โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่

ดัชนี อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ (อันดับย่อย: Anabantoidei) เป็นอันดับย่อยของปลาที่อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ซึ่งทั้งหมดเป็นปลาที่อยู่ในน้ำจืดทั้งหมด โดยจะพบในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabantoidei (/อะ-นา-เบน-ทอย-เดีย/) ส่วนมากเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกินฝ่ามือของมนุษย์ แต่จะมีบางสกุลเท่านั้นที่ใหญ่ได้ถึงเกือบหนึ่งเมตร ได้แก่ Osphronemus หรือสกุลปลาแรด ปลาในอันดับนี้จะถูกเรียกในชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Labyrinth fish" หรือ "ปลาที่มีอวัยวะช่วยในการหายใจ" เพราะปลาในอันดับนี้จะมีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป Pinter, H. (1986).

39 ความสัมพันธ์: บรรยากาศของโลกการกินการหายใจการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามภาษาอังกฤษมือมนุษย์วัชพืชวงศ์ย่อยปลาแรดวงศ์ปลากัด ปลากระดี่วงศ์ปลาหมอสกุล (ชีววิทยา)สวนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์หญ้าหวอดออกซิเจนอันดับปลากะพงทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียทะเลสาบความงามตัวอสุจิปลากัดปลาสวยงามปลาหมอตาลปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดปลาแรดนาน้ำน้ำลายไข่เพศชายเมตร

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

การกิน

การรับทานอาหารมักเป็นกิจกรรมทางสังคม การกิน หรือ การบริโภค เป็นการนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพลังงาน หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม หมวดหมู่:สรีรวิทยา หมวดหมู่:กิจวัตรของมนุษย์.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และการกิน · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจ

การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย นอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:การหายใจ หมวดหมู่:รีเฟล็กซ์ หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และการหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และมือ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วัชพืช

วัชพืช (Weed) เป็นพืชที่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติในไร่ในสวน โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องการ ส่วนใหญ่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือมีน้อย มักสร้างความเสียหายให้พืชเศรษฐกิจ เช่น แย่งอาหาร หญ้า จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งหากขึ้นตามสวนไร่นา โดยแย่งสารอาหารไปจากพืชหลักที่ปลูก แต่ถ้าเจ้าของสวนตั้งใจให้หญ้าขึ้น เช่นตามสนามกอล์ฟ หญ้าจะไม่นับว่าเป็นวัชพื.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และวัชพืช · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาแรด

วงศ์ย่อยปลาแรด (Giant gouramis) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1 สกุล 4 ชนิด (ดูในตาราง) มีลักษณะร่วมกันคือ ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อ โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นอาหารหลัก นิสัยก้าวร้าวพอสมควร และเป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่อยู่ในช่องเหงือกช่วยในการหายใจ อีกทั้งยังสามารถเก็บความชื้นไว้ได้เมื่อถูกจับพ้นน้ำ มีขนาดโตเต็มที่ราว 90 เซนติเมตร ในชนิด Osphronemus goramy ซึ่งนับว่าเป็นปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ที่ใหญ่ที่สุด พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลเอื่อย ๆ มีพืชน้ำขึ้นรก มีทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ย่อยปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอ

วงศ์ปลาหมอ (Climbing gourami, Climbing perch) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ที่มีการกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anabantidae (/อะ-นา-เบน-ทิ-ดี/) เดิมวงศ์นี้เคยถูกรวมเข้าเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) และวงศ์ปลาจูบ หรือ ปลาหมอตาล (Helostomatidae) ซึ่งปลาในวงศ์เหล่านี้ถูกเรียกรวม ๆ กันในชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า "Labyrinth fish" (ปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ) ซึ่งปลาในวงศ์ทั้ง 3 นี้ มีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจเหมือน ๆ กัน แต่เมื่อศึกษาแล้ว พบว่ามีโครงสร้างหลัก ๆ ของกระดูกแตกต่างกันมาก ซึ่งลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญของวงศ์ปลาหมอ คือ มีอวัยวะช่วยหายใจที่พัฒนามาจากเหงือกชุดสุดท้าย ลักษณะเป็นแผ่นกระดูกบางจำนวนมาก และทับซ้อนกันและมีร่องวกวนเหมือนเขาวงกต ระหว่างร่องเหล่านี้มีเส้นเลือดฝอยอยู่จำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับออกซิเจนจากอากาศจากผิวน้ำ นักมีนวิทยาสันนิษฐานว่า ปลาในวงศ์ปลาหมอนี้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีทั้งปริมาณออกซิเจนสูงและต่ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจและเผาผลาญอาหารไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องขึ้นมาหายใจรับออกซิเจนบนผิวน้ำเพื่อกิจกรรมเหล่านี้ แต่ในระยะที่ยังเป็นลูกปลาอยู่ ในระยะที่มีอายุไม่เกิน 15 วัน อวัยวะที่ช่วยในการหายใจยังไม่พัฒนาเต็มที่ ลูกปลาจึงไม่สามารถขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้ นอกจากนี้แล้ว ปลาในวงศ์นี้ ยังมีลักษณะทางอนุกรมวิธานทางกายภาพอีก คือ จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าครีบอกเล็กน้อย ขอบของกระดูกแก้มชิ้นหน้าและชิ้นกลางมีขอบเป็นหนามแข็ง ภายในปากมีฟันแหลมคมเป็นแบบเขี้ยวที่กระดูกขากรรไกรทั้งสองข้างและกระดูกเพดานปาก ปลาเกือบทุกสกุลมีเกล็ดแบบสาก ยกเว้นสกุล Sandelia ที่มีเกล็ดแบบบางเรียบ เส้นข้างลำตัวแยกออกเป็นสองเส้น สมาชิกของปลาในวงศ์นี้มีทั้งหมด 4 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และวงศ์ปลาหมอ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สวน

วนญี่ปุ่น สวน หมายถึง บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก โดยมากมักเป็นภายนอกอาคาร สำหรับเพื่อการแสดง เพาะปลูก และเพื่อให้ความเพลิดเพลิน สวนอาจเป็นทั้งสวนธรรมชาติหรือทำจากวัสตุที่มนุษย์สร้างขึ้น สวนโดยทั่วไปเช่นสวนตามบ้านพักอาศัย ส่วนสวนที่จำลองบรรยากาศธรรมชาติในสวนสัตว์ เรียกว่า สวนสัตว์ป่า (zoological garden) สวนตามธรรมเนียมของตะวันออก อย่างเช่น สวนเซ็น มักใช้พืชอย่างเช่น parsley ส่วนสวนแบบ Xeriscape จะใช้พื้นท้องถิ่นที่ไม่ต้องการน้ำหรือสิ่งที่สิ้นเปลือง แต่ยังคงได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมสวน สวนอาจจะมีการเสริมสร้างด้วยโครงสร้าง อย่างเช่น สิ่งก่อสร้างตกแต่ง หรือ ฟอลลีย์ รวมถึงส่วนประกอบเกี่ยวกับน้ำ อย่างเช่น น้ำพุ บ่อน้ำ (อาจมีปลาหรือไม่มีก็ได้) น้ำตกหรือลำธาร รูปปั้น ซุ้มไม้ โครงไม้ระแนง และอื่น ๆ สวนบางสวนมีจุดประสงค์เพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ ขณะที่ในบางสวนการให้ผลผลิต พืชสวนครัว สวนที่ผลิตพืชผลในฟาร์ม จะมีขนาดเล็กกว่าฟาร์ม และมักมีจุดประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน งานอดิเรกมากกว่าผลิตเพื่อขาย สวนดอกไม้จะรวมไม้ดอกที่มีความแตกต่างทางด้าน สีสัน ความสูง พื้นผิว และกลิ่นหอม เพื่อให้น่าสนใจและความสุข การจัดสวนเป็นกิจกรรมสำหรับการปลูกพืชและบำรุงรักษาสวน สามารถทำโดยมือสมัครเล่นและนักจัดสวนมืออาชีพ ภูมิสถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับวิชาชีพในการออกแบบพิเศษสำหรับสาธารณะและลูกค้.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และสวน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้า

หญ้า เป็นพืชล้มลุกหลายชนิด หลายสกุล ในชั้น Liliopsida วงศ์ Poaceae หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.) หญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ธูปฤาษี มีพืชชนิดนี้ประมาณ 600 สกุล และมีประมาณ 10,000 ชนิด มีการประเมินกันว่าหญ้าเป็นพืชที่ปกคลุมผิวโลกกว่า 20% ของพืชทั้งหมดบนโลก พืชในวงศ์นี้เป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจมนุษย์ รวมไปถึง ใช้เป็นสนามหญ้า, อาหารหลักที่ปลูกทั่วโลก, และไม้ไผ่ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างในเอเชีย แต่บางชนิดจัดเป็นวัชพืช ปัจจุบัน หญ้าเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านการนำมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนพลังงานทดแทนอีกด้วย เช่นหญ้ามิสแคนทัส และ หญ้ามิสแคนทัสช้าง พืชในวงศ์หญ้าที่เรารู้จักดี เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโอ้ต ข้าวไรย์ ลูกเดือย หญ้าไรย์ อ้อย ไผ่ ตะไคร้ เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

หวอด

ปลากระดี่แคระสร้างหวอด โดยปลาเพศผู้เกาะติดกับไม้น้ำสกุล ''Hydrocotyle'' ลูกปลากัดเกาะติดกับหวอด หวอด (Bubble nest) คือ รังของปลาบางประเภท ที่มีลักษณะเป็นฟองอากาศลอยอยู่เหนือผิวน้ำ หวอด เกิดจากการที่มีปลาเพศผู้ใช้น้ำลายของตัวผสมรวมกับอากาศพ่นออกมาเป็นฟองอากาศมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ใส จับตัวรวมกันเป็นกลุ่มหรือก้อนลอยอยู่เหนือผิวน้ำ โดยมักสร้างให้เกาะติดกับวัสดุต่าง ๆ ในน้ำ เช่น พืชน้ำชนิดต่าง ๆ เพื่อมิให้หวอดแตก หวอดถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการขยายพันธุ์ ใช้เป็นรังของการวางไข่และเพาะฟักลูกปลา หวอด เมื่อถูกนำขึ้นมาจากน้ำสัมผัสกับอากาศจะไม่แตก ต่างกับฟองน้ำธรรมดา โดยปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ขึ้นชื่ออย่างมากในการก่อหวอด เช่น ปลากัด (Betta spp.), ปลากระดี่ (Trichopodus spp.), ปลากริม (Trichopsis spp.) หรือปลากระดี่แคระ (Trichogaster spp.) ซึ่งขนาดของหวอดและขนาดของกลุ่มก้อนหวอดจะใหญ่-เล็กต่างกันไปตามชนิดของปลา เช่น หวอดของปลากระดี่เม็ดจะเล็กกว่าของปลากัด แต่จะมีขนาดกลุ่มก้อนใหญ่กว่า หน้า 16 เกษตร, เสริมความสวยงามให้กระดี่มุก.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และหวอด · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ความงาม

อกกุหลาบเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นว่างาม ความงาม คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด สิ่งตรงกันข้ามกับความงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และความงาม · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอสุจิ

รูปแบบการปฏิสนธิ ตัวอสุจิ (sperm) คือเซลล์สืบพันธุ์ที่แบ่งตัวด้วยกระบวนการไมโอซิสจากร่างกายของสัตว์เพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์ และไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่ในสัตว์เพศเมีย ตัวอสุจิถูกสร้างมาตัวเพศชายและหลั่งออกมาพร้อมกับน้ำเลี้ยงที่เรียกรวมกันว่า น้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 3 วันในร่างกายของสัตว์เพศเมียโดยไม่สัมผัสอากาศหรือของเหลวอื่น.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และตัวอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอตาล

ปลาหมอตาล หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาจูบ (Kissing gourami) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Helostomatidae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้ ริมฝีปากหนา นัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปาก มีเกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 5 ซี่ เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาปนดำ ท้องสีขาว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาในวงศ์ Osphronemidae จึงสามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่ต่ำได้ ปลาหมอตาล มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปลาชนิดอื่น คือ เมื่อจะต่อสู้หรือข่มขู่กัน จะใช้ปากตอดกันคล้ายกับการจูบที่แสดงออกถึงความรักของมนุษย์จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาจูบ" วางไข่แบบไข่ลอยบนผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำทั่วไปรวมถึงนาข้าวหรือท้องร่องสวนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12-20 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 30 เซนติเมตร สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน และพบบางส่วนในป่าพรุทางภาคใต้ กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์น้ำตลอดจนถึงแมลงและแพลงก์ตอน โดยใช้ปากที่ยืดหดได้นี้ตอดกิน จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเพื่อความเพลิดเพลินและทำความสะอาดภายในตู้ปลา โดยนิยมเลี้ยงกันในตัวที่มีสีพื้นลำตัวเป็นสีขาวนวลหรือสีชมพู ในขณะที่ปลาที่มีสีตามธรรมชาติจะนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ใบตาล, อีตาล, ตาล, ปากง่าม, อีโก๊ะ หรือ วี ในภาษาใต้ เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และปลาหมอตาล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแรด

ปลาแรด (Giant gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

นา

ทุ่งนา นา หมายถึงพื้นที่สำหรับปลูก หรือนาแบบขั้นบันไดข้าว โดยมีการไถนาให้ดินอ่อน และขุดคันดินสูงโดยรอบเพื่อกั้นน้ำเอาไว้เลี้ยงต้นข้าว ส่วนคำว่า "ทุ่งนา" นั้นเป็นคำเรียกกว้างๆ หมายถึง บริเวณที่นา หรือรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วยก็ได้.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และนา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำลาย

แพทย์กำลังเก็บตัวอย่างน้ำลายของคนไข้ น้ำลาย คือสสารที่คล้ายน้ำและมักจะเป็นฟอง ถูกผลิตขึ้นในปากของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ น้ำลายถูกผลิตขึ้นจากต่อมน้ำลาย น้ำลายของมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ 98% ส่วนที่เหลือเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมือก สารยับยั้งแบคทีเรีย และเอนไซม์ชนิดต่างๆ เอนไซม์ในน้ำลายสามารถย่อยแป้งที่อยู่ในอาหารในระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการย่อยอาหาร น้ำลายช่วยชะล้างอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันและปกป้องไม่ให้เกิดการเน่าเสียจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วยหล่อลื่นและปกป้องฟัน ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนบางภายในช่องปาก สัตว์หลายชนิดมีพัฒนาการการใช้น้ำลายเฉพาะทางมากไปกว่าการย่อยอาหาร นกนางแอ่นใช้น้ำลายที่เหนียวคล้ายยางในการสร้างรัง ซึ่งรังนกนางแอ่นนี้ใช้ทำเครื่องดื่มรังนก Marcone, M. F. (2005).

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และน้ำลาย · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AnabantoideiLabyrinth fishLabyrinth fishes

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »