการ์พ่อกระดาษเงินกระดาษทองกวางตุ้งการเชิดสิงโตกตัญญูภาษาหมิ่นใต้ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานภาษาจีนกลางภาษาแคะภาษาแต้จิ๋วมาเก๊าฤดูหนาวฤดูใบไม้ผลิสุราส้มหวงตี้อั่งเปาฮั่นฮ่องกงจังหวัดยะลาจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดปัตตานีจังหวัดนราธิวาสธูปขนมเทียนขนมเข่งความเป็นญาติคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60ตรุษเกาหลีปฏิทินสุริยจันทรคติปฏิทินจีนปฏิทินไทยปฏิทินเกรโกเรียนประทัดประเทศฟิลิปปินส์ประเทศภูฏานประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศอินโดนีเซียประเทศจีนประเทศไทยประเทศไต้หวันประเทศเวียดนามแม่แผนภูมิสวรรค์ไทยเชื้อสายจีน...เกาหลีเหมายันเทศกาลโคมไฟ ขยายดัชนี (3 มากกว่า) »

บรรพบุรุษ

รรพบุรุษ คือ บิดาหรือมารดา หรือบิดาหรือมารดาของบรรพบุรุษ (คือ ปู่ย่าตายาย ทวด เทียด ขึ้นไป) บรรพบุรุษคือ "บุคคลใดซึ่งผู้หนึ่งสืบเชื้อสายมา ในทางกฎหมาย คือ บุคคลที่ยกมรดกให้" ปัจเจกบุคคลสองคนมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมหากผู้หนึ่งเป็นบรรพบุรุษของอีกผู้หนึ่ง หรือแต่ก่อนมีบรรพบุรุษร่วมกัน ในทฤษฎีวิวัฒนาการ สปีชีส์ซึ่งมีบรรพบุรุษทางวิวัฒนาการร่วมเรียกว่า ผู้สืบเชื้อสายร่วม (common descent) ทว่า มโนทัศน์นี้ไม่ใช้กับแบคทีเรียหรือสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สามารถถ่ายทอดยีนในแนวราบ หากสมมติว่าบรรพบุรุษของทุกคนบนโลกไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยปัจเจกบุคคลมีบรรพบุรุษ 2n คนในชั่วคนที่ n ก่อนหน้าเขา และมีบรรพบุรุษทั้งสิ้นประมาณ 2g+1 คนใน g ชั่วคนก่อนหน้าเขา ทว่า ในทางปฏิบัติชัดเจนว่าบรรพบุรุษมนุษย์ส่วนใหญ่ (และสปีชีส์อื่นทั้งหมด) มีความสัมพันธ์กันแบบทวีคูณ พิจารณา n.

ใหม่!!: ตรุษจีนและบรรพบุรุษ · ดูเพิ่มเติม »

ชา

ใบชาเขียวในถ้วยชาจีน ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ ชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: ตรุษจีนและชา · ดูเพิ่มเติม »

ชนบัลการ์

ัยชนะของทหารบัลการ์ในการต่อสู้กับทหารฝ่ายไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชนบัลการ์ หรือ ชนโบลการ์ (Bulgars, หรือ Bolgars, หรือ Bulghars, หรือ Proto-Bulgarians, ภาษาฮั่น-Bulgars) เป็นกลุ่มชาติพันธ์กึ่งเร่ร่อนที่อาจจะสืบเชื้อสายมาจากชนเตอร์กิกที่เดิมมาจากเอเชียกลาง ที่มาเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก่อก่อตั้งรัฐเกรตบัลแกเรีย, วอลกาบัลแกเรีย และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในบริเวณต่างๆ ในยุโรปสามบริเวณ ภาษาบัลการ์ที่ใช้ในพูดกันในบรรดาชนชั้นสูงเป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งกับภาษาฮั่น คาซาร์ และ เตอร์กิกอวาร์เป็นหนึ่งในสาขาOghuricของภาษากลุ่มเตอร์กิกEncyclopaedia Britannica Online - หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง..

ใหม่!!: ตรุษจีนและชนบัลการ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ่อ

100px พ่อ เป็นบิดาหรือมารดาเพศชายผู้เลี้ยงบุตร ให้อสุจิผ่านเพศสัมพันธ์หรือบริจาคอสุจิซึ่งเจริญเป็นเด็ก และ/หรือ บริจาคเซลล์ร่างกายซึ่งทำให้เกิดโคลน บิดากำหนดเพศของบุตรผ่านเซลล์อสุจิซึ่งมีโครโมโซมเอ็กซ์ (หญิง) หรือวาย (ชาย) เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ให้กำเนิดที่เป็นผู้ชายเป็นส่วนมาก บางครั้งอาจจะใช้เรียก พระ เช่น หลวงพ่อ เป็นต้น หรือในศาสนาคริสต์จะเรียกพระ เช่น คุณพ่อ คนแต่ละเชื้อชาติจะขานเรียกพ่อไม่เหมือนกัน เช่น ภาษาไทย เรียก คุณพ่อ ภาษาอังกฤษ เรียก ฟาเธอร์ ภาษาจีน เรียก ป่าป๊า เป็นต้น หมวดหมู่:ครอบครัว หมวดหมู่:พัฒนาการของมนุษย์.

ใหม่!!: ตรุษจีนและพ่อ · ดูเพิ่มเติม »

กระดาษเงินกระดาษทอง

กระดาษเงินกระดาษทอง เป็นกระดาษสีเงินสีทองด้านหนึ่งที่คนจีนใช้เผาไฟในพิธีไหว้เจ้าเป็นต้น.

ใหม่!!: ตรุษจีนและกระดาษเงินกระดาษทอง · ดูเพิ่มเติม »

กวางตุ้ง

กวางตุ้ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตรุษจีนและกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

การเชิดสิงโต

การเชิดสิงโต เป็นประเพณีการเต้นรำอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียที่ผู้แสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโตในชุดสิงโต การเชิดสิงโตปกติจะแสดงในเทศกาลตรุษจีนและในเทศกาลทางประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาของชาวจีนอื่น ๆ การเชิดสิงโตอาจแสดงในโอกาสสำคัญ เช่น งานเปิดตัวธุรกิจ การเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ หรืองานสมรส หรืออาจใช้เชิดชูเกียรติแขกพิเศษในชุมชนของชาวจีน การเชิดสิงโตของจีนมักมีผู้สับสนกับการเชิดมังกร ความแตกต่างคือสิงโตต้องใช้นักเต้นสองคน ในขณะที่มังกรต้องใช้คนหลายคน ในการเชิดสิงโต ใบหน้าของผู้แสดงจะแสดงให้เห็นเป็นครั้งคราว เนื่องจากพวกเขาอยู่ภายในตัวสิงโต ในการเชิดมังกร ใบหน้าของผู้แสดงจะแสดงให้เห็นได้ง่ายเนื่องจากมังกรจะยึดอยู่กับเสา การเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเชิดสิงโตพบได้ในศิลปะการป้องกันตัวของจีนหลายแขนง การเชิดสิงโตของจีนมีสองรูปแบบหลัก คือ สิงโตเหนือและสิงโตใต้ การแสดงทั้งสองรูปแบบพบได้ทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่อื่นในโลกมักพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเชิดสิงโตแบบใต้มีมากกว่าเนื่องจากได้รับการเผยแพร่โดยชุมชนจีนพลัดถิ่นซึ่งส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากจีนตอนใต้ การเชิดสิงโตรูปแบบอื่น ๆ อาจพบในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต และเวียดนาม การเชิดสิงโตอีกรูปแบบหนึ่งมีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย แต่เป็นประเพณีที่แตกต่างไปและอาจเรียกว่าซีงาบารง หมวดหมู่:สิงโตในวัฒนธรรมสมัยนิยม หมวดหมู่:การเต้นรำ.

ใหม่!!: ตรุษจีนและการเชิดสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

กตัญญู

วามกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตามแล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเล.

ใหม่!!: ตรุษจีนและกตัญญู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้

ษาหมิ่นใต้, ภาษาหมิ่นหนาน เป็นสำเนียงของภาษาจีน ใช้พูดทางใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาหมิ่นใต้เป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาไต้หวัน อยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่น ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาหมิ่นตะวันออก ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง.

ใหม่!!: ตรุษจีนและภาษาหมิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน

ษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้:福建話, ภาษาจีน:泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจงาจิว, เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณทฑฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไต้หวัน, สิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนี้ ประเทศไต้หวันเรียกว่า ไต้อี๊ (อักษรจีน:臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนเอ (ป๋ายเอ๋ยี๋:Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฟุกจิว (อักษรจีน:福州話).

ใหม่!!: ตรุษจีนและภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ตรุษจีนและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแคะ

300px ภาษาแคะ ภาษาฮักกา หรือ เค่อเจียฮว่า คือหนึ่งในภาษาของตระกูลกลุ่มภาษาจีน มีผู้พูด 34 ล้านคน เป็นภาษาของชาวฮั่น ที่มีบรรพบุรุษอยู่ในมณฑลเหอหนานและส่านซี ทางเหนือของจีนเมื่อกว่า 2,700 ปีที่แล้วต่อมาชาวแคะอพยพไปทางใต้เข้าสู่มณฑลกวางตุ้งและฝูเจี้ยนและไปเป็นชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก.

ใหม่!!: ตรุษจีนและภาษาแคะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ตรุษจีนและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

มาเก๊า

ตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Macao Special Administrative Region of the People's Republic of China, เรียกสั้น ๆ ว่า มาเก๊า ในภาษาอังกฤษเขียนเป็น Macau และ Macao, อ้าวเหมิน; 馬交 ก็เรียก) เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542 เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งเป็นภาษาแม่ ภาษาแมนดาริน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษก็มีพูดด้วย โดยกว้าง ๆ ชาวมาเก๊า (Macanese) หมายถึงผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง ชนพื้นเมืองในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว.

ใหม่!!: ตรุษจีนและมาเก๊า · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาว

ฤดูหนาว (ฝรั่งเศส: hiver; เยอรมัน อังกฤษ: winter; สเปน: invierno; โปรตุเกส: inverno) เป็นฤดูที่มีอากาศหนาวที่สุดในปี ฤดูหนาวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนือ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 22 มีนาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป อากาศจะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิจะลดลงได้บ้างเป็นครั้งคราวและจะมีฝนตกตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงนราธิวาส หนาว หมวดหมู่:ฤดูหนาว.

ใหม่!!: ตรุษจีนและฤดูหนาว · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ผลิ

ีสันแสนสวยงามในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) หรือที่เรียกกันว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) มีชื่อไทยว่า วสันตฤดู เป็นฤดูในเขตอบอุ่นและเขตหนาว มีสภาพอากาศปลอดโปร่ง โดยทั่วไป ฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี ในขณะที่ในซีกโลกใต้ จะมีระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน.

ใหม่!!: ตรุษจีนและฤดูใบไม้ผลิ · ดูเพิ่มเติม »

สุรา

ราที่วางขายในร้าน สุรา (liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่น ๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า" ประเทศต่าง ๆ ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการผลิต การขาย และการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถบริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีสำหรับประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์, ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในประเทศไทย หรือไม่ต่ำกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกา การบริโภคทั้งสุราและเมรัยเป็นข้อห้ามในข้อสุราเมรยมัชปมาทัฏฐานหรือข้อที่ 5 แห่งเบญจศีลของพุทธศาสนา ซึ่งว่า "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ" แปลได้ว่า "เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท".

ใหม่!!: ตรุษจีนและสุรา · ดูเพิ่มเติม »

ส้ม

'ส้ม' เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม วิตามินเอ และ วิตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ 4 ชนิด ด้วยกัน คือ.

ใหม่!!: ตรุษจีนและส้ม · ดูเพิ่มเติม »

หวงตี้

หวงตี้ หรือ จักรพรรดิเหลือง (黃帝) เป็นหนึ่งในกษัตริย์ตามตำนานจีนและวีรบุรุษทางวัฒนธรรมHelmer Aslaksen, section (retrieved on 2011-11-18) เป็นหนึ่งในซานหวงอู่ตี้ ตำนานระบุว่า จักรพรรดิเหลืองครองราชย์ตั้งแต่ 2697 – 2597 หรือ 2696 – 2598 ปีก่อนคริสตกาลHerbert Allen Giles (1845–1935), A Chinese Biographical Dictionary (London: B. Quaritch, 1898), p. 338; cited in.

ใหม่!!: ตรุษจีนและหวงตี้ · ดูเพิ่มเติม »

อั่งเปา

ตัวอย่างของ อั่งเปา อั่งเปา (หงเปา) เป็นเงินของขวัญที่มีการให้และรับในวัฒนธรรมจีน ชื่ออั่งเป่าภาษาจีนมาความหมายถึง ซองสีแดง ที่มอบให้โดยมีเงินบรรจุอยู่ด้านใน ซึ่งเงินที่บรรจุภายในเรียก 利是 (Laวi Si, Lee See) อั่งเปานิยมมีการให้มอบให้ในงานสำคัญของครอบครัว เช่น พิธีแต่งงาน หรือ วันตรุษจีน (วันปีใหม่ของจีน) โดยในวันตรุษจีนผู้ที่มีอายุสูงกว่าหรือทำงานมีเงินเดือนแล้ว จะเป็นคนให้อั่งเป่าแก่เด็กหรือญาติที่ยังไม่ได้ทำงาน สีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดี และเงินที่บรรจุภายบางครั้งจะเป็นเลขนำโชค เช่น เลข 8 อ่านในภาษาจีนจะมีความหมายถึงความรุ่งเรือง หรือความร่ำรวย หมวดหมู่:วัฒนธรรมจีน.

ใหม่!!: ตรุษจีนและอั่งเปา · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่น

ั่น ในภาษาจีนอาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตรุษจีนและฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: ตรุษจีนและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยะลา

ลา เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซี.

ใหม่!!: ตรุษจีนและจังหวัดยะลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสงขลา

งขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: ตรุษจีนและจังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: ตรุษจีนและจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปัตตานี

ปัตตานี เป็นจังหวัดในภาคใต้ ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขล.

ใหม่!!: ตรุษจีนและจังหวัดปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก.

ใหม่!!: ตรุษจีนและจังหวัดนราธิวาส · ดูเพิ่มเติม »

ธูป

ูปที่กำลังเผาไหม้ในเขาอู่ไถ ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณเพื่อบูชาเทพเจ้าหรือทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยของหอม ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่างๆที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม.

ใหม่!!: ตรุษจีนและธูป · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเทียน

'''ขนมเทียน''' หรือ ขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว ในพิธีกรรมของชาวชอง จะใช้ขนมเทียนในพิธีไหว้ผีหิ้งด้วย ขนมเทียน.

ใหม่!!: ตรุษจีนและขนมเทียน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเข่ง

หนียนเกา, เค้กข้าว, เค้กประจำปี หรือ เค้กตรุษจีน คืออาหารที่ทำจากข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในอาหารจีน ขนมเข่งสามารถพบได้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวเอเชีย และในร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ถึงแม้ขนมเข่งจะรับประทานได้ตลอดปี แต่จะเป็นที่นิยมที่สุดในช่วงตรุษจีน คนนิยมรับประทานขนมเข่งในช่วงนี้ เพราะคำว่า เหนียนเกา ออกเสียงเหมือนคำว่า ปีที่สูงขึ้น ในภาษาจีน.

ใหม่!!: ตรุษจีนและขนมเข่ง · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นญาติ

ตารางแสดงลำดับความสัมพันธ์ของญาติ ญาติ เป็นความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างบุคคลที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน.

ใหม่!!: ตรุษจีนและความเป็นญาติ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60

ณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 — 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) เป็นคณะรัฐมนตรีไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2554 ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และการแต่งตั้ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตาม ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 โดยลำดับ คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เมื่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: ตรุษจีนและคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษเกาหลี

ตรุษเกาหลี (Korean New Year) หรือ ซอลลาล (설날) เป็นวันแรกของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งเป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุดของชาวเกาหลีที่มีมาแต่เดิม อันประกอบด้วยระยะเวลาการเฉลิมฉลองที่เริ่มต้นในวันขึ้นปีใหม่ ชาวเกาหลียังทำการฉลองวันปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติในวันที่ 1 มกราคมของทุกปีตามปฏิทินเกรกอเรียน ในขณะที่วันขึ้นปีใหม่ของชาวเกาหลีจะเป็นวันหยุดปีใหม่ของชาวเกาหลีตามช่วงสามวัน และถือเป็นวันหยุดที่สำคัญกว่าวันขึ้นปีใหม่แบบสุริยคติ นิยามของคำว่า "ซอลลาล" โดยทั่วไปหมายถึง อึม-นยอก ซอลลาล (음력 설날, lunar new year) ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ คูจอง (ฮันกึล: 구정; ฮันจา: 舊正) โดยทั่วไปบางส่วน "ซอลลาล" ยังหมายถึง ยาง-นยอก ซอลลาล (양력 설날, solar new year) ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ ชินจอง (ฮันกึล: 신정; ฮันจา: 新正) วันขึ้นปีใหม่ของเกาหลีโดยทั่วไปยึดเอาคืนที่สองของวันจันทร์ดับหลังจากช่วงเหมายัน เว้นเสียแต่ว่าจะมีน้อยมากในช่วงเดือนสิบเอ็ดหรือเดือนสิบสองซึ่งได้นำไปนับในช่วงปีใหม่ ในกรณีเช่นนี้วันขึ้นปีใหม่จะตรงกับคืนจันทร์ดับที่สามหลังจากช่วงอายัน (ครั้งต่อไปที่จะเกิดกรณีเช่นนี้อีกคือ ค.ศ. 2033) วันขึ้นปีใหม่ของชาวเกาหลีโดยทั่วไปเป็นวันเดียวกันกับวันตรุษจีน, วันขึ้นปีใหม่ของมองโกเลีย, วันขึ้นปีใหม่ของทิเบต และตรุษญวน โดยทั่วไปมักใช้ชื่อตะวันตกเพื่ออธิบายถึงเทศกาลนี้แบบครอบคลุม แม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักของวิทยาศาสตร์ว่าเป็นปีใหม่แบบจันทรคติอยู่ก็ตาม.

ใหม่!!: ตรุษจีนและตรุษเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยจันทรคติ

ปฏิทินสุริยจันทรคติ (lunisolar calendar) เป็นคำใช้เรียกรูปแบบการใช้ปฏิทินรูปแบบหนึ่ง มีใช้กันในหลายวัฒนธรรม โดยใช้ดิถีของดวงจันทร์เพื่อบอกข้างขึ้นข้างแรม บอกเดือน ตามแบบปฏิทินจันทรคติ โดยมากจะใช้บอกวันสำคัญทางศาสนา หรือเทศกาลฉลองตามประเพณีดั้งเดิม และมีการกำหนดวันตามแบบปฏิทินสุริยคติ เพื่อบอกเดือน และปี ในรูปแบบผสมนี้มักกำหนดปีตามรอบสุริยคติ คือปีหนึ่งมี 365 วัน หรือ 366 วัน.

ใหม่!!: ตรุษจีนและปฏิทินสุริยจันทรคติ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจีน

ปฏิธินจีนปี ค.ศ.2017 ปฏิทินจีน หมายถึง ปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติซึ่งชาวจีนหรือชาวต่างประเทศเชื้อสายจีนใช้ในทางราชการและการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ในการติดต่อราชการ-ธุรกิจ ชาวจีนใช้ปฏิทินสุริยคติสากลเช่นเดียวกับชาวตะวันตกและอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่การกำหนดประเพณีสำคัญจะอาศัยปฏิทินจันทรคติเป็นหลักเสมอ ปฏิทินสุริยคติจีน กำหนดให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ดับที่ใกล้กับวันเหมายัน หรือวันที่ซีกโลกเหนือมีกลางวันสั้นที่สุด ส่วนปฏิทินจันทรคติจีน กำหนดให้เริ่มขึ้นปีนักษัตรใหม่ในวันลี่ชุน แต่เริ่มปีใหม่ในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันจันทร์ดับต้นฤดูใบไม้ผลิ มักอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนมกราคมของทุกปี.

ใหม่!!: ตรุษจีนและปฏิทินจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินไทย

ปฏิทินไทย (อังกฤษ: Thai calendar) เป็นปฏิทินชนิดที่เรียกว่าสุริยจันทรคติ โดยใช้ปฏิทินสุริยคติไทยในทางราชการและนิยมใช้ทั่วประเทศไทย ซึ่งขณะเดียวกัน ปฏิทินจันทรคติไทย มีการใช้งานในการนับวันสำคัญทางพุทธศาสนาและวันข้างขึ้นข้างแรม.

ใหม่!!: ตรุษจีนและปฏิทินไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินเกรโกเรียน

ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม..

ใหม่!!: ตรุษจีนและปฏิทินเกรโกเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ประทัด

ประทัด อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตรุษจีนและประทัด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ตรุษจีนและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

แม่

แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด และโดยทั่วไป คือ แม่ที่เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ ลูก เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกเพราะเป็นผู้ให้กำเนิด แม่ทั่วไปมีหน้าที่ให้ครอบครัวคือ เลี้ยงลูก ดูแลบ้าน สำหรับผู้หญิงที่จะเป็นแม่คน หรือจะมีบุตรได้นั้น ควรจะมีอายุระหว่าง 20-30 ปี เนื่องจากในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผู้หญิงมีการเจริญเติบโตทางร่างกาย สมบูรณ์เต็มที่ ไม่เด็ก หรือว่าแก่เกินไป คนไทยบางคนมักเรียก แม่ ของตัวเองว่า "คุณแม่" ซึ่งถือเป็นคำที่สุภาพกว่าการเรียกว่า "แม่" ห้วน ๆ ในภาษาไทยบางครั้งคำว่า แม่ ถูกใช้เรียก ผู้หญิง ทั่ว ๆ ไป หรือ จำเพาะเป็นกลุ่ม ๆ เช่น แม่บ้าน แม่นม หรือบางครั้งก็ใช้เรียกสิ่งที่เป็นตัวหลักของสิ่งอื่น เช่น แม่ทัพ แม่งาน และบางครั้งก็เรียกสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งอื่น ๆ ในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ มีบทประพันธ์แปลเกี่ยวกับความรักของแม่ของพระราชธรรมนิเทศ ไว้ดังนี้.

ใหม่!!: ตรุษจีนและแม่ · ดูเพิ่มเติม »

แผนภูมิสวรรค์

แผนภูมิสวรรค์ แผนภูมิสวรรค์ (กานจือ) คือระบบเลขฐาน 60 แบบวนรอบที่เขียนด้วยอักษรจีน ซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน ได้แก่ ภาคสวรรค์ เรียกว่า "ราศีบน" มี 10 ตัวอักษร (天干; tiāngān เทียนกาน) และภาคปฐพี เรียกว่า "ราศีล่าง" มี 12 ตัวอักษร (地支; dìzhī ตี้จือ) แผนภูมิสวรรค์ใช้สำหรับการนับวันและปีแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในโหราศาสตร์ของจีน นอกจากจีนแล้วประเทศในเอเชียตะวันออกอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ก็ใช้ระบบเลขนี้ด้วย “ปีหนไท” ซึ่งเป็นระบบปฏิทินแบบไทโบราณที่เคยใช้ในอาณาจักรสิบสองปันนา ล้านนา ล้านช้าง และสมัยสุโขทัยตอนต้น ก็เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากปฏิทินกานจือของจีนโบราณเช่นกัน เนื่องจากมีองค์ประกอบเหมือนกันทุกประการ และมีชื่อเรียกต่างกันเล็กน้อย เช่น ภาคสวรรค์ (แม่มื้อ) ได้แก่ กาบ ดับ ระวาย เมือง เปลิก กัด กด ร้วง เต่า ก่า (เทียบเท่ากับ เอกศก โทศก ตรีศก ในปัจจุบัน) และภาคปฐพี (ลูกมื้อ) ได้แก่ ใจ้ เปล้า ญี เหม้า สี ใส้ สะง้อ เม็ด สัน เร้า เส็ด ใค้ (เทียบเท่ากับ ชวด ฉลู ขาล ฯลฯ ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ตรุษจีนและแผนภูมิสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยเชื้อสายจีน

วไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมิ่นหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ.

ใหม่!!: ตรุษจีนและไทยเชื้อสายจีน · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตรุษจีนและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เหมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกใต้ในวันเหมายัน เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววันที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นราวเดือนมิถุนายน มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้ามกับครีษมายัน (summer solstice).

ใหม่!!: ตรุษจีนและเหมายัน · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลโคมไฟ

ทศกาลโคมไฟ คือ เทศกาลฉลองในวันที่ 15 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ เป็นสัญลักษณ์ของวันสุดท้ายในการฉลองเทศกาลปีใหม่ของจีนตามปฏิทินทางจันทรคติ ในเทศกาลโคมไฟ เด็กๆ จะถือโคมไฟกระดาษ ออกไปวัดกันในตอนกลางคืน และพากันทายปริศนาที่อยู่บนโคมไฟ เรียกว่า ไชเติงหมี ในสมัยโบราณ, โคมไฟจะทำเป็นรูปแบบง่ายๆ จะมีเพียงแต่ของกษัตริย์ และขุนนางเท่านั้นที่จะมีโคมไฟที่หรูหราใหญ่โต แต่ในสมัยปัจจุบัน, โคมไฟได้ถูกประดับประดาด้วยรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น.

ใหม่!!: ตรุษจีนและเทศกาลโคมไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วันตรุษจีนวันตรุสจีนชิวอิกชุนเจี๋ยปีใหม่จีนเทศกาลตรุษจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »