โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การหายใจแสง

ดัชนี การหายใจแสง

การหายใจแสง (photorespiration) เป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดขึ้นได้ระหว่างการตรึงคาร์บอนในพืช ใช้ออกซิเจนและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นในขณะที่มีแสงจึงเรียกว่าการหายใจแสง แต่จะต่างจากการหายใจที่ไม่มีการสร้าง ATP ในปฏิกิริยานี้ และทำให้ประสิทธิภาพของการตรึงคาร์บอนลดลง เกิดขึ้นเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ ในใบต่ำกว่า 50 ppm RuBP carboxylase จะไม่จับกับคาร์บอนไดออกไซด์แต่จะจับกับออกซิเจนแทน ทำให้เปลี่ยน RuBP ไปเป็น3-ฟอสโฟกลีเซอเรตและฟอสโฟไกลโคเลต 3-ฟอสโฟกลีเซอเรตที่ได้จะเข้าวัฏจักรคัลวิน ส่วนฟอสโฟไกลโคเลตถูกเปลี่ยนเป็นไกลโคเลต ไกลโคเลตที่ได้จะถูกส่งออกจากคลอโรพลาสต์ไปยังเพอรอกซีโซม ไกลโคเลตถูกเปลี่ยนไปเป็นไกลออกซิเลตและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่เป็นพิษ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกสลายในเพอรอกซิโซมนี้ ส่วนไกลออกซีเลตนำไปใช้สร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้ ไกลซีนที่ได้จะเข้าสู่ไมโทคอนเดรีย ปล่อยหมู่อะมิโนให้กับสารอินทรีย์อื่นๆ และได้เซอรีน เซอรีนนี้ถ้ากลับเข้าสู้เพอรอกซีโซมจะถูกเปลี่ยนเป็นกลีเซอเรต ซึ่งเมื่อถูกส่งกลับเข้าคลอโรพลาสต์จะเข้าวัฏจักรคัลวินได้.

11 ความสัมพันธ์: ATPการหายใจการตรึงคาร์บอนวัฏจักรคัลวินออกซิเจนคลอโรพลาสต์คาร์บอนไดออกไซด์ไกลซีนไมโทคอนเดรียไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์3-ฟอสโฟกลีเซอเรต

ATP

ATP อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การหายใจแสงและATP · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจ

การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย นอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:การหายใจ หมวดหมู่:รีเฟล็กซ์ หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: การหายใจแสงและการหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงคาร์บอน

ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนในพืชเกิดเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้.

ใหม่!!: การหายใจแสงและการตรึงคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรคัลวิน

รวมของวัฏจักรคัลวิน วัฏจักรคัลวิน (Calvin cycle) หรือ Calvin-Benson-Bassham (CBB) cycle reductive pentose phosphate cycle หรือ C3 cycle เป็นลำดับของปฏิกิริยาทางด้านชีวเคมี เกิดขึ้นในสโตรมาของคลอโรพลาสต์ บางครั้งเรียกปฏิกิริยานี้ว่าปฏิกิริยาช่วงที่ไม่ใช้แสง วัฏจักรคัลวิน เกิดเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้.

ใหม่!!: การหายใจแสงและวัฏจักรคัลวิน · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: การหายใจแสงและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรพลาสต์

องค์ประกอบภายในของคลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ชนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่ ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อินเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้ ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที.

ใหม่!!: การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: การหายใจแสงและคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไกลซีน

กลซีน (glycineย่อว่าGly หรือ G) เป็นกรดอะมิโนที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดากรดอะมิโน 20 ตัวที่พบทั่วไปในโปรตีน ร่ายกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ได้เอง มีสูตรโครงสร้างเป็ร NH2CH2COOH มีอะตอมของไฮโดรเจนเป็นโซ่ข้างโคดอนคือ GGU, GGC, GGA, GGG ไกลซีนเป็นสารไม่มีสี รสหวาน เป็นผลึกแข็ง ไม่มีสูตรโครงสร้างแบบไครอล อยู่ได้ทั้งในสภาวะที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ เพราะในโมเลกุลมีไฮโดรเจนเป็นโซข้าง 2 ตัว.

ใหม่!!: การหายใจแสงและไกลซีน · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทคอนเดรีย

รงสร้างของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAhttp://www.mitochondrial.net/ มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ DNA ภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้นมหัศจรรย์ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: การหายใจแสงและไมโทคอนเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

รเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) มีสูตรทางเคมีว่า H2O2 เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนสองตัวและเชื่อมกันด้วยพันธะเดี่ยว) รูปแบบที่ง่ายที่สุด มีสภาพเป็นของเหลวใส หนืดกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม ไม่อยู่ตัว ซึ่งสามารถสลายตัวเป็นออกซิเจนกับน้ำ เมื่อเจือจางจะเป็นสารละลายไม่มีสี เนื่องจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถสลายตัวเป็นน้ำได้เมื่อถูกแสงและความร้อน จึงควรเก็บรักษาสารชนิดนี้ไว้ในภาชนะทึบแสง, ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ใหม่!!: การหายใจแสงและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

3-ฟอสโฟกลีเซอเรต

3-ฟอสโฟกลีเซอเรต (3-Phosphoglyceric acid; 3PG) หรือกลีเซอเรต 3-ฟอสเฟต (glycerate 3-phosphate; GP) เป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนสามโมเลกุลพบในวัฏจักรคัลวิน เกิดจากการแตกตัวของสารตัวกลางที่มีคาร์บอน 6 ตัวที่เกิดหลังการตรึง CO2.

ใหม่!!: การหายใจแสงและ3-ฟอสโฟกลีเซอเรต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Photorespiration

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »