เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาตากาล็อกและภาษาอินโดนีเซีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาตากาล็อกและภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาตากาล็อก vs. ภาษาอินโดนีเซีย

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว. ษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia; Indonesian language) เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาตากาล็อกและภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาตากาล็อกและภาษาอินโดนีเซีย มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียกลุ่มภาษาจีนภาษามลายูภาษาสันสกฤตภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาเปอร์เซียอักษรละตินตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยู่ห่างไกลที่สุดใช้พูดบนเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ การออกเสียงเป็นแบบง่ายๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง.

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาตากาล็อก · กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

กลุ่มภาษาจีนและภาษาตากาล็อก · กลุ่มภาษาจีนและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ภาษาตากาล็อกและภาษามลายู · ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ภาษาตากาล็อกและภาษาสันสกฤต · ภาษาสันสกฤตและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ภาษาตากาล็อกและภาษาอังกฤษ · ภาษาอังกฤษและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ภาษาตากาล็อกและภาษาอาหรับ · ภาษาอาหรับและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ภาษาตากาล็อกและภาษาเปอร์เซีย · ภาษาอินโดนีเซียและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ภาษาตากาล็อกและอักษรละติน · ภาษาอินโดนีเซียและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษาตากาล็อก · ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาตากาล็อกและภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาตากาล็อก มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาษาอินโดนีเซีย มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 9.57% = 9 / (47 + 47)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาตากาล็อกและภาษาอินโดนีเซีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: