โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพลโต

ดัชนี เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

40 ความสัมพันธ์: ฟรีดริช นีทเชอพ.ศ. 117พ.ศ. 197พลูทาร์กพีทาโกรัสกรีซโบราณการศึกษาการทหารการเมืองญาณวิทยาภาษากรีกมนุษยนิยมลัทธิสโตอิกวรรณกรรมศิลปะอริสโตฟานเนสอัตวิสัยอาริสโตเติลอาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์อิมมานูเอล คานต์อุตมรัฐอีสปจอห์น ล็อกจดหมายครอบครัวความยุติธรรมคุณธรรมปรวิสัยปรัชญาปรัชญาโบราณแอตแลนติสแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรีโสกราตีสโฮเมอร์โทมัส ฮอบส์ไญยนิยมเรอเน เดการ์ตเอเธนส์เฮราคลิตุสเดวิด ฮูม

ฟรีดริช นีทเชอ

ฟรีดริช วิลเฮล์ม นีทเชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) (15 ตุลาคม ค.ศ. 1844 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1900) เป็นนักนิรุกติศาสตร์และนักปรัชญาชาวเยอรมัน นิยมเขียนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องศาสนา คุณธรรม วัฒนธรรมร่วมสมัย ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาเยอรมันในแบบเฉพาะตัว เพื่อแสดงถึงคติพจน์ต่าง ๆ งานเขียนของนิชเชอที่โด่งดังคือ"Beyond Good And Evil" และ"คือพจนาซาราทุสตรา".

ใหม่!!: เพลโตและฟรีดริช นีทเชอ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 117

ทธศักราช 117 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: เพลโตและพ.ศ. 117 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 197

ทธศักราช 197 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: เพลโตและพ.ศ. 197 · ดูเพิ่มเติม »

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ ''Moralia'', 1531 งานเขียนที่สำคัญของพลูทาร์กก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia) พลูทาร์กเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล.

ใหม่!!: เพลโตและพลูทาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พีทาโกรัส

รูปนูนต่ำของพีทาโกรัสบนเหรียญ พีทาโกรัส (570–495 ปีก่อนคริสตกาล; Πυθαγόρας) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ, เป็นที่รู้จักในนามเจ้าของทฤษฎีบทพีทาโกรัส พีทาโกรัสได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งตัวเลข" พีทาโกรัสไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์ เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับปรัชญาและศาสนา ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ถึงทุกวันนี้ เราไม่สามารถที่จะพูดถึงชีวประวัติของพีทาโกรัสได้ด้วยความแน่นอน เพราะตำนานและเรื่องเล่าต่าง ๆ นานาปิดบังข้อเท็จจริงของชีวิตพีทาโกรัสมากกว่าปราชญ์ใด ๆ ในยุคก่อนโสกราตี.

ใหม่!!: เพลโตและพีทาโกรัส · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: เพลโตและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษา

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

ใหม่!!: เพลโตและการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

การทหาร

การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร (lethal force) ซึ่งโดยปกติรวมการใช้อาวุธ ในการป้องกันประเทศ โดยต่อสู้กับภัยคุกคามที่แท้จริงหรือที่รับรู้เช่นนั้น การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: เพลโตและการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: เพลโตและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ใหม่!!: เพลโตและญาณวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: เพลโตและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยนิยม

มนุษยนิยม (Humanism) หมายถึงประเภทกว้างๆ ของปรัชญาเชิงจริยศาสตร์ ที่ยืนยันถึงความสง่างามและคุณค่าของมนุษย์ทุกคน โดยอาศัยหลักความสามารถของบุคคลนั้นในการบ่งชี้ได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด โดยได้การยอมรับโดยมนุษย์ทั่วไปที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะคุณภาพเชิงตรรกยะหรือเชิงเหตุผล มนุษยนิยมเป็นองค์ประกอบเฉพาะหลายๆ ตัวของระบบปรัชญาและได้รับการผนวกไว้ในหลายสำนักคิดทางศาสนา มนุษยนิยม วางเงื่อนไขไว้ให้มีการค้นหาความจริงและศีลธรรมในวิธีการที่มนุษย์จะนำมาใช้สนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมองไปที่ ความสามารถในการกำหนดและตัดสินได้ด้วยตนเอง มนุษยนิยมจะไม่รับการชั่งใจและตัดสินใจโดยสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจ เช่นการตัดสินใจที่ขึ้นอยู่กับ "ความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล" สิ่งเหนือธรรมชาติ หรือด้วยคำทำนายที่อ้างไว้ในคัมภีร์ใดๆ มนุษยนิยมสนับสนุนจริยธรรมสากล (universal morality) ที่อยู่พื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปที่มีความเป็นอยู่ธรรมดา ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่า การแก้ปัญหาในสังคมมนุษย์และปัญหาทางวัฒนธรรมของมนุษย์จะใช้แนวทางเฉพาะกลุ่มชนแคบๆ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้.

ใหม่!!: เพลโตและมนุษยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสโตอิก

ฉลียงมีภาพเขียน หรือสโตอาที่บูรณะขึ้นใหม่ในเอเธนส์ ที่ซึ่งกลายเป็นชื่อของลัทธิสโตอิก ลัทธิสโตอิก (อังกฤษ: Stoicism) คือแนวคิดทางปรัชญาแห่งเฮลเลนิสติก ก่อตั้งโดยนักปรัชญาชาวกรีกชื่อ เซโน แห่ง ซิติอุม (Zeno of Citium พ.ศ. 210 - พ.ศ. 279) ในเอเธนส์ ซึ่งได้แพร่หลายเป็นอย่างมากไปทั่วกรีก และจักรวรรดิโรมัน.

ใหม่!!: เพลโตและลัทธิสโตอิก · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: เพลโตและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะ

ลปะ (शिल्प ศิลฺป) ทั่ว ๆ ไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลาย ๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร, สื่ออารมณ์, หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวม ๆ ว่า ศิลปิน ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน despacito หรือ อื่น ๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม.

ใหม่!!: เพลโตและศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

อริสโตฟานเนส

อริสโตฟานีส หรือ แอริสตอฟานีส (Aristophanes; Ἀριστοφάνης,; c. 446 – c. 386 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชวนหัว (สุขนาฏกรรม) สมัยกรีซยุคคลาสสิค มีชีวิตอยู่ราวช่วงปีที่ 446-386 ก่อนคริสตกาล อริสโตฟานีสประพันธ์บทละครไว้ทั้งสิ้น 40 เรื่อง แต่ตกทอดมาถึงปัจจุบันโดนสมบูรณ์เพียง 11 เรื่อง นอกนั้นเป็นเพียงชิ้นส่วนพาไพรัสที่ส่วนใหญ่ขาดหายไป งานของอริสโตฟานีสเหล่านี้เป็นตัวอย่างเท่าที่เรามีเกี่ยวกับประเภทของงานสุขนาฏกรรมที่เรียกว่า Old Comedy ท่านได้รับฉายาว่าเป็น "บิดาแห่งสุขนาฏกรรม" กล่าวกันว่างานของอริสโตฟานีสให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอเธนส์โบราณได้น่าเชื่อถือยิ่งกว่านักเขียนคนใดๆ ความสามารถของเขาในการเยาะเย้ยถากถาง เป็นที่ยำเกรงและรับทราบกันในผู้มีอิทธิพลร่วมสมัย เพลโตชี้ลงไปว่าบทละครเรื่อง เมฆ (The Clouds) เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่ทำให้โสเครตีสต้องถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต แม้ว่าจะมีงานเสียดสีล้อเลียนตัวโสเครตีส จากนักประพันธ์เชิงเสียดสี (satirical) รายอื่นก็ตาม อริสโตฟานีสมีชีวิตผ่านช่วงเวลาที่เอเธนส์ประสบวิกฤติทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหายนะจากสงครามเพโลพอนนีเซียน (ซึ่งเอเธนส์เป็นฝ่ายแพ้) การปฏิวัติของกลุ่มคณาธิปไตยสองครั้ง และการกู้คืนระบอบประชาธิปไตยสองครั้ง โสเครตีสถูกพิพากษาในข้อหาอาชญากรรมทางความคิด และยูริพิดีสต้องเนรเทศตัวเองไปตายที่เมืองอื่น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เชื่อว่าแม้งานของอริสโตฟานีสจะแดกดันหรือเสียดสีเรื่องการเมืองอยู่เป็นนิตย์ แต่ตัวท่านนักประพันธ์เองคงจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับนาฏศิลปินโศกนาฏกรรมอย่าง ซอโฟคลีส และยูริพิดีสแล้ว อริสโตฟานีสมีส่วนช่วยพัฒนาศิลปะการละครในยุคต่อไปมากกว่า ทั้งนี้เพราะซอโฟคลีส กับยูริพิดีส ถึงแก่กรรมลงในช่วงปลายสงครามเพโลพอนนีเซียน ทำให้ศิลปะของละครโศกนาฏกรรมหยุดพัฒนาไปเสีย แต่การละครสุขนาฏกรรมยังมีการวิวัฒนาการต่อมาเรื่อยๆ แม้หลังเอเธนส์จะพ่ายแพ้สงคราม ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการที่ปรมาจารย์ละครชวนหัวอย่างอริสโตฟานีส ยังมีชีวิตอยู่ต่อมานานพอที่จะช่วยศิลปินรุ่นหลังพัฒนาต่อยอดศิลปะแขนงนี้ thumb.

ใหม่!!: เพลโตและอริสโตฟานเนส · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: เพลโตและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: เพลโตและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีในความแจ่มแจ้งทางปรัชญาและทุทรรศนนิยมของความไม่มีพระเจ้า เมื่ออายุ 25 ปีโชเพนเฮาเออร์พิมพ์ปริญญานิพนธ์ “มูลบัญญัติสี่ประการของเหตุผล” (Über die vierfache Wurzel des Satzes vom zureichenden Grunde) ที่เป็นปรัชญาที่พิจารณาคำถามที่ว่าเหตุผลเพียงอย่างเดียวจะสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับโลกได้หรือไม่ งานชิ้นที่มีอิทธิพลที่สุดของโชเพนเฮาเออร์ “Die Welt als Wille und Vorstellung” (The World as Will and Representation) เน้นบทบาทของแรงบันดาลใจ (motivation) ของมนุษย์ที่โชเพนเฮาเออร์เรียกว่า “เจตจำนง” (Will) การวิจัยของโชเพนเฮาเออร์นำไปสู่การสรุปว่าความต้องการทางอารมณ์, ทางร่างกาย และทางเพศ เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นโชเพนเฮาเออร์จึงนิยมวิถีชีวิตที่ลดความต้องการของมนุษย์ ที่คล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาพุทธและเวทานต.

ใหม่!!: เพลโตและอาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เพลโตและอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

อุตมรัฐ

อุตมรัฐ (Πολιτεία, มีความหมายว่า "การปกครองที่ดีที่สุด"; Res Publica, มีความหมายว่า "กิจการสาธารณะ"; The Republic) เป็นบทสนทนาของโสกราตีสที่เขียนโดยเพลโต ประมาณ 360 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหนึ่งในบรรดางานเขียนที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีทางด้านปรัชญาและการปกครองอย่างมากที่สุด และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเพลโต เนื้อหาในเรื่องเป็นการสนทนาระหว่างโสกราตีสกับชาวกรุงเอเธนส์ และชาวต่างชาติอีกจำนวนหนึ่ง ที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม และข้อสงสัยว่าผู้มีใจเป็นธรรมจะมีความสุขมากกว่าผู้มีใจคดหรือไม่หากมีนครในอุดมคติ โดยที่นครแห่งนี้ปกครองโดยกษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์ บทสนทนาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักปรัชญา รูปแบบและความขัดแย้งระหว่างแนวคิดทางปรัชญากับงานกวีนิพนธ์ รวมถึงสื่อให้เห็นจิตวิญญาณอันเป็นอมต.

ใหม่!!: เพลโตและอุตมรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อีสป

''Aesopus moralisatus'', 1485 อีสป (Aesop; Αἴσωπος; ประมาณ 620–564 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักเล่านิทานหรือนักเล่าเรื่องชาวกรีกโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของนิทานจำนวนหนึ่งซึ่งปัจจุบันรู้จักกันรวม ๆ ว่า นิทานอีสป แม้การดำรงอยู่ของเขาจะยังไม่แน่ชัดและไม่มีงานเขียนของเขาเหลือรอดมาเลย (หากมี) แต่นิทานจำนวนมากซึ่งถือว่าเป็นของเขาถูกรวบรวมตลอดหลายศตวรรษในหลายภาษาในประเพณีการเล่าเรื่องซึ่งดำเนินมาจวบปัจจุบัน นิทานหลายเรื่องใช้สัตว์หรือวัตถุไม่ใช่สัตว์ที่สามารถพูด แก้ไขปัญหาและโดยทั่วไปมีคุณสมบัติอย่างมนุษย์ รายละเอียดชีวิตของอีสปที่กระจัดกระจายสามารถพบได้ในแหล่งข้อมูลโบราณ รวมถึงอริสโตเติล เฮโรโดตัส และพลูทาร์ก งานวรรณกรรมโบราณชื่อ The Aesop Romance เล่าชีวิตอีสปเป็นตอน ๆ และอาจเป็นฉบับที่เป็นนิยายอย่างสูง ซึ่งรวมถึงคำอธิบายเขาแต่เดิมว่าเป็นทาสที่น่าเกลียดสะดุดตา ซึ่งได้รับอิสรภาพของตนมาด้วยความฉลาด และกลายเป็นผู้ถวายคำปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์และนครรัฐต่าง ๆ ประเพณีสมัยหลัง (ซึ่งมาจากสมัยกลาง) พรรณนาอีสปว่าเป็นชาวเอธิโอเปียผิวดำ หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ หมวดหมู่:นักเขียนชาวกรีกโบราณ.

ใหม่!!: เพลโตและอีสป · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ล็อก

อห์น ล็อก จอห์น ล็อก (John Locke; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง.

ใหม่!!: เพลโตและจอห์น ล็อก · ดูเพิ่มเติม »

จดหมาย

หมายและซองจดหมาย จดหมาย คือข้อความที่เขียนขึ้นเพื่อส่งสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง อาจมีความหมายรวมไปถึงกระดาษหรือสื่อที่ใช้เขียนหรือสร้างจดหมายนั้น ในอดีตก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 จดหมายเป็นการสื่อสารที่เชื่อถือได้เพียงชนิดเดียวระหว่างบุคคลสองคนจากสถานที่ต่างกัน โดยการส่งผ่านทางนกพิราบสื่อสารหรือด้วยบริการไปรษณีย์ เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น มีการประดิษฐ์โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร หรือแม้กระทั่งอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถส่งสารได้รวดเร็วกว่าจดหมาย ทำให้จดหมายลดความสำคัญลงไป จดหมายอาจมีรูปแบบการเขียนที่ตายตัวสำหรับการใช้งานอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมายราชการ จดหมายเพื่อการติดต่อทางธุรกิจ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ชื่อและที่อยู่ของผู้เขียน วันที่เขียน ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ หัวเรื่อง เนื้อความ คำลงท้าย และลายเซ็น และอาจมีตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นๆ ตามรูปแบบที่กำหนด จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ อาจอยู่ในรูปแบบของจดหมายธรรมดาที่ต้องใส่ในซองจดหมาย หรือรูปแบบไปรษณียบัตร ไปรษณียบรรณ การส่งจดหมายจำเป็นต้องจ่าหน้าที่อยู่ของผู้รับให้ชัดเจน และชำระค่าธรรมเนียมก่อนส่งจดหมายให้เจ้าหน้าที่ หรือติดแสตมป์แล้วหย่อนลงตู้ไปรษณีย์ จากนั้นจดหมายจะถูกส่งไปตามกระบวนการไปยังผู้รับตามที่ได้จ่าหน้าไว้ หากจดหมายไม่ได้ติดแสตมป์อาจมีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมปลายทาง และหากที่อยู่ปลายทางไม่มีผู้รับ จดหมายจะถูกตีกลับไปยังผู้ส่ง ในการเขียนจดหมายที่ได้รับการบันทึกไว้ เช่น ไกลบ้าน ซึ่งเป็นพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเขียนถึงเจ้าฟ้าหญิงนิภานพดลฝ่ายเดียว พ่อสอนลูก ของนายทวี บุญยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเขียนถึงลูกในขณะลี้ภัยการเมืองอยู่ในปีนัง ส่วน สาส์นสมเด็จเป็นจดหมายโต้ตอบ ระหว่างสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และ บันทึกความรู้ เป็นจดหมายโต้ตอบระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กับ พระยาอนุมานราชธน เป็นต้น.

ใหม่!!: เพลโตและจดหมาย · ดูเพิ่มเติม »

ครอบครัว

รอบครัว คือกลุ่มของบุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน มีความใกล้ชิดกัน และอาศัยในที่เดียวกัน ความหมายของครอบครัวในทางพันธุศาสตร์จะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดเป็นหลัก แต่ในสังคม คนทั่วไปมักจะเข้าใจความหมายของครอบครัวในทางภาพลักษณ์มากกว่าทางพันธุศาสตร.

ใหม่!!: เพลโตและครอบครัว · ดูเพิ่มเติม »

ความยุติธรรม

ทพียุติธรรม (Lady Justice) เป็นเครื่องแทนความยุติธรรม ทรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์สามประการ คือ พระขรรค์ หมายถึง อำนาจบังคับบัญชาของศาล ดุลพ่าห์ หมายถึง การชั่งหนักเบาซึ่งข้อหาที่รับมาอยู่ในมือ และผ้าผูกตา หมายถึง ความไม่เลือกที่รักมักที่ชังLuban, ''Law's Blindfold'', 23 ความยุติธรรม เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ความสมเหตุสมผล กฎหมาย กฎหมายธรรมชาติ ศาสนา ความเที่ยงธรรม (equity) และความเป็นธรรม (fairness) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้และสิทธิโดยกำเนิดของมนุษยชาติและพลเมืองทั้งหลาย กับสิทธิของปวงชนและเอกชนที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมายซึ่งว่าด้วยสิทธิพลเมืองของพวกเขาเหล่านั้น โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เหล่ากำเนิด สีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา ความพิการ อายุ ความยากดีมีจน และลักษณะประการอื่น ทั้งยังถือด้วยว่า รวมถึงความยุติธรรมทางสังคม.

ใหม่!!: เพลโตและความยุติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

คุณธรรม

ณธรรม (virtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า "สภาพคุณงามความดี" เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นรากฐานของหลักการและสัตศีลธรรมดี คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นค่านิยมว่าส่งเสริมความยิ่งใหญ่โดยรวมและปัจเจก ตรงข้ามกับคุณธรรม คือ ความชั่วร้าย (vice).

ใหม่!!: เพลโตและคุณธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ปรวิสัย

ปรวิสัย, ปรนัย, วัตถุวิสัย หรือ ภววิสัย (objectivity) คือสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ นั่นคือผลของการตัดสินใด ๆ จะไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและความรู้สึก ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามปรวิสัยมักจะถูกค้นพบมากกว่าที่จะถูกสร้างขึ้นมา ในทางปรัชญา สิ่งที่เป็นปรวิสัยจะเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเวลาใด หรือกับบุคคลใด มีความหมายตรงข้ามกับอัตวิสัย ข้อเท็จจริงที่เป็นอัตวิสัยจะเป็นปรวิสัยก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงบนเงื่อนไขเฉพาะอย่าง ในเวลาเฉพาะ ในสถานที่เฉพาะ หรือกับบุคคลเฉ.

ใหม่!!: เพลโตและปรวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: เพลโตและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาโบราณ

ปรัชญาโบราณเป็นการศึกษาแนวคิดทางปรัชญาโดยอิงอยู่กับช่วงสมัยในประวัติศาสตร์ เช่น เกิดขึ้นมาในตอนไหน ก่อนหน้าช่วงเวลานั้นความคิดทางปรัชญาปรากฏอยู่เป็นอย่างไร ในสมัยที่แนวคิดทางปรัชญาหนึ่งๆ ปรากฏตัวขึ้นนั้นมีแนวคิดใดอีกบ้างที่ปรากฏอยู่ แนวคิดเหล่านั้นได้สนทนาโต้ตอบกันหรือไม่ อย่างไร และหลังจากนั้นเกิดอะไรกับทัศนะทางปรัชญาที่มีต่อมาขนาดไหน อย่างไรบ้าง หมวดหมู่:ปรัชญาโบราณ ro:Filosofia antică greco-romană.

ใหม่!!: เพลโตและปรัชญาโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

แอตแลนติส

แอตแลนติส (Ἀτλαντὶς) คือชื่อในภาษากรีกที่มีความหมายว่า "เกาะแอตลาส" เป็นอาณาจักรในตำนานที่ถูกกล่าวถึงโดยเพลโต ปราชญ์ของกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก กล่าวกันว่าอาณาจักรแอตแลนติส เป็นทวีปๆ หนึ่งที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองผู้ทรงคุณธรรมและเทคโนโลยีที่สูงส่ง กำแพงเมืองเป็นทองคำและวิหารสร้างด้วยเงิน มีอุทยานหย่อนใจ และสนามแข่งม้า ทว่ามันถูกทำลายพังพินาศ ด้วยความพิโรธของเทพเจ้าผู้เนรมิตรมันขึ้นมา คำว่า แอตแลนติส มาจากแอตลาสบุตรของโพไซดอน แอตแลนติสอาจอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักประดาน้ำบางคนพบขุมทองบริเวณนั้นนั่นเอง เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีกเขียนไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งยุคของเพลโต ห่างจากยุคของแอตแลนติสราว 9,000 ปี เพลโตเขียนถึงแอตแลนติสในหนังสือที่ชื่อว่า ทิเมอุส และ ครีทีแอซ โดยอ้างว่า โซลอน รัฐบุรุษคนหนึ่งของกรีกราวยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้นำมาเผยแพร่หลังจากรับทราบเรื่องราวของแอตแลนติสจากนักบวชชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง มีการกล่าวว่า อารยธรรมโบราณหลายๆ แห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ รวมถึงบรรดาวัฒนธรรมเมโสโปเตเมียทั้งหลาย ไปจนถึงวัฒนธรรมโบราณของชนเผ่าอินคา มายา และแอซแต็กในแถบอเมริกากลาง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่มหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นสโตนเฮ้นจ์ หรือปิรามิดในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็เป็นมรดกจากชาวแอตแลนติสทั้งสิ้น.

ใหม่!!: เพลโตและแอตแลนติส · ดูเพิ่มเติม »

แอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรี

นักบุญแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 142 (Anselm of Canterbury.) เดิมชื่อ อันเซลโม เด กันเดีย จีเนฟรา เป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เกิดเมื่อค.ศ. 1033 ที่เมืองอาออสตา ราชอาณาจกัรเบอร์กันดี และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1109 ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในประเทศอังกฤษ นักบุญแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นนักพรตคณะเบเนดิกติน นักปรัชญาและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ ในด้านการปกครองคริสตจักร ท่านดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีระหว่างปี ค.ศ. 1093 ถึงปี ค.ศ. 1109 ได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิอัสสมาจารย์นิยม (scholasticism) และมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้เริ่มข้อพิสูจน์ทางภววิทยา (ontological argument) เกี่ยวกับว่าพระเป็นเจ้ามีจริงหรือไม่และเป็นบาทหลวงผู้เป็นปฏิปักษ์อย่างเปิดเผยต่อสงครามครู.

ใหม่!!: เพลโตและแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

โสกราตีส

''การตายของโสกราตีส'' โดยจาค์หลุยส์ ดาวิด พ.ศ. 2330 โสกราตีส (Σωκράτης; Socrates; 4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล — 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปราชญ์ของกรีกโบราณและเป็นชาวเมืองเอเธนส์ ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก.

ใหม่!!: เพลโตและโสกราตีส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: เพลโตและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส ฮอบส์

ทมัส ฮอบส์ วาดโดย John Michael Wright โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) (5 เมษายน พ.ศ. 2131 (ค.ศ. 1588) - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2222 (ค.ศ. 1679)) เป็นนักปรัชญาการเมือง ชาวอังกฤษ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากผลงานที่สำคัญคือหนังสือชื่อ Leviathan ที่เขียนขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เพลโตและโทมัส ฮอบส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไญยนิยม

ญยนิยม หรือลัทธินอสติก (gnosticism; γνῶσις gnōsis ความรู้; الغنوصية‎) คือแนวคิดทางศาสนารูปแบบหนึ่งในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ควรสละโลกวัตถุ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณ แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อศาสนาสมัยโบราณ ดังเห็นได้จากการถือพรต ถือพรหมจรรย์ เพื่อให้ถึงการหลุดพ้น การตรัสรู้ ความรอด การกลับไปรวมกับพระเป็นเจ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ไญยนิยมเริ่มปรากฏรูปแบบชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในบริบทของศาสนาคริสต์ ในอดีตนักวิชาการบางคนเชื่อว่าไญยนิยมเกิดขึ้นก่อนศาสนาคริสต์ และเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อและการปฏิบัติหลายอย่างที่แพร่หลายอยู่แล้วในสมัยนั้น ทั้งในศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนายูดาห์แบบเฮลเลนิสต์ ศาสนาโรมันโบราณ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และลัทธิเพลโต แต่เมื่อค้นพบหอสมุดนักฮัมมาดี กลับไม่ปรากฏตำราไญยนิยม จึงได้ข้อสรุปว่าไญยนิยมที่เป็นระบบ เป็นเอกภาพ เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2.

ใหม่!!: เพลโตและไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เรอเน เดการ์ต

รอเน เดการ์ต (René Descartes) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ นอกจากที่เขาเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา เดการ์ตได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18.

ใหม่!!: เพลโตและเรอเน เดการ์ต · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: เพลโตและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลิตุส

ราคลิตุสชาวเอเฟซัส (Heraclitus the Ephesian; กรีกโบราณ: Ἡράκλειτος ὁ Ἐφέσιος — Hērákleitos ho Ephésios) (ราว 535 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 475 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักปรัชญายุคก่อนโสกราตีสชาวกรีกผู้ที่เดิมมาจากเอเฟซัสใน ไอโอเนียบนฝั่งทะเลอานาโตเลีย เฮราคลิตุสเป็นที่รู้จักกันในปรัชญาของความเปลี่ยนแปลงที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และกฎจักรวาล (Logos) เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ในปัจจุบันเฮราคลิตุสมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีอิทธิพลต่อฟรีดริช นีทเชอในปรัชญาของ space และ time จากประโยค “ท่านไม่สามารถจะก้าวลงไปในแม่น้ำเดียวกันเป็นครั้งที่สองเพราะแม่น้ำสายอื่นไหลมาสู่ตัวท่าน”.

ใหม่!!: เพลโตและเฮราคลิตุส · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ฮูม

วิด ฮูม เดวิด ฮูม (David Hume26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น) หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้ว.

ใหม่!!: เพลโตและเดวิด ฮูม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Platoพลาโตเพลโต้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »