โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มีแชล ฟูโก

ดัชนี มีแชล ฟูโก

มีแชล ฟูโก (Michel Foucault,; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) เป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ความคิด นักทฤษฎีสังคม นักนิรุกติศาสตร์ และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" (Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France) และเคยสอนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะนักทฤษฎีสังคม ฟูโกให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความรู้ รวมถึงวิธีการที่สถาบันทางสังคมต่างๆ ใช้อำนาจและความรู้เป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้คนในสังคม ฟูโกมักถูกมองว่าเป็นตัวแทนของญาณวิทยาแบบหลังโครงสร้างนิยมและเป็นตัวแทนของนักคิดยุคหลังสมัยใหม่ แต่ตัวเขาเองปฏิเสธเรื่องนี้มาโดยตลอด ฟูโกเลือกจะอธิบายว่าความคิดของเขาเป็นประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ต่อความเป็นสมัยใหม่มากกว่า ความคิดของฟูโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งทั้งในทางวิชาการและในทางการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น ในขบวนการหลังอนาธิปไต.

14 ความสัมพันธ์: ญาณวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์อิมมานูเอล คานต์จริยธรรมธเนศ วงศ์ยานนาวาฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆสประเทศฝรั่งเศสปรัชญาปรัชญาการเมืองปรัชญาตะวันตกปัวตีเยปารีสเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลเซอเรน เคียร์เคอกอร์

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและญาณวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

ในตัวมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley.) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) และเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดากลุ่มมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์มีชื่อเสียงในหลากหลายด้านเช่น ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ รวมถึงมีการค้นพบไซโคลตรอน (cyclotron) โดย เออร์เนสต์ ลอว์เรนซ์ และมีการค้นพบธาตุเคมี 17 ธาตุใหม่ การพัฒนาอินเทอร์เน็ต การพัฒนายูนิกซ์ BSD และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกลำดับที่ 4 สำหรับการจัดอันดับของ ของปี 2012 และ อันดับที่ 5 สำหรับการจัดมหาวิทยาที่มีชื่อเสียงของ ของปี 2013 สำหรับนักศึกษาที่อาศัยอยู่ใน California จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 12,876 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี (ปี พ.ศ. 2555) ส่วนนักศึกษาปริญญาตรีที่มาจากที่อื่นจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 35,754 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี (ปี พ.ศ. 2555) ในปี..

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

นศ วงศ์ยานนาวา (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2500) เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการชาวไทยที่มีความถนัดและผลงานทางด้านสังคมศาสตร์โดยเฉพาะด้านปรัชญาการเมือง ทฤษฎีสังคม ประวัติศาสตร์ความคิด โดยเฉพาะในเรื่องของแนวคิดหลังยุคนวนิยมหรือ โพสต์โมเดิร์น จนได้รับฉายาว่าเป็น "'เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์น'" คนหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมทางสังคมเช่น ดนตรี ภาพยนตร์ เพศและ อาหาร อีกด้วย ธเนศยังเป็นบรรณาธิการรัฐศาสตร์สารของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับดนตรีและภาพยนตร์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์โดยใช้นามปากกา "ธนา วงศ์ญาณณาเวช" ซึ่งเป็นคำผวนของชื่อจริงและนามสกุลของธเนศเอง นอกจากนี้ธเนศยังมีรายการ ทางช่องใน Youtube ทำร่วมกับแขกผู้ดำเนินรายการอื่นๆ และยังมีกลุ่ม ใน Facebook ที่ซึ่งสมาชิกจะสามารถถามคำถามต่างๆได้ตั้งแต่ก้อนขี้หมายันก้อนอุกาบาต โดยอาจารย์จะเข้ามาตอบคำถามเพื่อคลายข้อสงสัยนั้น.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและธเนศ วงศ์ยานนาวา · ดูเพิ่มเติม »

ฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส

ฆอร์เฆ ฟรันซิสโก อิซิโดโร ลุยส์ บอร์เฆส (Jorge Francisco Isidoro Luis Borges; 24 สิงหาคม 1899 – 14 มิถุนายน 1986), หรือที่รู้จักกันในนาม ฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส เป็นนักเขียนเรื่องสั้น กวี และนักแปลชาวอาร์เจนตินา เกิดที่กรุงบัวโนสไอเรส ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือ Ficciones (1944) และ Aleph (1949) เป็นการรวบรวมเรื่องสั้นที่เชื่อมต่อด้วยแก่นเรื่องทั่วไป เช่น ความฝัน เขาวงกต ห้องสมุด กระจก นักเขียนบันเทิงคดี ปรัชญา และศาสนา ผลงานของเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมปรัชญาและบางส่วนก็มีจินตนาการและพลังวิเศษ ซึ่งนำไปสู่การเขียนบันเทิงคดีแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ หมวดหมู่:กวีชาวอาร์เจนตินา หมวดหมู่:บุคคลจากบัวโนสไอเรส.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและปรัชญาการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาตะวันตก

ปรัชญาตะวันตก ถือกำเนิดโดยเธลีสแห่งมิเลทัส เมื่อ 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช วิธีการของเธลีสแตกต่างกับปรัชญาตะวันออกอย่างมาก คือ ปรับคำถามที่สลับซับซ้อนให้เป็นคำถามง่าย ๆ เป็นคำถามที่มีรากฐาน เธลีสเป็นบุคคลที่รักการขบคิดอย่างมาก ปัจจุบันมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเธลีสหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและปรัชญาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ปัวตีเย

ปัวตีเย (Poitiers) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ในจังหวัดเวียนของแคว้นปัวตู-ชาร็องต์ ใจกลางเมืองเป็นเมืองที่น่าดูที่ยังคงมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะจากสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ ปัวตีเยมีบทบาทสำคัญในประวัติของยุคกลางตอนปล.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและปัวตีเย · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เซอเรน เคียร์เคอกอร์

เซอเรน เคียร์เคอกอร์ เซอเรน โอบึย เคียร์เคอกอร์ (Søren Aabye Kierkegaard: 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 - 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1855) เป็นนักปรัชญาชาวเดนมาร์กในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถือกันโดยทั่วไปว่าเขาเป็นนักปรัชญาอัตถิภาวนิยมคนแรก แม้ว่างานวิจัยในชั้นหลัง ๆ จะแสดงว่าการเชื่อมโยงดังกล่าวอาจกระทำได้ยากกว่าที่เคยคิดกันก็ตาม ในด้านความคิดทางปรัชญานั้น เคียร์เคอกอร์ถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างปรัชญาแบบเฮเกิลกับปรัชญาที่จะคลี่คลายไปเป็นอัตถิภาวนิยมในภายหลัง เขาปฏิเสธอย่างแข็งขันทั้งปรัชญาแบบเฮเกิลที่กำลังเฟื่องฟูในสมัยนั้นและสิ่งที่เขาเรียกว่ารูปแบบอันว่างเปล่าของคริสตจักรเดนมาร์ก งานของเขาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาทางศาสนา เช่น ธรรมชาติของศรัทธา ความเป็นสถาบันของคริสต์ศาสนจักร และเรื่องจริยธรรมและเทววิทยาคริสเตียน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ บางคนจึงจัดให้งานของเคียร์เคอกอร์อยู่ในประเภทของอัตถิภาวนิยมคริสเตียน งานของเคียร์เคอกอร์อาจยากแก่การตีความ เนื่องจากงานที่เขาเขียนในระยะแรกนั้นเขียนโดยใช้นามแฝงต่าง ๆ กัน และบ่อยครั้งที่งานที่เขาเขียนโดยใช้นามแฝงชื่อหนึ่งจะได้รับความเห็นหรือข้อวิจารณ์จากงานเขียนที่เขาใช้นามแฝงอีกชื่อหนึ่ง หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเดนมาร์ก หมวดหมู่:บุคคลจากโคเปนเฮเกน.

ใหม่!!: มีแชล ฟูโกและเซอเรน เคียร์เคอกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Michel Foucaultมิเชล ฟูโกต์ฟูโกต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »