โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาลาว

ดัชนี ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

30 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาไทกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ภาษาอังกฤษภาษาไทยถิ่นอีสานวรรณยุกต์สัทอักษรสากลหลวงพระบางหลวงน้ำทาอักษรลาวอักษรสระประกอบอักษรไทยอักษรไทน้อยอัตตะปือจังหวัดร้อยเอ็ดจำปาศักดิ์ตระกูลภาษาไท-กะไดประเทศกัมพูชาประเทศลาวประเทศไทยแขวงบอลิคำไซแขวงสาละวันแขวงสุวรรณเขตแขวงหัวพันแขวงอุดมไซแขวงคำม่วนแขวงเชียงขวางไชยบุรีเวียงจันทน์เสียงกัก เส้นเสียงเซกอง

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

ใหม่!!: ภาษาลาวและกลุ่มภาษาไท · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern Tai languages) เป็นกลุ่มภาษาไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มภาษานี้มี ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาลาวและกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษาลาวและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง.

ใหม่!!: ภาษาลาวและวรรณยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: ภาษาลาวและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

หลวงพระบาง

หลวงพระบาง (ຫຼວງພຣະບາງ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณนั้นเรียกว่า ปากคาน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาลาวและหลวงพระบาง · ดูเพิ่มเติม »

หลวงน้ำทา

หลวงน้ำทา (ຫຼວງນໍ້າທາ, ຫລວງນໍ້າທາ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงน้ำทา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว เมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท.

ใหม่!!: ภาษาลาวและหลวงน้ำทา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลาว

อักษรลาว เป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรลาวเดิม (หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ อักษรไทน้อย) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรลาวโบราณสมัยรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มเป็นต้นมา ซึ่งที่มาจากอักษรมอญและอักษรเขมร (อักษรขอม) อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการใช้งานยังคงมีระบบการเขียนคล้ายอักษรไทยโบราณ ที่ไม่ใช้แล้วในอักษรไทยปัจจุบัน เช่น การใช้ไม้กงแทนเสียงสระโอะเมื่อมีตัวสะกด หรือการใช้ตัวเชิงของอักษร ย แทนสระเอียเมื่อมีตัวสะกด เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาลาวและอักษรลาว · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสระประกอบ

อักษรเทวนาครีเป็นอักษรสระประกอบชนิดหนึ่ง อักษรสระประกอบ เป็นรูปแบบของระบบการเขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจากอักษรสระ-พยัญชนะ (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจากอักษรไร้สระ (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งอักษรไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้ โดยคำนี้มาจากชื่อของอักษรเอธิโอเปีย (’ä bu gi da) ในภาษาเอธิโอเปีย โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่ออักษรกรีก แอลฟา และ บีตา) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ภาษาลาวและอักษรสระประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ภาษาลาวและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทน้อย

อักษรไทน้อย หรือประเทศลาวเรียก อักษรลาวเดิม เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาลาวในสมัยโบราณ (รวมถึงภาษาไทยถิ่นอีสานด้วย) ใช้ในการจารึกเรื่องราวต่างๆในทางโลก อาทิ บันทึกต่างๆ หนังสือราชการ ตำรายา เป็นต้น ส่วนการจดบันทึกที่เป็นทางด้านศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับศาสนาจะนิยมบันทึกด้วยอักษรธรรมลาว หรืออักษรธรรมล้านช้าง อักษรไทน้อย เป็นอักษรที่ในสมัยโบราณใช้เขียนภาษาไทยถิ่นอีสาน ในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ประเทศไทย มีพยัญชนะ 27 ตัว สระ 29 ตัว วรรณยุกต์ 2 ตัว (เท่าที่พบ) และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทน้อยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทน้อยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค อักษรไทน้อยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับตัวเลขลาว.

ใหม่!!: ภาษาลาวและอักษรไทน้อย · ดูเพิ่มเติม »

อัตตะปือ

อัตตะปือ (ອັດຕະປື) เป็นเมืองเอกของแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว.

ใหม่!!: ภาษาลาวและอัตตะปือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ด เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนกลางหรือตอนบนของไท.

ใหม่!!: ภาษาลาวและจังหวัดร้อยเอ็ด · ดูเพิ่มเติม »

จำปาศักดิ์

ำปาศักดิ์ เป็นเมืองหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศลาว.

ใหม่!!: ภาษาลาวและจำปาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: ภาษาลาวและตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: ภาษาลาวและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: ภาษาลาวและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาลาวและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แขวงบอลิคำไซ

อลิคำไซ (ບໍລິຄໍາໄຊ) เป็นหนึ่งในแขวงที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศลาว แขวงบอลิคำไซจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยได้มีการแยกเมืองปากซัน เมืองท่าพระบาท เมืองบริคัณฑ์ (มาจากชื่อเต็มในอดีต "เมืองบริคัณฑนิคม") จากแขวงเวียงจันทน์ และแยกเมืองปากกระดิ่ง เมืองคำเกิด จากแขวงคำม่วน มารวมกันแล้วตั้งเป็นแขวงใหม่ เนื่องจากพื้นที่แขวงเวียงจันทน์และแขวงคำม่วนกว้างใหญ่ การปกครองดูแลไม่ทั่วถึง ชื่อของแขวงมาจากชื่อเมืองบริคัณฑ์และเมืองคำเกิดมาสมาสกับคำว่าชัยชนะหรือไซซะนะในภาษาลาว จึงเรียกว่า "บอลิคำไซ" ส่วนเมืองเวียงทองได้จัดตั้งขึ้นในภายหลัง แขวงนี้มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับหินปูน ทั้งทัศนียภาพและเหมืองซึ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ภาษาลาวและแขวงบอลิคำไซ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงสาละวัน

ละวัน (ສາລະວັນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงบอละเวนทางตอนใต้ของประเทศ ชื่อของแขวงสาละวันมาจากบริเวณที่ตั้งเมืองสาละวันมีต้นฮังหรือต้นรังเป็นจำนวนมาก ต้นรังในภาษาบาลีเรียกว่า สาละ ส่วนคำว่า วัน แปล ว่าป่าไม้ ดังนั้นคำว่าสาละวันจึงหมายความว่า ดินแดนแห่งป่าไม้รัง.

ใหม่!!: ภาษาลาวและแขวงสาละวัน · ดูเพิ่มเติม »

แขวงสุวรรณเขต

หวันนะเขต เชื่อมโยงมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นของสุวรรณเขต ดูที่ สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม) สุวรรณเขต หรือ สะหวันนะเขต (ສະຫວັນນະເຂດ สะกด สะหวันนะเขด) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน เป็นแขวงที่มีเนื้อที่ใหญ่อันดับที่ 2 รองจากแขวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: ภาษาลาวและแขวงสุวรรณเขต · ดูเพิ่มเติม »

แขวงหัวพัน

หัวพัน (ຫົວພັນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ติดกับประเทศเวียดนาม เดิมแขวงนี้รู้จักในชื่อ "หัวพันห้าทั้งหก" (มักเรียกผิดเป็น หัวพันทั้งห้าทั้งหก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์สงครามปราบฮ่อ แขวงหัวพันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแขวงเชียงขวาง ประวัติศาสตร์ของสองแขวงนี้มีความคล้ายคลึงกัน ในอดีตหัวพันเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเวียดนามสลับกับการดำรงอยู่ในฐานะรัฐเอกราช และเพิ่งถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของลาวในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรราว 322,200 คน ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ อากาศค่อนข้างหนาว ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยกว่า 20 เผ่า เช่น ไทขาว ไทแดง ไทเหนือ ไทน้อย ม้ง ขมุ ยูนนาน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท.

ใหม่!!: ภาษาลาวและแขวงหัวพัน · ดูเพิ่มเติม »

แขวงอุดมไซ

อุดมไซ (ອຸດົມໄຊ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเท.

ใหม่!!: ภาษาลาวและแขวงอุดมไซ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงคำม่วน

ำม่วน (ຄໍາມ່ວນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงบอลิคำไซ ทิศใต้ติดกับแขวงสุวรรณเขต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ภาษาลาวและแขวงคำม่วน · ดูเพิ่มเติม »

แขวงเชียงขวาง

ียงขวาง (ຊຽງຂວາງ สะกด เซียงขวาง อ่าน เซียงขวง) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ ติดกับประเทศเวียดนาม ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,200 เมตร เมืองเอกเดิมคือเมืองคูน แต่ด้วยสภาพความเสียหายอย่างรุนแรงจากสงครามเวียดนาม จึงย้ายเมืองเอกมาเป็นเมืองโพนสวรรค์ในปัจจุบัน ในสมัยโบราณ เมืองนี้รู้จักกันในชื่อว่าเมืองพวน ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ที่นั่น หรืออพยพไปอยู่ที่อื่นเรียกว่า ชาวไทพวน และบริเวณนี้ยังมีทุ่งไหหิน อีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาลาวและแขวงเชียงขวาง · ดูเพิ่มเติม »

ไชยบุรี

ไชยบุรี (ໄຊຍະບູລີ) เป็นเมืองเอกของแขวงไชยบุรี และเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานไชยบุรี หมวดหมู่:แขวงไชยบุรี ไชยบุรี.

ใหม่!!: ภาษาลาวและไชยบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เวียงจันทน์

วียงจันทน์ (ວຽງຈັນ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรม.

ใหม่!!: ภาษาลาวและเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก เส้นเสียง

เสียงกัก เส้นเสียง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ ? เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร อ หรือปรากฏหลังสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: ภาษาลาวและเสียงกัก เส้นเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เซกอง

ซกอง (ເຊກອງ) เป็นเมืองเอกของแขวงเซกองในประเทศลาว สร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: ภาษาลาวและเซกอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lao language

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »