โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รอล็อง บาร์ต

ดัชนี รอล็อง บาร์ต

รอล็อง บาร์ต (Roland Barthes,; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1915 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1980) เป็นนักวิพากษ์วรรณกรรม นักทฤษฎีวรรณกรรมและทฤษฎีสังคม นักปรัชญา และนักสัญวิทยา งานของบาร์ตแผ่คลุมหลายสาขาวิชา และเขามีอิทธิพลต่อการพัฒนาสำนักทฤษฎีหลายสำนัก ซึ่งรวมถึง โครงสร้างนิยม สัญวิทยา อัตถิภาวนิยม ลัทธิมาร์กซ์ และหลังโครงสร้างนิยม หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:โครงสร้างนิยม.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2458พ.ศ. 2523มีแชล ฟูโกลัทธิมากซ์อัตถิภาวนิยมฌ็อง-ปอล ซาทร์คาร์ล มากซ์ซิกมุนด์ ฟรอยด์ปรัชญาตะวันตกแฟร์ดิน็อง เดอ โซซูร์12 พฤศจิกายน25 มีนาคม

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2523

ทธศักราช 2523 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1980 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและพ.ศ. 2523 · ดูเพิ่มเติม »

มีแชล ฟูโก

มีแชล ฟูโก (Michel Foucault,; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) เป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ความคิด นักทฤษฎีสังคม นักนิรุกติศาสตร์ และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" (Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France) และเคยสอนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะนักทฤษฎีสังคม ฟูโกให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความรู้ รวมถึงวิธีการที่สถาบันทางสังคมต่างๆ ใช้อำนาจและความรู้เป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้คนในสังคม ฟูโกมักถูกมองว่าเป็นตัวแทนของญาณวิทยาแบบหลังโครงสร้างนิยมและเป็นตัวแทนของนักคิดยุคหลังสมัยใหม่ แต่ตัวเขาเองปฏิเสธเรื่องนี้มาโดยตลอด ฟูโกเลือกจะอธิบายว่าความคิดของเขาเป็นประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ต่อความเป็นสมัยใหม่มากกว่า ความคิดของฟูโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งทั้งในทางวิชาการและในทางการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น ในขบวนการหลังอนาธิปไต.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและมีแชล ฟูโก · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตถิภาวนิยม

อัตถิภาวนิยม (existentialism) คือ แนวคิดทางปรัชญาที่พิจารณาว่าปัจเจก ตัวตน ประสบการณ์ของปัจเจกแต่ละคน และความพิเศษอันเป็นหนึ่งเดียวของสิ่งที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของการมีอยู่ของมนุษย์ ปรัชญาแนวนี้โดยทั่วไปจะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในอิสรภาพ และยอมรับในผลสืบเนื่องจากการกระทำของปัจเจก และยังเชื่อว่าปัจเจกจะต้องรับผิดชอบกับทางเลือกที่ได้เลือกไว้ด้วย นักคิดแนวอัตถิภาวนิยมนั้นให้ความสำคัญกับอัตวิสัย (subjectivity) และมองว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษ และมักเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจน.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและอัตถิภาวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ปอล ซาทร์

็อง-ปอล ซาทร์ ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและฌ็อง-ปอล ซาทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาตะวันตก

ปรัชญาตะวันตก ถือกำเนิดโดยเธลีสแห่งมิเลทัส เมื่อ 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช วิธีการของเธลีสแตกต่างกับปรัชญาตะวันออกอย่างมาก คือ ปรับคำถามที่สลับซับซ้อนให้เป็นคำถามง่าย ๆ เป็นคำถามที่มีรากฐาน เธลีสเป็นบุคคลที่รักการขบคิดอย่างมาก ปัจจุบันมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเธลีสหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและปรัชญาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

แฟร์ดิน็อง เดอ โซซูร์

แฟร์ดิน็อง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) (26 พ.ย. 1857 – 22 ก.พ. 1913) เป็นนักภาษาศาสตร์ชาวสวิส ซึ่งแนวคิดของเขาได้ปูรากฐานที่สำคัญจำนวนมากในพัฒนาการของภาษาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในบิดาของภาษาศาสตร์ยุคศตวรรษที่ 20 และแนวคิดของเขามีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการทำวิจัยกับลิงใหญ่ (ape).

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและแฟร์ดิน็อง เดอ โซซูร์ · ดูเพิ่มเติม »

12 พฤศจิกายน

วันที่ 12 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 316 ของปี (วันที่ 317 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 49 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและ12 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: รอล็อง บาร์ตและ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Roland Barthesโลร็องด์ บาร์ตส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »