โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคมี

ดัชนี เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

53 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาชีวเคมีฟิสิกส์พลังงานพันธะเคมีกรีกการวิเคราะห์การเล่นแร่แปรธาตุรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าวัสดุศาสตร์วิศวกรรมเคมีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสสารสหัสวรรษสารประกอบสารประกอบอินทรีย์สารประกอบอนินทรีย์อะตอมอาริสโตเติลอุณหเคมีอณูชีววิทยาอ็องตวน ลาวัวซีเยจลนพลศาสตร์เคมีจอห์น ดาลตันธรณีวิทยาธรณีเคมีทฤษฎีอะตอมทฤษฎีโฟลจิสตันทวีปยุโรปทองคำตะวันออกกลางตารางธาตุปฏิกิริยาเคมีประเทศอียิปต์ปิโตรเคมีแสงโมเลกุลโรเบิร์ต บอยล์โครงสร้าง (แก้ความกำกวม)ไฟฟ้าเคมีเภสัชวิทยาเภสัชเคมีเคมีพอลิเมอร์เคมีการคำนวณเคมีวิเคราะห์เคมีสิ่งแวดล้อมเคมีอินทรีย์เคมีอนินทรีย์เคมีดาราศาสตร์เคมีนิวเคลียร์...เคมีแสงเคมีโลหอินทรีย์เคมีเชิงฟิสิกส์ ขยายดัชนี (3 มากกว่า) »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: เคมีและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีวเคมี

ชีวเคมี (biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุกๆ ด้าน หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:ชีวเคมี.

ใหม่!!: เคมีและชีวเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: เคมีและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พลังงาน

ฟ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงาน รูปแบบหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้ ฟ้าผ่าครั้งหนึ่ง อาจมีพลังงานศักย์ไฟฟ้า 500 megajoules ถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานแสง พลังงานเสียงและพลังงานความร้อน พลังงาน หมายถึงความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้แรงงานได้ หรือ Energy เป็นกำลังงานที่ใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือระยะทางหนึ่ง มีค่าเป็น จูล หรือ Joule ในทางฟิสิกส์ พลังงานเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเชิงปริมาณพื้นฐานที่อธิบายระบบทางกายภาพหรือสถานะของวัตถุ พลังงานสามารถเปลี่ยนรูป (แปลงรูป) ได้หลายรูปแบบที่แต่ละแบบอาจจะชัดเจนและสามารถวัดได้ในหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน กฎของการอนุรักษ์พลังงานระบุว่า พลังงาน (ทั้งหมด) ของระบบสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยการถ่ายโอนเข้าหรือออกจากระบบเท่านั้น พลังงานทั้งหมดของระบบใด ๆ สามารถคำนวณได้โดยการรวมกันอย่างง่าย ๆ เมื่อมันประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ทั้งหลายหรือมีหลายรูปแบบของพลังงานที่แตกต่างกัน รูปแบบของพลังงานทั่วไปประกอบด้วยพลังงานจลน์ของวัตถุเคลื่อนที่, พลังงานที่แผ่รังสีออกมาโดยแสงและการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ และประเภทต่าง ๆ ของพลังงานศักย์ เช่นแรงโน้มถ่วงและความยืดหยุ่น ประเภททั่วไปของการถ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงพลังงานประกอบด้วยกระบวนการ เช่นการให้ความร้อนกับวัสดุ, การปฏิบัติงานทางกลไกบนวัตถุ, การสร้างหรือการใช้พลังงานไฟฟ้า และปฏิกิริยาทางเคมีจำนวนมาก หน่วยของการวัดพลังงานมักจะถูกกำหนดโดยผ่านกระบวนการของการทำงาน งานที่ทำโดยสิ่งหนึ่งบนอีกสิ่งหนึ่งถูกกำหนดไว้ในฟิสิกส์ว่า เป็นแรง (หน่วย SI: นิวตัน) ที่ทำโดยสิ่งนั้นคูณด้วย ระยะทาง (หน่วย SI: เมตร) ของการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับแรงที่กระทำโดยฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น หน่วยพลังงานเป็นนิวตัน-เมตร หรือที่เรียกว่า จูล หน่วย SI ของกำลัง (พลังงานต่อหน่วยเวลา) เป็นวัตต์ หรือแค่ จูลต่อวินาที ดังนั้น จูลเท่ากับ วัตต์-วินาที หรือ 3600 จูลส์เท่ากับหนึ่งวัตต์-ชั่วโมง หน่วยพลังงาน CGS เป็น เอิร์ก, และหน่วยอิมพีเรียลและสหรัฐอเมริกาเป็น ฟุตปอนด์ หน่วยพลังงานอื่น ๆ เช่น อิเล็กตรอนโวลต์, แคลอรี่อาหารหรือกิโลแคลอรีอุณหพลศาสตร์ (ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำในกระบวนการให้ความร้อน) และ บีทียู ถูกใช้ในพื้นที่เฉพาะของวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ และมีปัจจัยการแปลงหน่วยที่เกี่ยวข้องให้เป็น จูล พลังงานศักย์เป็นพลังงานที่ถูกเก็บไว้โดยอาศัยอำนาจตามตำแหน่งของวัตถุในสนามพลังเช่นสนามแรงโน้มถ่วง, สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก ตัวอย่างเช่น การยกวัตถุที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงทำงานบนวัตถุและเก็บรักษาพลังงานที่มีศักยภาพของแรงโน้มถ่วง ถ้ามันตก แรงโน้มถ่วงไม่ได้ทำงานบนวัตถุซึ่งแปลงพลังงานศักย์ให้เป็นพลังงานจลน์ที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว บางรูปแบบเฉพาะของพลังงานได้แก่พลังงานยืดหยุ่นเนื่องจากการยืดหรือการเปลี่ยนรูปของวัตถุของแข็ง, พลังงานเคมีเช่นที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานความร้อน, พลังงานจลน์และพลังงานศักย์ขนาดเล็ก ๆ ของการเคลื่อนไหวที่ไม่มีทิศทางของอนุภาคทำให้เป็นเรื่องขึ้นมา ไม่ใช่ทั้งหมดของพลังงานในระบบจะสามารถถูกเปลี่ยนหรือถูกโอนโดยกระบวนการของงาน; ปริมาณที่สามารถจะถูกปลี่ยนหรือถูกโอนเรียกว่าพลังงานที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์จะจำกัดปริมาณของพลังงานความร้อนที่สามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานรูปอื่น ๆ พลังงานรูปแบบเชิงกลและอื่น ๆ สามารถถูกเปลี่ยนในทิศทางอื่น ๆ ให้เป็นพลังงานความร้อนโดยไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว วัตถุใด ๆ ที่มีมวลเมื่อหยุดนิ่ง (จึงเรียกว่ามวลนิ่ง) มีพลังงานนิ่งที่สามารถคำนวณได้โดยใช้สมการ ของ Albert Einstein E.

ใหม่!!: เคมีและพลังงาน · ดูเพิ่มเติม »

พันธะเคมี

ันธะเคมี (อังกฤษ: Chemical Bond) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมเพื่อเกิดเป็นกลุ่มที่เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของพันธะเคมีในโมเลกุลคือจะปรากฏในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของอะตอม ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจนอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิก หรือพันธะโลหะ ได้ อนึ่ง การศึกษาเรื่องพันธะเคมีทำให้สามารถเข้าใจและทำนายสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารได้.

ใหม่!!: เคมีและพันธะเคมี · ดูเพิ่มเติม »

กรีก

กรีก (Greek) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เคมีและกรีก · ดูเพิ่มเติม »

การวิเคราะห์

การวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้.

ใหม่!!: เคมีและการวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การเล่นแร่แปรธาตุ

การเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุ หรือ รสายนเวท (alchemy) เป็นแบบแผนประเพณีทางปรัชญาทรงอิทธิพล ซึ่งผู้ปฏิบัติแต่โบราณอ้างว่าเป็นการตั้งต้นอำนาจที่ลึกซึ้ง วัตถุประสงค์ซึ่งนิยามการเล่นแร่แปรธาตุนั้นมีมากมาย แต่ในประวัติศาสตร์ มักรวมเอาเป้าหมายต่อไปนี้ คือ การสร้างศิลานักปราชญ์ ความสามารถเปลี่ยนโลหะฐานเป็นโลหะมีสกุล การพัฒนาน้ำอมฤต ซึ่งจะมอบความเยาว์และอายุยืนยาว การเล่นแร่แปรธาตุต่างจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตรงที่รวมเอาหลักและการปฏิบัติอันเกี่ยวข้องกับปรัมปราวิทยา เวทมนตร์ ศาสนาและเจตสภาพ (spirituality) ถือกันว่าเป็นศาสตร์ก่อนวิทยาศาสตร์ (protoscience) ซึ่งเอื้อต่อการ พัฒนาการของเคมีและแพทยศาสตร์สมัยใหม่ นักเล่นแร่แปรธาตุพัฒนาโครงสร้างเทคนิคห้องปฏิบัติการ ทฤษฎี ศัพทวิทยา และวิธีการทดลองพื้นฐาน ซึ่งบางอย่างยังใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: เคมีและการเล่นแร่แปรธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า

ในวิชาฟิสิกส์ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) หมายถึงคลื่น (หรือควอนตัมโฟตอน) ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ผ่านปริภูมิโดยพาพลังงานจากการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยคลาสสิก รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นการสั่นประสานของสนามไฟฟ้าและแม่เหล็กซึ่งแผ่ผ่านสุญญากาศด้วยความเร็วแสง การสั่นองสนามทั้งสองนี้ตั้งฉากกันและตั้งฉากกับทิศทางของการแผ่พลังงานและคลื่น ทำให้เกิดคลื่นตามขวาง แนวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเปล่งจากแหล่งกำเนิดจุด (เช่น หลอดไฟ) เป็นทรงกลม ตำแหน่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถจำแนกลักษณะได้โดยความถี่ของการสั่นหรือความยาวคลื่น สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้ามีคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ รังสีอินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา โดยเรียงความถี่จากน้อยไปมากและความยาวคลื่นจากมากไปน้อย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดเมื่ออนุภาคมีประจุถูกเร่ง แล้วคลื่นเหล่านี้จะสามารถมีอันตรกิริยากับอนุภาคมีประจุอื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพาพลังงาน โมเมนตัมและโมเมนตัมเชิงมุมจากอนุภาคแหล่งกำเนิดและสามารถส่งผ่านคุณสมบัติเหล่านี้แก่สสารซึ่งไปทำอันตรกิริยาด้วย ควอนตัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรียก โฟตอน ซึ่งมีมวลนิ่งเป็นศูนย์ แต่พลังงานหรือมวลรวม (โดยสัมพัทธ์) สมมูลไม่เป็นศูนย์ ฉะนั้นจึงยังได้รับผลจากความโน้มถ่วง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสัมพันธ์กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้นซึ่งสามารถแผ่ตนเองได้โดยปราศจากอิทธิพลต่อเนื่องของประจุเคลื่อนที่ที่ผลิตมัน เพราะรังสีนั้นมีระยะห่างเพียงพอจากประจุเหล่านั้นแล้ว ฉะนั้น บางทีจึงเรียกรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าว่าสนามไกล ในภาษานี้สนามใกล้หมายถึงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใกล้ประจุและกระแสที่ผลิตมันโดยตรง โดยเจาะจงคือ ปรากฏการณ์การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต ในทฤษฎีควอนตัมแม่เหล็กไฟฟ้า รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยโฟตอน อนุภาคมูลฐานซึ่งทำให้เกิดอันตรกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งสิ้น ฤทธิ์ควอนตัมทำให้เกิดแหล่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่ม เช่น การส่งผ่านอิเล็กตรอนไประดับพลังงานต่ำกว่าในอะตอมและการแผ่รังสีวัตถุดำ โฟตอนความถี่สูงขึ้นจะมีพลังงานมากขึ้น ความสัมพันธ์นี้เป็นไปตามสมการของพลังค์ E.

ใหม่!!: เคมีและรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุศาสตร์

ซรามิกแบริง วัสดุศาสตร์ (materials science) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และธรณีวิทยา โดยมุ่งความสนใจไปที่คุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุในสภาวะที่เป็นของแข็งอันได้แก่ โครงสร้าง ระดับอะตอมหรือโมเลกุลของวัสดุ คุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ การนำความร้อน คุณสมบัติทางเคมี คุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้า คุณสมบัติที่ยอมให้แสงผ่าน หรือการผสมผสานกันของบางคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้ คุณสมบัติของวัสดุที่สังเกตง่ายและชัดเจนจะแสดงออกมาในรูปของคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ ส่วนความแตกต่างในระดับโครงสร้างโมเลกุลและอะตอมจะต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนในการตรวจสอบ สำหรับการประเมินสมรรถนะของวัสดุจะเป็นพื้นฐานของงานวิศวกรรมที่จะนำวัสดุนั้น ๆ ไปใช้งาน ส่วนวิชาว่าด้วยวัสดุศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการความรู้ทางเทคโนโลยีของวัสดุสี่ส่วนซึ่งแต่ละส่วนจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นรูปสี่มุมสี่ด้าน (Tetrahedron) การนำวิชาการทางด้านวัสดุศาสตร์ไปใช้งานทางด้านวิศวกรรมอย่างกว้างขวางทำให้เกิดนิยามของวิชาการสาขานี้ใหม่เป็น"วัสดุศาสตร์และวิศวกรรม" วัสดุที่คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทำให้เกิดผลิตภัญฑ์ใหม่หรือไม่ก็เกิดอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรสาขาวัสดุศาสตร์คอยดูแลแก้ไขปัญหาและวิจัยวัสดุใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ในอุตสาหกรรมนักวัสดุศาสตร์จะมีบทบาทในส่วนของ การออกแบบวัสดุ (materials design) การประเมินค่าใช้จ่ายในการผลิตวัสดุนั้น ๆ ดูแลกระบวนการทางเทคนิคซึ่งประกอบด้วย การหล่อ, การม้วน, การเชื่อม, การใส่ประจุ, การเลี้ยงผลึก, การรอกฟิล์ม (thin-film deposition), การเป่าแก้ว เป็นต้น และเทคนิคการวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน, การเอกซเรย์ เป็นต้น.

ใหม่!!: เคมีและวัสดุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมเคมี

วิศวกรเคมีออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตทางเคมี วิศวกรรมเคมี (chemical engineering) เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ของไหล, การแลกเปลี่ยนความร้อน และเศรษฐศาสตร์ กับกระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบ หรือเคมีภัณฑ์ ให้อยู่ในรูปที่มีประโยชน์ วิศวกรรมเคมีเป็นวิชาที่ว่าด้วยการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมีในระดับมหภาพ วิศวกรเคมีที่ทำงานในด้านการควบคุมกระบวนการมักจะถูกเรียกว่าวิศวกรกระบวนการ (Process Engineer).

ใหม่!!: เคมีและวิศวกรรมเคมี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (อังกฤษ: natural science) หมายถึงกลุ่มของสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการจัดให้สาขาใดสาขาหนึ่งอยู่ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้น ขึ้นอยู่กับทั้งข้อตกลงในอดีตและความหมายสาขาในปัจจุบัน ตามธรรมเนียมดั้งเดิม ความหมายของ.

ใหม่!!: เคมีและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สสาร

ว.

ใหม่!!: เคมีและสสาร · ดูเพิ่มเติม »

สหัสวรรษ

หัสวรรษ(Millennium) เป็นช่วงของเวลาเท่ากับหนึ่งพันปี คำว่า millennium ในภาษาอังกฤษนั้น มาจากคำภาษาละติน mille แปลว่า พัน และ annus ซึ่งแปลว่าปี มักใช้แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เกี่ยวข้องเชิงตัวเลขกับระบบการนับวันโดยเฉพาะ เช่น สหัสวรรษอาจเริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: เคมีและสหัสวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ใหม่!!: เคมีและสารประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอินทรีย์

มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...

ใหม่!!: เคมีและสารประกอบอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์ เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัวถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น.

ใหม่!!: เคมีและสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: เคมีและอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: เคมีและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อุณหเคมี

อุณหเคมี (Thermochemistry) หรือ เคมีความร้อน เป็นการศึกษาพลังงานและความร้อนที่สัมพันธ์กับปฏิกิริยาเคมี หรือการแปรรูปทางกายภาพ ปฏิกิริยาอาจคายหรือดูดพลังงาน และการเปลี่ยนสถานะอาจทำอย่างเดียวกัน เช่น ในการหลอมเหลวและการเดือด อุณหเคมีมุ่งสนใจการเปลี่ยนแปลงพลังงานเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการแลกเปลี่ยนพลังงานของระบบกับสิ่งแวดล้อม หมวดหมู่:เคมีเชิงฟิสิกส์ หมวดหมู่:สาขาของอุณหพลศาสตร์.

ใหม่!!: เคมีและอุณหเคมี · ดูเพิ่มเติม »

อณูชีววิทยา

อณูชีววิทยา หรือ ชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม ในระดับโมเลกุล เป็นสาขาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยามุ่งเน้นศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และ โปรตีน และรวมถึงว่าขบวนการเหล่านี้ถูกควบคุมอย่างไร.

ใหม่!!: เคมีและอณูชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อ็องตวน ลาวัวซีเย

อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย (Antoine-Laurent de Lavoisier; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2286 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงโดยกิโยติน เขามีผลงานสำคัญคือ ได้ตั้งกฎการอนุรักษ์มวล (หรือกฎทรงมวล) และการล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการศึกษาวิชาเคมี.

ใหม่!!: เคมีและอ็องตวน ลาวัวซีเย · ดูเพิ่มเติม »

จลนพลศาสตร์เคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยามีแนวโน้มที่จะเพิ่มตามความเข้มข้น - ปรากฏการณ์อธิบายได้โดย ทฤษฎีการปะทะ จลนพลศาสตร์เคมี (Chemical kinetics) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมี ที่ศึกษาเกี่ยวกับอัตราการทำปฏิกิริยาเคมีของสารต่างๆ ทั้งในด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี, กลไกในการเกิดปฏิกิริยาเคมี และสถานะกัมมันต์ และรวมไปถึงการสร้างสมการคณิตศาสตร์เพื่ออธิบัยการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมี ในปี ค.ศ. 1864 ปีเตอร์ วาจจ์ และคาโต กุลด์เบิร์ก ถือเป็นผู้แรกในการอ้างถึงความสัมพันธ์ของความเร็วในการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับปริมาณของสารเคมีในร.

ใหม่!!: เคมีและจลนพลศาสตร์เคมี · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ดาลตัน

อห์น ดาลตัน (John Dalton; 6 กันยายน ค.ศ. 1766 - 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1844) เป็นนักเคมีและฟิสิกส์ เกิดที่ Eaglesfield ใกล้กับ Cockermouth ใน Cumbria ประเทศอังกฤษ มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีอะตอม และการทำวิจัยในเรื่องการอธิบายสาเหตุตาบอดสี.

ใหม่!!: เคมีและจอห์น ดาลตัน · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: เคมีและธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีเคมี

รณีเคมี (Geochemistry) เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือและหลักการทางเคมี เพื่ออธิบายกลไกที่อยู่เบื้องหลังระบบธรณีวิทยาที่สำคัญ ๆ เช่น เปลือกโลก และมหาสมุทร ในขอบเขตของธรณีเคมีขยายไปไกลกว่าของโลก, การครอบคลุมทั้งระบบสุริยะ และมีส่วนร่วมสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆรวมถึง การพาความร้อนของเปลือกโลกในชั้นหลอมเหลว (Mantle convection),การก่อตัวของดาวเคราะห์และต้นกำเนิดของหินแกรนิต และหินบะซอลต.

ใหม่!!: เคมีและธรณีเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีอะตอม

ในวิชาเคมีและฟิสิกส์ ทฤษฎีอะตอมคือทฤษฎีที่ว่าด้วยธรรมชาติของสสาร ซึ่งกล่าวว่า สสารทุกชนิดประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ ที่เรียกว่า อะตอม ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดดั้งเดิมที่แบ่งสสารออกเป็นหน่วยเล็กหลายชนิดตามแต่อำเภอใจ แนวคิดนี้เริ่มต้นเป็นแนวคิดเชิงปรัชญาของชาวกรีกโบราณ (ดีโมครีตุส) และชาวอินเดีย ต่อมาได้เข้ามาสู่วิทยาศาสตร์กระแสหลักในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการค้นพบในสาขาวิชาเคมีซึ่งพิสูจน์ว่า พฤติกรรมของสสารนั้นดูเหมือนมันประกอบขึ้นด้วยอนุภาคขนาดเล็ก คำว่า "อะตอม" (จากคำกริยาในภาษากรีกโบราณว่า atomos, 'แบ่งแยกไม่ได้') ถูกนำมาใช้เรียกอนุภาคพื้นฐานที่ประกอบกันขึ้นเป็นธาตุเคมี เพราะนักเคมีในยุคนั้นเชื่อว่ามันคืออนุภาคมูลฐานของสสาร อย่างไรก็ดี เมื่อเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 การทดลองจำนวนมากเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าและสารกัมมันตรังสี ทำให้นักฟิสิกส์ค้นพบว่าสิ่งที่เราเรียกว่า "อะตอมซึ่งแบ่งแยกไม่ได้อีก" นั้นที่จริงแล้วยังประกอบไปด้วยอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมอีกจำนวนมาก (ตัวอย่างเช่น อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน) ซึ่งสามารถแยกแยะออกจากกันได้ อันที่จริงแล้วในสภาวะแวดล้อมสุดโต่งดังเช่นดาวนิวตรอนนั้น อุณหภูมิและความดันที่สูงอย่างยิ่งยวดกลับทำให้อะตอมไม่สามารถดำรงอยู่ได้เลยด้วยซ้ำ เมื่อพบว่าแท้จริงแล้วอะตอมยังแบ่งแยกได้ ในภายหลังนักฟิสิกส์จึงคิดค้นคำว่า "อนุภาคมูลฐาน" (elementary particle) เพื่อใช้อธิบายถึงอนุภาคที่แบ่งแยกไม่ได้ วิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมนี้เรียกว่า ฟิสิกส์อนุภาค (particle physics) ซึ่งนักฟิสิกส์ในสาขานี้หวังว่าจะสามารถค้นพบธรรมชาติพื้นฐานที่แท้จริงของอะตอมได้.

ใหม่!!: เคมีและทฤษฎีอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีโฟลจิสตัน

นายแพทย์ชาวเยอรมันผู้สนใจในการเล่นแร่แปรธาตุ ทฤษฎีโฟลจิสตัน (phlogiston theory) เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ล้าสมัย กล่าวถึงโฟลจิสตันที่มีอยู่ภายในร่างของสิ่งต่างๆซึ่งจะปรากฏขึ้นมาเมื่อเกิดการเผาไหม้ โดยชื่อโฟลจิสตันนี้ได้มาจากภาษากรีกโบราณ ที่ว่า φλογιστόν phlogistón (การเผาไหม้ขึ้น) โดยทฤษฎีนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เคมีและทฤษฎีโฟลจิสตัน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: เคมีและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: เคมีและทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: เคมีและตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

ใหม่!!: เคมีและตารางธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: เคมีและปฏิกิริยาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: เคมีและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเคมี

ปิโตรเคมี คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง สารเคมีที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยผ่านกระบวนการทาง เคมีต่างๆ ที่สำคัญ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (refinery process) และกระบวนการทางฟิสิกส์ (physical process) และสารปิโตรเคมีที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเลฟินส์ ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน ฯลฯ อีกกลุ่มคือ อะโรเมติกส์ ได้แก่ เบนซิน โทลูอินและไซลีน ทั้งสามสารนี้รวมเรียกว่า BTX.

ใหม่!!: เคมีและปิโตรเคมี · ดูเพิ่มเติม »

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

ใหม่!!: เคมีและแสง · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: เคมีและโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต บอยล์

รเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle; FRS; 25 มกราคม ค.ศ. 1627 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1691) นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอังกฤษในฐานะผู้คิดค้นกฎของบอยล์ และนักประดิษฐ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผลงานที่โดดเด่นของบอยล์คือ เป็นผู้คิดค้นกฎของบอยล์ ซึงกฎของบอยล์ กล่าวว่า ในกรณี ที่อุณหภูมิของแก๊สไม่เปลี่ยนแปลง ผลคูณระหว่าง ความดันของแก๊ส (P) กับปริมาตรของแก๊ส (V) มีค่าคงตัว (C) เขียนสมการได้ว่า PV.

ใหม่!!: เคมีและโรเบิร์ต บอยล์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้าง (แก้ความกำกวม)

รงสร้าง โดยทั่วไปแล้วหมายถึง องค์ประกอบหลักที่สำคัญ ซึ่งนำประกอบเข้ากันเป็นรูปร่าง แต่ก็อาจะหมายถึง.

ใหม่!!: เคมีและโครงสร้าง (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้าเคมี

ฟฟ้าเคมี (Electrochemistry) เป็นศาสตร์ของปฏิกิริยาที่ผิวหน้าสัมผัสของ วัสดุตัวนำอิเล็กโทรนิก (conductor material) ซึ่งเป็นอิเล็กโทรด (electrode) ที่อาจเป็นโลหะ หรือสารกึ่งตัวนำอย่างกราไฟต์ (graphite) และไอออนิกคอนดักเตอร์อิเล็กโตรไลต์ (electrolyte) ถ้าปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) เกิดจาก แรงดันไฟฟ้า (voltage) ภายนอกหรือถ้าแรงดันไฟฟ้าเกิดจากปฏิกิริยาเคมี ดังเช่นไฟฟ้าในแบตเตอรี่ (Battery) อย่างนีเราเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าโดยทั่วไปวิชาเคมีไฟฟ้า จะเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) และปฏิกิริยารีดักชัน (reduction) และทิศทางของประจุไฟฟ้า (charge transfer) จากโมเลกุลหนึ่งไปยังที่อื่นจะไม่ถือว่าเป็นเนื้อหาในเคมีมินิ ธาตุเคมีที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) ไฟฟ้าจะขึ้นกับจำนวนอิเล็กตรอน (electron) ที่มันจะรับหรือจะให้ซึ่งเรียกว่าออกซิเดชั่นสเตต (oxidation state) ในสถานะที่เป็นกลาง (neutral state) ออกซิเดชั่นสเตตจะเท่ากับ 0 ถ้าอะตอมใดอะตอมหนึ่งเป็นผู้ให้อิเล็กตรอนในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นออกซิเดชั่นสเตตของมันจะเพิ่มขึ้นและถ้าธาตุใดรับอิเล็กตรอนออกซิเดชั่นสเตตของมันจะลดลง ดังตัวอย่างเมื่อโซเดียมทำปฏิกิริยากับคลอรีนโซเดียมจะให้อิเล็กตรอน 1 ตัวแล้วมันจะมีออกซิเดชั่นสเตตเป็น +1 ส่วนคลอรีนรับอิเล็กตรอนไป 1 ตัวจะมีค่าออกซิเดชั่นสเตตลดลงเป็น -1 ออกซิเดชั่นสเตตจะเป็น 0 ในปฏิกิริยาเคมีที่ประจุ + และ - หักล้างกันพอดี และแรงดึงดูดไอออนต่างชนิดกันระหว่างของโซเดียมและคลอรีนเรียกว่าไอออนิกบอนด์ (ionic bond) การสูญเสียอิเล็กตรอนของธาตุเคมีเราเรียกว่าออกซิเดชั่น (oxidation) และการได้รับอิเล็กตรอนเราเรียกว่ารีดักชั่น (reduction) เพื่อให้จำง่ายเรามีเทคนิคช่วยจำ (mnemonic) ที่นิยมกันมากดังนี้ดังนี้.

ใหม่!!: เคมีและไฟฟ้าเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชวิทยา

ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เคมีและเภสัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชเคมี

ัชเคมี (Pharmaceutical Chemistry) เป็นสาขาวิชาที่เกิดจากการผสมผสานกันของศาสตร์หลายสาขาโดยเฉพาะเคมีและเภสัชกรรม เพื่อการค้นหาและออกแบบตัวยา เภสัชเคมีจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีของตัวยา การสังเคราะห์ตัวยา และการพัฒนาสารเคมีตัวใหม่ที่เหมาะสำหรับการรักษาโรค รวมถึงการศึกษายาที่มีอยู่เดิมในส่วนของคุณสมบัติทางเคมีกับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา-พิษวิทยา เช่น ความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างการออกฤทธิ์และโครงสร้างของยา (Quantitative Structure-Activity Relationship: QSAR) เป็นต้น.

ใหม่!!: เคมีและเภสัชเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เคมีพอลิเมอร์

มีพอลิเมอร์ หรือ แมคโครโมเลกุลาร์เคมี (Polymer chemistry หรือ macromolecular chemistry) เป็นศาสตร์หลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ทางเคมี (chemical synthesis) และคุณสมบัติทางเคมีของพอลิเมอร์ (polymer) หรือแมคโครโมเลกุล (macromolecule) แมคโครโมเลกุลแบบเก่าจะหมายถึงโซ่โมเลกุล และเป็นกลุ่มของเคมี ส่วนพอลิเมอร์จะอธิบายถึงคุณสมบัติรวมๆของวัสดุพอลิเมอร์ซึ่งจะเป็นขอบเขตของฟิสิกส์พอลิเมอร์ (polymer physics) ซึ่งเป็นสาขาย่อยของวิชาฟิสิกส์ พลาสติก (Plastics) เช่น พอลิเอทิลีน (polyethylene) จะเป็นกลุ่มย่อยของพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มูลค่าในเชิงพาณิชย์ ไบโอพอลิเมอร์ (Biopolymer) เช่น โปรตีน (protein) เป็นกลุ่มย่อยของพอลิเมอร์ที่พบในธรรมชาต.

ใหม่!!: เคมีและเคมีพอลิเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีการคำนวณ

มีการคำนวณ (Computational chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของเคมีทฤษฎี (theoretical chemistry) มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science) วิชาเคมี (chemistry) วิชาฟิสิกส์ และวิชาคณิตศาสตร์วัตถุประสงค์หลักก็คือการใช้แนวคิดทางทฤษฎีที่พิสูจน์ได้ทางฟิสิกส์และเคมีมาออกแบบหรือสร้างระบบจำลองที่มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ระบบจำลองของแข็ง ระบบจำลองดีเอ็นเอ ระบบจำลองโปรตีน เป็น้ตน ซึ่งในการประมาณการ (approximation) ทางคณิตศาสตร์จะใช้โปรแกรมการคำนวณ (computer program) มาคำนวณ เนื่องจากมีความซับซ้อนและความยุ่งยากทางคณิตศาสตร์มากเกินกว่าที่มนุษย์จะกระทำได้ ซึ่งคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงนี้เองที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเคมีคำนวณลดระยะเวลาในการ simulation ลงอย่างมากอีกด้วย สำหรับสิ่งที่ต้องการจะศึกษาก็มีปลายรูปแบบแตกต่างกันไป ขึ้นกับระบบนั้น ๆ โดยส่วนมากจะใช้คำนวณหรือศึกษาคุณสมบัติของโมเลกุล (molecule) เช่น.

ใหม่!!: เคมีและเคมีการคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีวิเคราะห์

มีวิเคราะห์ (Analytical chemistry.) คือสาขาของวิชาเคมีที่ว่าด้วยการวิเคราะห์สารตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงองค์ประกอบ และโครงสร้างทางเคมีของวัสดุนั้น.

ใหม่!!: เคมีและเคมีวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีสิ่งแวดล้อม

มีสิ่งแวดล้อม (Environmental chemistry) เป็นสาขาของวิชาเคมีที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางเคมีและชีวเคมีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติซึ่งจะรวมถึงเคมีของน้ำ (Aquatic chemistry) และเคมีของดิน (soil chemistry) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Green chemistry) งานหลักของเคมีสิ่งแวดล้อมคือ.

ใหม่!!: เคมีและเคมีสิ่งแวดล้อม · ดูเพิ่มเติม »

เคมีอินทรีย์

มีอินทรีย์ (Organic chemistry) เป็นสาขาย่อยในวิชาเคมี ที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบ ปฏิกิริยา และการเตรียม (ด้วยการสังเคราะห์หรือด้วยวิธีการอื่น) สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นหลัก ไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์ของพวกมันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สารประกอบเหล่านี้อาจมีธาตุอื่นอีกจำนวนหนึ่งด้วยก็ได้ เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน แฮโลเจน เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส ซิลิกอนและซัลเฟอร์ สารประกอบอินทรีย์เป็นพื้นฐานกระบวนการของสิ่งมีชีวิตบนโลกแทบทั้งสิ้น (โดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อยมาก) สารประกอบเหล่านี้มีโครงสร้างหลากหลายมาก ลักษณะการนำไปใช้ของสารประกอบอินทรีย์ก็มีมากมาย โดยเป็นได้ทั้งพื้นฐานของ หรือเป็นองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ยา สารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเคมี อาหาร วัตถุระเบิด และสี.

ใหม่!!: เคมีและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีอนินทรีย์

มีอนินทรีย์ (Inorganic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยเรื่องคุญสมบัติและปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอนินทรีย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสารประกอบเคมีทุกชนิดยกเว้นสารประกอบเคมีที่มีโซ่และวงแหวนคาร์บอน แต่ก็มีสารบางกลุ่มที่เป็น ได้ทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์เช่น ออร์แกนโนเมทัลลิกเคมี (organometallic chemistry).

ใหม่!!: เคมีและเคมีอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีดาราศาสตร์

มีดาราศาสตร์ (Astrochemistry) เป็นการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่พบในอวกาศ โดยมากเป็นการศึกษาในระดับที่ใหญ่กว่าระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมฆโมเลกุล ซึ่งจะศึกษาตั้งแต่การก่อตัว การเกิดอันตรกิริยา และการสิ้นสลายลง เคมีดาราศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ก้ำกึ่งระหว่างดาราศาสตร์และวิชาเคมี แนวทางการศึกษาเคมีดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทรรศน์เพื่อตรวจวัดค่าคาดการณ์ต่างๆ ของวัตถุในอวกาศ เช่นอุณหภูมิและองค์ประกอบของวัตถุ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์จากการใช้สเปกโตรสโกปีในห้องทดลองเคมีเพื่อแยกแยะชนิดของโมเลกุลในวัตถุทางดาราศาสตร์ (เช่น ดาวฤกษ์ หรือ เมฆระหว่างดาว) คุณลักษณะที่แตกต่างกันของโมเลกุลจะแสดงออกมาในสเปกตรัมของวัตถุนั้น เคมีดาราศาสตร์ยังมีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์และนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ในการศึกษาคุณสมบัติของปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดในดาวฤกษ์ ลำดับขั้นตอนของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของดาวฤกษ์ เพราะปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงดาวทำให้เกิดองค์ประกอบทางเคมีขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อดาวฤกษ์มีวิวัฒนาการไป มวลขององค์ประกอบใหม่ๆ ที่เกิดก็เพิ่มมากขึ้น.

ใหม่!!: เคมีและเคมีดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีนิวเคลียร์

มีนิวเคลียร์ (Nuclear chemistry) เป็นสาขาย่อยของวิชาเคมีที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสี (radioactivity) กระบวนการนิวเคลียร์ และคุณสมบัติทางนิวเคลียร์ สามารถแบ่งเป็นสาขาย่อยได้ดังนี้.

ใหม่!!: เคมีและเคมีนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีแสง

มีแสง (Photochemistry) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง แสง และ สารเคมี.

ใหม่!!: เคมีและเคมีแสง · ดูเพิ่มเติม »

เคมีโลหอินทรีย์

''n''-Butyllithium เป็นสารออร์แกนโนเมทัลลิกอย่างหนึ่งประกอบไปด้วย อะตอมลิเทียม 4 อะตอม (สีม่วง) มีโตรงสร้างเป็นทรงสี่หน้า อะตอมลิเทียมแต่ละตัวจะมีพันธะเชื่อมกับหมู่ butyl (อะตอมคาร์บอนเป็นสีดำและอะตอมไฮโดรเจนเป็นสีขาว เคมีโลหอินทรีย์ (Organometallic chemistry) เป็นการศึกษาสารประกอบโลหอินทรีย์ โดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ หรือ IUPAC ได้ให้นิยามว่า สารประกอบโลหอินทรีย์เป็นสารประกอบที่มีพันธะระหว่างอะตอมของโลหะหนึ่งอะตอมหรือมากกว่ากับคาร์บอนหนึ่งอะตอมหรือมากกว่าของหมู่ออร์แกนิล (organyl group) โดยที่ หมู่ออร์แกนิล หมายถึง หมู่แทนที่ที่เป็นสารอินทรีย์ใดๆที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 1 ตัวที่อะตอมของคาร์บอน อาทิ CH3CH2–, ClCH2–, CH3C(.

ใหม่!!: เคมีและเคมีโลหอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีเชิงฟิสิกส์

มีเชิงฟิสิกส์ (physical chemistry แต่เดิมเรียกเคมีกายภาพ) คือศาสตร์สาขาหนึ่งของวิชาเคมีที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงและคาบเกี่ยวกับวิชาการสาขาอื่นๆดังนี้.

ใหม่!!: เคมีและเคมีเชิงฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วิชาเคมี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »