โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

ดัชนี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees, คำย่อ UNHCR) เป็นองค์การที่รับภารกิจหน้าที่จาก UNRRA: United Nations Relief and Rehabilitation Administration ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ช่วยเหลือการกลับถิ่นฐานเดิมของผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 8 ล้านคน ซึ่งเกิดจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ภารกิจหลัก คือ การปกป้องและสนับสนุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั่วโลก ตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลในแต่ละประเทศหรือข้อเรียกร้องของสหประชาชาติ นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังมีหน้าที่สำคัญในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง หรือ ประเทศที่สามเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สำนักงานฯ มีภารกิจหลักคือ เป็นผู้นำและประสานงานในการรวบรวมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อปกป้องและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก และการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในรัฐอื่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทางออกที่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมโดยสมัครใจ (voluntary repatriation) การตั้งถิ่นฐานในรัฐผู้รับ (local integration) หรือการไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม (third country resettlement) และภารกิจที่ตามมาคือ การปกป้องและให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่บุคคลในความห่วงใย (person of concern, POC) กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผู้แสวงหาที่พักพิง (asylum seeker) ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (internally displaced person) บุคคลไร้รัฐ (stateless person) และผู้ที่เดินทางกลับประเทศต้นทาง (returnee) ภารกิจของสำนักงานฯ ในขณะนี้ มักจะอยู่ในประเทศที่ยังคงมีสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติและประเทศใกล้เคียง เช่น เลบานอน ซูดาน ชาด อิรัก อัฟกานิสถาน เคนยา อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ ยังมีภารกิจครอบคลุมไปถึงผู้ที่หนีภัยจากการประหัตประหาร และผู้ที่พลัดถิ่นอันเนื่องมาจากภัยพิบัติอีกด้วย ทั้งนี้ สำนักงานฯ มีสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศไทยที่อาคารสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก สำนักงานฯ ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2524 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายฟีลิปโป กรันดี (Filippo Grandi) นักการทูตชาวอิตาลี และประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ คนปัจจุบันได้แก่ นาย Carsten Staur เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเดนมาร์กประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีว.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2486พ.ศ. 2493พ.ศ. 2497พ.ศ. 2524รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสหรัฐสหประชาชาติสงครามโลกครั้งที่สองประธานาธิบดีประเทศชาดประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศอัฟกานิสถานประเทศอิรักประเทศซูดานประเทศเลบานอนประเทศเคนยาแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์เจนีวา14 ธันวาคม9 มิถุนายน

พ.ศ. 2486

ทธศักราช 2486 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1943.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและพ.ศ. 2486 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและพ.ศ. 2493 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2497

ทธศักราช 2497 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1954.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและพ.ศ. 2497 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2524

ทธศักราช 2524 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1981 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและพ.ศ. 2524 · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobels fredspris, Nobel Peace Prize) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งในห้าสาขา ที่ริเริ่มโดยอัลเฟร็ด โนเบล ตั้งแต..

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

มัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม..

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (president) คือตำแหน่งประมุขหรือผู้นำของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีจะได้รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประม.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชาด

(Tchad; تشاد, Tshād) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกจดประเทศซูดาน ทางใต้จดสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศแคเมอรูนและประเทศไนจีเรีย และทางตะวันตกจดประเทศไนเจอร์ เนื่องจากมีระยะไกลจากทะเลและมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ ประเทศจึงได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจตายของแอฟริกา" (dead heart of Africa) ทางเหนือมีทิวเขาทิเบสตี (Tibesti Mountains) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทะเลทรายสะฮารา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเฟรนช์อิเควทอเรียลแอฟริกา (Federation of French Equatorial Africa) มีชื่อตามทะเลสาบชาด (Lake Chad).

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประเทศชาด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเคนยา

นยา (อังกฤษและKenya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya; Jamhuri ya Kenya) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตจรดประเทศเอธิโอเปีย (ทางเหนือ) ประเทศโซมาเลีย (ทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ประเทศแทนซาเนีย (ทางใต้) ประเทศยูกันดา (ทางตะวันตก) ประเทศเซาท์ซูดานและทะเลสาบวิกตอเรีย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ ไนโรบี.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและประเทศเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt) เกิดวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (พ.ศ. 2476-2488) และเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับเลือกถึงสี่สมัย ก่อนการประกาศญัตติข้อที่ 22 ในปี..

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

เจนีวา

นีวา (Geneva) หรือออกเสียงในภาษาท้องถิ่นว่า เฌอแนฟว์ (Genève) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (รองจากซือริช) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาครอม็องดีอันเป็นภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักในสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวาตั้งอยู่บริเวณต้นแม่น้ำโรนซึ่งไหลออกจากทะเลสาบเจนีวา เจนีวามีสถานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐแห่งรัฐเจนีวา เจนีวาถือเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของโลก โดยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน, ศูนย์กลางทางการทูต เจนีวาถือเป็นเมืองที่มีองค์กรระหว่างประเทศตั้งอยู่มากที่สุดในโลก ในบรรดาองค์กรเหล่านี้อาทิ หน่วยงานของสหประชาชาติและกาชาดสากล เป็นต้น ในปี 2017 เจนีวาได้รับการจัดอันดับโดย Global Financial Centres Index ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับ 15 ของโลก และเป็นที่ 5 ของทวีปยุโรป รองจากลอนดอน, ซือริช, แฟรงเฟิร์ต และลักเซมเบิร์ก และยังได้รับการจัดอันดับโดย Mercer's Quality of Living index ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

14 ธันวาคม

วันที่ 14 ธันวาคม เป็นวันที่ 348 ของปี (วันที่ 349 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 17 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและ14 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 มิถุนายน

วันที่ 9 มิถุนายน เป็นวันที่ 160 ของปี (วันที่ 161 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 205 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและ9 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

UNHCRUnited Nations High Commissioner for Refugeesสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »