โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทับศัพท์

ดัชนี การทับศัพท์

ตัวอย่างหนึ่งของการเปรียบเทียบอักษรเพื่อการทับศัพท์ จากอักษรซีริลลิกไปเป็นอักษรละติน การทับศัพท์ หรือ การปริวรรต คือ การถอดอักษร หรือแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก.

29 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงพจนานุกรมการอ่านการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถานการถอดเสียงการถอดเป็นอักษรโรมันการแปลภาษาภาษารัสเซียภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษแบบบริติชภาษาอังกฤษแบบอเมริกันภาษาถิ่นภาษาไทยระบบการเขียนวิสามานยนามสระสำนักงานราชบัณฑิตยสภาหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภาอักษรละตินอักษรไทยอักขรวิธีทวิอักษรคำยืมคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)เสียงเครื่องหมายวรรคตอนISO 11940Th (ทวิอักษร)

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง (bijection, bijective function) คือฟังก์ชัน f จากเซต X ไปยังเซต Y ด้วยสมบัติที่ว่า จะมีสมาชิก x ใน X เพียงหนึ่งเดียวสำหรับทุก ๆ สมาชิก y ใน Y นั่นคือ f (x).

ใหม่!!: การทับศัพท์และฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม

นานุกรม พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้ คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง.

ใหม่!!: การทับศัพท์และพจนานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

การอ่าน

ฟรซโกเกี่ยวกับการอ่าน การอ่านเป็นกระบวนการรู้การถอดรหัสสัญลักษณ์ที่ซับซ้อนเพื่อสร้างหรือเอาความหมาย (ความเข้าใจซึ่งการอ่าน) การอ่านเป็นวิธีการได้มาซึ่งภาษา การสื่อสารและแบ่งปันสารสนเทศและความคิด เช่นเดียวกับทุกภาษา การอ่านเป็นอันตรกิริยาซับซ้อนระหว่างข้อความและผู้อ่านซึ่งเกิดขึ้นโดยความรู้ ประสบการณ์ เจตคติและชุมชนภาษาเดิมของผู้อ่านซึ่งวัฒนธรรมและสังคมกำหนด กระบวนการการอ่านต้องอาศัยการฝึกฝน การพัฒนาและการขัดเกลาอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ การอ่านยังต้องการความคิดสร้างสรรค์และการวิเคราะห์วิจารณ์ (critical analysis).

ใหม่!!: การทับศัพท์และการอ่าน · ดูเพิ่มเติม »

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง เป็นหลักการถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมันอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถาน ใช้ในสำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ของรัฐบาล และป้ายชื่อถนนต่าง ๆ ในประเทศไทย รูปแบบใหม่ประกาศใช้เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2542 ระบบการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันของราชบัณฑิตยสถานเป็นระบบที่นิยมใช้ในการเขียนคำทับศัพท์ระบบหนึ่งในภาษาไท.

ใหม่!!: การทับศัพท์และการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

การถอดเสียง

การถอดเสียง หรือ การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง (Transcription) เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นเป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับการทับศัพท์แบบถอดอักษร ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นการถอดอักษรซีริลลิกเป็นอักษรละตินสำหรับภาษารัสเซีย (เช่นชื่อ "เลนิน" ในอักษรซีริลลิก Ленин และอักษรละติน Lenin) แม้กระนั้น การถอดเสียงและการถอดอักษรบางครั้งจะถูกใช้ผสมกันซึ่งพบได้ทั่วไปสำหรับการเขียนชื่อที่มาจากภาษาอื่น มาตรฐานที่ใช้ในการทับศัพท์ได้แก่ สัทอักษรสากล และ แซมปา ตารางด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการทับศัพท์ โดยมี การทับศัพท์แบบถอดอักษร และสัทอักษรสากลกำกั.

ใหม่!!: การทับศัพท์และการถอดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

การถอดเป็นอักษรโรมัน

ษาต่าง ๆ สามารถถอดเป็นอักษรโรมันโดยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันก็ได้ เช่นภาษาจีนกลางที่แสดงอยู่นี้ ในทางภาษาศาสตร์ การถอดเป็นอักษรโรมัน (Romanisation) คือการถอดคำพูดหรือคำเขียนที่ใช้ระบบการเขียนต่าง ๆ เป็นอักษรโรมัน (ละติน) โดยสำหรับคำเขียนใช้การทับศัพท์ สำหรับคำพูดใช้การถอดเสียง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองประเภทย่อยได้อีก คือการถอดเสียงตามหน่วยเสียง (phoneme) และ การถอดเสียงให้สอดคล้องกับการออกเสียง (phonetic).

ใหม่!!: การทับศัพท์และการถอดเป็นอักษรโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

การแปล

การแปล เป็นการถ่ายทอดความหมายของข้อความในภาษาหนึ่ง ๆ ที่ใช้สื่อสาร ไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยข้อความที่ถ่ายทอดเป็นภาษาอื่นแล้วจะมีใจความเหมือนกับข้อความในภาษาต้นฉบับ ผู้ทำหน้าที่แปลภาษา เรียกว่า นักแปล ส่วนผู้แปลภาษาโดยการฟังภาษาหนึ่ง แล้วแปลเป็นคำพูดอีกภาษาหนึ่งในทันที เรียกว่า ล่าม การแปลภาษานั้นประกอบด้วยการแปลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือผ่านทาง เว็บไซต์ เช่น บริการแปลภาษาที่ยอดนิยมอย่าง กูเกิลแปลภาษา และการโดยบุคคลหรือที่เรียกว่า นักแปล อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมี เว็บไซต์ บริการแปลภาษาที่ยอดนิยมอย่าง กูเกิลแปลภาษา Bing Translator แต่อย่างไรก็ตามการแปลด้วยเครื่องมือเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับการแปลโดย นักแปล ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ การแปลชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยเนื้อหาของโปรแกรมทั้งสองเหมือนกัน เรียกว่าการแปลโปรแกรม (compile).

ใหม่!!: การทับศัพท์และการแปล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ใหม่!!: การทับศัพท์และภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: การทับศัพท์และภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: การทับศัพท์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบบริติช

ภาษาอังกฤษแบบบริติช (British English, BrE) เป็นคำที่ใช้แยกแยะรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตน (British Isles) และที่ใช้ในภูมิภาคอื่น ๆ คำว่า "ภาษาอังกฤษแบบบริติช" นี้ ยังหมายรวมถึงภาษาถิ่นย่อยทั้งหมดของภาษาอังกฤษ ทั้งที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตนทั้งหมด (รวมสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และเวลส์ด้วย) คำนี้มักจะนิยมใช้เป็นพิเศษในหมู่ชาวอเมริกัน (รวมทั้งนักภาษาศาสตร์และนักเขียนพจนานุกรม) ส่วนชาวอังกฤษนั้น ปกติแล้วจะใช้คำว่า "ภาษาอังกฤษมาตรฐาน" (Standard English) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ภาษาอังกฤษ" (English) เท่านั้น ความแตกต่างเด่นที่สุดของภาษาอังกฤษแบบบริติชกับภาษาอังกฤษแบบอเมริกันคือ แบบบริติชจะออกเสียงคำอย่างตรงตัว a จะออกเป็น อา ตรง ๆ ไม่ออกว่า แอ อย่างแบบอเมริกัน เสียง t จะเน้นมาก และชาวสหราชอาณาจักรจะไม่นิยมการออกเสียงตัว r ท้ายคำ ถึงออกก็เพียงออกไปนิดเดียว นอกจากนั้นอังกฤษแบบบริติชจะออกเสียงลงคอดั่งเช่นภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส เช่นคำว่า schedule ซึ่งภาษาอังกฤษแบบบริติชจะมีออกเสียงลงคอตรงท่อน sche ซึ่งเป็นเสียงควบระหว่าง ซ กับ ค หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: การทับศัพท์และภาษาอังกฤษแบบบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American English, AmE) เป็นกลุ่มของภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ประมาณสองในสามของเจ้าของภาษาอังกฤษอาศัยอยู่ในสหรัฐ พจนานุกรมเล่มแรกของภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เขียนโดยโนอาห์ เว็บสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1828 แสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และอังกฤษดั้งเดิมที่มาจากบริเตน ข้อแตกต่างที่เว็บสเตอร์เขียนรวมถึง การสะกดคำ เช่นคำว่า center แทนคำว่า centre และ color แทน colour และการอ่านออกเสียงต่าง ๆ ตัวอย่างคำศัพท์หลายคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งได้แก่ OK (โอเค), blizzard (บลิซซาร์ด) และ teenager (วัยรุ่น) หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: การทับศัพท์และภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาถิ่น

ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.

ใหม่!!: การทับศัพท์และภาษาถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: การทับศัพท์และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเขียน

ระบบการเขียนในปัจจุบัน ระบบการเขียน (writing system) คือลักษณะสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงความหมายที่ใช้ในภาษาต่างๆ ระบบการเขียนแตกต่างจากระบบสัญลักษณ์ทั่วไปคือ บุคคลที่ใช้ระบบเดียวกันสามารถอ่านและเข้าใจภาษานั้นได้ตรงกันโดยไม่จำเป็น ต้องมีความรู้เฉพาะทางสำหรับดึงความหมายของสัญลักษณ์นั้น ต่างกับสัญลักษณ์ใน ภาพวาด แผนที่ ป้าย คณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:การเรียงพิมพ์.

ใหม่!!: การทับศัพท์และระบบการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

วิสามานยนาม

วิสามานยนาม (proper noun) เป็นคำนามที่การใช้หลักหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเจาะจง เช่น กรุงลอนดอน, ดาวพฤหัสบดี, ซาราห์ หรือ ไมโครซอฟท์ ซึ่งแตกต่างจากสามานยนาม (common noun) ซึ่งปกติหมายถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ เช่น นคร ดาวเคราะห์ บุคคล บริษัท หรือกรณีตัวอย่างไม่จำเพาะของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น นครหนึ่ง ดาวเคราะห์ดวงอื่น บุคคลเหล่านี้ หรือบริษัทของเรา วิสามานยนามบางคำอยู่ในรูปพหูพจน์ แล้วหมายถึงสิ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ เช่น ครอบครัวเฮนเดอร์สัน หรืออะโซร์ส (กลุ่มเกาะ) วิสามานยนามบางคำสามารถพบในการใช้ชุดรองเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การขยายนาม (ประสบการณ์โมซาร์ต; การผจญภัยอะโซร์สของเขา) หรือแทนสามานยนามบางคำ บทนิยามในรายละเอียดของคำนี้เป็นปัญหาและมีแบบแผนอยู่ในระดับหนึ่ง หมวดหมู่:คำนาม.

ใหม่!!: การทับศัพท์และวิสามานยนาม · ดูเพิ่มเติม »

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การทับศัพท์และสระ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: การทับศัพท์และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เป็นระบบการทับศัพท์ที่นิยมใช้มากที่สุดระบบหนึ่งในประเทศไทย โดยคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์และคณะกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (เดิมคือราชบัณฑิตยสถาน) เป็นผู้กำหนดและเสนอหลักเกณฑ์ต่อสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเพื่อออกประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้ใช้หลักเกณฑ์ จากนั้น สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะเป็นผู้เสนอหลักเกณฑ์ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วลงประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป.

ใหม่!!: การทับศัพท์และหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: การทับศัพท์และอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: การทับศัพท์และอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักขรวิธี

อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ใหม่!!: การทับศัพท์และอักขรวิธี · ดูเพิ่มเติม »

ทวิอักษร

ทวิอักษร (digraph, bigraph, digram) หมายถึงกลุ่มอักษรสองตัวที่เขียนขึ้นเพื่อแทนหน่วยเสียงเสียงเดียวที่แปลกออกไป หรือใช้แทนหน่วยเสียงอื่นที่ไม่ใช่ค่าปกติของอักษรสองตัวนั้นมาประกอบกันตามอักขรวิธี เมื่อภาษาใดภาษาหนึ่งไม่สามารถใช้อักษรตัวเดียวเพื่อแทนเสียงนั้นได้ แต่บางครั้งการรวมทวิอักษรก็มิได้ทำให้เสียงพิเศษไปจากเดิม ซึ่งอาจแสดงถึงธรรมเนียมในอดีตว่าคำศัพท์เหล่านั้นเคยออกเสียงแตกต่างกันมาก่อน หรือคงไว้เพื่อรูปศัพท์เดิมที่ยืมมาจากภาษาอื่น ในอักขรวิธีของบางภาษา อย่างเช่น ch ในภาษาเซอร์เบีย (เมื่อเขียนด้วยอักษรละติน) หรือภาษาเช็ก ทวิอักษรจะถูกจัดว่าเป็นอักษรตัวเดียวกัน นั่นหมายความว่าทวิอักษรนั้นจะเป็นอักษรตัวหนึ่งในลำดับอักษรของภาษา และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับ การย่อ หรือการแบ่งคำ.

ใหม่!!: การทับศัพท์และทวิอักษร · ดูเพิ่มเติม »

คำยืม

ำยืม หมายถึงคำที่ยืมมาจากภาษาของผู้ให้ และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาของผู้รับ การยืมนี้ไม่เหมือนความหมายทั่วไปเนื่องจากไม่มีการคืนกลับสู่ภาษาของผู้ให้ แต่เปรียบได้กับ "การยืมความคิด" มาใช้ คำยืมอาจไม่ได้เป็นคำเดียวเสมอไป อาจเป็นกลุ่มคำก็ได้อย่างเช่น déjà vu ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส จะใช้ควบคู่กันไปเสมือนคำเดียว คำยืมอาจมีการเขียน การอ่าน และความหมาย ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ได้ คำในภาษาของผู้ให้โดยทั่วไปเข้าสู่ภาษาของผู้รับในลักษณะศัพท์เฉพาะทางเนื่องจากการเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติ จุดอ้างอิงโดยเฉพาะอาจเป็นวัฒนธรรมต่างชาตินั้นเองหรือขอบข่ายของกิจกรรมของวัฒนธรรมต่างชาติที่ต้องการครอบงำ วัฒนธรรมต่างชาติซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านทางการเผยแผ่ศาสนา ปรัชญา การค้าขาย ศิลปะ วิทยาการ และการอพยพจากคนต่างถิ่น รวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการทูต ภาษาไทยมีคำยืมภาษาต่างประเทศหลายภาษาอาทิ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร กลุ่มภาษาจีน (ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษาจีนกลาง) ภาษามอญ ภาษามลายู ภาษาโปรตุเกส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แม้แต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็ยังปรากฏคำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาปะปน.

ใหม่!!: การทับศัพท์และคำยืม · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ใหม่!!: การทับศัพท์และคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: การทับศัพท์และเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายวรรคตอน

รื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้นจะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน.

ใหม่!!: การทับศัพท์และเครื่องหมายวรรคตอน · ดูเพิ่มเติม »

ISO 11940

ISO 11940 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2541 และปรับปรุงในปี พ.ศ. 2546 การถอดอักษรแบบนี้จะถอดตามรูปที่ปรากฏตามลำดับ ไม่เป็นไปตามอักขรวิธี เช่นคำว่า "เชียงใหม่" ระบบนี้จะถอดได้เป็น echīyngıh̄m̀ ซึ่งไม่สามารถอ่านได้ แม้ทำ Unicode Normalisation แล้วก็จะกลายเป็น "ชเ–ียงหใม่" ถอดได้เป็น cheīyngh̄ım̀ ซึ่งพอจะอ่านได้แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้นระบบนี้จำเป็นต้องใช้อักขระที่ไม่ได้อยู่บนแอสกี ระบบนี้จึงไม่เป็นที่นิยมใช้.

ใหม่!!: การทับศัพท์และISO 11940 · ดูเพิ่มเติม »

Th (ทวิอักษร)

Th ในอักษรละตินเป็นทวิอักษรหรืออักษรสองตัวที่ใช้แทนเสียงเดียว โดยพบได้ในระบบการเขียนหลายภาษาของยุโรป ที่ใช้อักษรโรมันและกรีกเป็นหลัก ในภาษาอังกฤษ อักษร th มักจะออกเสียงในแบบเสียงเสียดแทรกจากฟันได้สองลักษณะ คือ ลักษณะเสียงก้อง ออกเสียงเป็น (ในคำว่า this) และลักษณะเสียงไม่ก้อง ออกเสียงเป็น (ในคำว่า think) อย่างไรก็ตาม ในภาษาอังกฤษสมัยกลาง (Middle English) มีการใช้อักษรสำหรับแต่ละเสียงโดยเฉพาะ นั่นคือ อักษร และ สำหรับในภาษาอื่น เช่น ภาษาเยอรมัน th ออกเสียงเป็นเสียง ในภาษาแอลเบเนีย ออกเสียง และยังคงถือว่าตัวอักษร Th เป็นตัวอักษรที่ 29 ของตัวอักษรทั้งหมด โดยอยู่ระหว่าง T และ U ในภาษาไทย เนื่องจากไม่มีเสียงอักษรไทยที่ใกล้เคียงกับ และ ตามกฎของราชบัณฑิตยสถานที่ใช้ในเอกสารของทางราชการไทย กำหนดให้ การถอดเสียงภาษาอังกฤษ มาเป็นภาษาไทย ให้ถอดตัวอักษร th มาเป็นตัวอักษร ด หรือ ท ขึ้นอยู่กับการออกเสียง (ซึ่งออกเสียง และ ใกล้เคียงกับเสียง และ ตามลำดับ) ในบางครั้งจะเกิดปัญหาที่คำทับศัพท์มีการซ้ำซ้อน เช่นคำว่า "thank" และ "tank" เมื่อทับศัพท์ออกมาตามหลัก แล้วรูปจะเหมือนกัน คือ "แทงก์" แต่การออกเสียงแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มที่ถอดเสียง เป็น.ธง เพื่อเปรียบต่างกับเสียง ที่เป็น ท.ทหาร เช่นในคำว่า มาราธอน (marathon).ธง สำหรับในคำทับศัพท์นี้แสดงถึงเสียง สำหรับการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง กำหนดให้ตัวอักษร ฐ ฒ ถ ธ ท ถอดเป็นตัวอักษร th ในภาษาอังกฤษ ซึ่งออกเสียง.

ใหม่!!: การทับศัพท์และTh (ทวิอักษร) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การถอดอักษรการถ่ายถอดอักษรการทับศัพท์แบบถอดอักษรการปริวรรตการเขียนคำทับศัพท์การเขียนคำทับศัพท์แบบถอดอักษรภาษาถอดเสียงทับศัพท์คำทับศัพท์ปริวรรต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »