โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดไพรูวิก

ดัชนี กรดไพรูวิก

กรดไพรูวิก (CH3COCOOH) เป็นกรดอินทรีย์ คีโตน และกรดแอลฟา-คีโตซึ่งมีโครงสร้างเรียบง่ายที่สุด แอนไอออนคาร์บอกซิเลต (COO-) ซึ่งเป็นคู่เบสของกรดไพรูวิกตามทฤษฎีของเบรินสเตด-เลารี มีชื่อว่า ไพรูเวต (CH3COCOO-) เป็นจุดร่วมสำคัญในหลายวิถีเมแทบอลิซึม.

17 ความสัมพันธ์: ชีวเคมีกรดอินทรีย์กรดคาร์บอกซิลิกกรดน้ำส้มกลูโคสการสร้างกลูโคสวัฏจักรกรดซิตริกวิถีเมแทบอลิซึมอะลานีนอะซิติลโคเอนไซม์ เอจุลินทรีย์คีโทนปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชันโมลโคแฟกเตอร์ไกลโคไลซิสเอทานอล

ชีวเคมี

ชีวเคมี (biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุกๆ ด้าน หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:ชีวเคมี.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและชีวเคมี · ดูเพิ่มเติม »

กรดอินทรีย์

กรดอินทรีย์ (Organic acid) เป็นกรดที่ได้จากพืชหรือสัตว์ มักเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนไม่รุนแรง แตกในน้ำเป็นไอออนได้น้อย เช่น กรดคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbonic Acid), (ฝนกรด) กรดน้ำส้ม (Acetic Acid) (น้ำส้มสายชู), กรดซิตริก (Citric Acid) (กรดที่ทำให้ผลไม้มีรสเปรี้ยว), กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) (วิตามินซี บี6 บี12 และ ธาตุเหล็ก และ เบตาแคโรทีน) เป็นต้น หมวดหมู่:กรด.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและกรดอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

กรดคาร์บอกซิลิก

รงสร้างของกรดคาร์โบซิลิก โครงสร้าง 3 มิติของกรดคาร์โบซิลิก กรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acids) คือ กรดอินทรีย์ (organic acids) ที่ประกอบไปด้วยหมู่ฟังก์ชัน คาร์บอกซิล (carboxyl group), ซึ่งมี สูตรเคมี คือ - (C.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและกรดคาร์บอกซิลิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดน้ำส้ม

หมวดหมู่:ตัวทำละลาย หมวดหมู่:สารเคมีในบ้าน หมวดหมู่:กรด หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:รสชาติ.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและกรดน้ำส้ม · ดูเพิ่มเติม »

กลูโคส

กลูโคส (อังกฤษ: Glucose; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและกลูโคส · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างกลูโคส

การสร้างกลูโคส (gluconeogenesis, ย่อ: GNG) เป็นวิถีเมแทบอลิซึมที่เป็นการสร้างกลูโคสจากสารคาร์บอนที่มิใช่คาร์โบไฮเดรต เช่น แลกเตต กลีเซอรอล และกรดอะมิโนกลูโคจีนิก (glucogenic amino acid) การสร้างกลูโคสเป็นหนึ่งในสองกลไกหลักที่มนุษย์และสัตว์อื่นหลายชนิดใช้ควบคุมระดับกลูโคสในเลือดมิให้ต่ำเกินไป (hypoglycemia) อีกวิธีหนึ่ง คือ การสลายไกลโคเจน (glycogenolysis) การสร้างกลูโคสเป็นขบวนการที่พบทั่วไป ทั้งในพืช สัตว์ ฟังไจ แบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่น ๆ ในสัตว์กินพืช การสร้างกลูโคสเกิดในตับเป็นหลัก และไตส่วนนอก (cortex) รองลงมา ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง การสร้างกลูโคสดูจะเป็นขบวนการที่เกิดต่อเนื่อง ในสัตว์อื่นหลายชนิด ขบวนการดังกล่าวเกิดในช่วงการอดอาหาร การอดอยาก การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือการออกกำลังกายหักโหม ขบวนการดังกล่าวเป็นแบบดูดพลังงานอย่างมากกระทั่ง ATP หรือ GTP ถูกนำมาใช้ ทำให้ขบวนการดังกล่าวเป็นแบบคายพลังงาน ตัวอย่างเช่น วิถีซึ่งนำจากไพรูเวตเป็นกลูโคส-6-ฟอสเฟตอาศัย ATP 4 โมเลกุล และ GTP 2 โมเลกุล การสร้างกลูโคสมักเกี่ยวข้องกับคีโตซิส (ketosis) การสร้างกลูโคสยังเป็นเป้าหมายของการบำบัดเบาหวานชนิดที่ 2 เช่น เมทฟอร์มิน ซึ่งยับยั้งการสร้างกลูโคสและกระตุ้นให้เซลล์รับกลูโคสเข้าไป ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพราะคาร์โบไฮเดรตจากอาหารที่เกิดเมแทบอลิซึมได้มีแนวโน้มจะเกิดเมแทบอลิซึมโดยอวัยวะรูเมน การสร้างกลูโคสจึงเกิดขึ้นได้แม้จะไม่อดอาหาร กินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ ออกกำลังกาย ฯลฯBeitz, D. C. 2004.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและการสร้างกลูโคส · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรกรดซิตริก

รวมของวัฏจักรกรดซิตริก วัฏจักรกรดซิตริกหรือวัฏจักรเครบส์ (Krebs' cycle) หรือ วัฏจักรกรดไตรคาร์บอกซิลิก เป็นวัฏจักรกลางในการผลิต ATP รวมทั้ง NADH + H+ และ FADH2 ที่จะเข้าสู่ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่นเพื่อสร้าง ATP ต่อไป เกิดขึ้นบริเวณเมทริกซ์ซึ่งเป็นของเหลวในไมโทคอนเดรีย โดยมีการสลายแอซิทิลโคเอนไซม์ เอ ซึ่งจะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเก็บพลังงานจากปฏิกิริยาดังกล่าวไว้ในรูปของ NADH FADH2 และ ATP การย่อยสลายสารอาหารใดๆให้สมบูรณ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำต้องเข้าวัฏจักรนี้เสมอ เป็นขั้นตอนการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในการหายใจระดับเซลล.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและวัฏจักรกรดซิตริก · ดูเพิ่มเติม »

วิถีเมแทบอลิซึม

ในทางชีวเคมี วิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) เป็นชุดของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์ ในแต่ละวิถี สารเคมีหลักจะเกิดปฏิกิริยาเคมีและเปลี่ยนไปเป็นสารอื่น โดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมักต้องอาศัยแร่ธาตุ วิตามินและโคแฟกเตอร์อื่น ๆ จึงจะดำเนินไปอย่างเหมาะสม เพราะมีสารเคมีจำนวนมาก ("เมแทบอไลต์") เข้ามาเกี่ยวข้อง วิถีเมแทบอลิซึมจึงอาจค่อนข้างซับซ้อน ยิ่งไปกว่านั้น วิถีซึ่งแตกต่างกันจำนวนมากเกิดร่วมกันในเซลล์ หมู่วิถีนี้เรียกว่า เครือข่ายเมแทบอลิซึม วิถีเมแทบอลิซึมสำคัญต่อการรักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) ในสิ่งมีชีวิต วิถีแคแทบอลิซึมและแอแนบอลิซึมมักทำงานพึ่งพาอาศัยกันเพื่อสร้างโมเลกุลชีวภาพใหม่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย วิถีเมแทบอลิซึมเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้นทีละขั้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้นสามารถนำไปใช้ได้สามทาง คือ.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและวิถีเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

อะลานีน

อะลานีน (Alanine (Ala, A) หรือ 2-aminopropanoic acid) เป็นกรดอะมิโนไม่จำเป็นชนิด α พบ 2 ไอโซเมอร์เชิงแสง คือ L-alanine and D-alanine โดย L-alanine เป็นหนึ่งในบรรดากรดอะมิโนทั้ง 20 ชนิดที่ถูกใช้มากที่สุดในการสังเคราะห์โปรตีน รองจาก leucine โดยคิดเป็น 7.8% ของโครงสร้างปฐมภูมิในโปรตีนพื้นฐาน 1,150 ชนิด ส่วน D-alanine พบในผนังเซลล์ของแบคทีเรียและ peptide antibiotic บางชน.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและอะลานีน · ดูเพิ่มเติม »

อะซิติลโคเอนไซม์ เอ

อะซิติลโคเอนไซม์ เอ หรืออะซิติลโค เอ เป็นโมเลกุลที่สำคัญในเมแทบอลิซึม ใช้ในปฏิกิริยาทางชีวเคมีหลายปฏิกิริยา หน้าที่หลักของมันคือ การถ่ายทอดอะตอมคาร์บอนในหมู่อะซิติลไปยังวัฏจักรเครปส์เพื่อให้ถูกออกซิไดซ์ (oxidize) และสร้างพลังงาน ในโครงสร้างเคมี อะซิติลโค เอ เป็นไธโอเอสเทอร์ระหว่างโคเอนไซม์ เอ (ไธออล) กับกรดอะซิติก (ตัวพาหมู่เอซิล) อะซิติลโค เอ ถูกผลิตระหว่างขั้นที่สองของการหายใจระดับเซลล์ที่ใช้ออกซิเจน การขจัดหมู่คาร์บอกซิล (decarboxylation) ของไพรูเวต ซึ่งเกิดขึ้นในเมทริกซ์ของไมโทคอนเดรีย จากนั้น อะซิติลโค เอ จะเข้าสู่วัฏจักรเครปส์ต่อไป อะซิติลโค เอ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสังเคราะห์ชีวภาพของสารสื่อประสาท อะซิติลโคลีน โคลีน เมื่อรวมกับอะซิติลโค เอ จะถูกเร่งโดยเอนไซม์ โคลีนอะซิติลทรานสเฟอเรส (choline acetyltransferase) เพื่อผลิตอะซิติลโคลีนและได้โคเอนไซม์เป็นผลพลอยได้ คอนราด บลอชและเฟโอดอร์ ลือเนนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน..

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและอะซิติลโคเอนไซม์ เอ · ดูเพิ่มเติม »

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและจุลินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

คีโทน

หมู่คีโทน ในสารประกอบอินทรีย์ คีโทน (Ketone, alkanone) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย หมู่คาร์บอนิล (C.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและคีโทน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน

การขนถ่ายอิเล็กตรอนในไมโทคอนเดรียของยูคาริโอต และการสร้าง ATP ปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน (Oxidative phosphorylation) เป็นวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งใช้พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารอาหารเพื่อสร้างอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เก็บสะสมพลังงานเพื่อใช้ในเมแทบอลิซึม แม้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลกจะใช้สารอาหารต่างกัน แต่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยออกซิเจนแทบทุกชนิดล้วนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชันเพื่อสร้าง ATP สาเหตุที่วิถีนี้พบได้แพร่หลายอาจเป็นเพราะมันเป็นวิถีที่ทรงประสิทธิภาพในการปลดปล่อยพลังงาน เมื่อเทียบกับกระบวนการการหมักทางเลือก เช่น ไกลโคไลสิสแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic glycolysis) ระหว่างปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน อิเล็กตรอนจะถูกขนส่งจากตัวให้อิเล็กตรอนไปยังตัวรับอิเล็กตรอน เช่น ออกซิเจน ในปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยารีดอกซ์เหล่านี้ปลดปล่อยพลังงาน ซึ่งถูกใช้เพื่อสร้าง ATP ในยูคาริโอต ปฏิกิริยารีดอกซ์เหล่านี้ดำเนินโดยโปรตีนคอมเพลกซ์ภายในผนังระหว่างเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรีย ขณะที่ในโปรคาริโอต โปรตีนเหล่านี้พบได้ในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ ชุดโปรตีนที่เกี่ยวโยงกันนี้เรียกว่า ลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน (electron transport chain) ในยูคาริโอต มีโปรตีนคอมเพลกซ์จำนวนห้าคอมเพลกซ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่ในโปรคาริโอต อาจพบเอนไซม์หลายชนิด โดยใช้ตัวให้และรับอิเล็กตรอนที่หลากหลาย พลังงานที่อิเล็กตรอนปลดปล่อยออกมาและไหลผ่านลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนนี้ถูกนำไปใช้เพื่อขนส่งอิเล็กตรอนข้ามเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย ในกระบวนการที่เรียกว่า เคมิออสโมซิส (chemiosmosis) ซึ่งสร้างพลังงานศักย์ในรูปของความแตกต่าง (gradient) ของค่า pH และศักย์ไฟฟ้าข้ามเยื่อหุ้มนี้ การเก็บสะสมพลังงานดังกล่าวจะลดลงเมื่อโปรตอนไหลกลับผ่านเยื่อหุ้มและลดความแตกต่างนี้ ผ่านเอนไซม์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เอทีพีซินเทส (ATP synthase) เอนไซม์นี้ใช้พลังงานดังกล่าวเพื่อสร้าง ATP จากอะดีโนซีนไดฟอสเฟต (ADP) ในปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชัน ปฏิกิริยานี้ถูกขับเคลื่อนโดยการไหลของโปรตอน ซึ่งทำให้เกิดการหมุนบางส่วนของเอนไซม์ เอทีพีซินเทสเป็นมอเตอร์กลแบบหมุน แม้ว่า ปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชันจะเป็นส่วนสำคัญของเมแทบอลิซึม แต่ปฏิกิริยาดังกล่าวก็ผลิตออกซิเจนที่เกิดปฏิกิริยาได้ (reactive oxygen) อย่างซูเพอร์ออกไซด์และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ซึ่งนำไปสู่การแพร่กระจายของอนุมูลอิสระ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เซลล์ และเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคภัยต่าง ๆ และอาจรวมถึงการสูงวัย (ภาวะสู่วัยชรา) ด้วย ยาและพิษหลายชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ที่ดำเนินวิถีเมแทบอลิซึม.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน · ดูเพิ่มเติม »

โมล

มล (สัญลักษณ์: mol) เป็นหน่วยฐานสำหรับวัดปริมาณสารในหน่วยเอสไอ เป็นปริมาณที่ไม่มีมิติ หนึ่งโมลคือปริมาณของสารที่มีหน่วยย่อยเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม เมื่ออะตอมของคาร์บอน-12 ไม่ถูกยึดและอยู่นิ่งในสถานะฐาน จำนวนอะตอมดังกล่าวเรียกว่าเลขอาโวกาโดรซึ่งมีค่าประมาณ 6.0221415 x 1023 เนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยมวลอะตอมกับเลขอาโวกาโดร วิธีในทางปฏิบัติที่จะระบุปริมาณสารหนึ่งโมลคือใช้มวลของสารเท่ากับน้ำหนักอะตอมของสารนั้น เป็นหน่วยกรัม ยกตัวอย่างเช่น เหล็กมีน้ำหนักอะตอมเป็น 55.845 ดังนั้นหนึ่งโมลของเหล็กจะมีมวล 55.845 กรัม หมวดหมู่:หน่วยเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและโมล · ดูเพิ่มเติม »

โคแฟกเตอร์

.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและโคแฟกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไกลโคไลซิส

ั้นตอนของไกลโคไลซิส ไกลโคไลซิส (Glycolysis) เป็นกระบวนการปฏิกิริยาเคมีที่พบทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอตโดยในยูแคริโอตนั้นพบบริเวณไซโทซอลของเซลล์ เป็นกระบวนการสังเคราะห์โมเลกุล ATP กับ NADH จากโมเลกุลของกลูโคสกล่าวโดยสรุปแล้วหนึ่งโมเลกุลของกลูโคสเมื่อผ่านกระบวนการไกลโคไลซิสแล้วได้สองโมเลกุลของ ATP, NADH และ ไพรูเวต เป็นการย่อยสลายโมเลกุลของกลูโคส (คาร์บอน 6 ตัว) ไปเป็นไพรูเวต (คาร์บอน 3 ตัว).

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและไกลโคไลซิส · ดูเพิ่มเติม »

เอทานอล

อทานอล (ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีทรูท และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น.

ใหม่!!: กรดไพรูวิกและเอทานอล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PyruvatePyruvic acidไพรูเวต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »