เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มารี กูว์รี

ดัชนี มารี กูว์รี

มารี สกวอดอฟสกา-กูว์รี (Marie Skłodowska-Curie) มีชื่อแต่แรกเกิดว่า มาเรีย ซาลอแมอา สกวอดอฟสกา (Marya Salomea Skłodowska;; 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 - 4 กรกฎาคม พ.ศ.

สารบัญ

  1. 44 ความสัมพันธ์: ชาวโปแลนด์ฟิสิกส์พ.ศ. 2410พ.ศ. 2445พ.ศ. 2446พ.ศ. 2447พ.ศ. 2454พ.ศ. 2477พอโลเนียมกาชาดการสลายให้กัมมันตรังสีภาษารัสเซียภาษาราชการมหาวิทยาลัยปารีสมะเร็งมาร์เกอริต เปอแรยูเรเนียมรังสีเอกซ์รางวัลโนเบลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์รางวัลโนเบลสาขาเคมีวอร์ซอวิทยาศาสตร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่งห้องปฏิบัติการอาสาสมัครอีแรน ฌอลีโย-กูว์รีอ็องตวน อ็องรี แบ็กแรลจักรวรรดิรัสเซียธาตุครูความร้อนประเทศฝรั่งเศสประเทศรัสเซียปริญญาเอกปีแยร์ กูว์รีแพทยศาสตร์แสงโรงเรียนอนุบาลไขกระดูกเรเดียมเคมี4 กรกฎาคม7 พฤศจิกายน

  2. ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล
  3. ชาวโปแลนด์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล
  4. ผู้หญิงผู้ได้รับรางวัลโนเบล
  5. ผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าหนึ่งครั้ง
  6. ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
  7. ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี

ชาวโปแลนด์

วโปแลนด์ หรือ ชาวโปล(Polacy เอกพจน์ Polak, Polish people หรือ Poles) ชาวโปลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มชนสลาฟตะวันตกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในปัจจุบันคือโปแลนด์ ชาวโปแลนด์บางครั้งก็จะได้รับการบรรยายว่าเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมโปแลนด์ร่วมกัน และสืบเชื้อสายโปแลนด์ ศาสนาส่วนใหญ่เป็นโรมันคาทอลิก ชาวโปแลนด์อาจจะมหาหมายถึงทั้งผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในโปแลนด์เองที่มีเชื้อสายโปแลนด์หรือชาติพันธุ์อื่น นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนชาวโปแลนด์พลัดถิ่น (Polonia) ที่ไปตั้งหลักแหล่งทั่วไปในยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันออก ทวีปอเมริกา และออสเตรลี.

ดู มารี กูว์รีและชาวโปแลนด์

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ดู มารี กูว์รีและฟิสิกส์

พ.ศ. 2410

ทธศักราช 2410 ตรงกั.

ดู มารี กูว์รีและพ.ศ. 2410

พ.ศ. 2445

ทธศักราช 2445 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1902 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู มารี กูว์รีและพ.ศ. 2445

พ.ศ. 2446

ทธศักราช 2446 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1903 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู มารี กูว์รีและพ.ศ. 2446

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู มารี กูว์รีและพ.ศ. 2447

พ.ศ. 2454

ทธศักราช 2454 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1911 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู มารี กูว์รีและพ.ศ. 2454

พ.ศ. 2477

ทธศักราช 2477 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1934ยวห.

ดู มารี กูว์รีและพ.ศ. 2477

พอโลเนียม

พอโลเนียม (Polonium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 84 และสัญลักษณ์คือ Po พอโลเนียมเป็นธาตุกึ่งอโลหะเรดิโอแอคตีฟ (radioactive metalloid) มีสมบัติทางเคมีคล้ายเทลลูเรียมและบิสมัท พบว่ามีอยู่ในแร่ยูเรเนียม กำลังศึกษาการใช้งานเกี่ยวกับความร้อนในยานอวกาศ ค้นพบโดยมารี กูรี ในปี 1898 หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:ธาตุกึ่งโลหะ หมวดหมู่:แชลโคเจน หมวดหมู่:โลหะมีสกุล.

ดู มารี กูว์รีและพอโลเนียม

กาชาด

100px 100px 100px ขบวนกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ หรือ กาชาด (International Red Cross and Red Crescent Movement หรือ Red Cross) เป็นคำที่ใช้เรียกหน่วยงานสากลที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลกราว 97 ล้านคน ที่มีจุดประสงค์ในพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การบรรเทาทุกข์และการรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ระดับชั้นในสังคม หรือ ความคิดเห็นทางการเมือง ตราสัญลักษณ์ที่ใช้โดยหน่วยงานนี้มีด้วยกันสามตรา ซึ่งเป็นรูป “ตรากากบาทแดง” (Red Cross), “ตราเสี้ยววงเดือนแดง” (Red Crescent) และ “ตราเพชรแดง” (Red Crystal) หน่วยงานในประเทศไทย เรียก สภากาชาดไทย และใช้ตรากากบาทแดง เป็นตราสัญลักษณ.

ดู มารี กูว์รีและกาชาด

การสลายให้กัมมันตรังสี

การสลายให้อนุภาคแอลฟา เป็นการสลายให้กัมมันตรังสีชนิดหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมปลดปล่อย อนุภาคแอลฟา เป็นผลให้อะตอมแปลงร่าง (หรือ "สลาย") กลายเป็นอะตอมที่มีเลขมวลลดลง 4 หน่วยและเลขอะตอมลดลง 2 หน่วย การสลายให้กัมมันตรังสี (radioactive decay) หรือ การสลายของนิวเคลียส หรือ การแผ่กัมมันตรังสี (nuclear decay หรือ radioactivity) เป็นกระบวนการที่ นิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร สูญเสียพลังงานจากการปลดปล่อยรังสี.

ดู มารี กูว์รีและการสลายให้กัมมันตรังสี

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ดู มารี กูว์รีและภาษารัสเซีย

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ดู มารี กูว์รีและภาษาราชการ

มหาวิทยาลัยปารีส

มหาวิทยาลัยปารีส (Université de Paris) หรือนามนัยเป็นที่รู้จักกันว่า ซอร์บอนน์ (บ้านประวัติศาสตร์) เป็นมหาวิทยาลัยในปารีส ฝรั่งเศส ก่อตั้งประมาณ..

ดู มารี กูว์รีและมหาวิทยาลัยปารีส

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ดู มารี กูว์รีและมะเร็ง

มาร์เกอริต เปอแร

มาร์เกอริต กาเตอรีน เปอแร (Marguerite Catherine Perey; 19 ตุลาคม พ.ศ. 2452 – 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2518) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ในปี..

ดู มารี กูว์รีและมาร์เกอริต เปอแร

ยูเรเนียม

ูเรเนียม (Uranium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป U-235 ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ครึ่งชีวิตของธาตุยูเรเนียมคือ 4,500 ล้านปี (U-238).

ดู มารี กูว์รีและยูเรเนียม

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ.

ดู มารี กูว์รีและรังสีเอกซ์

รางวัลโนเบล

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบล (Nobelpriset; Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี..

ดู มารี กูว์รีและรางวัลโนเบล

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (Nobelpriset i fysik, Nobel Prize in Physics) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งใน 5 สาขา ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู มารี กูว์รีและรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

รางวัลโนเบลสาขาเคมี

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..

ดู มารี กูว์รีและรางวัลโนเบลสาขาเคมี

วอร์ซอ

วอร์ซอ (Warszawa) แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงวอร์ซอ วอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw; โปแลนด์: Warszawa วารฺชาวา) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปแลนด์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวิสทูลา ห่างจากชายฝั่งทะเลบอลติกประมาณ 370 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองประมาณ 1,726,581 (2014) คน และรวมเขตเมืองด้วยจะประมาณ 2,760,000 คน (ข้อมูล พ.ศ.

ดู มารี กูว์รีและวอร์ซอ

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ดู มารี กูว์รีและวิทยาศาสตร์

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ดู มารี กูว์รีและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์บริหารโดยสถาบันบัณฑิตโรคมะเร็ง ณ มหาวิทยาลัยการแพทย์จีน (ประเทศไต้หวัน) Adam Mickiewicz University ในพอซนาน โต๊ะทำงานในห้องปฏิบัติการทางเคมี  ห้องปฏิบัติการ Schuster ในมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์) ห้องปฏิบัติการ (laboratory) เรียกสั้น ๆ ว่า ห้องแล็บ (lab) คือสถานที่ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกควบคุม และเป็นที่สำหรับการวิจัย การทดลอง และการวัดทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิค   ห้องปฏิบัติการซึ่งใช้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีหลายแบบ ด้วยความที่แต่ละภาควิชาของวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มีความต้องการเฉพาะที่ต่างกัน ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์อาจมีเครื่องเร่งอนุภาคหรือห้องสุญญากาศ ส่วนห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมโลหการอาจมีเครื่องมือในการหล่อหรือการกลั่น (refine) เหล็กเพื่อทดสอบความแข็งแรงของเหล็ก นักเคมีหรือนักชีววิทยาอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบเปียก (wet laboratory) ส่วนห้องปฏิบัติการของนักจิตวิทยาอาจเป็นห้องซึ่งมีกระจกด้านเดียวติดอยู่รวมไปถึงมีกล้องซ่อนไว้เพื่อเฝ้าดูพฤติกรรม บางห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องที่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ใช้ อาจมีคอมพิวเตอร์ (บางครั้งอาจเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เพื่อใช้สำหรับบการจำลองหรือการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมาจากที่อื่น นักวิทยาศาสตร์ในภาควิชาอื่นอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบอื่น วิศวกรใช้ห้องปฏิบัติการในการออกแบบ สร้าง หรือทดสอบเครืองมือทางเทคโนโลยีต่างๆ ห้องปฎิบัตรการทางวิยาศาสตร์นั้นพบได้ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย อุตสาหกรรม สถานที่ทางราชการหรือทหาร รวมไปถึงเรือและยานอวก.

ดู มารี กูว์รีและห้องปฏิบัติการ

อาสาสมัคร

อาสาสมัครที่เมืองยาอุนเด ประเทศแคเมอรูน ในปี 2005 อาสาสมัคร (volunteer) หมายถึง ผู้ที่สมัครใจทำงานเพื่อประโยชน์แห่งประชาชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งอื่นใด บุคคลที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคมด้วยความสมัครใจ เสียสละ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ป้องกัน แก้ไขปัญหาและ พัฒนาสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน คุณสมบัติที่สำคัญของอาสาสมัครมี 3 ประการ คือ ทำงานด้วยความสมัครใจไม่ใช่ด้วยการถูกบังคับหรือเป็นเพราะหน้าที่ เป็นงานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมหรือสาธารณประโยชน์ และทำโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งของมีมูลค่าแทนเงิน.

ดู มารี กูว์รีและอาสาสมัคร

อีแรน ฌอลีโย-กูว์รี

อีแรน ฌอลีโย-กูว์รี (Irène Joliot-Curie; 12 กันยายน พ.ศ. 2440 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2499) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เธอเป็นลูกสาวของมารี กูว์รี และปีแยร์ กูว์รี และเป็นภรรยาของเฟรเดริก ฌอลีโย-กูว์รี เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับสามีของเธอจากการค้นพบกัมมันตรังสีเหนี่ยวนำ ทำให้ครอบครัวกูว์รีเป็นครอบครัวที่มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุดในขณะนั้นเอแลนและปีแยร์ บุตรของอีแรนกับเฟรเดริกก็เป็นนักวิทยาศาสตร์เช่นกัน.

ดู มารี กูว์รีและอีแรน ฌอลีโย-กูว์รี

อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล

อ็องรี แบ็กแรล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล (Antoine Henri Becquerel,; 15 ธันวาคม พ.ศ. 2395 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2451) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เกิดในตระกูลที่มีนักวิทยาศาสตร์ถึง 4 รุ่น ตั้งแต่รุ่นปู่จนกระทั่งรุ่นลูก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี..

ดู มารี กูว์รีและอ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ดู มารี กูว์รีและจักรวรรดิรัสเซีย

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ดู มารี กูว์รีและธาตุ

ครู

รู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน และนอกจากการสอนแล้วครูยังเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี สอนในคุณงามความดีเพื่อเป็นแม่แบบให้เด็กได้ปฏิบัติตามทั้งต่อหน้าและลับหลัง คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ".

ดู มารี กูว์รีและครู

ความร้อน

ในทางฟิสิกส์ ความร้อน (ใช้สัญลักษณ์ว่า Q) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ในทางอุณหพลศาสตร์จะใช้ปริมาณ TdS ในการวัดปริมาณความร้อน ซึ่งมีความหมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ของวัตถุ (T) คูณกับอัตราการเพิ่มของเอนโทรปีในระบบเมื่อวัดที่พื้นผิวของวัตถุ ความร้อนสามารถไหลผ่านจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หากต้องการให้ความร้อนถ่ายเทไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิเท่ากันหรือสูงกว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปั๊มความร้อนเท่านั้น การสร้างแหล่งความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสามารถทำได้จากปฏิกิริยาเคมี (เช่นการเผาไหม้) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (เช่นฟิวชันในดวงอาทิตย์) การเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเตาไฟฟ้า) หรือการเคลื่อนที่ทางกล (เช่นการเสียดสี) โดยที่อุณหภูมิเป็นหน่วยวัดปริมาณของพลังงานภายในหรือเอนทาลปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนของวัตถุนั้นๆ ความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างวัตถุได้สามวิธีคือ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน นอกจากนี้มีกระบวนการถ่ายเทความร้อนอีกแบบหนึ่งคือ ความร้อนแฝง ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นก๊าซ เป็นต้น.

ดู มารี กูว์รีและความร้อน

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ดู มารี กูว์รีและประเทศฝรั่งเศส

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ดู มารี กูว์รีและประเทศรัสเซีย

ปริญญาเอก

ปริญญาเอก (doctorate) เป็นปริญญาวิชาการหรือวิชาชีพซึ่งในประเทศส่วนใหญ่ให้ผู้ถือมีคุณสมบัติสอนในระดับมหาวิทยาลัยในสาขาเฉพาะของปริญญานั้น หรือทำงานในวิชาชีพเฉพาะ ในบางประเทศ ปริญญาสูงสุดในสาขาหนึ่ง ๆ เรียก ปริญญาสูงสุด (terminal degree) คำว่า "doctorate" มาจากภาษาละติน docere หมายถึง "สอน".

ดู มารี กูว์รีและปริญญาเอก

ปีแยร์ กูว์รี

ปีแยร์ กูว์รี (Pierre Curie; 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 – 19 เมษายน ค.ศ. 1906) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สามีของมารี กูว์รี นักเคมีชาวโปแลนด์ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.

ดู มารี กูว์รีและปีแยร์ กูว์รี

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ดู มารี กูว์รีและแพทยศาสตร์

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

ดู มารี กูว์รีและแสง

โรงเรียนอนุบาล

อนุบาล(ย่อมาจาก อ.; kindergarten, pre-elementary school) เป็นลำดับการศึกษา ขั้นแรก.

ดู มารี กูว์รีและโรงเรียนอนุบาล

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ดู มารี กูว์รีและไขกระดูก

เรเดียม

เรเดียม (Radium) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 88 และสัญลักษณ์คือ Ra เรเดียมเป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ถูกค้นพบโดยมารี กูรี ขณะบริสุทธิ์จะมีสีขาวและจะดำลงเมื่อสัมผัสกับอากาศ ในธรรมชาติพบอยู่กับแร่ยูเรเนียม เรเดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีชนิดเข้มข้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Ra-226 มีครึ่งชีวิตประมาณ 1602 ปี และจะสลายกลายเป็นก๊าซเรดอน รเดเอียม รเดเอียม รเดเอียม รเดเอียม รเดเอียม.

ดู มารี กูว์รีและเรเดียม

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ดู มารี กูว์รีและเคมี

4 กรกฎาคม

วันที่ 4 กรกฎาคม เป็นวันที่ 185 ของปี (วันที่ 186 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 180 วันในปีนั้น.

ดู มารี กูว์รีและ4 กรกฎาคม

7 พฤศจิกายน

วันที่ 7 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 311 ของปี (วันที่ 312 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 54 วันในปีนั้น.

ดู มารี กูว์รีและ7 พฤศจิกายน

ดูเพิ่มเติม

ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล

ชาวโปแลนด์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล

ผู้หญิงผู้ได้รับรางวัลโนเบล

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าหนึ่งครั้ง

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Madam Marie CurieMaria Skłodowska-CurieMarie Curieมารี กูรีมาดามคูรีแมรี่ คูรี่