เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เวเพอร์เวฟ

ดัชนี เวเพอร์เวฟ

วเพอร์เวฟ (vaporwave หรือ vapourwave) เป็นแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ และ อินเทอร์เน็ตมีม ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นยุค 2010 โดยแนวดนตรีมักจะรวมความหลงใหลจากเพลงยุค 1980 และ 1990 เช่น ดนตรีเลานจ์ สมูธแจ๊ส อาร์แอนด์บี และ ดนตรีลิฟต์ ที่ใช้แซมเพิลเพลงหรือใช้เทคนิคผ่านการตัดต่อเสียงส่วนท่อนเพลงช้าๆมาใส่ รวมทั้งการเพื่มเอฟเฟกต์อื่นๆ วัฒนธรรมย่อยที่เกี่ยวข้องกับ เวเพอร์เวฟ มักจะมีการเสียดสีกับการบริโภคแบบทุนนิยมและวัฒนธรรมสมัยนิยม รวมลักษณะที่เกี่ยวกับ การนึกถึงความหลัง และ ลัทธิเหนือจริง ที่ผูกพันกับ ความบันเทิงสมัยนิยม เทคโนโลยี และ โฆษณา ในยุค 1980 และ 1990 นอกจากนี้ยังรวมภาพออกแบบเว็บไซต์อินเทอร์เน็ตในช่วงปลายยุค 1990 รวมทั้งการใช้ ศิลปะแบบกลิตซ์ และ ไซเบอร์พังก์ เวเพอร์เวฟ มีกำเนิดมาจากการทดลองดนตรีฮิปนากอจิกป็อป มีโปรคิวเซอร์บุกเบิก เช่น เจมส์ เฟอร์ราโร, แดเนียล โลพาทิน และเวกทรอยด์ (Vektroid) หลังจากที่มีการปล่อยอัลบั้ม Floral Shoppe (ธันวาคม ศ.ค.

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: การโฆษณาลัทธิเหนือจริงลาสต์.เอฟเอ็มวัฒนธรรมประชานิยมสมูธแจ๊สอาร์ตป็อป (อัลบั้มเพลง)อาร์แอนด์บีร่วมสมัยอินเทอร์เน็ตมีมดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชันดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ดนตรีแดนซ์ซีเควนเซอร์นิวเอจแบนด์แคมป์แซมเพลอร์ไซเบอร์พังก์

  2. ดนตรีอินดี
  3. ดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 2010
  4. ดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 2020
  5. ประเภทดนตรีอิเล็กทรอนิกส์
  6. ประเภทดนตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 21

การโฆษณา

การโฆษณา (advertising) เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพื่อบอกกล่าวให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่าง รู้จักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันทำโดยเผยแพร่งานโฆษณา ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางใดทางหนึ่ง.

ดู เวเพอร์เวฟและการโฆษณา

ลัทธิเหนือจริง

“Arrested Expansion หรือ Cardiac Arrest” โดย จอร์จ กรี (George Grie) ลัทธิเหนือจริง หรือ เซอร์เรียลลิซึม (Surrealism) เป็น “ลัทธิ” หรือ “ขบวนการ” ทางวรรณศิลป์และทัศนศิลป์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อ็องเดร เบรอตง (Andre Breton) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มดาดา (Dadaism) ที่มีเป้าหมายใช้ความก้าวร้าวรุนแรงเพื่อต่อต้านสงคราม ต่อต้านค่านิยมของชนชั้นกลางทุกชนิดรวมทั้งคริสต์ศาสนา ต้องการทำลายขนบประเพณีที่ชนชั้นกลางสะสมไว้รวมทั้งศิลปวรรณคดีด้วย หลังจากร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มดาดาอยู่ระยะหนึ่งเบรอตงกับเพื่อนก็แยกตัวออกมาตั้งกลุ่มใหม่ คือ กลุ่มเซอร์เรียลลิซึม ซึ่งยังรับเอาความก้าวร้าวมุ่งทำลายค่านิยมของชนชั้นกลางของดาดามาเป็นฐานแต่มุ่งสร้างค่านิยมใหม.

ดู เวเพอร์เวฟและลัทธิเหนือจริง

ลาสต์.เอฟเอ็ม

ลาสต.เอฟเอ็ม (Last.fm สามารถอ่านเป็น ลาสต์เอฟเอ็ม หรือ ลาสต์ดอตเอฟเอ็ม) เป็นสถานีวิทยุบนอินเทอร์เน็ตของสหราชอาณาจักร และเว็บไซต์ชุมชนคนสร้างสรรค์ดนตรี ก่อตั้งเมื่อ..

ดู เวเพอร์เวฟและลาสต์.เอฟเอ็ม

วัฒนธรรมประชานิยม

วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture หรือ pop culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม วัฒนธรรมประชานิยมมักมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมประชานิยมคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความคิด มุมมอง ทัศนคติ ภาพลักษณ์ การเลียนแบบ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของสังคมในท่ามกลางวัฒนธรรมกระแสหลัก ส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม เช่น เพลงป็อปหรือเพลงสมัยนิยมที่จะเน้นในลักษณะตามความชอบของคนในสมัยนั้น เพลงป็อปในญี่ปุ่นจะเรียกว่า เจ-ป็อป.

ดู เวเพอร์เวฟและวัฒนธรรมประชานิยม

สมูธแจ๊ส

มูธแจ๊ส (Smooth jazz) เป็นแนวดนตรีย่อยของแจ๊สเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนว อาร์แอนด์บี ฟังก์ และ ป็อป.

ดู เวเพอร์เวฟและสมูธแจ๊ส

อาร์ตป็อป (อัลบั้มเพลง)

อาร์ทป็อป (Artpop หรือ ARTPOP) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของเลดี้ กาก้า ศิลปินหญิงชาวอเมริกัน เป็นสตูดิโออัลบั้มต่อจากอัลบั้มบอร์นดิสเวย์ ที่จะมีการออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.

ดู เวเพอร์เวฟและอาร์ตป็อป (อัลบั้มเพลง)

อาร์แอนด์บีร่วมสมัย

อาร์แอนด์บีร่วมสมัย (Contemporary R&B) คือแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในฝั่งตะวันตก ถึงแม้ว่าคำย่อของคำว่า อาร์แอนด์บี จะดูเชื่อมโยงกับเพลงริทึมแอนด์บลูส์ดั้งเดิม แต่คำว่าอาร์แอนด์บีในปัจจุบันมักจะใช้ระบุหมายถึง ดนตรีของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่มีต้นกำเนิดหลังจากการจากไปของดนตรีดิสโก้ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แนวเพลงใหม่นี้มีองค์ประกอบของดนตรีโซล ฟังก์ แดนซ์ และตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมาหลังการเกิดของเพลงนิวแจ็กสวิงที่เป็นเพลงอาร์แอนด์บี ฮิปฮอป คำย่อ อาร์แอนด์บี โดยมากมักจะมีความหมายความหมายรวมทั้งหมดของริทึมแอนด์บลูส์ ถึงแม้ว่าบางแหล่งจะอ้างว่าหมายถึงเพลงแนวเออเบินคอนเทมโพแรรี (ชื่อใช้เช่นเดียวกับรูปแบบสถานีวิทยุที่เปิดเพลงในแนวฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย) เพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัยเป็นงานเพลงที่ลื่นไหล มีจังหวะดรัมแมชชีนเป็นเบื้องหลัง ในบางครั้งใช้จังหวะแซกโซโฟนร้อยเข้ากับจังหวะให้ได้ความรู้สึกแบบแจ๊ซ (โดยมากเพลงอาร์แอนด์บีเช่นนี้จะมีในปี 1993) และดูนุ่มนวล การเรียบเรียงเสียงร้องอย่างโอ่อ่า ใช้จังหวะที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงฮิปฮอป ถึงแม้ว่าความกระด้างที่เป็นลักษณะทั่วไปของฮิปฮอปจะมีอยู่แต่ก็ลบและทำให้ดูนุ่มนวลลงในเพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัย นักร้องแนวอาร์แอนด์บีมักใช้เทคนิคที่เรียกว่าเมลิสม่า นักร้องที่ได้รับความนิยมเช่น สตีวี วันเดอร์, วิตนีย์ ฮูสตัน, และมารายห์ แครี.

ดู เวเพอร์เวฟและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย

อินเทอร์เน็ตมีม

อินเทอร์เน็ตมีม (internet meme) คือแนวความคิดหรือกระแสที่เผยแพร่ไปทั่วอินเทอร์เน็ต เป็นคำที่หมายถึงการแพร่กระจายของเนื้อหาจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง หรือเป็นปรากฏการณ์การแพร่ อินเทอร์เน็ตมีมถือเป็นรูปแบบศิลปะชนิดหนึ่ง โดยพื้นฐานที่สุดแล้ว อินเทอร์เน็ตมีมคือการแพร่กระจายผ่านทางไฟล์ดิจิตอลหรือไฮเปอร์ลิงก์จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง โดยวิธีต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นอีเมล บล็อก บริการเครือข่ายสังคม เมสเซนเจอร์ เนื้อหามักจะเป็นการพูดหรือเรื่องตลก ข่าวลือ ภาพตัดต่อ หรือภาพต้นฉบับ เว็บไซต์ คลิปวิดีโอ หรือแอนิเมชัน หรือข่าวไม่ปกติ รวมถึงอื่น ๆ อีกมากมาย อินเทอร์เน็ตมีม อาจจะมีการแปรเปลี่ยน ไม่ว่าจะผ่านคำวิจารณ์ มีการลอกเลียนแบบ หรือการทำล้อเลียน หรือแม้กระทั่งการสะสมข่าวเกี่ยวกับตัวมันเองไปเรื่อย ๆ อินเทอร์เน็ตมีมมีแนวโน้มว่าจะเกิดและแพร่กระจายอย่างหนัก ในบางครั้งอาจได้รับความนิยมได้ภายในไม่กี่วัน.

ดู เวเพอร์เวฟและอินเทอร์เน็ตมีม

ดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชัน

การผลิตเพลงใช้ดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชัน ดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชัน (digital audio workstation หรือ DAW) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้สำหรับการบันทึกเสียง แก้ไขและการผลิตไฟล์เสียงเช่นเพลง ชิ้นงานเพลง การพูดหรือเสียงประกอบ ดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชันกลายมาเป็นความหลากหลายโครงแบบในโปรแกรมซอฟต์แวร์เดียวบนแล็ปท็อปที่รวบรวมอยู่ในระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวในการรวมส่วนประกอบต่างๆที่มีความซับซ้อนอย่างมากในการควบคุมโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง ดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชันในยุคปัจจุบันมีอินเตอร์เฟซเป็นศูนย์กลางที่ช่วยให้ผู้ใช้ดัดแปลงและทำการบันทึกหลายเสียงหรือแทร็ก ผลิตจนออกมาเป็นชิ้นเพลงในที่สุด DAW ยังถูกนำมาใช้สำหรับการผลิตและบันทึกเสียงดนตรี วิทยุ โทรทัศน์ พอดแคสต์ มัลติมีเดีย และการมิกซ์เสียงที่ซับซ้อน หมวดหมู่:อภิธานศัพท์คอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:เสียงดิจิทัล หมวดหมู่:เทคโนโลยีการผลิตงานเสียง.

ดู เวเพอร์เวฟและดิจิทัลออดิโอเวิร์กสเตชัน

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์

นตรีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic music) เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า"The stuff of electronic music is electrically produced or modified sounds.

ดู เวเพอร์เวฟและดนตรีอิเล็กทรอนิกส์

ดนตรีแดนซ์

ดนตรีแดนซ์ (dance music) เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อคลอไปกับการเต้นรำ ในด้านการแสดง ดนตรีแดนซ์แบ่งประเภทหลักเป็นดนตรีแดนซ์สดกับดนตรีแดนซ์ที่บันทึกไว้ ขณะที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการเต้นรำพร้อมกับดนตรีตั้งแต่ยุคโบราณ (ตัวอย่างเช่น แจกันสมัยกรีกโบราณแสดงนักเต้นรำร่วมกับนักดนตรี) ดนตรีแดนซ์ฝั่งตะวันตกยุคแรก ๆ คือการเต้นรำยุคกลางที่เหลือรอดมาได้ ในยุคบาโรก รูปแบบการเต้นรำหลัก ๆ คือการเต้นรำในราชสำนักคนชั้นสูง ดนตรีแดนซ์สมัยใหม่ได้เกิดขึ้นจากเพลงลีลาศแบบตะวันตกในปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การเต้นลีลาศได้เพิ่มความนิยมในหมู่ชนชั้นแรงงานที่มักเข้าร่วมงานเต้นรำสาธารณะ ดนตรีแดนซ์กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุค 1920 ในยุค 1930 ดนตรีสวิงเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยมในอเมริกา ยุค 1950 ร็อกแอนด์โรลกลายเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยม ในช่วงปลายยุค 1960 มีการเกิดของแนวเพลงโซลและอาร์แอนด์บีและดิสโก้ในยุค 1970 ซึ่งทำให้ดนตรีแดนซ์เป็นที่นิยมมากในผู้คนทั่วไป มาถึงช่วงปลายยุค 1970 ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ได้รับการพัฒนามาเรี่อย ๆ โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบของเพลงสมัยนิยมที่มักจะเปิดในไนต์คลับ สถานีวิทยุ คอนเสิร์ต หมวดหมู่:ดนตรีแดนซ์.

ดู เวเพอร์เวฟและดนตรีแดนซ์

ซีเควนเซอร์

ซีเควนเซอร์ หรือ การจัดลำดับดนตรี (music sequencer หรือ sequencer) เป็นอุปกรณ์หรือโปรแกรมเขียนเพลงที่สามารถจัดลำดับโน๊ตเพลงขึ้นมาเองได้ ผ่านในการบันทึกหลายรูปแบบ เช่น CV/gate, MIDI หรือ โอเพนซาวด์คอนโทรล (OSC) บางครั้งสามารถใช้ระบบข้อมูลอัตโนมัติผ่าน DAW หรือปลั๊กอินอื่น.

ดู เวเพอร์เวฟและซีเควนเซอร์

นิวเอจ

นตรีนิวเอจ หากแปลตามตัวก็หมายถึง ดนตรียุคใหม่ เป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งมีจุดเริ่มต้นจากงานความหลากหลายของนักดนตรียุโรปและอเมริกันในทศวรรษที่ 60 ที่ทำเพลงอีเลกโทรนิกและอคูสติก โดยทั่วไปมีลักษณะการใช้เครื่องดนตรีพื้นฐานและความซ้ำของเมโลดี้ในธรรมชาติ การบันทึกเสียงจากธรรมชาติก็มีการนำมาใช้ในเพลง ดนตรีนิวเอจมีดนตรีที่ให้ความผ่อนคลาย แรงบันดาลใจ และมักใช้กับกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น โยคะ การนวด การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ และการบริหารความเครียด ที่จะสร้างบรรยากาศไม่ว่าจะที่บ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ลักษณะของดนตรีนิวเอจมักผสมระหว่างเสียงเอฟเฟกหรือเสียงจากธรรมชาติ รวมกับเพลงอีเลกโทรนิกและเครื่องดนตรี อาศัยโครงของดนตรีหนุนไว้ อย่างเช่น ฟลุต เปียโน อคูสติกกีตาร์ และอาจรวมถึงเครื่องดนตรีตะวันออก ซึ่งในบางเพลงอาจมีการร้องลำนำในภาษาสันสกฤต ทิเบต หรือการสวดของคนพื้นถิ่นในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น หรือในบางคร้งก็มีการเขียนเนื้อร้องที่อิงมาจากเทพนิยายอย่างตำนานเคลติก เป็นต้น สำหรับเพลงที่มีความยาวมากกว่า 20 นาทีในเพลงประเภทนี้ไม่ใช่สิ่งที่แปลกอะไร และในบางครั้งลักษณะของเพลงแบบนี้ก็มีการเปรียบได้ว่าดนตรีแอมเบียนต์ (ambient music) ในช่วงทศวรรษที่ 80 ดนตรีนิวเอจได้รับความนิยมทางสถานีวิทยุทั่วไป.

ดู เวเพอร์เวฟและนิวเอจ

แบนด์แคมป์

แบนด์แคมป์ (Bandcamp) เป็นบริษัทเพลงออนไลน์สัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งในปี 2007 โดย อีธาน ไดมอนด์ (อดีตประธาน Oddpost) ชอว์น กรันเบอร์เกอร์ โจ โอลต์ และ นีล ทักเกอร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซีแรนซ์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แบนด์แคมป์เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2008 ที่อนุญาตให้ศิลปินสามารถจำหน่ายและขายเพลงในรูปแบบไมโครไซต์ ส่วนใหญ่มักเป็นศิลปินอินดี้.

ดู เวเพอร์เวฟและแบนด์แคมป์

แซมเพลอร์

AKAI MPC2000 sampling sequencer นักดนตรีใช้ Yamaha SU10 Sampler แซมเพลอร์ (sampler) เป็นเครื่องดนตรีอีเลคทรอนิกส์ มีความใกล้เคียงกับเครื่องสังเคราะห์เสียง แทนที่จะใช้เสียงที่ได้จากการถูบนเทิร์นเทเบิล แซมเพลอร์เริ่มจากการนำหลาย ๆ เพลง (หรือเรียกว่า แซมเพิล) จากเสียงหลาย ๆ เสียงนำมาใส่โดยผู้ใช้ และเล่นกลับไปมาโดยขึ้นอยู่กับการปรับแต่งเครื่องดนตรี และเพราะว่าแซมเพิลมักจะเก็บไว้ใน RAM ทำให้การเข้าถึงข้อมูลจึงเร็ว การใช้เครื่องแซมเพลอร์ กลายเป็นสิ่งสำคัญในดนตรีฮิปฮอป ดนตรีอีเลกโทรนิกส์ และดนตรีอาวองต์การ์ด แซมเพลอร์มีส่วนร่วมในการตั้งค่าของเครื่องสังเคราะห์เสียง และสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายแบบ แซมเพลอร์มีความสามารถแบบโพลีโฟนิก ที่พวกเขาสามารถเล่นมากกว่า 1 โน้ตได้ในเวลาเดียวกัน.

ดู เวเพอร์เวฟและแซมเพลอร์

ไซเบอร์พังก์

ซเบอร์พังก์ (Cyberpunk) เป็นแนวนิยายวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่เน้นในเรื่อง "ความไฮเทคและชีวิตคุณภาพต่ำ" ชื่อนี้เป็นคำผสมของคำว่า cybernetics (มีความหมายว่า วิทยาเกี่ยวกับการติดต่อและควบคุมของสัตว์และเครื่องจักร) และ พังก์ เกิดขึ้นโดย Bruce Bethke โดยเขาใช้ในเรื่องสั้นที่ชื่อ "Cyberpunk" ตีพิมพ์ในปี 1983 โดยมีเนื้อหาเรื่องราววิทยาศาสตร์ล้ำยุค อย่างเช่นเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาเกี่ยวกับการติดต่อและควบคุมของสัตว์และเครื่องจักร ซึ่งทั้งสองอย่างอยู่ในช่วงที่ล้มเหลวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม เนื้อเรื่องของไซเบอร์พังก์ จะมุ่งเน้นไปที่ความขัดแย้งกันของเหล่าบรรดาแฮกเกอร์ ปัญญาประดิษฐ์ และ Megacorporation และมีแนวโน้มว่าเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ของโลกมนุษย์ มากกว่าอนาคตอันไกลโพ้น ทัศนคติเกี่ยวกับกับกาแล็กซี่ พบในบทประพันธ์อย่างเช่น สถาบันสถาปนา ของ ไอแซค อสิมอฟ และ ดูน ของแฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต โดยเกิดขึ้นในยุคหลังยุคอุตสาหกรรมดีสโตเพียส (โลกอนาคตที่ไม่พึงประสงค์) แต่มีแนวโน้มที่จะท่าทีเกิดความอลหม่านทางวัฒนธรรมผิดธรรมดา และการใช้เทคโนโลยีในทางที่คาดการณ์ไม่ได้ของผู้สร้างGibson, William from Burning Chrome published in 1981 แนวทางบรรยากาศเช่นนี้ยังยังสะท้อนรูปแบบฟิล์มนัวร์ และผู้เขียนผลงานในประเภทนี้มักจะเทคนิคการเขียนแบบการสืบสวน.

ดู เวเพอร์เวฟและไซเบอร์พังก์

ดูเพิ่มเติม

ดนตรีอินดี

ดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 2010

ดนตรีในคริสต์ทศวรรษ 2020

ประเภทดนตรีอิเล็กทรอนิกส์

ประเภทดนตรีในคริสต์ศตวรรษที่ 21

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Vaporwave