โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การถอดเป็นอักษรโรมัน

ดัชนี การถอดเป็นอักษรโรมัน

ษาต่าง ๆ สามารถถอดเป็นอักษรโรมันโดยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันก็ได้ เช่นภาษาจีนกลางที่แสดงอยู่นี้ ในทางภาษาศาสตร์ การถอดเป็นอักษรโรมัน (Romanisation) คือการถอดคำพูดหรือคำเขียนที่ใช้ระบบการเขียนต่าง ๆ เป็นอักษรโรมัน (ละติน) โดยสำหรับคำเขียนใช้การทับศัพท์ สำหรับคำพูดใช้การถอดเสียง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองประเภทย่อยได้อีก คือการถอดเสียงตามหน่วยเสียง (phoneme) และ การถอดเสียงให้สอดคล้องกับการออกเสียง (phonetic).

17 ความสัมพันธ์: การถอดเสียงการทับศัพท์ภาษากรีกภาษารัสเซียภาษาศาสตร์ภาษาอาหรับภาษาฮีบรูภาษาเพิร์ลภาษาเปอร์เซียระบบการเขียนสัทอักษรสากลหน่วยเสียงอักษรละตินอักษรฮันกึลอักษรซีริลลิกคะตะกะนะคะนะ

การถอดเสียง

การถอดเสียง หรือ การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง (Transcription) เป็นระบบในการเขียนเสียงพูดของมนุษย์จากภาษาหนึ่ง เป็นเป็นระบบตัวอักษรในอีกภาษาหนึ่งตามกฎที่วางไว้ เพื่อให้คงเสียงของภาษาต้นฉบับ การถอดเสียงนี้จะแตกต่างกับการทับศัพท์แบบถอดอักษร ซึ่งเปลี่ยนระบบตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้คงรูปของตัวอักษรมากที่สุดที่เป็นไปได้ เช่นการถอดอักษรซีริลลิกเป็นอักษรละตินสำหรับภาษารัสเซีย (เช่นชื่อ "เลนิน" ในอักษรซีริลลิก Ленин และอักษรละติน Lenin) แม้กระนั้น การถอดเสียงและการถอดอักษรบางครั้งจะถูกใช้ผสมกันซึ่งพบได้ทั่วไปสำหรับการเขียนชื่อที่มาจากภาษาอื่น มาตรฐานที่ใช้ในการทับศัพท์ได้แก่ สัทอักษรสากล และ แซมปา ตารางด้านล่าง แสดงตัวอย่างของการทับศัพท์ โดยมี การทับศัพท์แบบถอดอักษร และสัทอักษรสากลกำกั.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและการถอดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

การทับศัพท์

ตัวอย่างหนึ่งของการเปรียบเทียบอักษรเพื่อการทับศัพท์ จากอักษรซีริลลิกไปเป็นอักษรละติน การทับศัพท์ หรือ การปริวรรต คือ การถอดอักษร หรือแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและการทับศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเพิร์ล

right ภาษาเพิร์ล (Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและภาษาเพิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเขียน

ระบบการเขียนในปัจจุบัน ระบบการเขียน (writing system) คือลักษณะสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงความหมายที่ใช้ในภาษาต่างๆ ระบบการเขียนแตกต่างจากระบบสัญลักษณ์ทั่วไปคือ บุคคลที่ใช้ระบบเดียวกันสามารถอ่านและเข้าใจภาษานั้นได้ตรงกันโดยไม่จำเป็น ต้องมีความรู้เฉพาะทางสำหรับดึงความหมายของสัญลักษณ์นั้น ต่างกับสัญลักษณ์ใน ภาพวาด แผนที่ ป้าย คณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ หมวดหมู่:การเขียน หมวดหมู่:การเรียงพิมพ์.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและระบบการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยเสียง

หน่วยเสียง (phoneme) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาษาพูด สัทสมาคมระหว่างประเทศนิยามหน่วยเสียงว่าหมายถึง "ส่วนที่เล็กที่สุดของเสียงที่ใช้เพื่อสร้างความหมายต่าง ๆ เมื่อเปล่งเสียงออกมา" ในทางภาษาศาสตร์ยังมีทรรศนะแตกต่างกันว่าหน่วยเสียงเป็นอย่างไรแน่ และภาษาจำแนกออกเป็นหน่วยเสียงได้อย่างไร แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ร่วมกันว่าหน่วยเสียงเป็นภาวะนามธรรมของชุดเสียงพูดที่ถือว่ามีลักษณะเหมือนกันในภาษานั้น ๆ ตัวอย่างเช่นในภาษาอังกฤษ "k" ในคำว่า kit และ skill ออกเสียงต่างกัน แต่ผู้พูดภาษาอังกฤษถือว่าเป็นเสียงเดียวกัน ดังนั้น k ในคำทั้งสองจึงถือเป็นหน่วยเสียงเดียวกันในรูป กรณีเสียงพูดต่างกันแต่ใช้หน่วยเสียงเดียวกันนี้เรียกว่าเสียงย่อย (allophone) ดังนั้นจึงถือว่าหน่วยเสียงเป็นตัวแสดงคำต่าง ๆ ออกมา การศึกษาระบบหน่วยเสียงถือเป็นประเด็นศึกษาหลักของสัทวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและหน่วยเสียง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันกึล

"ฮันกึล" จะเห็นว่าใน 1 คำ ประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ภาพส่วนหนึ่งของเอกสาร "ฮูมิน จองอึม" ฮันกึล (한글, Hangeul, Hangul) เป็นชื่อเรียกตัวอักษรของเกาหลีที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้แทนตัวอักษรฮันจา ฮันจานั้นหมายถึงตัวอักษรจีนที่ใช้ในภาษาเกาหลีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แทนโดยพระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕).

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและอักษรฮันกึล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

คะตะกะนะ

ตากานะ เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คาตากานะได้รับการนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮกไก.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและคะตะกะนะ · ดูเพิ่มเติม »

คะนะ

การพัฒนาอักษรคานะจากตัวอักษรจีน คานะ เป็นคำที่ใช้เรียกตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแบ่งออกเป็นฮิรางานะและคาตากานะ ซึ่งรวมถึงภาษาระบบเก่า มังโยงานะ คานะหนึ่งตัวอักษรจะมีเสียงเฉพาะของแต่ละตัวอักษร.

ใหม่!!: การถอดเป็นอักษรโรมันและคะนะ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »