โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกเรเดียส

ดัชนี กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

33 ความสัมพันธ์: กระดูกลูเนทกระดูกสแคฟฟอยด์กระดูกอัลนากระดูกข้อมือกระดูกต้นแขนกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุมกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิสกายวิภาคศาสตร์มือรอยเว้าอัลนาส่วนกลางของกระดูกเรเดียสส่วนหัวกระดูกเรเดียสส่วนต้นของกระดูกเรเดียสส่วนปลายของกระดูกเรเดียสสไตลอยด์ โพรเซสข้อศอกข้อต่อปริซึมปลายแขนปุ่มนูนเรเดียสแคปปิทูลัมเอ็นเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน

กระดูกลูเนท

กระดูกลูเนท หรือ กระดูกรูปเสี้ยวพระจันทร์ (Lunate bone; Semilunar bone) เป็นกระดูกในที่อยู่ภายในมือของมนุษย์ มีลักษณะเด่นคือมีความเว้าและรูปร่างเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกไตรกีตรัล (triangular bone) คำว่า ลูเนท (lunate) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า luna ที่แปลว่า ดวงจันทร.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกระดูกลูเนท · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสแคฟฟอยด์

กระดูกสแคฟฟอยด์ (Scaphoid bone) อยู่บริเวณข้อมือ พบอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ (anatomical snuff-box) ลักษณะคล้ายกับเรือ ในอดีตจึงเรียกกระดูกนี้ว่า navicular (ซึ่งปัจจุบัน navicular หมายถึงกระดูกรูปเรือที่อยู่ในกระดูกข้อเท้า) ขนาดและรูปร่างของกระดูกนี้คล้ายกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) แกนยาวของกระดูกวิ่งจากบนลงล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหน้า คำว่า สแคฟฟอยด์ (scaphoid) มาจากภาษากรีกว่า skaphe แปลว่า "เรือ" และ eidos แปลว่า "รูปร่าง".

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกระดูกสแคฟฟอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้อมือ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกข้อมือ (Carpal bones; Carpus) เป็นกลุ่มของกระดูกชิ้นเล็กๆที่เรียงตัวอยู่ระหว่างกระดูกของส่วนปลายแขนและกระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones) และเป็นกระดูกที่ประกอบกันเป็นส่วนประกอบหลักของข้อมือ (wrist) กระดูกส่วนใหญ่ของกลุ่มกระดูกข้อมือจะมีรูปร่างคล้ายลูกเต๋า โดยที่พื้นผิวทางด้านหลังมือ (dorsal surface) และฝ่ามือ (palmar surface) จะมีลักษณะขรุขระเนื่องจากมีเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น (tendon sheath) พาดผ่าน ขณะที่พื้นผิวด้านอื่นๆจะค่อนข้างเรียบเพื่อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆได้อย่างสนิท สำหรับในมนุษย์ จะมีกระดูกข้อมือจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกระดูกข้อมือที่ติดต่อกับกระดูกเรเดียส จะเรียกว่า กระดูกข้อมือแถวแรก (proximal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้น ส่วนอีกกลุ่มจะติดต่อกับกระดูกฝ่ามือ จะเรียกว่ากระดูกข้อมือแถวหลัง (distal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกระดูกข้อมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) เป็นกล้ามเนื้อกว้าง โค้งรอบด้านบน 1/3 ของกระดูกเรเดี.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator) และบางครั้งอาจรวมเข้าอยู่ด้วยกัน.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus; PQ) เป็นกล้ามเนื้อรูปสี่เหลี่ยมที่อยู่บนส่วนปลายของปลายแขน ทำหน้าที่คว่ำมือ เนื่องจากกล้ามเนื้อนี้อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของปลายแขน (anterior side of the arm) จึงถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (anterior interosseous nerve) ซึ่งเป็นแขนงของเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) และถูกเลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (interosseous artery).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) เป็นกล้ามเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณปลายแขน (forearm) ของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่คว่ำปลายแขนร่วมกับกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (pronator quadratus).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus, FPL) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน (forearm) และมือ ที่ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อนี้วางตัวอยู่ในระนาบเดียวกันกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum superficialis) หรือ เฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซับลิมิส (Flexor digitorum sublimis; FDS) เป็นกล้ามเนื้อกลุ่มงอนิ้วมือที่ข้อต่อระหว่างกระดูกนิ้วมือส่วนต้น (proximal interphalangeal joints) อยู่ที่พื้นที่ด้านหน้าปลายแขน (anterior compartment of the forearm) ในบางครั้งอาจจัดว่าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกที่สุดของกล้ามเนื้อชั้นตื้น (superficial layer) ของพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน หรืออาจจัดแยกออกไปเป็นชั้นต่างหาก เรียกว่า ชั้นตรงกลาง (intermediate layer) ของพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Extensor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน มีขนาดใหญ่กว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อบางส่วนถูกปกคลุมด้วยกล้ามเนื้ออื่น.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส โพรเพรียส (Extensor indicis; extensor indicis proprius) เป็นกล้ามเนื้อแบน ยาว อยู่ด้านใกล้กลางและทอดขนานไปกับกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (extensor pollicis longus).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum) หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม คอมมิวนิส (Extensor digitorum communis; ED) เป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นโดยเป็นเอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์อยู่ที่ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ (lateral epicondyle) ของกระดูกต้นแขน (humerus) และเกาะมาจากผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ซึ่งกั้นระหว่างกล้ามเนื้อมัดนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และเกาะมาจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus; ECRL) เป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ข้อมือ กล้ามเนื้อนี้ค่อนข้างยาวเริ่มจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) และไปยึดเกาะกับฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal) ในตอนแรกกล้ามเนื้อนี้จะวิ่งมาด้วยกันกับกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) แต่จะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อก่อน แล้ววิ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis; ECRB) เป็นกล้ามเนื้อที่หนากว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus) ที่อยู่เหนือกว.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและมือ · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าอัลนา

รอยเว้าอัลนา (Ulnar notch) หรือ แอ่งซิกมอยด์ (Sigmoid cavity) ของกระดูกเรเดียส เป็นบริเวณของกระดูกเรเดียสที่เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา มีลักษณะแคบ เว้า เรียบ และเป็นข้อต่อกับหัวกระดูกอัลนา หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและรอยเว้าอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส

วนกลางของกระดูกเรเดียส หรือ ตัวกระดูกเรเดียส (body of the radius; shaft of radius) มีลักษณะคล้ายปริซึมสามเหลี่ยมที่โค้งออกไปทางด้านข้างเล็กน้อย ด้านบนแคบกว่าด้านล่าง ประกอบด้วย 3 ขอบกระดูก และ 3 พื้นผิว.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและส่วนกลางของกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนหัวกระดูกเรเดียส

วนหัวกระดูกเรเดียส (Head of the radius) มีลักษณะเป็นทรงกระบอก พื้นผิวด้านบนเป็นถ้วยตื้นๆ หรือ โฟเวีย (fovea) สำหรับเป็นข้อต่อกับแคปปิทูลัม (capitulum) ของกระดูกต้นแขน เส้นรอบของหัวกระดูกมีลักษณะเรียบ ซึ่งด้านใกล้กลางลำตัวจะกว้างซึ่งเป็นข้อต่อกับรอยเว้าเรเดียสของกระดูกอัลนา (radial notch of the ulna) ส่วนที่เหลือจะแคบ ซึ่งโอบรอบด้วยเอ็นแอนนูลาร์ (annular ligament) จุดที่ลึกที่สุดของโฟเวียไม่ได้อยู่ในแกนสมมาตรเดียวกับแกนยาวของกระดูกเรเดียส ทำให้เกิดปรากฏการณ์เหมือนลูกเบี้ยว (cam effect) ขณะคว่ำหรือหงายปลายแขน.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและส่วนหัวกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนต้นของกระดูกเรเดียส

วนต้นของกระดูกเรเดียส ประกอบด้วยหัวกระดูก คอกระดูก และปุ่มกระดูก.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและส่วนต้นของกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส

วนปลายของกระดูกเรเดียส (distal end of the radius) เป็นส่วนของกระดูกเรเดียสที่มีขนาดใหญ่และมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและส่วนปลายของกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

สไตลอยด์ โพรเซส

ในทางกายวิภาคศาสตร์ สไตลอยด์ โพรเซส (อังกฤษ: styloid process; มาจากภาษากรีก stylos, "เสา") มักหมายถึงจุดเกาะของกล้ามเนื้อซึ่งมีลักษณะเรียวแหลมและยื่นออกมา พบในบริเวณต่างๆ ของกระดูกดังนี้.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและสไตลอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและข้อศอก · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปริซึม

ปริซึมหกเหลี่ยมปรกติ ปริซึม (prism) คือทรงหลายหน้าที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยมที่เหมือนกันและขนานกันสองหน้า และหน้าด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน พื้นที่หน้าตัดทุกตำแหน่งที่ขนานกับฐานจะเป็นรูปเดิมตลอด และปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย ปริซึมมุมฉาก (right prism) หมายความว่าเป็นปริซึมที่มีจุดมุมของรูปหลายเหลี่ยมบนฐานทั้งสองอยู่ตรงกันตามแนวดิ่ง ทำให้หน้าด้านข้างตั้งฉากกับฐานพอดีและเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทุกด้าน ส่วน ปริซึม n เหลี่ยมปกติ (n-prism) หมายถึงปริซึมที่มีรูปหลายเหลี่ยมบนฐาน เป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (ทุกด้านยาวเท่ากัน) และเมื่อปริซึมอันหนึ่งๆ สามารถเป็นได้ทั้งปริซึมมุมฉาก ปริซึม n เหลี่ยมปรกติ และขอบทุกด้านยาวเท่ากันหมด จะถือว่าปริซึมอันนั้นเป็นทรงหลายหน้ากึ่งปรกติ (semiregular polyhedron) ทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานก็ถือเป็นปริซึมสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากก็เทียบเท่ากับทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็คือทรงลูกบาศก์นั่นเอง ปริมาตรของปริซึมสามารถคำนวณได้ง่ายๆ โดยการหาพื้นที่ผิวของฐานมาหนึ่งด้าน คูณด้วยความสูงของปริซึม.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและปริซึม · ดูเพิ่มเติม »

ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มนูนเรเดียส

ปุ่มนูนเรเดียส (radial tuberosity) เป็นปุ่มนูนที่อยู่ด้านใกล้กลางลำตัว ใต้ต่อคอกระดูกเรเดียส พื้นผิวของปุ่มนี้แบ่งออกเป็น.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและปุ่มนูนเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

แคปปิทูลัม

แคปปิทูลัมของกระดูกต้นแขน (Capitulum of the humerus) เป็นส่วนด้านข้างของพื้นผิวข้อต่อของกระดูกต้นแขน มีลักษณะเป็นเนินเรียบ และกลม ส่วนนี้เป็นข้อต่อกับส่วนหัวของกระดูกเรเดียสซึ่งเป็นพื้นผิวรูปถ้วยคว่ำ เรียกว่าข้อต่อฮิวเมอโรเรเดียล (humeroradial joint).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและแคปปิทูลัม · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน

อ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน (interosseous membrane of the forearm) เป็นแผ่นเส้นใยที่เชื่อมระหว่างกระดูกเรเดียส (radius) และกระดูกอัลนา (ulna) เป็นโครงสร้างหลักของข้อต่อชนิดแผ่นเยื่อคั่นเรดิโออัลนา (radio-ulnar syndesmosis) ซึ่งเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกทั้งสองชิ้นนี้ เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขนแบ่งพื้นที่ของปลายแขนออกเป็นพื้นที่ด้านหน้า (anterior compartment) และด้านหลัง (posterior compartment) เป็นบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อในปลายแขน และส่งผ่านแรงจากกระดูกเรเดียส ไปยังกระดูกอัลนา ไปยังกระดูกต้นแขน (humerus).

ใหม่!!: กระดูกเรเดียสและเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Radius (bone)กระดูกปลายแขนท่อนนอกกระดูกแขนท่อนนอก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »