สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: กระดูกพิสิฟอร์มกระดูกฝ่ามือกระดูกอัลนากระดูกฮาเมตกระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสมนุษย์หลอดเลือดแดงอัลนาปลายแขนปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขนโอเลครานอน โพรเซสเอ็น
- กล้ามเนื้อของรยางค์บน
- ปลายแขน
กระดูกพิสิฟอร์ม
กระดูกพิสิฟอร์ม (Pisiform bone) หรือ กระดูกเลนติฟอร์ม (Lentiform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือ มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือแถวต้น อยู่บริเวณที่กระดูกอัลนา (ulna) เชื่อมกับกระดูกข้อมือ กระดูกนี้เกิดข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล (triquetral) เท่านั้น กระดูกพิสิฟอร์มจัดเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) รากศัพท์ของชื่อ พิสิฟอร์ม (pisiform) มาจากภาษาละตินว่า pīsum แปลว่า ถั่วลันเตา (pea).
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกระดูกพิสิฟอร์ม
กระดูกฝ่ามือ
กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกระดูกฝ่ามือ
กระดูกอัลนา
ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกระดูกอัลนา
กระดูกฮาเมต
กระดูกฮาเมต (hamate bone or unciform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายลิ่ม และทีส่วนยื่นของกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายตะขอออกมาจากพื้นผิวด้านฝ่ามือ กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวหลังที่วางตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านนิ้วก้อย) ซึ่งมีฐานอยู่ด้านล่างติดกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 และ 5 ส่วนยอดชี้ขึ้นด้านบนและไปทางด้านข้างลำตัว รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษาละติน hamus แปลว่า ตะขอ.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกระดูกฮาเมต
กระดูกเรเดียส
ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกระดูกเรเดียส
กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส
กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (palmaris longus) เป็นกล้ามเนื้อเล็กๆ ของปลายแขน ที่เห็นเอ็นกล้ามเนื้อเล็กๆ อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (flexor carpi radialis) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris) ในบางครั้งอาจไม่พบกล้ามเนื้อนี้ก็ได้ กล้ามเนื้อนี้ลักษณะผอม เรียงเป็นรูปกระสวย ทอดตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (medial side) ของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นที่ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) โดยเอ็นกล้ามเนื้อคอมมอนเฟลกเซอร์ (common flexor tendon), จากผนังกั้นระหว่างกล้ามเนื้อ (intermuscular septum) ที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia) ปลายของกล้ามเนื้อนี้มีลักาณะผอม เป็นเอ็นแบนๆ ซึ่งผ่านเหนือส่วนบนของเฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมของมือ (flexor retinaculum) และเข้าเกาะปลายที่ส่วนกลางของ เฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมและส่วนล่างของเอ็นแผ่ฝ่ามือ (palmar aponeurosis) บางครั้งอาจส่งแผ่นเอ็นกล้ามเนื้อเข้าไปยังกล้ามเนื้อสั้นของนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อนี้สามารถคลำได้จากผิวหนังโดยการงอนิ้วโป้งและนิ้วก้อยเป็นอุ้งมือแล้วงอข้อมือ จะเห็นเอ็นกล้ามเนื้อนี้ (ถ้ามี) ชัดเจนอยูที่ข้อมือ.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส
กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
ในทางกายวิภาคศาสตร์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (Flexor carpi radialis muscle; FCR) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอและกางมือออก.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Extensor carpi ulnaris; ECU) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่เหยียด (extend) และหุบ (adduct) ข้อมือ อยู่บริเวณพื้นที่ด้านหลังของปลายแขน (posterior side of the forearm).
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
มนุษย์
มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและมนุษย์
หลอดเลือดแดงอัลนา
หลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)เป็ยเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปยังแขน ไปสิ้นสุดยังฝ่ามือ ซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงที่เรียงตัวเป็นรัศมี สามารถเห็นได้ชัดที่ข้อมือ มีเส้นเลือดดำชื่อเดียวกันนี้เรียกหลอดเลือดดำอัลน.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและหลอดเลือดแดงอัลนา
ปลายแขน
ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและปลายแขน
ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน
ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน มีขนาดใหญ่กว่าและยื่นออกมามากกว่าปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ ยื่นไปทางด้านหลังเล็กน้อย ในสัตว์จำพวกนกซึ่งรยางค์มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการหมุนเมื่อเทียบกับสัตว์สี่เท้าชนิดอื่นๆ ปุ่มนี้จะเรียกว่า ปุ่มเวนทรัล อีพิคอนไดล์ (ventral epicondyle of the humerus) ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ของข้อศอก, กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres), และจุดเกาะต้นของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมของกลุ่มกล้ามเนื้องอของปลายแขน (เอ็นคอมมอนเฟล็กเซอร์ (common flexor tendon)) เส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) วิ่งอยู่ในร่องที่อยู่ด้านหลังของปุ่มกระดูกนี้ ถ้ามีกระดูกหักบริเวณมีเดียล อีพิคอนไดล์จะทำให้มีอันตรายต่อเส้นประสาทอัลน.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน
โอเลครานอน โพรเซส
อเลครานอน (Olecranon) หรือ โอเลครานอน โพรเซส (Olecranon process) หรือ ปุ่มปลายศอก หรือ ยอดศอก เป็นส่วนยื่นที่มีลักษณะโค้ง ขนาดใหญ่และหนา ตั้งอยู่ที่ด้านบนและด้านหลังของกระดูกอัลนา ที่ยอดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเป็นจะงอยรับเข้ากับแอ่งโอเลครานอน (olecranon fossa) ของกระดูกต้นแขนเมื่อปลายแขนอยู่ในท่าเหยียดตรง ส่วนฐานของโอเลครานอน โพรเซสเป็นคอคอดเชื่อมกับส่วนกลางของกระดูกอัลนา นับว่าเป็นส่วนคอดที่สุดของปลายบนของกระดูกอัลนา พื้นผิวด้านหลังของโอเลครานอน โพรเซสชี้ไปทางด้านหลัง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบ อยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) และถูกปกคลุมด้วยถุงลดเสียดสี (bursa) พื้นผิวด้านบนมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านหลังมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ส่วนด้านหน้าใกล้กับขอบกระดูกมีร่องตื้นๆ ในแนวขวางซึ่งเป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นด้านหลังของข้อศอก พื้นผิวด้านหน้ามีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนบนของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) ขอบของโอเลครานอน โพรเซสเป็นส่วนต่อของร่องบนขอบของพื้นผิวด้านบนซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ ดังนี้.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและโอเลครานอน โพรเซส
เอ็น
อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.
ดู กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสและเอ็น
ดูเพิ่มเติม
กล้ามเนื้อของรยางค์บน
- กล้ามเนื้อกลุ่มโมบายล์ แวด
- กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส
- กล้ามเนื้อทราพีเซียส
- กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส
- กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
- กล้ามเนื้อเดลทอยด์
- กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส
- กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส
- กล้ามเนื้อแอนโคเนียส
- กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส
- กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส
- กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส
- กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ
ปลายแขน
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
- กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส
- ปลายแขน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Flexor carpi ulnarisFlexor carpi ulnaris muscle