สารบัญ
16 ความสัมพันธ์: กระดูกอัลนากระดูกต้นแขนกระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัสส่วนกลางของกระดูกเรเดียสหลอดเลือดแดงอัลนาหลอดเลือดแดงเรเดียลจุดเกาะต้นจุดเกาะปลายข้อศอกปลายแขนปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนโคโรนอยด์ โพรเซสเส้นประสาทมีเดียน
- กล้ามเนื้อของรยางค์บน
กระดูกอัลนา
ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและกระดูกอัลนา
กระดูกต้นแขน
ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและกระดูกต้นแขน
กระดูกเรเดียส
ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและกระดูกเรเดียส
กล้ามเนื้อ
การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) เป็นกล้ามเนื้อกว้าง โค้งรอบด้านบน 1/3 ของกระดูกเรเดี.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส
กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus; PQ) เป็นกล้ามเนื้อรูปสี่เหลี่ยมที่อยู่บนส่วนปลายของปลายแขน ทำหน้าที่คว่ำมือ เนื่องจากกล้ามเนื้อนี้อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของปลายแขน (anterior side of the arm) จึงถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (anterior interosseous nerve) ซึ่งเป็นแขนงของเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) และถูกเลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (interosseous artery).
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส
ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส
วนกลางของกระดูกเรเดียส หรือ ตัวกระดูกเรเดียส (body of the radius; shaft of radius) มีลักษณะคล้ายปริซึมสามเหลี่ยมที่โค้งออกไปทางด้านข้างเล็กน้อย ด้านบนแคบกว่าด้านล่าง ประกอบด้วย 3 ขอบกระดูก และ 3 พื้นผิว.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและส่วนกลางของกระดูกเรเดียส
หลอดเลือดแดงอัลนา
หลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)เป็ยเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปยังแขน ไปสิ้นสุดยังฝ่ามือ ซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงที่เรียงตัวเป็นรัศมี สามารถเห็นได้ชัดที่ข้อมือ มีเส้นเลือดดำชื่อเดียวกันนี้เรียกหลอดเลือดดำอัลน.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและหลอดเลือดแดงอัลนา
หลอดเลือดแดงเรเดียล
ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) เป็นหลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนมากมายังด้านข้าง (lateral) ของปลายแขน.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและหลอดเลือดแดงเรเดียล
จุดเกาะต้น
กาะต้น (origin) ของกล้ามเนื้อเป็นจุดที่กล้ามเนื้อยึดเกาะกับกระดูกหรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ โครงสร้างที่จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อจะไม่เคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะปลาย (insertion) โดยทั่วไป จุดเกาะต้นมักจะอยู่ส่วนต้น (proximal) มากกว่าจุดเกาะปลาย แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะต้นเสมอไป.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและจุดเกาะต้น
จุดเกาะปลาย
กาะปลาย (insertion) เป็นจุดที่กล้ามเนื้อเกาะกับผิวหนัง, กระดูก หรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ตำแหน่งจุดเกาะปลายเป็นโครงสร้างที่จะเคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อจะเป็นจุดที่เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มาเกาะกับกระดูก ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะต้น (origin) โดยทั่วไป จุดเกาะปลายมักจะอยู่ส่วนปลาย (distal) มากกว่าจุดเกาะต้น แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะปลายเสมอไป.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและจุดเกาะปลาย
ข้อศอก
้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและข้อศอก
ปลายแขน
ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและปลายแขน
ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน
ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน มีขนาดใหญ่กว่าและยื่นออกมามากกว่าปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ ยื่นไปทางด้านหลังเล็กน้อย ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มเวนทรัล อีพิคอนไดล์ (ventral epicondyle of the humerus) ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ของข้อศอก, กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres), และจุดเกาะต้นของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกลุ่มกล้ามเนื้องอของปลายแขน (เอ็นคอมมอนเฟล็กเซอร์ (common flexor tendon)) เส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) วิ่งอยู่ในร่องที่อยู่ด้านหลังของปุ่มกระดูกนี้ ถ้ามีกระดูกหักบริเวณมีเดียล อีพิคอนไดล์จะทำให้มีอันตรายต่อเส้นประสาทอัลน.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน
โคโรนอยด์ โพรเซส
รนอยด์ โพรเซส (Coronoid process; ละติน: processus coronoideus) เป็นสันนูนรูปสามเหลี่ยมชี้ไปทางด้านหน้า อยู่บริเวณด้านบนและด้านหน้าของกระดูกอัลนา ฐานของโคโรนอยด์ โพรเซสต่อเนื่องกับส่วนกลางของกระดูกอัลนาและมีความแข็งแรงมาก ยอดมีลักษณะแหลมค่อนข้างโค้งไปทางด้านบน และเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน ส่วนของโคโรนอยด์ โพรเซสนี้จะรับกับแอ่งโคโรนอยด์ (coronoid fossa) ของกระดูกต้นแขน พื้นผิวด้านบนของโคโรนอยด์ โพรเซสมีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนล่างของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) พื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างมีลักษณะเว้า และมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis) ที่รอยต่อของพื้นผิวด้านนี้และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนาเป็นส่วนยื่นขรุขระ เรียกว่า ปุ่มนูนอัลนา (tuberosity of the ulna) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลนา พื้นผิวด้านข้างมีลักษณะคอด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรอยเว้าซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า รอยเว้าเรเดียส (radial notch) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นขอบอิสระซึ่งให้เป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ส่วนหน้าของพื้นผิวด้านนี้เป็นส่วนยื่นรูปกลมขนาดเล็กซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum sublimis) ด้านหลังของส่วนยื่นเป็นรอยเว้าสำหรับส่วนของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus) ส่วนล่างของส่วนยื่นนี้เป็นสันซึ่งให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) บ่อยครั้งที่จะพบใยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus) เกาะกับส่วนล่างของโคโรนอยด์ โพรเซ.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและโคโรนอยด์ โพรเซส
เส้นประสาทมีเดียน
เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เป็นเส้นประสาทที่วิ่งลงมาตามแขนและปลายแขน นับเป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่มีต้นกำเนิดมาจากร่างแหประสาทแขน (brachial plexus) เส้นประสาทมีเดียนเกิดจากแลทเทอรัล คอร์ด lateral cord) และมีเดียล คอร์ด (medial cord) ของร่างแหประสาทแขน และต่อเนื่องลงมาตามแขนและเข้าสู่ปลายแขนร่วมกับหลอดเลือดแดงแขน (brachial artery) เส้นประสาทมีเดียนเป็นเส้นประสาทเพียงเส้นเดียวที่ผ่านเข้าในคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) ซึ่งอาจถูกกดได้ในกลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel syndrome) ส้เนประสาทมีเดียน ส้เนประสาทมีเดียน.
ดู กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสและเส้นประสาทมีเดียน
ดูเพิ่มเติม
กล้ามเนื้อของรยางค์บน
- กล้ามเนื้อกลุ่มโมบายล์ แวด
- กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส
- กล้ามเนื้อทราพีเซียส
- กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส
- กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
- กล้ามเนื้อเดลทอยด์
- กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส
- กล้ามเนื้อแอนโคเนียส
- กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส
- กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส
- กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Pronator teresPronator teres muscleโปรเนเตอร์ เทเรส