โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เวลาออมแสง

ดัชนี เวลาออมแสง

ริเวณที่ไม่เคยมีการใช้เวลาออมแสง เวลาออมแสง (daylight saving time - DST) หรือ เวลาฤดูร้อน (summer time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้ามีน้อยลง โดยปกติแล้วจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ หลายประเทศได้เริ่มใช้เวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งคราว การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดู ตามความเอียงของแกนโลก ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยการ เริ่มต้น 3 อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด 1 อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ ซึ่งลงชื่อรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่มาเลเซียและฟิลิปปิน.

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2548พ.ศ. 2550ภาษาอังกฤษแบบบริติชภาษาอังกฤษแบบอเมริกันสหรัฐจอร์จ ดับเบิลยู. บุชประเทศฟิลิปปินส์ประเทศมาเลเซียเวลามาตรฐานกรีนิชเวลาสากลเวลาสากลเชิงพิกัดเขตเวลา8 สิงหาคม

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบบริติช

ภาษาอังกฤษแบบบริติช (British English, BrE) เป็นคำที่ใช้แยกแยะรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตน (British Isles) และที่ใช้ในภูมิภาคอื่น ๆ คำว่า "ภาษาอังกฤษแบบบริติช" นี้ ยังหมายรวมถึงภาษาถิ่นย่อยทั้งหมดของภาษาอังกฤษ ทั้งที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตนทั้งหมด (รวมสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และเวลส์ด้วย) คำนี้มักจะนิยมใช้เป็นพิเศษในหมู่ชาวอเมริกัน (รวมทั้งนักภาษาศาสตร์และนักเขียนพจนานุกรม) ส่วนชาวอังกฤษนั้น ปกติแล้วจะใช้คำว่า "ภาษาอังกฤษมาตรฐาน" (Standard English) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ภาษาอังกฤษ" (English) เท่านั้น ความแตกต่างเด่นที่สุดของภาษาอังกฤษแบบบริติชกับภาษาอังกฤษแบบอเมริกันคือ แบบบริติชจะออกเสียงคำอย่างตรงตัว a จะออกเป็น อา ตรง ๆ ไม่ออกว่า แอ อย่างแบบอเมริกัน เสียง t จะเน้นมาก และชาวสหราชอาณาจักรจะไม่นิยมการออกเสียงตัว r ท้ายคำ ถึงออกก็เพียงออกไปนิดเดียว นอกจากนั้นอังกฤษแบบบริติชจะออกเสียงลงคอดั่งเช่นภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส เช่นคำว่า schedule ซึ่งภาษาอังกฤษแบบบริติชจะมีออกเสียงลงคอตรงท่อน sche ซึ่งเป็นเสียงควบระหว่าง ซ กับ ค หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและภาษาอังกฤษแบบบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American English, AmE) เป็นกลุ่มของภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ประมาณสองในสามของเจ้าของภาษาอังกฤษอาศัยอยู่ในสหรัฐ พจนานุกรมเล่มแรกของภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เขียนโดยโนอาห์ เว็บสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1828 แสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และอังกฤษดั้งเดิมที่มาจากบริเตน ข้อแตกต่างที่เว็บสเตอร์เขียนรวมถึง การสะกดคำ เช่นคำว่า center แทนคำว่า centre และ color แทน colour และการอ่านออกเสียงต่าง ๆ ตัวอย่างคำศัพท์หลายคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งได้แก่ OK (โอเค), blizzard (บลิซซาร์ด) และ teenager (วัยรุ่น) หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เวลาออมแสงและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

รืออากาศโท จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 43 บุชสังกัดพรรครีพับลิกัน และเกิดในตระกูลบุชซึ่งเป็นตระกูลนักการเมืองตระกูลใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยพ่อของเขาคือ จอร์จ บุช ประธานาธิบดีคนที่ 41 และน้องชายเขา เจบ บุช เป็นอดีตผู้ว่าการมลรัฐฟลอริดา ก่อนเริ่มเล่นการเมือง จอร์จ ดับเบิลยู บุชเป็นนักธุรกิจบ่อน้ำมัน และเป็นเจ้าของทีมเบสบอล เทกซัส เรนเจอร์ (Texas Rangers) เขาเริ่มเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นโดยเป็นผู้ว่าการรัฐเทกซัสคนที่ 46 ชนะการเสนอชื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน และชนะการเลือกตั้งต่อรองประธานาธิบดี อัล กอร์ใน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และได้รับการเลือกตั้งสมัยที่สองเมื่อ พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) โดยเอาชนะวุฒิสมาชิก จอห์น เคร์รี ของ พรรคเดโมแครต.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและจอร์จ ดับเบิลยู. บุช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: เวลาออมแสงและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: เวลาออมแสงและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ใหม่!!: เวลาออมแสงและเวลามาตรฐานกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากล

วลาที่ถูกแบ่งเป็นเขตเวลา เวลาสากล (UT - Universal Time) คือหน่วยเวลาที่อ้างอิงการหมุนของโลก เป็นหน่วยเวลาสมัยใหม่ที่สืบทอดมาจากเวลาปานกลางกรีนิช (GMT - Greenwich Mean Time) อันได้แก่เวลา Mean Solar Time ของพื้นที่บนเส้นเมริเดียนแห่งกรีนิช (Greenwich) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งตรงกับเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ตามหลักภูมิศาสตร์ บางครั้งมีการใช้เวลาปานกลางกรีนิชที่ผิด โดยเข้าใจว่าเป็นหน่วยเวลาเดียวกับเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) เวลาปานกลางกรีนิชนี้สามารถจำแนกเป็นเป็นเวลาพิกัดสากล และ UT1.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและเวลาสากล · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: เวลาออมแสงและเวลาสากลเชิงพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

เขตเวลา

ตเวลา เขตเวลา คือ พื้นที่บนผิวโลกที่ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน โดยปกติหมายถึง เวลาท้องถิ่นประยุทธ์บอก เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น (สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหาโดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15° ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าแต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ ทุกๆ เขตเวลามีความสัมพันธ์กับเวลาพิกัดสากล จุดอ้างอิงของเขตเวลาคือเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ซึ่งพาดผ่าน Royal Greenwich Observatory ในกรีนิช (กรีนิช) กรุงลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้จึงมักพบการใช้คำว่า เวลามาตรฐานกรีนิช เพื่อแสดงเวลาพื้นฐานซึ่งมีความสัมพันธ์กับเขตเวลาต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ใช้ UTC เป็นหน่วยเวลาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมของกรีนิชที่ใช้การอ้างอิงเวลาตามหลักดาราศาสตร์ ทั้งนี้เวลา GMT (UTC) จะเป็นเวลาประจำกรีนิชเฉพาะในช่วง 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ถึงเวลา 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ส่วนในช่วงเวลาที่เหลือของปีเวลาของกรีนิชจะเป็น UTC+1 ซึ่งในประเทศอังกฤษจะเรียกเวลานี้ว่า (BST - British Summer Time) ตัวอย่างการแสดงเวลาท้องถิ่นโดยใช้เวลาพิกัดสากล ณ เวลา 11.00 UTC.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและเขตเวลา · ดูเพิ่มเติม »

8 สิงหาคม

วันที่ 8 สิงหาคม เป็นวันที่ 220 ของปี (วันที่ 221 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 145 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เวลาออมแสงและ8 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DSTDaylight saving timeเวลาฤดูร้อนเขตเวลาออมแสง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »