การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์
การหายใจแสง vs. คลอโรพลาสต์
การหายใจแสง (photorespiration) เป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดขึ้นได้ระหว่างการตรึงคาร์บอนในพืช ใช้ออกซิเจนและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นในขณะที่มีแสงจึงเรียกว่าการหายใจแสง แต่จะต่างจากการหายใจที่ไม่มีการสร้าง ATP ในปฏิกิริยานี้ และทำให้ประสิทธิภาพของการตรึงคาร์บอนลดลง เกิดขึ้นเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ ในใบต่ำกว่า 50 ppm RuBP carboxylase จะไม่จับกับคาร์บอนไดออกไซด์แต่จะจับกับออกซิเจนแทน ทำให้เปลี่ยน RuBP ไปเป็น3-ฟอสโฟกลีเซอเรตและฟอสโฟไกลโคเลต 3-ฟอสโฟกลีเซอเรตที่ได้จะเข้าวัฏจักรคัลวิน ส่วนฟอสโฟไกลโคเลตถูกเปลี่ยนเป็นไกลโคเลต ไกลโคเลตที่ได้จะถูกส่งออกจากคลอโรพลาสต์ไปยังเพอรอกซีโซม ไกลโคเลตถูกเปลี่ยนไปเป็นไกลออกซิเลตและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่เป็นพิษ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกสลายในเพอรอกซิโซมนี้ ส่วนไกลออกซีเลตนำไปใช้สร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้ ไกลซีนที่ได้จะเข้าสู่ไมโทคอนเดรีย ปล่อยหมู่อะมิโนให้กับสารอินทรีย์อื่นๆ และได้เซอรีน เซอรีนนี้ถ้ากลับเข้าสู้เพอรอกซีโซมจะถูกเปลี่ยนเป็นกลีเซอเรต ซึ่งเมื่อถูกส่งกลับเข้าคลอโรพลาสต์จะเข้าวัฏจักรคัลวินได้. องค์ประกอบภายในของคลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ชนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่ ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อินเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้ ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์
การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์
การเปรียบเทียบระหว่าง การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์
การหายใจแสง มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ คลอโรพลาสต์ มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (11 + 5)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การหายใจแสงและคลอโรพลาสต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: