โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัปดาห์

ดัชนี สัปดาห์

ัปดาห์ เป็นหน่วยวัดเวลาเท่ากับเจ็ดวัน เป็นหน่วยเล็กกว่าเดือน อย่างไรก็ดี บางครั้งคำว่า "สัปดาห์" นี้ยังหมายถึงหน่วยวัดเวลาอื่นซึ่งน้อยหรือมากกว่าเจ็ด โดยในประวัติศาสตร์ สัปดาห์หนึ่งยาวสี่ถึงสิบวันในที่ต่าง ๆ กัน หลักฐานการนับว่าสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันอย่างต่อเนื่องมานั้นปรากฏในหมู่ชาวยิวระหว่างการคุมขังที่บาบิโลน (Babylonian Captivity) ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ทั้งศาสนายูดาย (ตามบรรยายการสรรค์สร้างในโทราห์/ไบเบิล) และบาบิโลนโบราณใช้สัปดาห์เจ็ดวัน วัฒนธรรมอื่นได้รับเอาสัปดาห์เจ็ดวันไปในเวลาแตกต่างกัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 3 จักรวรรดิโรมันค่อย ๆ แทนที่ปฏิทินโรมันซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีแปดวันด้วยสัปดาห์เจ็ดวัน ชาวฮินดูอาจรับสัปดาห์เจ็ดวันก่อนศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าชาวจีนบางกลุ่มได้ใช้สัปดาห์เจ็ดวันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4.

10 ความสัมพันธ์: ชื่อวันของสัปดาห์วันศาสนายูดาห์ศาสนาฮินดูจักรวรรดิโรมันคัมภีร์ไบเบิลปีอธิกสุรทินโทราห์เวลาเดือน

ชื่อวันของสัปดาห์

วันในสัปดาห์ ถูกตั้งชื่อตามวัตถุบนท้องฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ และ ดาวเสาร์ ซึ่งเป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสนใจในเรื่องของฟากฟ้าแล้ว วันเสาร์และวันอาทิตย์ถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันแห่งการพักผ่อนหรือนันทนาการในประเทศตะวันตก ส่วนวันศุกร์และวันเสาร์ เป็นวันแห่งการพักผ่อนในประเทศมุสลิมบางประเทศ ในอิสราเอล ถือว่าวันเสาร์และวันศุกร์หรือวันอาทิตย์เป็นวันพักผ่อนของสัปดาห์ตามโอกาส แต่ในบางประเทศ เช่น อิหร่าน มีวันหยุดของสัปดาห์เพียงแค่หนึ่งวัน คือ วันศุกร์เท่านั้น และสัปดาห์ใหม่จะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ ประเทศมุสลิมอื่น ๆ มักจะมีวันหยุดเป็นวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์ตามวิชาโหราศาสตร์ ในศาสนายูดาย และใน Ecclesiastical Latin รวมไปถึงในสหรัฐอเมริกา และในบางประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ รวมไปถึง ประเทศไทย ด้วย ส่วนประเทศจำนวนมากในยุโรป อเมริกาใต้ และบางส่วนของเอเชีย ถือว่าวันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างนานาชาติมาตรฐานสำหรับการใช้วันและเวลา ISO 8601 ซึ่งกำหนดให้วันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ และวันอาทิตย์เป็นวันสุดท้ายของสัปดาห.

ใหม่!!: สัปดาห์และชื่อวันของสัปดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: สัปดาห์และวัน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: สัปดาห์และศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: สัปดาห์และศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: สัปดาห์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สัปดาห์และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ปีอธิกสุรทิน

ปีอธิกสุรทิน (leap year) เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของปฏิทินสุริยจันทรคติ) เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า ปีปกติสุรทิน (common year) ตัวอย่างเช่น ในปฏิทินเกรโกเรียน (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ คล้ายกัน ในปฏิทินฮีบรู (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป.

ใหม่!!: สัปดาห์และปีอธิกสุรทิน · ดูเพิ่มเติม »

โทราห์

ทราห์ (Torah; תּוֹרָה โทราห์; التوراة เตารอต; Τορά) เป็นชื่อของชุดคัมภีร์ชุดแรกในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ 5 เล่มแรกในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ หมายถึง บทบัญญัติ ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยแปลว่า ธรรมบัญญัติ หรือ พระบัญญัติ ภายหลังได้มีการแปลเป็นภาษากรีกจึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า เบญจบรรณ (Pentateuch) หมายถึง ที่บรรจุห้าอัน คือหนังสือ 5 เล่มแรกของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ได้แก.

ใหม่!!: สัปดาห์และโทราห์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลา

ำหรับนวนิยายซีไรต์ดูที่ เวลา (นวนิยาย) นาฬิกาพก เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเวลา เวลา ในมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของไอแซก นิวตัน อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของอิมมานูเอล คานต์ และกอตฟรีด ไลบ์นิซ บางที มุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่ จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติ ความหมายของการดำเนินงาน หรือ(operational definition) ซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เวลา เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศิลปศาสตร์ แต่ละสาขาก็มีมุมมองต่าง ๆ กันไป เช่น ในวิชาเศรษฐศาสตร์ อาจมองว่า "เวลาเป็นเงินทอง" ("Time is money.") เป็นต้น.

ใหม่!!: สัปดาห์และเวลา · ดูเพิ่มเติม »

เดือน

ือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: สัปดาห์และเดือน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »