โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ข้อศอก

ดัชนี ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

31 ความสัมพันธ์: กระดูกกระดูกอัลนากระดูกต้นแขนกระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์กล้ามเนื้อแอนโคเนียสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสมือรอยเว้าอัลนารอยเว้าเรเดียสรอยเว้าเซมิลูนาร์หลอดเลือดหลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงอัลนาหลอดเลือดแดงเรเดียลข้อต่อปลายแขนปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนแอ่งโอเลครานอนแอ่งโคโรนอยด์แอ่งเรเดียสแคปปิทูลัมโอเลครานอน โพรเซสโทรเคลียร์โคโรนอยด์ โพรเซสเส้นประสาทเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียสเส้นประสาทมีเดียนเอ็น

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: ข้อศอกและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: ข้อศอกและกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: ข้อศอกและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: ข้อศอกและกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: ข้อศอกและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) เป็นกล้ามเนื้อกว้าง โค้งรอบด้านบน 1/3 ของกระดูกเรเดี.

ใหม่!!: ข้อศอกและกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอนโคเนียส

กล้ามเนื้อแอนโคเนียส (anconeus muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กที่อยู่ด้านหลังของข้อศอก บางตำรารวมให้กล้ามเนื้อแอนโคเนียสต่อเนื่องจากกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii muscle) ในตำราบางเล่มกล่าวว่ากล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ด้านหลังต้นแขน (posterior compartment of the arm) แต่บางตำราจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ด้านหลังปลายแขน (posterior compartment of the forearm) กล้ามเนื้อนี้สามารถคลำได้ โดยอยู่ด้านข้างต่อโอเลครานอน โพรเซส (olecranon process) ของกระดูกอัลน.

ใหม่!!: ข้อศอกและกล้ามเนื้อแอนโคเนียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle; FCU) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอ (flex) และหุบ (adduct) มือ.

ใหม่!!: ข้อศอกและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: ข้อศอกและมือ · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าอัลนา

รอยเว้าอัลนา (Ulnar notch) หรือ แอ่งซิกมอยด์ (Sigmoid cavity) ของกระดูกเรเดียส เป็นบริเวณของกระดูกเรเดียสที่เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา มีลักษณะแคบ เว้า เรียบ และเป็นข้อต่อกับหัวกระดูกอัลนา หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: ข้อศอกและรอยเว้าอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าเรเดียส

รอยเว้าเรเดียส (radial notch, lesser sigmoid cavity; ละติน: incisura radialis) เป็นรอยเว้าแคบๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่ทางด้านข้างของโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) ซึ่งจะรับกับส่วนต้นของกระดูกเรเดียสเพื่อประกอบเป็นข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนต้น (Proximal radioulnar joint) ซึ่งเกี่ยวข้องการการพลิกและการหมุนของปลายแขน รอยเว้านี้มีลักษณะเว้าจากด้านหน้าไปด้านหลัง และมีส่วนยื่นซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นแอนนูลาร์ (annular ligament).

ใหม่!!: ข้อศอกและรอยเว้าเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าเซมิลูนาร์

รอยเว้าเซมิลูนาร์ หรือ รอยเว้าโทรเคลียร์ (Semilunar notch, Trochlear notch, Greater sigmoid cavity; ละติน: incisura semilunaris) เป็นรอยเว้าขนาดใหญ่บนกระดูกอัลนา เกิดจากโอเลครานอน โพรเซส (olecranon) และโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) และทำหน้าที่เป็นบริเวณรองรับกับโทรเคลียร์ (trochlea) ของปลายกระดูกต้นแขน ประมาณตรงกลางของรอยเว้านี้เป็นรอยขรุขระแบบฟันเลื่อยซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อของโอเลครานอนและโคโรนอยด์ โพรเซส รอยเว้านี้เว้าในแนวบนลงล่าง และแบ่งออกเป็นส่วนใกล้กลางและส่วนด้านข้างโดยสันตื้นซึ่งวิ่งจากยอดของโอเลครานอนไปยังยอดของโคโรนอยด์ โพรเซส โดยส่วนใกล้กลางจะมีขนาดใหญ่กว่าและค่อนข้างเว้าในแนวขวาง และส่วนด้านข้างจะนูนในด้านบนและค่อนข้างเว้าในด้านล่าง.

ใหม่!!: ข้อศอกและรอยเว้าเซมิลูนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: ข้อศอกและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดง

หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่มีชั้นกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงทุกเส้นขนส่งเลือดที่มีออกซิเจน ยกเว้นหลอดเลือดแดงสู่ปอด (pulmonary artery) และหลอดเลือดแดงอัมบิลิคัล (umbilical artery) ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต หน้าที่โดยทั่วไปของระบบนี้คือการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ รวมทั้งขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียออกจากเนื้อเยื่อ รักษา pH ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต รวมถึงการขนส่งสาร โปรตีนอาทิฮีโมโกลบิน และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุของการเสียชีวิต 2 อันดับแรกคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นผลมาจากความผิดปกติของการไหลของเลือดซึ่งเสื่อมสภาพไปตามอายุ (ดูเพิ่มที่ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง) หมวดหมู่:ระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: ข้อศอกและหลอดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงอัลนา

หลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)เป็ยเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปยังแขน ไปสิ้นสุดยังฝ่ามือ ซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงที่เรียงตัวเป็นรัศมี สามารถเห็นได้ชัดที่ข้อมือ มีเส้นเลือดดำชื่อเดียวกันนี้เรียกหลอดเลือดดำอัลน.

ใหม่!!: ข้อศอกและหลอดเลือดแดงอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงเรเดียล

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) เป็นหลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนมากมายังด้านข้าง (lateral) ของปลายแขน.

ใหม่!!: ข้อศอกและหลอดเลือดแดงเรเดียล · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: ข้อศอกและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

ใหม่!!: ข้อศอกและปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน มีขนาดใหญ่กว่าและยื่นออกมามากกว่าปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ ยื่นไปทางด้านหลังเล็กน้อย ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มเวนทรัล อีพิคอนไดล์ (ventral epicondyle of the humerus) ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ของข้อศอก, กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres), และจุดเกาะต้นของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกลุ่มกล้ามเนื้องอของปลายแขน (เอ็นคอมมอนเฟล็กเซอร์ (common flexor tendon)) เส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) วิ่งอยู่ในร่องที่อยู่ด้านหลังของปุ่มกระดูกนี้ ถ้ามีกระดูกหักบริเวณมีเดียล อีพิคอนไดล์จะทำให้มีอันตรายต่อเส้นประสาทอัลน.

ใหม่!!: ข้อศอกและปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (Lateral epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกขนาดเล็ก โค้งเล็กน้อยทางด้านหน้า เป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (radial collateral ligament) ของข้อศอก และจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) และกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียดนิ้วบางมัด ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มดอร์ซัล อีพิคอนไดล์ (dorsal epicondyle of the humerus).

ใหม่!!: ข้อศอกและปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งโอเลครานอน

แอ่งโอเลครานอน (Olecranon fossa) เป็นแอ่งลึกรูปสามเหลี่ยมบนด้านหลังของกระดูกต้นแขน (humerus) อยู่เหนือด้านหลังของโทรเคลียร์ (trochlea) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับยอดของโอเลครานอน โพรเซส (olecranon) เมื่ออยู่ในท่าเหยียดปลายแขน.

ใหม่!!: ข้อศอกและแอ่งโอเลครานอน · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งโคโรนอยด์

แอ่งโคโรนอยด์ (Coronoid fossa) เป็นแอ่งขนาดเล็กบนด้านหน้าของกระดูกต้นแขน อยู่เหนือด้านหน้าของโทรเคลียร์ (trochlea) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) ของกระดูกอัลนา (ulna) เมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน.

ใหม่!!: ข้อศอกและแอ่งโคโรนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งเรเดียส

แอ่งเรเดียส (Radial fossa) เป็นแอ่งตื้นๆ บนด้านหน้ากระดูกต้นแขน (humerus) อยู่เหนือด้านหน้าของแคปปิทูลัม (capitulum) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับขอบเขตด้านหน้า (anterior border) ของหัวกระดูกเรเดียสเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน.

ใหม่!!: ข้อศอกและแอ่งเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

แคปปิทูลัม

แคปปิทูลัมของกระดูกต้นแขน (Capitulum of the humerus) เป็นส่วนด้านข้างของพื้นผิวข้อต่อของกระดูกต้นแขน มีลักษณะเป็นเนินเรียบ และกลม ส่วนนี้เป็นข้อต่อกับส่วนหัวของกระดูกเรเดียสซึ่งเป็นพื้นผิวรูปถ้วยคว่ำ เรียกว่าข้อต่อฮิวเมอโรเรเดียล (humeroradial joint).

ใหม่!!: ข้อศอกและแคปปิทูลัม · ดูเพิ่มเติม »

โอเลครานอน โพรเซส

อเลครานอน (Olecranon) หรือ โอเลครานอน โพรเซส (Olecranon process) หรือ ปุ่มปลายศอก หรือ ยอดศอก เป็นส่วนยื่นที่มีลักษณะโค้ง ขนาดใหญ่และหนา ตั้งอยู่ที่ด้านบนและด้านหลังของกระดูกอัลนา ที่ยอดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเป็นจะงอยรับเข้ากับแอ่งโอเลครานอน (olecranon fossa) ของกระดูกต้นแขนเมื่อปลายแขนอยู่ในท่าเหยียดตรง ส่วนฐานของโอเลครานอน โพรเซสเป็นคอคอดเชื่อมกับส่วนกลางของกระดูกอัลนา นับว่าเป็นส่วนคอดที่สุดของปลายบนของกระดูกอัลนา พื้นผิวด้านหลังของโอเลครานอน โพรเซสชี้ไปทางด้านหลัง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบ อยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) และถูกปกคลุมด้วยถุงลดเสียดสี (bursa) พื้นผิวด้านบนมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านหลังมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ส่วนด้านหน้าใกล้กับขอบกระดูกมีร่องตื้นๆ ในแนวขวางซึ่งเป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นด้านหลังของข้อศอก พื้นผิวด้านหน้ามีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนบนของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) ขอบของโอเลครานอน โพรเซสเป็นส่วนต่อของร่องบนขอบของพื้นผิวด้านบนซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ข้อศอกและโอเลครานอน โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

โทรเคลียร์

ริเวณตรงกลางของพื้นผิวข้อต่อของกระดูกต้นแขน (humerus) เรียกว่า โทรเคลียร์ (Trochlea) มีลักษณะเป็นร่องลึกระหว่างขอบยกทั้งสอง มีลักษณะนูนในแนวหน้า-หลัง และเว้าในแนวข้าง และกินพื้นที่ด้านหน้า ด้านล่าง และด้านหลังของส่วนปลายกระดูกต้นแขน (lower extremity of humerus) ส่วนนี้เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา (ulna).

ใหม่!!: ข้อศอกและโทรเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนอยด์ โพรเซส

รนอยด์ โพรเซส (Coronoid process; ละติน: processus coronoideus) เป็นสันนูนรูปสามเหลี่ยมชี้ไปทางด้านหน้า อยู่บริเวณด้านบนและด้านหน้าของกระดูกอัลนา ฐานของโคโรนอยด์ โพรเซสต่อเนื่องกับส่วนกลางของกระดูกอัลนาและมีความแข็งแรงมาก ยอดมีลักษณะแหลมค่อนข้างโค้งไปทางด้านบน และเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน ส่วนของโคโรนอยด์ โพรเซสนี้จะรับกับแอ่งโคโรนอยด์ (coronoid fossa) ของกระดูกต้นแขน พื้นผิวด้านบนของโคโรนอยด์ โพรเซสมีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนล่างของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) พื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างมีลักษณะเว้า และมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis) ที่รอยต่อของพื้นผิวด้านนี้และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนาเป็นส่วนยื่นขรุขระ เรียกว่า ปุ่มนูนอัลนา (tuberosity of the ulna) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลนา พื้นผิวด้านข้างมีลักษณะคอด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรอยเว้าซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า รอยเว้าเรเดียส (radial notch) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นขอบอิสระซึ่งให้เป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ส่วนหน้าของพื้นผิวด้านนี้เป็นส่วนยื่นรูปกลมขนาดเล็กซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum sublimis) ด้านหลังของส่วนยื่นเป็นรอยเว้าสำหรับส่วนของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus) ส่วนล่างของส่วนยื่นนี้เป็นสันซึ่งให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) บ่อยครั้งที่จะพบใยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus) เกาะกับส่วนล่างของโคโรนอยด์ โพรเซ.

ใหม่!!: ข้อศอกและโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาท

'''เส้นประสาท'''ของรยางค์บน แทนด้วยสีเหลือง เส้นประสาท หรือ ประสาท เป็นโครงสร้างในร่างกายที่มีลักษณะเป็นมัดของเส้นใยของเนื้อเยื่อประสาทที่เชื่อมระหว่างอวัยวะในระบบประสาทกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาท เส้นประสาทประกอบด้วยกลุ่มของแอกซอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงสร้างยาวที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามเส้นประสาทไม่ได้ประกอบขึ้นจากตัวเซลล์ประสาท แต่ประกอบขึ้นจากแอกซอนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท และในเส้นประสาทก็มีเซลล์เกลียซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอะเมซอน.

ใหม่!!: ข้อศอกและเส้นประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส

เส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส (Musculocutaneous nerve) เป็นเส้นประสาทที่มีต้นกำเนิดมาจาก lateral cord ของร่างแหประสาทแขน (brachial plexus) อยู่ตรงกล้ามกับขอบล่างของ กล้ามเนื้อเพคเทอรัลลิส ไมเนอร์ (pectoralis minor) มีใยประสาทที่มีต้นกำเนิดมาจาก เส้นประสาทคอ (cervical nerve) เส้นที่ห้า หก และเจ็ด หมวดหมู่:เส้นประสาท.

ใหม่!!: ข้อศอกและเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทมีเดียน

เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เป็นเส้นประสาทที่วิ่งลงมาตามแขนและปลายแขน นับเป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่มีต้นกำเนิดมาจากร่างแหประสาทแขน (brachial plexus) เส้นประสาทมีเดียนเกิดจากแลทเทอรัล คอร์ด lateral cord) และมีเดียล คอร์ด (medial cord) ของร่างแหประสาทแขน และต่อเนื่องลงมาตามแขนและเข้าสู่ปลายแขนร่วมกับหลอดเลือดแดงแขน (brachial artery) เส้นประสาทมีเดียนเป็นเส้นประสาทเพียงเส้นเดียวที่ผ่านเข้าในคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) ซึ่งอาจถูกกดได้ในกลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel syndrome) ส้เนประสาทมีเดียน ส้เนประสาทมีเดียน.

ใหม่!!: ข้อศอกและเส้นประสาทมีเดียน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ข้อศอกและเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ElbowElbow jointศอก (อวัยวะ)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »