โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลายแขน

ดัชนี ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

38 ความสัมพันธ์: กระดูกกระดูกอัลนากระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัสกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อแอนโคเนียสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุมกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไมกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิสกายวิภาคศาสตร์รยางค์บนหลอดเลือดดำผิวหลอดเลือดดำเบซิลิคหลอดเลือดดำเซฟาลิคหลอดเลือดแดงสู่ปอดหลอดเลือดแดงอัลนาหลอดเลือดแดงเรเดียลผิวหนังข้อศอกแขนเส้นประสาทมีเดียนเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลายแขนและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: ปลายแขนและกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: ปลายแขนและกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) เป็นกล้ามเนื้อกว้าง โค้งรอบด้านบน 1/3 ของกระดูกเรเดี.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส

กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (palmaris longus) เป็นกล้ามเนื้อเล็กๆ ของปลายแขน ที่เห็นเอ็นกล้ามเนื้อเล็กๆ อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (flexor carpi radialis) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris) ในบางครั้งอาจไม่พบกล้ามเนื้อนี้ก็ได้ กล้ามเนื้อนี้ลักษณะผอม เรียงเป็นรูปกระสวย ทอดตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (medial side) ของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นที่ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) โดยเอ็นกล้ามเนื้อคอมมอนเฟลกเซอร์ (common flexor tendon), จากผนังกั้นระหว่างกล้ามเนื้อ (intermuscular septum) ที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia) ปลายของกล้ามเนื้อนี้มีลักาณะผอม เป็นเอ็นแบนๆ ซึ่งผ่านเหนือส่วนบนของเฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมของมือ (flexor retinaculum) และเข้าเกาะปลายที่ส่วนกลางของ เฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมและส่วนล่างของเอ็นแผ่ฝ่ามือ (palmar aponeurosis) บางครั้งอาจส่งแผ่นเอ็นกล้ามเนื้อเข้าไปยังกล้ามเนื้อสั้นของนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อนี้สามารถคลำได้จากผิวหนังโดยการงอนิ้วโป้งและนิ้วก้อยเป็นอุ้งมือแล้วงอข้อมือ จะเห็นเอ็นกล้ามเนื้อนี้ (ถ้ามี) ชัดเจนอยูที่ข้อมือ.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator) และบางครั้งอาจรวมเข้าอยู่ด้วยกัน.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

กล้ามเนื้อแอนโคเนียส (anconeus muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กที่อยู่ด้านหลังของข้อศอก บางตำรารวมให้กล้ามเนื้อแอนโคเนียสต่อเนื่องจากกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii muscle) ในตำราบางเล่มกล่าวว่ากล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ด้านหลังต้นแขน (posterior compartment of the arm) แต่บางตำราจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ด้านหลังปลายแขน (posterior compartment of the forearm) กล้ามเนื้อนี้สามารถคลำได้ โดยอยู่ด้านข้างต่อโอเลครานอน โพรเซส (olecranon process) ของกระดูกอัลน.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อแอนโคเนียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus; PQ) เป็นกล้ามเนื้อรูปสี่เหลี่ยมที่อยู่บนส่วนปลายของปลายแขน ทำหน้าที่คว่ำมือ เนื่องจากกล้ามเนื้อนี้อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของปลายแขน (anterior side of the arm) จึงถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (anterior interosseous nerve) ซึ่งเป็นแขนงของเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) และถูกเลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (interosseous artery).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) เป็นกล้ามเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณปลายแขน (forearm) ของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่คว่ำปลายแขนร่วมกับกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (pronator quadratus).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส

กล้ามเนื้อเบรกิโอเรเดียลิส (Brachioradialis) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขน (forearm) ทำหน้าที่งอปลายแขนที่ข้อศอก สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งคว่ำและหงายมือขึ้นกับตำแหน่งของปลายแขน กล้ามเนื้อนี้ยึดเกาะกับสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส (distal styloid process of the radius) และแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง (lateral supracondylar ridge) ของกระดูกต้นแขน (humerus).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus, FPL) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน (forearm) และมือ ที่ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อนี้วางตัวอยู่ในระนาบเดียวกันกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum superficialis) หรือ เฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซับลิมิส (Flexor digitorum sublimis; FDS) เป็นกล้ามเนื้อกลุ่มงอนิ้วมือที่ข้อต่อระหว่างกระดูกนิ้วมือส่วนต้น (proximal interphalangeal joints) อยู่ที่พื้นที่ด้านหน้าปลายแขน (anterior compartment of the forearm) ในบางครั้งอาจจัดว่าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกที่สุดของกล้ามเนื้อชั้นตื้น (superficial layer) ของพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน หรืออาจจัดแยกออกไปเป็นชั้นต่างหาก เรียกว่า ชั้นตรงกลาง (intermediate layer) ของพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส

ในทางกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus; FDP) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนที่ทำหน้าที่งอนิ้วมือ จัดว่าเป็น extrinsic muscle เพราะว่าการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ตำแหน่งที่แตกต่างจากตัวหลักของมัดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส ร่วมกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (flexor digitorum superficialis) มีเอ็นกล้ามเนื้อยาวที่วิ่งลงตมาลอดปลายแขน ผ่านคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) และยึดเกาะกับด้านฝ่ามือของกระดูกนิ้วมือ กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นอยู่ที่ด้านหน้าของกระดูกอัลนา กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส แต่ว่าจะมีจุดเกาะปลายที่อยู่ด้านปลายมากกว่า โดยเอ็นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสจะวิ่งผ่านช่องของเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส เข้าไปเกาะกับกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle; FCU) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอ (flex) และหุบ (adduct) มือ.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส

ในทางกายวิภาคศาสตร์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (Flexor carpi radialis muscle; FCR) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอและกางมือออก.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Extensor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน มีขนาดใหญ่กว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อบางส่วนถูกปกคลุมด้วยกล้ามเนื้ออื่น.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส โพรเพรียส (Extensor indicis; extensor indicis proprius) เป็นกล้ามเนื้อแบน ยาว อยู่ด้านใกล้กลางและทอดขนานไปกับกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (extensor pollicis longus).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum) หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม คอมมิวนิส (Extensor digitorum communis; ED) เป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นโดยเป็นเอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์อยู่ที่ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ (lateral epicondyle) ของกระดูกต้นแขน (humerus) และเกาะมาจากผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ซึ่งกั้นระหว่างกล้ามเนื้อมัดนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และเกาะมาจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม (Extensor digiti minimi) หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต ควินไต โพรเพรียส (Extensor digiti quinti proprius; EDM) เป็นกล้ามเนื้อมัดผอมๆ อยู่ในปลายแขน (forearm) อยู่บนด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum) กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นของเอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์ (common Extensor tendon) โดยแผ่นเอ็นบางๆ จากผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ที่กั้นระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง เอ็นกล้ามเนื้อนี้วิ่งผ่านช่องของเอ็นดอร์ซัล คาร์ปัล (dorsal carpal ligament) ด้านหลังต่อข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนปลาย (distal radio-ulnar joint) แล้วจึงแบ่งออกเป็น 2 เอ็นเมื่อข้ามาถึงมือ และสุดท้ายไปร่วมกับเอ็นแผ่ของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุมที่ด้านหลังของกระดูกนิ้วมือ (phalanx) ของนิ้วก้อ.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Extensor carpi ulnaris; ECU) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่เหยียด (extend) และหุบ (adduct) ข้อมือ อยู่บริเวณพื้นที่ด้านหลังของปลายแขน (posterior side of the forearm).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus; ECRL) เป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ข้อมือ กล้ามเนื้อนี้ค่อนข้างยาวเริ่มจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) และไปยึดเกาะกับฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal) ในตอนแรกกล้ามเนื้อนี้จะวิ่งมาด้วยกันกับกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) แต่จะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อก่อน แล้ววิ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis).

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis; ECRB) เป็นกล้ามเนื้อที่หนากว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus) ที่อยู่เหนือกว.

ใหม่!!: ปลายแขนและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: ปลายแขนและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รยางค์บน

ต้นแขนของมนุษย์ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ รยางค์บน (upper limb หรือ upper extremities) คือส่วนของร่างกายมนุษย์ที่เรียกโดยทั่วไปว่า แขน (arm) คือโครงสร้างตั้งแต่แขนจนถึงปลายนิ้ว รวมทั้งส่วนของต้นแขน (upper arm) ด้ว.

ใหม่!!: ปลายแขนและรยางค์บน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำผิว

หลอดเลือดดำชั้นผิวของรยางค์บน หลอดเลือดดำชั้นผิว (Superficial vein) เป็นคำที่ใช้อธิบายหลอดเลือดดำที่อยู่ชิดกับพื้นผิวของลำตัว ซึ่งต่างกับหลอดเลือดดำอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหนัง เรียกว่าหลอดเลือดดำชั้นลึก (deep vein) หลอดเลือดดำชั้นผิวจะไม่ทอดคู่กับหลอดเลือดแดงเหมือนกับหลอดเลือดดำชั้นลึกที่จะมีลักษณะเป็น venae comitantes หรือลักษณะทอดคู่ขนาบหลอดเลือดแดงที่มีชื่อเดียวกัน หลอดเลือดดำชั้นผิวมีความสำคัญในทางสรีรวิทยาในแง่การระบายความร้อนให้แก่ร่างกาย เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายจะลัดเลือดจากหลอดเลือดดำชั้นลึกมายังหลอดเลือดดำชั้นตื้นเพื่อระบายความร้อนออกไปยังสิ่งแวดล้อม หลอดเลือดดำชั้นผิวสามารถมองเห็นได้จากผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่ออวัยวะนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ หลอดเลือดดำชั้นผิวจะพองออก สังเกตได้เมื่อเรายกแขนขึ้นเหนือระดับหัวใจ เลือดจะไหลออกจากหลอดเลือดนั้น แต่เมื่อเราวางแขนลงในระดับต่ำกว่าหัวใจ เลือดจะไหลกลับเข้ามาใหม่ หลอดเลือดนี้สามารถเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเรายกของหนักๆ ในทางสรีรวิทยา หลอดเลือดดำชั้นผิวนี้ไม่มีความสำคัญเท่าหลอดเลือดดำชั้นลึก เพราะขนส่งเลือดในปริมาณน้อยกว่า และบางครั้งหลอดเลือดนี้สามารถตัดเอาออกได้โดยไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใดๆ เรียกว่าวิธี vein stripping ซึ่งเป็นการรักษาหลอดเลือดดำขอด (varicose vein) ที่ใช้กันในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปลายแขนและหลอดเลือดดำผิว · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำเบซิลิค

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดดำเบซิลิค (Basilic vein) เป็นหลอดเลือดดำชั้นผิวขนาดใหญ่ของรยางค์บนซึ่งช่วยระบายเลือดจากส่วนของมือและปลายแขน เริ่มต้นจากร่างแหหลอดเลือดดำหลังมือด้านใกล้ลำตัว (หรือด้านกระดูกอัลนา) มาตามฐานของปลายแขนและต้นแขน แนวเส้นทางของเส้นเลือดส่วนใหญ่อยู่ในชั้นผิว โดยทั่วไปหลอดเลือดนี้มาตามชั้นไขมันและพังผืดอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นตื้นต่อกล้ามเนื้อของรยางค์บน ดังนั้นเราสามารถเห็นเส้นเลือดนี้ได้ผ่านผิวหนัง ใกล้บริเวณด้านหน้าของแอ่งแขนพับ (cubital fossa) หลอดเลือดดำเบซิลิคมักจะเชื่อมกับหลอดเลือดดำชั้นผิวขนาดใหญ่อื่นๆ ในรยางค์บนนั่นคือ หลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) โดยผ่านหลอดเลือดดำมีเดียน คิวบิตัล (median cubital vein) ลักษณะของหลอดเลือดดำชั้นผิวของปลายแขนมีความแปรผันมากในแต่ละบุคคล ทำให้มีหลอดเลือดดำชั้นผิวจำนวนมากที่เชื่อมกับหลอดเลือดดำเบซิลิคที่ไม่มีชื่อ เมื่อหลอดเลือดมาถึงประมาณครึ่งทางของต้นแขน (ครึ่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างไหล่และข้อศอก) หลอดเลือดดำเบซิลิคจะลงไปในชั้นลึกมากขึ้น และไหลใต้กล้ามเนื้อ บริเวณขอบล่างของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major muscle) จะมีหลอดเลือดดำรอบกระดูกต้นแขนด้านหน้าและด้านหลังไหลเข้ามาเชื่อม ก่อนที่จะเชื่อมกับหลอดเลือดดำแขน (brachial veins) แล้วกลายเป็นหลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein) เช่นเดียวกับหลอดเลือดดำชั้นผิวของปลายแขน การเจาะหลอดเลือดดำ (venipuncture) สามารถใช้หลอดเลือดแดงเบซิลิคได้.

ใหม่!!: ปลายแขนและหลอดเลือดดำเบซิลิค · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำเซฟาลิค

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดดำเซฟาลิค (Cephalic vein) เป็นหลอดเลือดดำชั้นผิวของรยางค์บน เชื่อมต่อกับหลอดเลือดดำเบซิลิค (basilic vein) โดยผ่านหลอดเลือดดำมีเดียน คิวบิตัล (median cubital vein) ที่ข้อศอก และอยู่ในแผ่นพังผืดชั้นผิว (superficial fascia) ที่อยู่ในตลอดพื้นผิวด้านหน้าส่วนข้าง (anterolateral surface) ของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii muscle) ด้านบนของหลอดเลือดดำเซฟาลิคผ่านระหว่างกล้ามเนื้อเดลทอยด์ (deltoid muscle) และกล้ามเนื้อเพคทอราลิส เมเจอร์ (pectoralis major muscle) (ร่องเดลโทเพคทอรัล (deltopectoral groove)) และผ่านสามเหลี่ยมเดลโทเพคทอรัล (deltopectoral triangle) ที่ซึ่งหลอดเลือดดำนี้เทเข้าสู่หลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein) หลอดเลือดดำนี้มักจะมองเห็นได้ผ่านผิวหนัง และตำแหน่งของหลอดเลือดนี้ในร่องเดลโทเพคทอรัลมักคงที่ไม่แปรผันมาก จึงเป็นบริเวณที่ใช้ในการใส่หลอดสวน (cannulation).

ใหม่!!: ปลายแขนและหลอดเลือดดำเซฟาลิค · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงสู่ปอด

หลอดเลือดแดงสู่ปอด หรือ พัลโมนารีอาร์เทอรี (Pulmonary artery) เป็นหลอดเลือดแดงซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนจากหัวใจเข้าสู่ปอด ซึ่งถือว่าเป็นหลอดเลือดแดงเพียงชนิดเดียวที่บรรจุเลือดแดงที่ปราศออกซิเจน ในหัวใจของมนุษย์ หลอดเลือดแดงสู่ปอดทั้งหลายจะมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณหัวใจห้องล่างขวา ซึ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ราว 3 เซนติเมตรแต่สั้นประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วแตกกิ่งออกเป็นสองเส้น (ซ้ายกับขวา) ซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนไปสู่ปอด และเข้าสู่หลอดเลือดผอยบริเวณถุงลมของปอด เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์บางส่วนออกไปและรับออกซิเจนเข้ามา ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการของระบบหายใจ ความดันหลอดเลือดแดงสู่ปอดของมนุษย์จะอยู่ที่ 9 - 18 มม.ปรอท 2009 ในขณะที่ความดันหลอดเลือดฝอยในปอดจะอยู่ที่ไม่เกิน 25มม.ปรอท หากเกินกว่านี้แสดงถึงภาวะความดันโลหิตในปอดสูง.

ใหม่!!: ปลายแขนและหลอดเลือดแดงสู่ปอด · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงอัลนา

หลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)เป็ยเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปยังแขน ไปสิ้นสุดยังฝ่ามือ ซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงที่เรียงตัวเป็นรัศมี สามารถเห็นได้ชัดที่ข้อมือ มีเส้นเลือดดำชื่อเดียวกันนี้เรียกหลอดเลือดดำอัลน.

ใหม่!!: ปลายแขนและหลอดเลือดแดงอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงเรเดียล

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) เป็นหลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนมากมายังด้านข้าง (lateral) ของปลายแขน.

ใหม่!!: ปลายแขนและหลอดเลือดแดงเรเดียล · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: ปลายแขนและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

ใหม่!!: ปลายแขนและข้อศอก · ดูเพิ่มเติม »

แขน

แขน เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของมนุษย์อยู่ระหว่างไหล่กับข้อศอก ใช้ในการเคลื่อนที่ สัตว์บางชนิดจะมีแขนเช่นลิงในการหยิบจับหรือคลาน ส่วนปลายแขนหมายถึงแขนตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอก ต้นแขนหมายถึงหมายถึงแขนตั้งแต่ข้อศอกจนถึงมือ โครงสร้างของแขน.

ใหม่!!: ปลายแขนและแขน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทมีเดียน

เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เป็นเส้นประสาทที่วิ่งลงมาตามแขนและปลายแขน นับเป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่มีต้นกำเนิดมาจากร่างแหประสาทแขน (brachial plexus) เส้นประสาทมีเดียนเกิดจากแลทเทอรัล คอร์ด lateral cord) และมีเดียล คอร์ด (medial cord) ของร่างแหประสาทแขน และต่อเนื่องลงมาตามแขนและเข้าสู่ปลายแขนร่วมกับหลอดเลือดแดงแขน (brachial artery) เส้นประสาทมีเดียนเป็นเส้นประสาทเพียงเส้นเดียวที่ผ่านเข้าในคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) ซึ่งอาจถูกกดได้ในกลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel syndrome) ส้เนประสาทมีเดียน ส้เนประสาทมีเดียน.

ใหม่!!: ปลายแขนและเส้นประสาทมีเดียน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก

อ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เป็นแผ่นของเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous tissue) ที่มีความกว้างและบาง ทำหน้าที่แบ่งกระดูกหลายชิ้นในร่างกาย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของข้อต่อหลายชิ้น เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกในร่างกายมนุษย์ได้แก.

ใหม่!!: ปลายแขนและเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน

อ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน (interosseous membrane of the forearm) เป็นแผ่นเส้นใยที่เชื่อมระหว่างกระดูกเรเดียส (radius) และกระดูกอัลนา (ulna) เป็นโครงสร้างหลักของข้อต่อชนิดแผ่นเยื่อคั่นเรดิโออัลนา (radio-ulnar syndesmosis) ซึ่งเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกทั้งสองชิ้นนี้ เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขนแบ่งพื้นที่ของปลายแขนออกเป็นพื้นที่ด้านหน้า (anterior compartment) และด้านหลัง (posterior compartment) เป็นบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อในปลายแขน และส่งผ่านแรงจากกระดูกเรเดียส ไปยังกระดูกอัลนา ไปยังกระดูกต้นแขน (humerus).

ใหม่!!: ปลายแขนและเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Forearmแขนท่อนปลาย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »