โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เวลา

ดัชนี เวลา

ำหรับนวนิยายซีไรต์ดูที่ เวลา (นวนิยาย) นาฬิกาพก เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเวลา เวลา ในมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของไอแซก นิวตัน อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของอิมมานูเอล คานต์ และกอตฟรีด ไลบ์นิซ บางที มุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่ จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติ ความหมายของการดำเนินงาน หรือ(operational definition) ซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เวลา เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศิลปศาสตร์ แต่ละสาขาก็มีมุมมองต่าง ๆ กันไป เช่น ในวิชาเศรษฐศาสตร์ อาจมองว่า "เวลาเป็นเงินทอง" ("Time is money.") เป็นต้น.

55 ความสัมพันธ์: ชั่วโมงชาวกรีกชาวโปรตุเกสพื้นที่กลางวันกลางคืนกอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซมิลลิวินาทีระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศรางวัลซีไรต์ลองจิจูดละติจูดวันวิทยาศาสตร์วินาทีศิลปศาสตร์ศตวรรษสหัสวรรษสัปดาห์สปริงอิมมานูเอล คานต์อธิกวินาทีจักรวาลธูปทศวรรษดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดิถีซูเมอร์ประเทศอิตาลีประเทศอียิปต์ปรัชญาปักษ์ปีปีปฏิทินนาฬิกาอะตอมนาฬิกาทรายนาฬิกาน้ำนาฬิกาแดดนาทีโครโนมิเตอร์ไฟฟ้าไอแซก นิวตันเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันเพลโตเลข (แก้ความกำกวม)เวลา (นวนิยาย)เวลามาตรฐานกรีนิชเวลาออมแสง...เศรษฐศาสตร์เอ็นทีพีเฮราคลิตุสเทียนเดือน ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ใหม่!!: เวลาและชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกรีก

วกรีก (Έλληνες) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกระจายที่กรีซ, ไซปรัส, อานาโตเลียตะวันตก, อิตาลีใต้ และอีกหลายภูม.

ใหม่!!: เวลาและชาวกรีก · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโปรตุเกส

วโปรตุเกส (os portugueses; Portuguese people) คือชนชาติและกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศโปรตุเกส ทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตอนใต้-ตะวันตกของทวีปยุโรป ใช้ภาษาโปรตุเกส โดยมากนับถือโรมันคาทอลิก จากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสและการล่าอาณานิคมในแอฟริกา เอเชีย และทวีปอเมริกา เช่นเดียวกับการอพยพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้มีสังคมชาวโปรตุเกสในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก.

ใหม่!!: เวลาและชาวโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่

ื้นที่โดยรวมของรูปร่างทั้งสามรูปเท่ากับประมาณ 15.56 ตารางหน่วย พื้นที่ คือ ปริมาณของพื้นผิวหรือรูปร่างสองมิติ ที่แสดงถึงขอบเขตเนื้อที่ในแนวแผ่นระนาบ พื้นที่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นจำนวนวัสดุที่หนาขนาดหนึ่งเท่าที่จำเป็นที่จะประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง หรือปริมาณสีทาเท่าที่จำเป็นที่จะทาผิวหน้าในครั้งเดียว พื้นที่เป็นมโนทัศน์ในสองมิติที่คล้ายคลึงกับความยาวของเส้นโค้งในหนึ่งมิติ หรือปริมาตรของทรงตันในสามมิติ พื้นที่ของรูปร่างสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดตายตัวขนาดหนึ่ง หน่วยมาตรฐานของพื้นที่ในหน่วยเอสไอคือ ตารางเมตร (m2) ซึ่งเป็นพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาวด้านละหนึ่งเมตร Bureau International des Poids et Mesures, retrieved 15 July 2012 รูปร่างที่มีพื้นที่เท่ากับสามตารางเมตร จะเหมือนกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเช่นนั้นสามรูป ในทางคณิตศาสตร์ หน่วยตารางหน่วยถูกนิยามขึ้นให้มีพื้นที่เท่ากับ "หนึ่ง" และพื้นที่ของรูปร่างหรือพื้นผิวอื่น ๆ ก็จะเป็นจำนวนจริงไร้มิติจำนวนหนึ่ง สูตรคำนวณหาพื้นที่ของรูปร่างพื้นฐานหลายสูตรเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปวงกลม เป็นต้น จากการใช้สูตรเหล่านี้ พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยมใด ๆ สามารถหาได้จากการแบ่งรูปหลายเหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปร่างที่มีขอบเขตเป็นเส้นโค้งมักจะคำนวณพื้นที่ได้ด้วยแคลคูลัส (calculus) สำหรับรูปร่างทรงตันอย่างเช่นทรงกลม ทรงกรวย หรือทรงกระบอก พื้นที่บนผิวรอบนอกของรูปทรงเหล่านี้เรียกว่า พื้นที่ผิว สูตรคำนวณพื้นที่ผิวของรูปทรงพื้นฐานต่าง ๆ สามารถหาได้ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่การหาพื้นที่ผิวของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต้องใช้แคลคูลัสหลายตัวแปร (multivariable calculus).

ใหม่!!: เวลาและพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

กลางวัน

วลา 13:00 UTC ของวันที่ 2 เมษายน กลางวันคือพื้นที่สว่างในภาพ กลางวัน (Daytime) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์ได้ฉายลงบนพื้นผิวโลก หรือเท่ากับช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก เมื่อโลกหมุนไปตำแหน่งของกลางวันก็จะเปลี่ยนไป ความยาวนานของกลางวันขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนโลกและความเอียงของแกนโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนด้านที่แสงอาทิตย์ไม่ได้ฉายลงบนโลกเรียกว่ากลางคืน ทำนองเดียวกับดาวเคราะห์อื่นๆ กลางวันคือช่วงเวลาที่พื้นผิวของดาวเคราะห์นั้นได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตนเอง.

ใหม่!!: เวลาและกลางวัน · ดูเพิ่มเติม »

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

ใหม่!!: เวลาและกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ

กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิซ (Gottfried Wilhelm von Leibniz) (1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 (พ.ศ. 2189) ในเมืองไลพ์ซิจ ประเทศเยอรมนี 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1646 - 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1716 (พ.ศ. 2259)) เป็นนักปรัชญา, นักวิทยาศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, นักการทูต, บรรณารักษ์ และ นักกฎหมาย ชาวเยอรมันเชื้อสายเซิบ เขาเป็นคนที่เริ่มใช้คำว่า "ฟังก์ชัน" สำหรับอธิบายปริมาณที่เกี่ยวกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบางจุดของเส้นโค้งดังกล่าว ไลบ์นิซและนิวตันได้รับการยกย่องร่วมกันว่าเป็นผู้เริ่มพัฒนาแคลคูลัส โดยเฉพาะส่วนของไลบ์นิซในการพัฒนาปริพันธ์และกฎผลคูณ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2189 หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: เวลาและกอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิวินาที

มิลลิวินาที (ตัวย่อ: ms) เป็นหนึ่งในหนึ่งพันของวินาที 10 มิลลิวินาที (หนึ่งในร้อยของวินาที) เรียกว่า เซนติวินาที 100 มิลลิวินาที (หนึ่งในสิบของวินาที) เรียกว่า เดชิวินาที ในหนึ่งวันมี 86,400,000 (24×60×60×1000) มิลลิวินาทีในหนึ่งวัน.

ใหม่!!: เวลาและมิลลิวินาที · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

วาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450 เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เรียกย่อว่า จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือรู้จักในชื่อ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก (์Global Navigation Satellite System: GNSS) เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้.

ใหม่!!: เวลาและระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ

ลบีเรีย, พม่า และ สหรัฐอเมริกา ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (International System of Units; Système international d'unités: SI.) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในโลกทั้งในชีวิตประจำวันและทางวิทยาศาสตร์ ระบบเมตริกแต่เดิมนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม โดยระบบเอสไอได้รับการพัฒนามาจากระบบหน่วยเมตร-กิโลกรัม-วินาที (meter-kilogram-second: MKS) ในปี 1960 และได้ปรับเปลี่ยนนิยามรวมถึงเพิ่มลดหน่วยฐานเอสไอมาตลอดตามการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการวัด เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงในการวัดมากขึ้น ระบบเอสไอเป็นระบบที่ใช้กันเกือบทั้งโลก มีเพียงสามประเทศที่ยังไม่ใช้หน่วยเอสไอเป็นมาตรฐานของหน่วยวัด ได้แก่ ไลบีเรีย พม่า และ สหรัฐอเมริกา แม้ในอังกฤษเองได้ยอมรับให้ใช้ระบบเอสไออย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่สามารถทดแทนระบบดั้งเดิมได้ทั้งหม.

ใหม่!!: เวลาและระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลซีไรต์

ัญลักษณ์ของรางวัลซีไรต์ รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: เวลาและรางวัลซีไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

ใหม่!!: เวลาและลองจิจูด · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: เวลาและละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: เวลาและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: เวลาและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: เวลาและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปศาสตร์

ลปศาสตร์ทั้ง 7 – ภาพจาก Hortus deliciarum ของ Herrad von Landsberg (คริสต์ศตวรรษที่ 12) ศิลปศาสตร์ (Liberal arts) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษาเชิงปัญญา มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต (ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไตรศิลปศาสตร์ (trivium) และ จตุรศิลปศาสตร์ (quadrivium) การศึกษาในกลุ่ม ไตรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ ตรรกศาสตร์ และวาทศาสตร์ (rhetoric) ส่วนการศึกษากลุ่ม จตุรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ เลขคณิต เรขาคณิต ดนตรี และดาราศาสตร์) ศิลปศาสตร์นั้นถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยสมัยกลาง คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง) ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts) ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะและความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง.

ใหม่!!: เวลาและศิลปศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษ

ตวรรษ (จากภาษาสันสกฤต ศต (หนึ่งร้อย) และ วรรษ (ปี) หมายถึงช่วงเวลาติดต่อกัน 100 ปี ในทุกระบบวันที่ ศตวรรษจะถูกกำหนดให้เป็นตัวเลขแบบมีลำดับ ดังนั้น เราจะกล่าวถึง "ศตวรรษที่สอง" แต่ไม่กล่าวว่า "ศตวรรษสอง" ยังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่มากว่าจะนับปีหลักพัน (เช่น ปี 2000) ว่าเป็นปีแรกหรือปีสุดท้ายของศตวรรษ ความสับสนนี้มีหลักฐานปรากฏทุก ๆ ปี หลังจากปีคริสต์ศักราช 1500 และยิ่งเป็นสิ่งที่สับสนยิ่งขึ้นเมื่อมียุโรปได้มีการนำเลขอารบิกและแนวคิดของศูนย์เข้ามาใช้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศตวรรษมีทั้งคริสต์ศตวรรษและพุทธศตวรรษ.

ใหม่!!: เวลาและศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

สหัสวรรษ

หัสวรรษ(Millennium) เป็นช่วงของเวลาเท่ากับหนึ่งพันปี คำว่า millennium ในภาษาอังกฤษนั้น มาจากคำภาษาละติน mille แปลว่า พัน และ annus ซึ่งแปลว่าปี มักใช้แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เกี่ยวข้องเชิงตัวเลขกับระบบการนับวันโดยเฉพาะ เช่น สหัสวรรษอาจเริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: เวลาและสหัสวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

สัปดาห์

ัปดาห์ เป็นหน่วยวัดเวลาเท่ากับเจ็ดวัน เป็นหน่วยเล็กกว่าเดือน อย่างไรก็ดี บางครั้งคำว่า "สัปดาห์" นี้ยังหมายถึงหน่วยวัดเวลาอื่นซึ่งน้อยหรือมากกว่าเจ็ด โดยในประวัติศาสตร์ สัปดาห์หนึ่งยาวสี่ถึงสิบวันในที่ต่าง ๆ กัน หลักฐานการนับว่าสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันอย่างต่อเนื่องมานั้นปรากฏในหมู่ชาวยิวระหว่างการคุมขังที่บาบิโลน (Babylonian Captivity) ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ทั้งศาสนายูดาย (ตามบรรยายการสรรค์สร้างในโทราห์/ไบเบิล) และบาบิโลนโบราณใช้สัปดาห์เจ็ดวัน วัฒนธรรมอื่นได้รับเอาสัปดาห์เจ็ดวันไปในเวลาแตกต่างกัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 3 จักรวรรดิโรมันค่อย ๆ แทนที่ปฏิทินโรมันซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีแปดวันด้วยสัปดาห์เจ็ดวัน ชาวฮินดูอาจรับสัปดาห์เจ็ดวันก่อนศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าชาวจีนบางกลุ่มได้ใช้สัปดาห์เจ็ดวันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4.

ใหม่!!: เวลาและสัปดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สปริง

ปริง คือ ขดสปริง หมายถึง Coil Spring เป็นขดลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดต่างๆ ขดเป็นวง รูปทรงกระบอก โดยทั่วไปหมายถึงการยืดหด ยุบ หรือขยายตัว ของอุปกรณ์ เรียกว่า สปริง เช่น การสปริงของยางยืด (Rubber Spring) เป็นต้น ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า สปริงหมายถึง สิ่งที่ยืดหรือหดแล้วคืนตัวได้เอง (อ. spring) สปริงมีหลายประเภท หลายรูปแบบ ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก.

ใหม่!!: เวลาและสปริง · ดูเพิ่มเติม »

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เวลาและอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

อธิกวินาที

อธิกวินาที (leap second) คือ วินาทีที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาสุริยะ (UT1) โดยเฉลี่ย เนื่องด้วยการประกาศเวลามาตรฐานมีพื้นฐานอยู่บนเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) ซึ่งรักษาไว้ด้วยนาฬิกาอะตอมที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง แต่เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว ปริมาณน้ำในมหาสมุทร ทำให้อัตราการหมุนของโลกช้าลงหรือเร็วขึ้น ถึงแม้จะเล็กน้อยแต่ก็อาจทำให้เวลาทั้งสองเกิดความแตกต่าง จึงต้องมีการปรับเวลาให้ใกล้เคียงกัน การปรับอธิกวินาทีปัจจุบันควบคุมโดย International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) ซึ่งก่อนหน้านั้นควบคุมโดย Bureau International de l'Heure (BIH) จนถึง 1 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) การปรับอธิกวินาทีจะกระทำเมื่อ UT1 แตกต่างจาก UTC เกิน ±0.9 วินาที และจะถูกกำหนดให้เพิ่มหรือลดเมื่อสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม โดยจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป (ถึงแม้ว่าอธิกวินาทีสามารถเพิ่มหรือลดในวันไหนก็ได้) ซึ่งจะทำให้นาทีสุดท้ายของวันดังกล่าวเกินมาหรือขาดไป 1 วินาทีตามทฤษฎี อย่างไรก็ตามการปรับอธิกวินาทีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต มีเพียงการเพิ่มเวลาเข้าไปอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เวลา 23:59:60 ปรากฏขึ้น ก่อนที่จะเป็น 0:00:00 ในวินาทีถัดไป และจะเกิดพร้อมกันทั่วโลก (เช่นประเทศไทยจะปรากฏเป็นเวลา 6:59:60) การปรับอธิกวินาทีเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) และครั้งล่าสุดเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) กราฟแสดงความแตกต่างระหว่าง UT1 กับ UTC ส่วนที่ตั้งชันคืออธิกวินาที.

ใหม่!!: เวลาและอธิกวินาที · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาล

การแกะลายแบบ Flammarion, กรุงปารีส ค.ศ. 1888 จักรวาล (cosmos) คือ เอกภพซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อนและเป็นระบบระเบียบ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความยุ่งเหยิง (chaos) นักปรัชญา พีทาโกรัส ใช้คำว่า จักรวาล (cosmos) เพื่อกล่าวถึงความเป็นระเบียบของเอกภพ ทว่าคำนี้ไม่ถูกใช้ในภาษาสมัยใหม่จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภูมิศาสตร์ อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ได้นำคำนี้จากกรีกโบราณกลับมาใช้อีกครั้ง ในชุดหนังสือของเขา Kosmos ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองสมัยใหม่องค์รวม ที่มองเอกภพเป็นสิ่งสิ่งเดียวซึ่งปฏิสัมพันธ์กัน.

ใหม่!!: เวลาและจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

ธูป

ูปที่กำลังเผาไหม้ในเขาอู่ไถ ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณเพื่อบูชาเทพเจ้าหรือทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยของหอม ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่างๆที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม.

ใหม่!!: เวลาและธูป · ดูเพิ่มเติม »

ทศวรรษ

ทศวรรษ (Decade) หมายถึงรอบ 10 ปี เป็นการอ้างถึงช่วง 10 ปีช่วงใดช่วงหนึ่ง ปกติแล้วจะใช้กับคริสต์ศักราช เช่น ช่วง..

ใหม่!!: เวลาและทศวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เวลาและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: เวลาและดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิถี

ี หรือ เฟส หรือ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ของดวงจันทร์ (lunar phase) ในทางดาราศาสตร์ เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดกับดวงจันทร์ นั่นคือ ดวงจันทร์จะมีส่วนสว่างที่สังเกตได้ที่ไม่เท่ากันในแต่ละคืน เกิดจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก โดยหันส่วนสว่างเข้าหาโลกต่างกัน ดิถีที่ต่างกันนี้เองมักใช้กำหนดวันสำคัญทางพุทธศาสนา และใช้เป็นหลักในการนับเวลา ในปฏิทินจันทรคติ ก่อนที่จะมานิยมใช้ปฏิทินสุริยคติ การคำนวณดิถีของดวงจันทร์ สามารถทำได้ทั้งแบบดาราศาสตร์สมัยใหม่และดาราศาสตร์แผนเก่า เช่น ใช้กระดานปักขคณนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือใช้ตำราสุริยยาตร์ ในการคำนวณ สำหรับในทางโหราศาสตร์ ดิถีคือวันทางจันทรคติ (lunar day) มีสองแบบคือ ดิถีเพียร และ ดิถีตลาด ดิถีเพียรจะเป็นดิถีที่คำนวณโดยอิงการโคจรของดวงจันทร์ในรอบเดือนจริง ๆ ไม่ใช่ขึ้นแรมในปฏิทินปกติ ในขณะที่ดิถีตลาด จะอนุโลมให้ดิถีนับแบบอิงวันสุริยคติเป็นวัน ๆ ไป เรียกเป็นข้างขึ้นข้างแรม ดิถีทั้งสองแบบล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับข้างขึ้นข้างแรมหรือดิถีในความหมายทางดาราศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว โดยเป็นส่วนประกอบของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งนั่นคือข้างขึ้นข้างแรมที่สังเกตได้ยามค่ำคืนนั่นเอง สำหรับกล่องข้อความด้านขวานี้จะแสดงดิถีของดวงจันทร์ตามการคำนวณแบบดาราศาสตร์สมัยใหม่ โดยที่แสดงวันที่ไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นดิถีของวันใด มิให้เกิดความสับสน และแสดงร้อยละของส่วนสว่างบนดวงจันทร์ไว้ด้านล่าง ภาพการเกิดดิถีของดวงจันทร.

ใหม่!!: เวลาและดิถี · ดูเพิ่มเติม »

ซูเมอร์

ซูเมอร์ (Sumer) เป็นอารยธรรมโบราณและเขตบริเวณเมโสโปเตเมียตอนใต้ ชาวซูเมอร์เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณดังกล่าว เข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุก นิปเปอร์ right.

ใหม่!!: เวลาและซูเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: เวลาและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: เวลาและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: เวลาและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปักษ์

ปักษ์ คือหน่วยของเวลาชนิดหนึ่ง มีระยะเท่ากับครึ่งเดือน ปักษ์ตามประเพณีไทยนับตามปฏิทินจันทรคติ ได้แก่ ข้างขึ้นเป็นปักษ์หนึ่งเรียกว่า ศุกลปักษ์ และข้างแรมเป็นปักษ์หนึ่งเรียกว่า กาฬปักษ์ ซึ่งยาวนานเท่ากับ 14 หรือ 15 วัน (ขึ้นอยู่กับเดือนนั้นว่ามี 29 หรือ 30 วัน) ปักษ์ในทางดาราศาสตร์สามารถคำนวณได้เท่ากับ 14.77 วัน ปักษ์สมัยใหม่ใช้เรียกงวดการตีพิมพ์นิตยสาร ได้แก่ ปักษ์แรก หมายถึงครึ่งเดือนแรก และ ปักษ์หลัง หมายถึงครึ่งเดือนหลังของปฏิทินสุริยคต.

ใหม่!!: เวลาและปักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: เวลาและปี · ดูเพิ่มเติม »

ปีปฏิทิน

ปีปฏิทิน ในปฏิทินเกรกอเรียนที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เริ่มต้นจากวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม ส่วนปีแบบอื่น ๆ ที่ครบรอบใน 12 เดือน ได้แก่ ปีงบประมาณที่ใช้ในการบัญชี โดยปกติ ปีปฏิทินเริ่มต้นจากวันปีใหม่ของระบบปฏิทินใด ๆ และสิ้นสุดในวันสุดท้ายก่อนวันปีใหม่ของปีถัดไป ปีปฏิทินแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ปีปกติสุรทิน (common year) และปีอธิกสุรทิน (leap year).

ใหม่!!: เวลาและปีปฏิทิน · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาอะตอม

นาฬิกาอะตอม นาฬิกาอะตอม ออกแบบโดย Britain's National Physical Laboratory ในปี..

ใหม่!!: เวลาและนาฬิกาอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาทราย

นาฬิกาทราย นาฬิกาทราย เป็นอุปกรณ์สำหรับจับเวลา มีลักษณะเป็นกระเปาะแก้ว 2 กระเปาะที่มีช่องแคบเชื่อมต่อกัน และมีทรายบรรจุอยู่ภายใน เมื่อคว่ำนาฬิกาทรายลง ทรายจะไหลจากกระเปาะบนลงมาสู่กระเปาะล่าง ซึ่งสามารถจับเวลาจากเวลาที่ทรายไหลลงสู่กระเปาะล่างจนหมด (นาฬิกาทรายมีลักษณะนามเป็น "อัน") หมวดหมู่:นาฬิกา หมวดหมู่:เวลา หมวดหมู่:เทคโนโลยีล้าสมัย.

ใหม่!!: เวลาและนาฬิกาทราย · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาน้ำ

นาฬิกาน้ำ คำว่า clepsydra มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep ซึ่งมีความหมายว่า ขโมย และคำว่า sydra ที่หมายถึง น้ำ) ชาวกรีกโบราณใช้หลักการทำงานโดยการใช้ภาชนะดินเผาบรรจุน้ำ และเมื่อถูกเจาะมาที่ก้น น้ำจะค่อย ๆ ไหลออกทีละเล็ก ทีละน้อย เหมือนกับการขโมยน้ำ โดยชาวกรีกกำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจากภาชนะจนหมดว่า 1 clepsydra แต่นาฬิกาน้ำจะต้องทำการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา 1 clepsydra และไม่สามารถใช้ในช่วงฤดูหนาวได้เนื่องจากน้ำจะแข็งตัว.

ใหม่!!: เวลาและนาฬิกาน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาแดด

นาฬิกาแดดบนพื้นในตากันร็อก นาฬิกาแดด คือ เครื่องมือใช้สำหรับวัดเวลาในตอนกลางวันจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปจะสร้างเป็นวัตถุอย่างหนึ่งเรียกว่าโนมอน (gnomon) ให้ตั้งอยู่บนฐาน เมื่อแสงแดดตกกระทบโนมอนจะทำให้เกิดเงาทอดลงไปบนฐาน แล้วอ่านค่าเวลาจากฐานนั้นซึ่งมีขีดบอกเวลากำกับอยู่ นาฬิกาแดดอาจสร้างขึ้นโดยยึดอยู่กับที่หรือสามารถเคลื่อนย้ายก็ได้ หมวดหมู่:นาฬิกา หมวดหมู่:เทคโนโลยีล้าสมัย.

ใหม่!!: เวลาและนาฬิกาแดด · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: เวลาและนาที · ดูเพิ่มเติม »

โครโนมิเตอร์

รโนมิเตอร์ (Chronometer) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เวลาและโครโนมิเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้า

ฟฟ้า (ήλεκτρον; electricity) เป็นชุดของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งในสมัยนั้นหมายถึงผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากการปรากฏตัวและการไหลของประจุไฟฟ้า เช่นฟ้าผ่า, ไฟฟ้าสถิต, การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฟฟ้ายังทำให้เกิดการผลิตและการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ พูดถึงไฟฟ้า ประจุจะผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะกระทำกับประจุอื่น ๆ ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายชนิดของฟิสิกซ์ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เวลาและไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไอแซก นิวตัน

ซอร์ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) (25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ งานเขียนในปี..

ใหม่!!: เวลาและไอแซก นิวตัน · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

ฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan), ฟือร์เนา ดือ มากัลไยช์ (Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 5 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง..

ใหม่!!: เวลาและเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: เวลาและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เลข (แก้ความกำกวม)

ลข อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เวลาและเลข (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เวลา (นวนิยาย)

ำหรับกลศาสตร์ดั้งเดิมดูที่: เวลา หน้าปก ''เวลา'' ฉบับตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2547 เวลา นวนิยายแนวใหม่ของ ชาติ กอบจิตติ เขียนเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2536 มีความยาวทั้งหมด 232 หน้า เป็นเรื่องราวของผู้กำกับภาพยนตร์คนหนึ่งที่สูญเสียภรรยาและลูกสาวไปให้กับการทำงานของตนเอง ที่เข้าไปดูละครเวทีของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังลาโรง แรงจูงใจของเขาที่ทำให้ไปดูละครเวทีเรื่องนี้ก็เพราะได้อ่านคำวิจารณ์มาก่อนว่า เป็นละครเวทีที่น่าเบื่อที่สุดในรอบปีและเป็นละครเวทีที่เกี่ยวกับคนแก่ในบ้านพักคนชรา ทั้ง ๆ ที่กลุ่มผู้สร้างเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบด้วยซ้ำ เวลา ใช้วิธีการเล่าเรื่องโดยสมมติให้ผู้อ่านเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คนนี้ที่กำลังดูละครเวทีเกี่ยวกับชีวิตคนแก่อยู่ ในบางช่วงให้ตัวผู้กำกับฯนี้สนทนากับผู้อ่านและตัดสลับกับมุมกล้อง โดยดำเนินเรื่องผ่านช่วงเวลาในแต่ละชั่วโมงตั้งแต่เช้าจนเย็น ตอนจบเป็นการหักมุม โดยเฉลยว่าในห้องกรงที่ดูเหมือนว่ากักขังคนแก่คนหนึ่งที่คอยตะโกนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ว่า "ไม่มีอะไร ไม่มีจริง ๆ" ก็ไม่มีอะไรเลยจริง ๆ ในห้องนั้น ชาติ กอบจิตติ ได้อุทิศหนังสือเล่มนี้แด่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตัวเอง และของทุก ๆ คน พร้อมกับย้ำเสมอ ๆ ว่า นวนิยายของเขาเรื่องนี้น่าเบื่อจริง ๆ หนังสือตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 โดยสำนักพิมพ์หอน ที่เจ้าตัวเป็นเจ้าของเอง ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นแห่งปีประจำปี..

ใหม่!!: เวลาและเวลา (นวนิยาย) · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ใหม่!!: เวลาและเวลามาตรฐานกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสง

ริเวณที่ไม่เคยมีการใช้เวลาออมแสง เวลาออมแสง (daylight saving time - DST) หรือ เวลาฤดูร้อน (summer time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้ามีน้อยลง โดยปกติแล้วจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ หลายประเทศได้เริ่มใช้เวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งคราว การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดู ตามความเอียงของแกนโลก ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยการ เริ่มต้น 3 อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด 1 อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ ซึ่งลงชื่อรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่มาเลเซียและฟิลิปปิน.

ใหม่!!: เวลาและเวลาออมแสง · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: เวลาและเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นทีพี

อ็นทีพี หรือ เกณฑ์วิธีเทียบเวลาข่ายงาน (Network Time Protocol: NTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับการปรับค่าเวลาของนาฬิกาในระบบคอมพิวเตอร์ โดย NTP ใช้พอร์ต 123 ของโพรโทคอล UDP เป็นพื้นฐาน มันถูกออกแบบมาให้รักษาความแม่นยำจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของเวลา NTPv4 สามารถรักษาความแม่นยำระดับ 10 มิลลิวินาที (1/100 วินาที) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือมากถึง 200 ไมโครวินาที (1/5000 วินาที) บนเครือข่ายภายในที่มีคุณสมบัติดีกว่า NTP เป็นโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เวลาและเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลิตุส

ราคลิตุสชาวเอเฟซัส (Heraclitus the Ephesian; กรีกโบราณ: Ἡράκλειτος ὁ Ἐφέσιος — Hērákleitos ho Ephésios) (ราว 535 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 475 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักปรัชญายุคก่อนโสกราตีสชาวกรีกผู้ที่เดิมมาจากเอเฟซัสใน ไอโอเนียบนฝั่งทะเลอานาโตเลีย เฮราคลิตุสเป็นที่รู้จักกันในปรัชญาของความเปลี่ยนแปลงที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และกฎจักรวาล (Logos) เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ในปัจจุบันเฮราคลิตุสมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีอิทธิพลต่อฟรีดริช นีทเชอในปรัชญาของ space และ time จากประโยค “ท่านไม่สามารถจะก้าวลงไปในแม่น้ำเดียวกันเป็นครั้งที่สองเพราะแม่น้ำสายอื่นไหลมาสู่ตัวท่าน”.

ใหม่!!: เวลาและเฮราคลิตุส · ดูเพิ่มเติม »

เทียน

ทียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เวลาและเทียน · ดูเพิ่มเติม »

เดือน

ือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: เวลาและเดือน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กรอบเวลากาลเวลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »