โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิลปศาสตร์

ดัชนี ศิลปศาสตร์

ลปศาสตร์ทั้ง 7 – ภาพจาก Hortus deliciarum ของ Herrad von Landsberg (คริสต์ศตวรรษที่ 12) ศิลปศาสตร์ (Liberal arts) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษาเชิงปัญญา มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต (ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไตรศิลปศาสตร์ (trivium) และ จตุรศิลปศาสตร์ (quadrivium) การศึกษาในกลุ่ม ไตรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ ตรรกศาสตร์ และวาทศาสตร์ (rhetoric) ส่วนการศึกษากลุ่ม จตุรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ เลขคณิต เรขาคณิต ดนตรี และดาราศาสตร์) ศิลปศาสตร์นั้นถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยสมัยกลาง คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง) ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts) ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะและความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง.

31 ความสัมพันธ์: ภาษาสันสกฤตมหาวิทยาลัยรังสิตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมหาวิทยาลัยแม่โจ้มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถมนุษยศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (แก้ความกำกวม)จตุรศิลปศาสตร์ดาราศาสตร์ดนตรีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตรรกศาสตร์ไวยากรณ์เรขาคณิตเลขคณิต

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรังสิต

มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University; ชื่อย่อ: มรส. - RSU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 20 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ยังถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุด ลำดับที่ 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 เปิดสอนหลากหลายหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนศิลปินดาราศึกษาอยู่เป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University; อักษรย่อ:มวล.) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ..

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ื่อย่อ: ม., STOU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับจำนวน (มหาวิทยาลัยเปิด) แห่งเดียวของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งขึ้นเพื่อขยายและกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกลซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ กรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช 2521 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบมหาวิทยาลัยเปิดโดยรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไม่มีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในอดีต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศที่ 1/2560 เข้าควบคุมมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Huachiew Chalermprakiet University) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2524 โดย มูลนิธิฮั้วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยชื่อของมหาวิทยาลัย "หัวเฉียว" (華僑) หมายถึง ชาวจีนโพ้นทะเล และเป็นชื่อที่มูลนิธิใช้เป็นชื่อของโรงพยาบาลและวิทยาลัยของมูลนิธิอยู่แล้ว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวิทยาเขต 1 แห่ง คือ วิทยาเขตยศเส ตั้งอยู่บริเวณถนนอนันตนาค แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ" จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 20 ในประเทศไท.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) (อังกฤษ: South East Asia University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แรกก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2516 ใช้ชื่อว่า วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (South East Asia College) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ บางมด (อังกฤษ: King Mongkut's University of Technology Thonburi; อักษรย่อ: มจธ.) โดยเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11 ก ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้าน วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, สถาปัตยกรรมศาสตร์ เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามลำดับ ปัจจุบันเปิดสอนใน 8 คณะ, 1 สถาบัน, 1 บัณฑิตวิทยาลัย และ 1 บัณฑิตวิทยาลัยร่วม โดยมีทั้งหลักสูตรปกติ และนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี, โท และเอก ซึ่งมี 3 วิทยาเขต และ 1 อาคาร คือ วิทยาเขตบางมด, วิทยาเขตบางขุนเทียน, วิทยาเขตราชบุรี และอาคารเคเอ็กซ์ คลองสาน.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon) เน้นการจัดการศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า แฟชั่น อาหาร การบริหารจัดการ และทักษะด้านธุรกิจ สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชี.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เน้นการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิต มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การท่องเที่ยว โรงแรม ภาษา คหกรรม เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย บริหารธุรกิจและทักษะด้านธุรกิจรวมทั้งการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้จริงมีความคิดสร้างสรรค์ ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับด้านการจัดการเรียนการสอนดีเด่น จาก.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Rajamangala University of Technology Thanyaburi) ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม..

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-Ok: Chakrabongse Bhuvanarth Campus)เป็นวิทยาเขตหนึ่งที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเน้นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านบริหารธุรกิจ การบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างมีคุณภาพสามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 122 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (แก้ความกำกวม)

ันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

จตุรศิลปศาสตร์

ตุรศิลปศาสตร์ (Quadrivium) ประกอบด้วยวิชาสี่วิชาหรือศิลปะที่สอนกันมหาวิทยาลัยในยุคกลางหลังจากไตรศาสตร์ (trivium) “Quadrivium” มาจากภาษาลาตินที่แปลว่า “ทางสี่แพร่ง” ซึ่งเป็นการศึกษาในสาขาศิลปศาสตร์ จตุรศิลปศาสตร์ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์, เรขาคณิต, ดนตรี และ ดาราศาสตร์ การศึกษาจตุรศิลปศาสตร์ต่อเนื่องมาจากการศึกษาไตรศาสตร์ที่ประกอบด้วยไวยากรณ์, ตรรกศาสตร์ และ วาทศาสตร์ การจบการศึกษาจตุรศิลปศาสตร์ถือว่าเป็นการวางรากฐานในการศึกษาต่อในสาขาวิชาปรัชญา และ เทววิท.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และจตุรศิลปศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (School of Liberal Arts, University of Phayao) เป็นคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยพะเยา เปิดทำการสอนในด้านศิลปศาสตร์ เดิมเป็นสำนักวิชาในสังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นคณะในปี พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำเนิดมาจากการพัฒนาการทางการศึกษา อาจารย์ในภาควิชาภาษาต่างประเทศ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาชนบท (ปัจจุบันคือ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการที่จะเปิดสาขาทางศิลปศาสตร์ให้กว้างขวางขึ้น.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (School of Liberal Arts, Sripatum University) เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดสอนทั้งหมด 3 แห่งคือ 1.คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน 2.คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น และ3.คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University) เป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร๋ ปัจจุบันดำเนินการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University) เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เดิมมีฐานะเป็น "สถาบันภาษาและวัฒนธรรม" มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปให้กับนักศึกษาทุกคณ.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts, Thammasat University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Faculty of Liberal Arts,Khon Kaen University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะลำดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัย สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ดำเนินการเรียน-การสอนใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อมา ปี พ.ศ. 2554 ได้รับมอบหมายให้จัดการเรียน-การสอน ในวิทยาเขตสุพรรณบุรีด้ว.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และไวยากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เรขาคณิต

รขาคณิต (Geometry; กรีก: γεωμετρία; geo.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

เลขคณิต

เลขคณิต (arithmetics) ในความหมายทั่วไปคือสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในจุดเริ่มของคณิตศาสตร์ด้วย เลขคณิตสนใจคุณสมบัติพื้นฐานของ การดำเนินการ บางประเภทกับตัวเลข ส่วนความหมายที่ใช้โดยนักคณิตศาสตร์นั้น คำว่า เลขคณิต มักถูกใช้ในความหมายเดียวกันกับทฤษฎีจำนวน หมวดหมู่:การศึกษาคณิตศาสตร์.

ใหม่!!: ศิลปศาสตร์และเลขคณิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คณะศิลปศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »