โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร

ดัชนี ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร

ตราจารย์ ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักเขียนประจำนิตยสารวิภาษาเป็นนักวิชาการด้านการเมืองภาคประชาชนและเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกและผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีหลังสมัยใหม่ สัญวิทยา และหลังโครงสร้างนิยม ในวงวิชาการของประเทศไทย ที่ควบคู่ไปกับ นพพร ประชากุล และธเนศ วงศ์ยานนาวา เป็นต้น งานเขียนของไชยรัตน์ในเรื่องดังกล่าวจัดเป็นงานเขียนภาษาไทยที่บุกเบิกและสำคัญต่อทฤษฎีหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะหนังสือชื่อ "วาทกรรมการพัฒนา" ที่เป็นงานเขียนชิ้นสำคัญที่นำทฤษฎีกลุ่มหลังสมัยใหม่ของนักคิดสกุลฝรั่งเศสอย่าง มิเชล ฟูโกต์ มาใช้อธิบายการพัฒนาในกลุ่มประเทศโลกที่สาม เป็นต้น จัดเป็นงานเขียนยุคแรก ๆ ของการศึกษาแนวคิดหลังสมัยใหม่ในประเทศไทย หนังสือดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้เป็นตำราในการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาหลาย ๆ สาขาในประเทศไทยและถูกนำไปใช้อ้างอิงในวงวิชาการของไทยอยู่มาก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ ปรัชญา วรรณกรรม สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ฯลฯ และมีอิทธิพลต่อความคิดนักวิชาการหัวก้าวหน้าหลายท่าน เช่น ยุกติ มุกดาวิจิตร, บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ, จันทนี เจริญศรี เป็นต้น.

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2516พ.ศ. 2550พ.ศ. 2556ญาณวิทยามหาวิทยาลัยวะเซะดะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยแคนซัสมหาวิทยาลัยเยลมีแชล ฟูโกรอล็อง บาร์ตศาสตราจารย์สหรัฐจริยธรรมธเนศ วงศ์ยานนาวาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประเทศไทยปรัชญาการเมืองไพโรจน์ สุวรรณฉวีเสกสรรค์ ประเสริฐกุลเหตุการณ์ 14 ตุลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2556

ทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและพ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและญาณวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวะเซะดะ

ในบริเวณมหาวิทยาลัยวะเซะดะ มหาวิทยาลัยวะเซะดะ หรือมักจะเรียกย่อว่า โซได (早大) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนตั้งอยู่ในเขตชินจูกุในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น วะเซะดะมีชื่อเสียงในด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและรัฐศาสตร์ และในด้านอื่นหลายด้านซึ่งวะเซะดะมักจะถูกเทียบกับมหาวิทยาลัยเคโอ ที่มีชื่อเสียงมากเช่นกันในญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมีกีฬาเบสบอลแข่งกันของทั้งสองมหาวิทยาลัยคล้าย ๆ กับมหาวิทยาลัย Oxford-Cambridge ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของฝั่งอังกฤษและที่มีกีฬาพายเรือแข่งกัน มหาวิทยาลัยวะเซะดะ ยังอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ Tokyo 6 Universities Alliance ซึ่งเทียบเคียงได้กับกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกในประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและมหาวิทยาลัยวะเซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคนซัส

อาคาร Lippincott Hall ตระหง่านอยู่เบื้องหลังรูปปั้นของ Jimmy Green คณบดีคนแรกของคณะนิติศาสตร์ ในอิริยาบถขณะกำลังยืนพูดคุยกับนักศึกษา The Forum อาคารเรียนสตูดิโอ ซึ่งออกแบบและก่อสร้างเองโดยนักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคนซัส (University of Kansas มักย่อว่า เคยู (KU) หรือ แคนซัส) เป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองลอว์เรนซ์ ในรัฐแคนซัส มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1865 มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์และนักวิจัยประมาณ 5,500 คน และนักศึกษาประมาณ 27,000 คน น้ำพุหน้าไคโอเมกา นอกจากวิทยาเขตหลักในเมืองลอว์เรนซ์แล้ว มหาวิทยาลัยมีศูนย์การแพทย์ (KU Medical Center) ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล (University of Kansas Hospital) ตั้งอยู่ที่เมืองแคนซัสซิตี นอกจากนี้มหาวิทยาลัยแคนซัสเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ริเริ่มจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยา (Sociology) เมื่อปี 1890 ทีมกีฬามหาวิทยาลัยมีชื่อว่า เจย์ฮอกส์ (Jayhawks) โดยมีสัญลักษณ์เป็นนกผสมระหว่างบลูเจย์และเหยี่ยวสแปร์โรว์ (สแปร์โรว์ฮอว์ก) ทีมบาสเกตบอลของมหาวิทยาลัยมีผลงานชนะการแข่งขันระดับประเทศใน NCAA เป็นจำนวน 3 ครั้ง ในปี 1952, 1988, 2008 และรองชนะเลิศ 6 ครั้งในปี 1940, 1953, 1957, 1991, 2003, 2012.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและมหาวิทยาลัยแคนซัส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเยล

ห้องสมุดรัฐศาสมหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งใน ค.ศ. 1701 มหาวิทยาลัยเยลเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเยลอยู่ในกลุ่มไอวี่ลีก ในปี พ.ศ. 2549 มีนักเรียน 16,700 คน อาจารย์ 2,300 คน.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและมหาวิทยาลัยเยล · ดูเพิ่มเติม »

มีแชล ฟูโก

มีแชล ฟูโก (Michel Foucault,; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) เป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ความคิด นักทฤษฎีสังคม นักนิรุกติศาสตร์ และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" (Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France) และเคยสอนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะนักทฤษฎีสังคม ฟูโกให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความรู้ รวมถึงวิธีการที่สถาบันทางสังคมต่างๆ ใช้อำนาจและความรู้เป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้คนในสังคม ฟูโกมักถูกมองว่าเป็นตัวแทนของญาณวิทยาแบบหลังโครงสร้างนิยมและเป็นตัวแทนของนักคิดยุคหลังสมัยใหม่ แต่ตัวเขาเองปฏิเสธเรื่องนี้มาโดยตลอด ฟูโกเลือกจะอธิบายว่าความคิดของเขาเป็นประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ต่อความเป็นสมัยใหม่มากกว่า ความคิดของฟูโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งทั้งในทางวิชาการและในทางการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น ในขบวนการหลังอนาธิปไต.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและมีแชล ฟูโก · ดูเพิ่มเติม »

รอล็อง บาร์ต

รอล็อง บาร์ต (Roland Barthes,; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1915 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1980) เป็นนักวิพากษ์วรรณกรรม นักทฤษฎีวรรณกรรมและทฤษฎีสังคม นักปรัชญา และนักสัญวิทยา งานของบาร์ตแผ่คลุมหลายสาขาวิชา และเขามีอิทธิพลต่อการพัฒนาสำนักทฤษฎีหลายสำนัก ซึ่งรวมถึง โครงสร้างนิยม สัญวิทยา อัตถิภาวนิยม ลัทธิมาร์กซ์ และหลังโครงสร้างนิยม หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:โครงสร้างนิยม.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและรอล็อง บาร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตราจารย์

ตราจารย์ (อักษรย่อ ศ.) คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ความหมายของ ศาสตราจารย์ (professor) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ หลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ (profesor) ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

นศ วงศ์ยานนาวา (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2500) เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการชาวไทยที่มีความถนัดและผลงานทางด้านสังคมศาสตร์โดยเฉพาะด้านปรัชญาการเมือง ทฤษฎีสังคม ประวัติศาสตร์ความคิด โดยเฉพาะในเรื่องของแนวคิดหลังยุคนวนิยมหรือ โพสต์โมเดิร์น จนได้รับฉายาว่าเป็น "'เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์น'" คนหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมทางสังคมเช่น ดนตรี ภาพยนตร์ เพศและ อาหาร อีกด้วย ธเนศยังเป็นบรรณาธิการรัฐศาสตร์สารของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับดนตรีและภาพยนตร์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์โดยใช้นามปากกา "ธนา วงศ์ญาณณาเวช" ซึ่งเป็นคำผวนของชื่อจริงและนามสกุลของธเนศเอง นอกจากนี้ธเนศยังมีรายการ ทางช่องใน Youtube ทำร่วมกับแขกผู้ดำเนินรายการอื่นๆ และยังมีกลุ่ม ใน Facebook ที่ซึ่งสมาชิกจะสามารถถามคำถามต่างๆได้ตั้งแต่ก้อนขี้หมายันก้อนอุกาบาต โดยอาจารย์จะเข้ามาตอบคำถามเพื่อคลายข้อสงสัยนั้น.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและธเนศ วงศ์ยานนาวา · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Political Science, Thammasat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ จัดเป็น 1 ใน 4 คณะวิชาก่อตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาลำดับที่ 3 ของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและปรัชญาการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ไพโรจน์ สุวรรณฉวี

ว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และแกนนำกลุ่มโคราช พรรคเพื่อแผ่นดิน.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและไพโรจน์ สุวรรณฉวี · ดูเพิ่มเติม »

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

กสรรค์ ประเสริฐกุล (พ.ศ. 2492 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา) เป็นอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 นักเขียนรางวัลศรีบูรพา เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและเสกสรรค์ ประเสริฐกุล · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและเหตุการณ์ 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (The Most Noble Order of the Crown of Thailand) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูง แก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้น เมื่อ..

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬารและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »