โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

ดัชนี วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

48 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2402การกินการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาวะผิวเผือกยูแคริโอตวงศ์ย่อยปลากระดี่วงศ์ย่อยปลากัดวงศ์ย่อยปลาหมอจำปะวงศ์ย่อยปลาแรดวงศ์ปลาหมอสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์หวอดออกซิเจนอันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่อันดับปลากะพงอนุทวีปอินเดียทะเลสาบคลองประเทศมาเลเซียประเทศอินโดนีเซียประเทศไทยประเทศเกาหลีปลาช่อนเข็ม (สกุล)ปลาพาราไดซ์ปลาพาราไดซ์ (สกุล)ปลากระดี่ปลากระดี่ช็อกโกแลต (สกุล)ปลากระดี่มุกปลากระดี่หม้อปลากระดี่อินเดียปลากระดี่โนเบิลปลากริมปลากริมแรดปลากัดปลากัด (สกุล)ปลาสลิดปลาสวยงามปลาหมอตาลปลาที่มีก้านครีบปลาแรดปีเตอร์ เบลเกอร์นาแม่น้ำเมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียใต้

พ.ศ. 2402

ทธศักราช 2402 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1859.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และพ.ศ. 2402 · ดูเพิ่มเติม »

การกิน

การรับทานอาหารมักเป็นกิจกรรมทางสังคม การกิน หรือ การบริโภค เป็นการนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพลังงาน หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม หมวดหมู่:สรีรวิทยา หมวดหมู่:กิจวัตรของมนุษย์.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และการกิน · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะผิวเผือก

ลิงเผือกในสวนสัตว์พาต้า ภาวะผิวเผือก (Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับยีนส์ด้อย ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และภาวะผิวเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลากระดี่

วงศ์ย่อยปลากระดี่ เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciocephalinae สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้ ประกอบไปด้วยสกุลต่าง ๆ ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ย่อยปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลากัด

วงศ์ย่อยปลากัด (Fighting fish & Paradise fish) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่มีอวัยวะหายใจลักษณะคล้ายเขาวงกต ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodusinae เป็นปลาขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วไม่เกินนิ้วมือของมนุษย์ จัดเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลายที่สุดของวงศ์ใหญ่นี้ เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยสมาชิกที่เป็นที่รู้จักกันดีของวงศ์ย่อยนี้ คือ ปลากัด มีพฤติกรรมการวางไข่ทั้งก่อหวอดและอมไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ย่อยปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาหมอจำปะ

วงศ์ย่อยปลาหมอจำปะ (Combtail gourami) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อวงศ์ว่า Belontiinae ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ซึ่งมีอยู่เพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Belontia (/เบ-ลอน-เทีย-อา/) โดยมาจากชื่อหมู่บ้านเบลออนท์จา (Belontja) ซึ่งเป็นหมู่บ้านในเมืองปาเลมบังในประเทศอินโดนีเซีย มีรูปร่างโดยรวมเหมือนปลากัดผสมกับปลาหมอ แต่มีลำตัวแบนข้างและกว้างมากกว่า ครีบหางมนกลม ครีบท้องเล็ก ครีบหลังใหญ่และแหลม ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ปลายของครีบหลังและครีบก้นยื่นออกมาเป็นเส้นเดี่ยว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 16-20 ก้าน และก้านครีบแขนง 9-13 แขนง ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 13-17 ก้าน และก้านครีบแขนง 10-13 ก้าน ลำตัวจะมีสีน้ำตาลเหลืองคล้ำหรือน้ำตาลแดง มีขนาดความยาวตั้งแต่ 5 นิ้ว จนถึง 20 เซนติเมตร ทำรังโดยตัวผู้ก่อหวอดเหมือนปลากัดหรือปลากระดี่ ตัวมีขนาดใหญ่และสีสดกว่าตัวเมีย พบเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ย่อยปลาหมอจำปะ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาแรด

วงศ์ย่อยปลาแรด (Giant gouramis) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1 สกุล 4 ชนิด (ดูในตาราง) มีลักษณะร่วมกันคือ ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อ โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นอาหารหลัก นิสัยก้าวร้าวพอสมควร และเป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่อยู่ในช่องเหงือกช่วยในการหายใจ อีกทั้งยังสามารถเก็บความชื้นไว้ได้เมื่อถูกจับพ้นน้ำ มีขนาดโตเต็มที่ราว 90 เซนติเมตร ในชนิด Osphronemus goramy ซึ่งนับว่าเป็นปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ที่ใหญ่ที่สุด พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลเอื่อย ๆ มีพืชน้ำขึ้นรก มีทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ย่อยปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอ

วงศ์ปลาหมอ (Climbing gourami, Climbing perch) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ที่มีการกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anabantidae (/อะ-นา-เบน-ทิ-ดี/) เดิมวงศ์นี้เคยถูกรวมเข้าเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) และวงศ์ปลาจูบ หรือ ปลาหมอตาล (Helostomatidae) ซึ่งปลาในวงศ์เหล่านี้ถูกเรียกรวม ๆ กันในชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า "Labyrinth fish" (ปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ) ซึ่งปลาในวงศ์ทั้ง 3 นี้ มีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจเหมือน ๆ กัน แต่เมื่อศึกษาแล้ว พบว่ามีโครงสร้างหลัก ๆ ของกระดูกแตกต่างกันมาก ซึ่งลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญของวงศ์ปลาหมอ คือ มีอวัยวะช่วยหายใจที่พัฒนามาจากเหงือกชุดสุดท้าย ลักษณะเป็นแผ่นกระดูกบางจำนวนมาก และทับซ้อนกันและมีร่องวกวนเหมือนเขาวงกต ระหว่างร่องเหล่านี้มีเส้นเลือดฝอยอยู่จำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับออกซิเจนจากอากาศจากผิวน้ำ นักมีนวิทยาสันนิษฐานว่า ปลาในวงศ์ปลาหมอนี้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีทั้งปริมาณออกซิเจนสูงและต่ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจและเผาผลาญอาหารไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องขึ้นมาหายใจรับออกซิเจนบนผิวน้ำเพื่อกิจกรรมเหล่านี้ แต่ในระยะที่ยังเป็นลูกปลาอยู่ ในระยะที่มีอายุไม่เกิน 15 วัน อวัยวะที่ช่วยในการหายใจยังไม่พัฒนาเต็มที่ ลูกปลาจึงไม่สามารถขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้ นอกจากนี้แล้ว ปลาในวงศ์นี้ ยังมีลักษณะทางอนุกรมวิธานทางกายภาพอีก คือ จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าครีบอกเล็กน้อย ขอบของกระดูกแก้มชิ้นหน้าและชิ้นกลางมีขอบเป็นหนามแข็ง ภายในปากมีฟันแหลมคมเป็นแบบเขี้ยวที่กระดูกขากรรไกรทั้งสองข้างและกระดูกเพดานปาก ปลาเกือบทุกสกุลมีเกล็ดแบบสาก ยกเว้นสกุล Sandelia ที่มีเกล็ดแบบบางเรียบ เส้นข้างลำตัวแยกออกเป็นสองเส้น สมาชิกของปลาในวงศ์นี้มีทั้งหมด 4 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ปลาหมอ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หวอด

ปลากระดี่แคระสร้างหวอด โดยปลาเพศผู้เกาะติดกับไม้น้ำสกุล ''Hydrocotyle'' ลูกปลากัดเกาะติดกับหวอด หวอด (Bubble nest) คือ รังของปลาบางประเภท ที่มีลักษณะเป็นฟองอากาศลอยอยู่เหนือผิวน้ำ หวอด เกิดจากการที่มีปลาเพศผู้ใช้น้ำลายของตัวผสมรวมกับอากาศพ่นออกมาเป็นฟองอากาศมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ใส จับตัวรวมกันเป็นกลุ่มหรือก้อนลอยอยู่เหนือผิวน้ำ โดยมักสร้างให้เกาะติดกับวัสดุต่าง ๆ ในน้ำ เช่น พืชน้ำชนิดต่าง ๆ เพื่อมิให้หวอดแตก หวอดถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการขยายพันธุ์ ใช้เป็นรังของการวางไข่และเพาะฟักลูกปลา หวอด เมื่อถูกนำขึ้นมาจากน้ำสัมผัสกับอากาศจะไม่แตก ต่างกับฟองน้ำธรรมดา โดยปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ขึ้นชื่ออย่างมากในการก่อหวอด เช่น ปลากัด (Betta spp.), ปลากระดี่ (Trichopodus spp.), ปลากริม (Trichopsis spp.) หรือปลากระดี่แคระ (Trichogaster spp.) ซึ่งขนาดของหวอดและขนาดของกลุ่มก้อนหวอดจะใหญ่-เล็กต่างกันไปตามชนิดของปลา เช่น หวอดของปลากระดี่เม็ดจะเล็กกว่าของปลากัด แต่จะมีขนาดกลุ่มก้อนใหญ่กว่า หน้า 16 เกษตร, เสริมความสวยงามให้กระดี่มุก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และหวอด · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ (อันดับย่อย: Anabantoidei) เป็นอันดับย่อยของปลาที่อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ซึ่งทั้งหมดเป็นปลาที่อยู่ในน้ำจืดทั้งหมด โดยจะพบในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabantoidei (/อะ-นา-เบน-ทอย-เดีย/) ส่วนมากเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกินฝ่ามือของมนุษย์ แต่จะมีบางสกุลเท่านั้นที่ใหญ่ได้ถึงเกือบหนึ่งเมตร ได้แก่ Osphronemus หรือสกุลปลาแรด ปลาในอันดับนี้จะถูกเรียกในชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Labyrinth fish" หรือ "ปลาที่มีอวัยวะช่วยในการหายใจ" เพราะปลาในอันดับนี้จะมีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป Pinter, H. (1986).

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และอันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

คลอง

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และคลอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลี

แผนที่ประเทศเกาหลีก่อนที่จะถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ธงรวมเกาหลี ธงสัญลักษณ์ร่วมสำหรับเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในการแข่งขันกีฬานานาชาตินับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선, ฮันกุก หรือ โชซ็อน) เป็นอดีตประเทศ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และประเทศเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเข็ม (สกุล)

ปลาช่อนเข็ม (Pikehead fish) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อสกุลว่า Luciocephalus (/ลิว-ซิ-โอ-เซฟ-อา-ลัส/) มีรูปร่างแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้อย่างเห็นได้ชัด โดยกลับมีรูปร่างคล้ายปลาช่อน แต่หัวและปากยื่นยาวแหลมเหมือนปลาเข็ม ลำตัวมีสีน้ำตาลไหม้หรือน้ำตาลเขียว ด้านหลังสีจางกว่า และมีแถบสีดำพาดยาวทางความยาวลำตัวอย่างเห็นได้ชัด ครีบทุกครีบบางใส และไม่มีถุงลม มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 20 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินอยู่ตามผิวน้ำของพรุตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ในอินโดนีเซีย วางไข่โดยตัวผู้จะอมไว้ในปาก และเลี้ยงจนลูกปลาได้ขนาด 1 เซนติเมตร จึงปล่อยออกมา ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาช่อนเข็ม (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพาราไดซ์

ปลาพาราไดซ์ (Paradise fish, Paradise gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodus opercularis อยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จึงมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่มีความวนเวียนเหมือนเขาวงกต เหมือนเช่นปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน ทำให้สามารถขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำได้โดยตรง และสามารถอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำได้ โดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายลงในน้ำก่อนเช่นปลาทั่วไป มีขนาดความยาวลำตัว ประมาณ 7.5 เซนติเมตร มีลำตัวค่อนข้างกว้าง แบนข้าง หัวเล็ก นัยน์ตาโต ปากอยู่หน้าสุด ริมฝีปากยืดหดได้ มีฟันบนกระดูกเพดานปาก เส้นข้างตัวไม่สมบูรณ์ มีลักษณะเด่นอยู่ที่ครีบหลัง ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบก้น มีปลายที่ยื่นยาวเป็นเส้นสวยงาม ครีบท้องและครีบหางเป็นสีส้มแดง ครีบหลังมีก้านครีบแขนงไม่เกิน 10 ก้าน ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกบางใส ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว อันแรกยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางมีปลายครีบตัดตรง สีพื้นลำตัวเป็นสีเขียวมีลายสีส้มขวางลำตัวจำนวน 9 แถบ ตัวผู้จะมีสีสันสวยสดกว่าตัวเมีย เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ไต้หวัน, จีน, ฮ่องกง, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ และตอนเหนือของเวียดนาม โดยอาศัยอยู่ตามหนองบึง นาข้าว เหมือนกับปลากัดหรือปลากระดี่โดยตัวผู้จะมีการก่อหวอด กินอาหารจำพวก ลูกน้ำ, ลูกไร หรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีการผสมพันธุ์และดูแลไข่เหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ปลาพาราไดซ์ มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว แต่สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีการเพาะขยายพันธุ์จนมีสีสันต่าง ๆ ที่แปลกออกไปจากชนิดที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น สีเผือกทั้งตัว หรือ สีเขียว เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาพาราไดซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพาราไดซ์ (สกุล)

ปลาพาราไดซ์ หรือ ปลาสวรรค์ (Paradise fishes, Paradise gouramis) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Macropodinae และอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อสกุลว่า Macropodus (/แม็ค-โคร-โพ-ดัส/).

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาพาราไดซ์ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่

ปลากระดี่ (Gouramis, Gouramies; Sepat; อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในสกุล Trichopodus (เดิมใช้ Trichogaster) ในวงศ์ย่อย Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ แบนข้างคล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ตะเกียบ" เป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส มีก้านครีบแขนง 2-4 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-9 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-11 ครีบ ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 9-14 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 25-40 ก้าน ครีบท้องและครีบก้นต่อยาวเป็นแถวเดียวกัน โดยที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว ปลายครีบหางไม่เว้ามากนัก เป็นปลาที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบได้แทบทุกประเภทของแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่ช็อกโกแลต (สกุล)

ปลากระดี่ช็อกโกแลต เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Sphaerichthys ในวงศ์ Macropodusinae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาในปลากัด (Betta spp.) และปลากริม (Trichopsis spp.) โดยอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae รูปร่างโดยรวมของปลาในสกุลนี้ คือ มีลำตัวขนาดเล็ก มีรูปร่างบาง แบนข้าง ส่วนหัวแหลม ตากลมโตมีขนาดใหญ่ มีสีลำตัวออกไปทางสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลแดงเหมือนช็อกโกแลต อันเป็นที่มาของชื่อ โดยที่ปลาตัวผู้จะมีสีแดงสดกว่าตัวเมีย และที่สำคัญคือ มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ มีลายพาดขวางลำตัวเหมือนสร้อยสีขาว 3-4 ขีด (คำว่า Sphaerichthys ซึ่งเป็นชื่อสกุลหมายถึง วงกลม)ขนาดลำตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 6 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบได้ในมาเลเซีย, เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเซียเท่านั้น พบทั้งสิ้น 4 ชนิดนี้.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากระดี่ช็อกโกแลต (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่มุก

ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus leerii ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อนยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจาง มีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหาง ท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลือง มีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ เป็นต้น เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ เป็นปลาที่สามารถเพาะพันธุ์ในสถานที่เลี้ยงได้ และมีการแข่งขันประกวดความสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากระดี่มุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่หม้อ

ปลากระดี่หม้อ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus trichopterus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T. microlepis) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่หม้อมีรูปร่างป้อมกว่า ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตัวมีสีเทาอมสีฟ้าหรือสีคล้ำตามแนวพาดขวางหรือพาดเฉียง ตลอดลำตัวด้านข้างหลายแถบรวมถึงที่ข้างแก้มกลางลำตัวด้านข้างและโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่แห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลือง ขอบครีบสีเหลือง ครีบอื่นสีใส ครีบหางใสมีสีประคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดคือ 15 เซนติเมตร ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใส เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ จัดเป็นปลาสกุล Trichopodus ที่พบชุกชุมที่สุด นิยมบริโภคในท้องถิ่น เช่นเดียวกับปลาสลิด (T. pectoralis) และปลากระดี่นาง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "เดิด" ภาษาเหนือเรียก "สลาก" หรือ "สลาง" ชื่อในภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่สามจุด" (Three spot gourami) หมายถึง จุดดำสองจุดใหญ่ตามลำตัวและนับลูกตาด้วย ชื่อที่นิยมเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามคือ "กระดี่นางฟ้า".

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากระดี่หม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่อินเดีย

ปลากระดี่อินเดีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ Ostoglossidae ใช้ชื่อสกุลว่า Trichogaster (เดิมใช้ Colisa) มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาในสกุล Trichopodus หรือปลากระดี่ ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่ทว่ามีขนาดที่เล็กกว่า ครีบทุกครีบสั้น มีสีสันตามลำตัวที่หลากหลายและสวยสดใส ในบางชนิดที่มีลายบั้ง ๆ สีแดงสดสลับกับสีน้ำเงิน มีครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 12-19 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 15-20 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-20 ก้าน ครีบหางปลายเว้าเล็กน้อย มีขนาดโดยเฉลี่ยราว 6 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ 12 เซนติเมตร พบทั้งหมด 4 ชนิดได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากระดี่อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่โนเบิล

ปลากระดี่โนเบิล (Frail gourami, Indian paradisefish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Ctenops มีลักษณะที่ตัวผู้และตัวเมียมีสีไม่ต่างกัน แต่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่า และตัวผู้มีครีบต่าง ๆ ใหญ่กว่า มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 9-12 เซนติเมตร เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นอย่างหนาแน่นในภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย และบังกลาเทศ ในสภาพแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรดต่ำกว่าน้ำที่มีค่าเป็นกลาง (pH ต่ำกว่า 7) มีพฤติกรรมการวางไข่ แตกต่างไปจากปลากระดี่ในสกุลอื่นที่ใกล้เคียงกัน โดยจะไม่ก่อหวอด แต่จะใช้การอมไข่แทน แม่ปลาจะอมไข่ไว้ในปากราว 12-14 วัน โดยที่ไม่กินอาหาร จากนั้นปลาจึงจะฟักเป็นตัว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่รักสงบ แต่อาจก้าวร้าวได้บางขณะกับปลาขนาดเล็กกว่า จัดเป็นปลาค่อนข้างหายาก เพราะเลี้ยงให้รอดได้ยาก และยังไม่มีรายงานการเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในที่เลี้ยง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากระดี่โนเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริม

ปลากริม เป็นสกุลปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Trichopsis (/ไทร-ช็อป-ซิส/) ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลาในสกุลปลากัด (Betta spp.) แต่มีรูปร่างและขนาดที่เล็กกว่า ส่วนหัวจะแหลมกว่า จะมีแถบลายพาดขวางในแนวนอนประมาณ 2-3 แถบที่ข้างลำตัว และมีสีสันไม่สดเท่า ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางปลายแหลมคล้ายใบโพ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-6 ก้าน และก้านครีบแขนง 19-28 ก้าน พบได้ทั่วไปในทุกแหล่งน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในนาข้าว, ท้องร่องสวน จนถึงแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดเล็ก มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีกัดกันเองบ้างในฝูง แต่ไม่ถึงขั้นกัดกันถึงตายเหมือนเช่นปลาในสกุลปลากัดบางชนิด อาทิ Betta spendens แต่มีจุดเด่น คือ สามารถส่งเสียงดัง "แตร็ก ๆ ๆ" ได้ พร้อมกับกางครีบ เมื่อต้องการขู่ผู้รุกราน ซึ่งเป็นเสียงของการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างถุงลม เป็นปลาที่จำแนกเพศได้ยากกว่าปลาในสกุลปลากัด แต่ทว่าก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ตัวเมียจะมีขนาดเล็กและครีบต่าง ๆ สั้นกว่า รวมถึงสีสันก็อ่อนกว่าตัวผู้ เมื่อผสมพันธุ์จะจับคู่กันเองในฝูง โดยที่ตัวผู้เป็นฝ่ายก่อหวอดและเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นตัว และเลี้ยงดูในระยะแรก ปัจจุบัน พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากริม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริมแรด

ปลากริมแรด (Licorice gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Parosphromenus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาที่อยู่ในสกุล Trichopsis หรือปลากริม แต่มีฐานครีบหลังกว้างกว่า และมีขอบครีบสีฟ้า ตามลำตัวมีลวดลายหรือลายแถบแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด ปลากริมแรด กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ไปตลอดแหลมมลายู จนถึงอินโดนีเซีย มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ เป็นป่าพรุ หรือน้ำที่มีสภาพเป็นกรด มีสีชา (ค่า pH ต่ำกว่า 7) ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จัดเป็นปลาที่หายาก และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากริมแรด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด (สกุล)

ปลากัด (Fighting fishes) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta (/เบ็ท-ทา/) ในวงศ์ย่อย Macropodinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลากัด (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิด

ำหรับปลาใบไม้ชนิดอื่น ดูที่: ปลาใบไม้ ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichopodus ที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง, ภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศรอบข้าง พฤติกรรมในการสืบพันธุ์เริ่มขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม โดยจะวางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันที่มีแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000-10,000 ฟอง ในการเลี้ยงทางเศรษฐกิจนิยมให้เป็นการผสมพันธุ์หมู่ ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อและอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า "ปลาสลิดบางบ่อ" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อเรียกในภาษามลายูว่า "Sepat siam" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "ปลากระดี่หนังงู" (Snakeskin gourami) และมีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า "ปลาใบไม้" ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า "สลิด" เพี้ยนมาจากคำว่า "จริต" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า ปลาใบไม้ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาสลิด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอตาล

ปลาหมอตาล หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาจูบ (Kissing gourami) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Helostomatidae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้ ริมฝีปากหนา นัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปาก มีเกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 5 ซี่ เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาปนดำ ท้องสีขาว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาในวงศ์ Osphronemidae จึงสามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่ต่ำได้ ปลาหมอตาล มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปลาชนิดอื่น คือ เมื่อจะต่อสู้หรือข่มขู่กัน จะใช้ปากตอดกันคล้ายกับการจูบที่แสดงออกถึงความรักของมนุษย์จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาจูบ" วางไข่แบบไข่ลอยบนผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำทั่วไปรวมถึงนาข้าวหรือท้องร่องสวนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12-20 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 30 เซนติเมตร สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน และพบบางส่วนในป่าพรุทางภาคใต้ กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์น้ำตลอดจนถึงแมลงและแพลงก์ตอน โดยใช้ปากที่ยืดหดได้นี้ตอดกิน จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเพื่อความเพลิดเพลินและทำความสะอาดภายในตู้ปลา โดยนิยมเลี้ยงกันในตัวที่มีสีพื้นลำตัวเป็นสีขาวนวลหรือสีชมพู ในขณะที่ปลาที่มีสีตามธรรมชาติจะนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ใบตาล, อีตาล, ตาล, ปากง่าม, อีโก๊ะ หรือ วี ในภาษาใต้ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาหมอตาล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแรด

ปลาแรด (Giant gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นา

ทุ่งนา นา หมายถึงพื้นที่สำหรับปลูก หรือนาแบบขั้นบันไดข้าว โดยมีการไถนาให้ดินอ่อน และขุดคันดินสูงโดยรอบเพื่อกั้นน้ำเอาไว้เลี้ยงต้นข้าว ส่วนคำว่า "ทุ่งนา" นั้นเป็นคำเรียกกว้างๆ หมายถึง บริเวณที่นา หรือรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วยก็ได้.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และนา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่และเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BelontiidaeOsphronemidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »