โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาศาสตร์

ดัชนี ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

42 ความสัมพันธ์: การวิจัยการประมวลภาษาธรรมชาติการแปลด้วยเครื่องการเปลี่ยนแปลงของภาษาภาษาศาสตร์จิตวิทยาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาภาษาศาสตร์เชิงประวัติภาษาธรรมชาติภาษาถิ่นระบบการเขียนวัจนปฏิบัติศาสตร์วัฒนธรรมวากยสัมพันธ์วิทยาหน่วยคำศัพทมูลวิทยาศาสตราจารย์สมองสหราชอาณาจักรสัทวิทยาสัทศาสตร์สัทอักษรสากลสำนวนภาษาปากอรรถศาสตร์อุปลักษณ์อี.บี. ไวท์ทฤษฎีการคำนวณได้คลังข้อมูลความรู้ประชานศาสตร์ประเทศญี่ปุ่นประเทศออสเตรเลียประเทศจีนประเทศแคนาดาปรัชญานักชีววิทยานักจิตวิทยานิรุกติศาสตร์แพทยศาสตร์แอสกีโนม ชอมสกีเสียง

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การประมวลภาษาธรรมชาติ

การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing ย่อว่า NLP) เป็นสาขาย่อยของปัญญาประดิษฐ์และภาษาศาสตร์ที่ศึกษาปัญหาในการประมวลผลและใช้งานภาษาธรรมชาติ รวมทั้งการทำความเข้าใจภาษาธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ได้.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และการประมวลภาษาธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

การแปลด้วยเครื่อง

มเหลี่ยมของโวกัวส์แสดงระดับสถาปัตยกรรมทางภาษาศาสตร์ในการแปลด้วยเครื่อง การแปลด้วยเครื่อง (MT; machine translation) เป็นศาสตร์ย่อยของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณที่เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความหรือคำพูดภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความภาษาไทย ไปเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น ในระดับพื้นฐาน การแปลด้วยเครื่องทำได้โดยการแทนที่คำในภาษาหนึ่งด้วยคำในอีกภาษาหนึ่ง (การแปลคำต่อคำ) อย่างไรก็ตามการแปลภาษาโดยใช้การแทนที่คำอย่างง่ายไม่เพียงพอต่อการแปลภาษาให้ถูกต้อง เพราะภาษามีความคลุมเครือ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า bank ในภาษาอังกฤษมีความเป็นไปได้ที่จะแปลเป็นคำภาษาไทย ได้ทั้งคำว่า "ธนาคาร" และ "ตลิ่ง" เป็นต้น นอกจากนั้นภาษายังแตกต่างกันในเรื่องสำนวนและไวยากรณ์ ยกตัวอย่างเช่น "il fait froid" ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "อากาศหนาว" ในภาษาไทย แต่ถ้าหากแปลคำต่อคำจะแปลว่า "มันทำหนาว" เป็นต้น เนื่องจากการแปลด้วยการแทนที่คำอย่างง่ายมีข้อจำกัด จึงมีการใช้เทคนิคการแปลด้วยเครื่องต่างๆ เช่น การเรียนรู้การแปลอัตโนมัติจากคลังข้อความขนาน และการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ เป็นต้น ขั้นตอนในการแปลภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และการแปลด้วยเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงของภาษา

การเปลี่ยนแปลงของภาษา ถือเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษา ภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จะมีแนวโน้มการใช้ที่ยืนยาวมากกว่าภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย หรือไม่เปลี่ยนแปลงเล.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์จิตวิทยา

ภาษาศาสตร์จิตวิทยา (psycholinguistics หรือ psychology of language) เป็นสาขาวิชาที่รวมวิธีทางจิตวิทยาและทางภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกของภาษาทางด้านจิตวิทยา ความเคยชินทางภาษา วิธีการใช้ภาษาในทางด้านจิตวิทยาและการติดต่อสื่อสารกัน หมวดหมู่:จิตวิทยา.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์จิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) เป็นสหวิทยาการที่ว่าด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของภาษาธรรมชาติ จากมุมมองในเชิงคำนวณ แบบจำลองนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสาขาในสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ เดิมทีเดียว นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) แต่งานวิจัยในช่วงหลัง ได้แสดงให้เห็นว่า ภาษานั้นซับซ้อนเกินกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้นกลุ่มศึกษาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์จึงกลายสภาพเป็นกลุ่มสหวิทยาการไป โดยจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่เป็นนักภาษาศาสตร์​ (นั่นคือ ฝึกฝนมาทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะ) ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ จิตวิทยาปริชาน (en:cognitive psychology) ตรรกวิทยา และอื่น.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา

ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา (neurolinguistics) เป็นการศึกษาสรีระของสมองและโครงสร้างของระบบประสาทโดยเฉพาะ ในส่วนที่สัมพันธ์กับการพัฒนาและการใช้ภาษา และศึกษาพยาธิสภาพทางสมองที่มีผลทำให้เกิดความบกพร่องหรือความผิดปกติทางภาษา ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูภาษาของบุคคลที่มีความบกพร่องดังกล่าว อาทิ ผู้ป่วยที่มีภาวะเสียการสื่อภาษา (aphasia) เป็นอาการที่สมองสั่งงานให้พูดออกมาด้วยความยากลำบาก คนไข้จะพูดไม่คล่อง พูดตะกุกตะกัก (อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์, 2537: 294) ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการได้ยิน ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูด (articulatory disorders) หรือมีความผิดปกติของอวัยวะในการพูดเนื่องจากกลไกการออกเสียงเสื่อม (dysarthria) ตลอดจนศึกษาภาวะความผิดปกติอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการทำงานของสมอง เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะเสียการเขียน (agraphia) ซึ่งเป็นผู้ที่อ่านได้แต่เขียนไม่ได้ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะเสียการอ่าน (alexia) นั่นคืออ่านไม่รู้เรื่อง แต่เขียนหรือคัดลายมือได้ หรือมีภาวะเสียการใช้คำ (anomia) หรือไม่สามารถหาคำที่มีความหมายเหมาะสมได้ คนไข้มีปัญหาการเลือกคำ การใช้คำขณะพูด การเข้าใจภาษาและการว่าซ้ำไม่มีปัญหา พูดคล่อง แต่ใช้คำเยิ่นเย้อ (อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์, 2537: 294) ผู้ที่ศึกษาทางด้านนี้ จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบภาษาที่ใช้ในสังคมที่ตนจะศึกษาหรือฟื้นฟูแก้ไข หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ

ษาศาสตร์เชิงประวัติ (historical linguistics หรือ diachronic linguistics) เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาษา โดยมี 4 ประเด็นหลักด้วยกัน ดังนี้.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์เชิงประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาธรรมชาติ

คำว่า ภาษาธรรมชาติ (natural language) นั้น ใช้เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างภาษาทั่ว ๆ ไปที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อการสื่อสาร เช่น ภาษามนุษย์ ออกจากภาษาที่ถูกสร้างขึ้นอย่าง เช่น ภาษาโปรแกรมสำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์ หรือภาษาที่ใช้ในการศึกษาตรรกะ หมวดหมู่:ปรัชญาตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และภาษาธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาถิ่น

ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และภาษาถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเขียน

ระบบการเขียนในปัจจุบัน ระบบการเขียน (writing system) คือลักษณะสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงความหมายที่ใช้ในภาษาต่างๆ ระบบการเขียนแตกต่างจากระบบสัญลักษณ์ทั่วไปคือ บุคคลที่ใช้ระบบเดียวกันสามารถอ่านและเข้าใจภาษานั้นได้ตรงกันโดยไม่จำเป็น ต้องมีความรู้เฉพาะทางสำหรับดึงความหมายของสัญลักษณ์นั้น ต่างกับสัญลักษณ์ใน ภาพวาด แผนที่ ป้าย คณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:การเรียงพิมพ์.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และระบบการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

วัจนปฏิบัติศาสตร์

วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics, จากภาษากรีก Pragma แปลว่า "สิ่งของ" หรือ "การกระทำ") เป็นทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้ภาษาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หรือบริบทต่าง ๆ กัน (ศึกษาว่าในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ทำไมเราจึงพูดอย่างนั้นและไม่ใช่อย่างอื่น) รวมถึงศึกษาว่าการใช้ภาษาของมนุษย์นั้นมีจุดประสงค์อะไร หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์ หมวดหมู่:สัญศาสตร์.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วากยสัมพันธ์

ในทางภาษาศาสตร์ วากยสัมพันธ์ (อังกฤษ: syntax) หมายถึง การศึกษาว่าด้วยกฎของความสัมพันธ์ของแบบแผนองค์ประกอบของประโยคในภาษา อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ของภาษา ในภาษาไทย "วากยสัมพันธ์" เป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ไทยที่กำหนดขึ้นเป็นหนึ่งในแบบแผนหรือไวยกรณ์ของภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ อักขรวิธี ซึ่งศึกษาว่าด้วยอักษร, วจีวิภาค ศึกษาว่าด้วยคำ, วากยสัมพันธ์ ศึกษาว่าด้วยความสัมพันธ์ของคำในประโยค, และ ฉันทลักษณ์ คือ กฎเกณฑ์ของการเขียนภาษาในรูปแบบต่างๆ วากยสัมพันธ์ ยังเป็นชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นปร.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และวากยสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาหน่วยคำ

วิทยาหน่วยคำ (morphology) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของคำ โดยที่โดยทั่วไปแล้วคำถูกยอมรับว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในวากยสัมพันธ์ และเป็นที่ชัดเจนว่าในภาษาส่วนมาก มีกฎที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของคำแต่ละคำกับคำอื่น ๆ.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และวิทยาหน่วยคำ · ดูเพิ่มเติม »

ศัพทมูลวิทยา

ศัพทมูลวิทยา เป็นศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษ etymology หมายถึง การศึกษาที่มาของคำศัพท์ โดยอาศัยเอกสารโบราณ และการเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆ นักศัพทมูลวิทยาจะสืบสร้างประวัติของคำนั้นๆ ว่าคำนั้นมีการใช้ในภาษานั้นเมื่อใด มาจากแหล่งใด และมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงความหมายอย่างไร คำนี้มักจะใช้สับสนกับคำว่า นิรุกติศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาที่มาของภาษา หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ หมวดหมู่:ศัพทมูลวิทยา.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และศัพทมูลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตราจารย์

ตราจารย์ (อักษรย่อ ศ.) คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ความหมายของ ศาสตราจารย์ (professor) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ หลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ (profesor) ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สัทวิทยา

ัทวิทยา, สรวิทยา หรือ วิชาระบบเสียง (phonology) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องเสียงในภาษา โดยแยกย่อยออกเป็น 2 แขนง คือ สัทศาสตร์ (phonetics) และสรศาสตร์ (phonemics).

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และสัทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัทศาสตร์

ัทศาสตร์ (phonetics) เป็นสาขาย่อยของภาษาศาสตร์ที่ประกอบด้วยการศึกษาเสียงพูดของมนุษย์ สัทศาสตร์สนใจคุณสมบัติทางกายภาพของเสียงพูด และกระบวนการผลิตเสียงทางกายภาพ การรับรู้ในแง่ของการได้ยิน และการรับรู้ทางกายภาพ การศึกษาสัทศาสตร์เริ่มเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วในอินเดียโบราณ โดยปาณินิได้อธิบายถึงฐานและกรณ์ในการออกเสียง พยัญชนะในตำราภาษาสันสกฤตของเขา อักษรอินเดียที่ใช้ในปัจจุบันเรียงลำดับตัวอักษรตามการแยกประเภทของปาณิน.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และสัทศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนภาษาปาก

ำนวนภาษาปาก (colloquialism) คือ ภาษาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า ทั้งนี้ ภาษาประเภทนี้อาจปรากฏได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในพจนานุกรมไทยจะย่อชื่อภาษานี้ว่า "(ปาก)" เช่น "ทาน (ปาก) ก. กิน, กร่อนมาจาก รับประทาน" การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษามาตรฐานของภาษาหลักนั้น ๆ เมื่อใช้นานไป อาจกลายเป็นมาตรฐานย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้นกระทั่งไม่เรียกว่าภาษาปากอีกต่อไปก็ได้หากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับและใช้โดยทั่วไป ภาษาปากนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และสำนวนภาษาปาก · ดูเพิ่มเติม »

อรรถศาสตร์

อรรถศาสตร์ (อังกฤษ: semantics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคำ วลี สัญลักษณ์ และความหมาย อรรถศาสตร์ในทางภาษาศาสตร์คือ การศึกษาความหมายที่มนุษย์ใช้เพื่อสื่อสารผ่านทางภาษา นอกจากนี้ยังมีอรรถศาสตร์ของภาษาโปรแกรม ตรรกศาสตร์ และการศึกษาสัญลักษณ์เชิงภาษาและการสื่อสาร (semiotics) คำว่า อรรถศาสตร์ นั้นหมายถึง ขอบเขตความคิดตั้งแต่ระดับที่ใช้กันทั่วไปจนถึงระดับสูง มักใช้ในภาษาทั่วไปเพื่ออธิบายปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้คำ หรือความหมายโดยนัย ปัญหาความเข้าใจนี้กลายเป็นประเด็นเกี่ยวกับการตั้งคำถามเพื่อไต่สวนหรือสอบถามแบบทางการมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอรรถศาสตร์เชิงกิจจะลักษณะ (formal semantics) ในภาษาศาสตร์นั้น อรรถศาสตร์ยังศึกษาเกี่ยวกับการแปลความหมายจากป้ายและสัญลักษณ์ที่เหล่าองค์กรและชุมชนใช้ในสถานการณ์และบริบทหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะ หากพิจารณาอย่างละเอียด เสียง การแสดงออกทางสีหน้า ภาษากาย และการศึกษาบุคคลต่างวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ยังมีสาระที่เกี่ยวข้องกับการหาความหมาย ซึ่งแต่ละปัจจัยนี้ยังมีสาขาที่ศึกษาแยกออกไปอีก ในภาษาเขียน เรื่องของโครงสร้างในย่อหน้า และเครื่องหมายวรรคตอน ต่างก็มีเรื่องของการหาความหมายมาเกี่ยวข้อง หรือในรูปแบบอื่นๆ ของภาษา ก็ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหาความหมายเช่นกัน วิชาอรรถศาสตร์จะต่างกับวากยสัมพันธ์หรือไวยากรณ์ (syntax) ซึ่งศึกษาถึงหน่วยของภาษาที่ประกอบกันโดยไม่คำนึงถึงความหมาย และต่างกับวจนปฏิบัติศาสตร์ (pragmatics) ซึ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์ของภาษา ความหมาย และผู้ใช้ภาษานั้น.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และอรรถศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปลักษณ์

อุปลักษณ์ เป็นมโนในการทำความเข้าใจของสิ่งหนึ่ง ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์ เป็นการวาดภาพทางภาษาซึ่งเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือแนวคิดสองอย่าง.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และอุปลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อี.บี. ไวท์

อลวิน บรูกส์ "อี.บี." ไวท์ (Elwyn Brooks "E.B." White) (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นนักประพันธ์ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงที่สุดจากงานเขียน "The Elements of Style" และหนังสือสำหรับเด็กสามเรื่อง ที่ถือกันว่าเป็นผลงานอมตะ คือ Stuart Little (สจ๊วต ลิตเติ้ล) (พ.ศ. 2488) Charlotte's Web (แมงมุมเพื่อนรัก) (พ.ศ. 2495) และ The Trumpet of the Swan (เสียงรักจากทรัมเป็ตหงส์) (พ.ศ. 2513) เอลวิน ไวท์เกิดที่เมาท์เวอร์นอน นิวยอร์ก เป็นลูกชายของซามูเอล ไวท์ซึ่งทำอาชีพทำเปียโน อายุ 45 ปี และเจซซี่ ไวท์ อายุ 41 ปี เอลวินเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัวใหญ่ที่อบอุ่นครอบครัวนี้ ในวัยเด็ก เขาเป็นคนขี้กลัว กลัวการไปโรงเรียน กลัวทุก ๆ อย่าง เขาจึงมีเพื่อนรักเป็นหนังสือและสัตว์เลี้ยง เขาชอบอ่านและเขียนหนังสือตั้งแต่เด็ก อ่านหนังสือออกก่อนเข้าโรงเรียน เขาเริ่มเขียนไดอารี่ตอนอายุ 8 ปี ตอนอายุ 9 ปี เขาส่งบทกลอนเข้าประกวดและได้รางวัลชนะเลิศ หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล ในปี..

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และอี.บี. ไวท์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีการคำนวณได้

ทฤษฎีการคำนวณได้ คือส่วนหนึ่งของการศึกษาในทฤษฎีการคำนวณที่สนใจกับปัญหาที่ว่า ปัญหาใดที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยขั้นตอนวิธี (หรือ—ในความหมายที่เหมือนกัน—โดยเครื่องจักรทัวริง) ภายใต้ข้อจำกัดและข้อเพิ่มเติมหลายๆ แบบ ทฤษฎีการคำนวณได้ศึกษาปัญหาหลักๆ สี่ปัญหาดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และทฤษฎีการคำนวณได้ · ดูเพิ่มเติม »

คลังข้อมูล

ลังข้อมูล (data warehouse) คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา ซึ่งอาจมี schema แตกต่างกัน มาไว้รวม ณ ที่เดียวกัน (และใช้ schema เดียวกัน).

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และคลังข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

ความรู้

วามรู้ (Knowledge) คือความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ความสามารถในการรู้บางอย่างนี้เป็นสิ่งสนใจหลักของวิชาปรัชญา (ที่หลายครั้งก็เป็นเรื่องที่มีการโต้เถียงอย่างมาก) และมีสาขาที่ศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่าญาณวิทยา (epistemology) ความรู้ในทางปฏิบัติมักเป็นสิ่งที่ทราบกันในกลุ่มคน และในความหมายนี้เองที่ความรู้นั้นถูกปรับเปลี่ยนและจัดการในหลาย ๆ แ.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และความรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ประชานศาสตร์

ประชานศาสตร์ หรือ วิทยาการการรู้ หรือ วิทยาการปัญญา หรือ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (cognitive science) ความหมายโดยทั่วไปคือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งเรื่องของความคิดและความฉลาด แต่หากกล่าวอย่างเป็นรูปนัยจะเน้นว่าเป็นการศึกษาด้านสหวิทยาการประกอบด้วย ประชานจิตวิทยา (cognitive psychology) ประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) ภาษาศาสตร์ ปรัชญา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (เจาะจงเรื่องปัญญาประดิษฐ์) มานุษยวิทยา และ จิตชีววิทยา (psychobiology) หรือสาขาประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อการศึกษาวิจัยภาวะของจิตและกระบวนการที่มนุษย์ควบคุมเปลี่ยนแปรยักย้ายข้อมูลข่าวสาร งานวิจัยในสาขาวิทยาการการรู้ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาเพื่อศึกษาการทำงานของระหว่างสมองและจิตใจ (brain and mind) ศึกษาวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างการคิด อารมณ์ และการกระทำ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (brain-based learning) พฤติกรรม ความผิดปกติทางการเรียน การรับรู้ ความสนใจ การจำ การแก้ปัญหา การคำนวณ การให้เหตุผล และการตัดสินใจ บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแปลผลจากการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การวิเคราะห์จากถ่ายภาพสมอง (brain imaging) เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และประชานศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นักชีววิทยา

นักชีววิทยา คือนักวิทยาศาสตร์ที่ทุ่มเทและคิดค้นผลการทดลองทางชีววิทยาผ่านการศึกษาเกี่ยวกับชีวิต นักชีววิทยาจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตมีต่อสิ่งแวดล้อม นักชีววิทยาจะคอยวิจัยเพื่อค้นหากลวิธีที่ควบคุมการทำงานของระบบสิ่งมีชีวิต และยังมีส่วนวิจัยเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตเกี่ยวกับยา การอุตสาหกรรม และการเกษตรด้ว.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และนักชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นักจิตวิทยา

นักจิตวิทยามีชื่อเป็นมืออาชีพหรือทางวิชาการที่ใช้โดยบุคคลที่มีทั้ง.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และนักจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นิรุกติศาสตร์

นิรุกติศาสตร์ เป็นศัพท์บัญญัติ จากคำว่า philology ในภาษาอังกฤษ นิยามที่ตรงที่สุดของคำนี้ ก็คือ การเรียนรู้ถึงภูมิหลัง และการใช้ในปัจจุบัน ของการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าด้วยวิธีการพูดหรือการเขียน แม้ว่าคุณลักษณะทั่วไปของภาษาที่ถูกศึกษา จะมีความสำคัญมากกว่าที่มา หรืออายุ แต่การศึกษาเรื่องที่มาและอายุของคำก็มีความสำคัญเช่นกัน คำว่า ฟิโลโลจี (philology) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำศัพท์ภาษากรีก ฟิลอส (Φιλος) ความรักอย่างพี่น้อง และ โลกอส (λογος) สนใจ หมายถึง ความรักในคำศัพท์ การศึกษาเชิงนิรุกติศาสตร์ คือการทำความเข้าใจถึง ที่มาของภาษา และมักใช้ในการศึกษาภาษา หรือคัมภีร์โบราณ คำนี้ มักจะใช้สับสนกับคำว่า ศัพทมูลวิทยา (etymology) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มาของคำศัพท์ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:นิรุกติศาสตร์.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอสกี

ตัวอย่างอักขระแอสกี จากรหัส 32 ถึง 126 แอสกี้(ASCII) หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (ASCII: American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และแอสกี · ดูเพิ่มเติม »

โนม ชอมสกี

นม ชอมสกี ดร.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: ภาษาศาสตร์และเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Linguistics

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »