โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แดนซ์ป็อป

ดัชนี แดนซ์ป็อป

แดนซ์ป็อป (Dance-pop) เป็นแนวเพลงประเภทอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์และแนวเพลงย่อยของป็อป เกิดขึ้นหลังยุคดิสโก้ ราวปี..

23 ความสัมพันธ์: บอยแบนด์กลองกีตาร์กีตาร์เบสยูโรแดนซ์ริทึมแอนด์บลูส์อาร์แอนด์บีร่วมสมัยอิเล็กทรอนิกาอิเล็กโทรป็อปทีนป็อปดรัมแมชชีนดิสโก้ดนตรีแดนซ์คริสต์ทศวรรษ 1980คริสต์ทศวรรษ 1990ซินท์ป็อปป็อปแร็ปแจ๊สแนวเพลงเกิร์ลกรุปเฮาส์ (แนวดนตรี)เครื่องสังเคราะห์เสียง

บอยแบนด์

ลู (Blue) วงบอยแบนด์จากอังกฤษ บอยแบนด์ คือวงดนตรีแนวป็อปหรือฮิปฮอป ที่ประกอบด้วยคน 3 คนขึ้นไป หรือกลุ่มนักร้องชายล้วน เช่น เทค แดท, นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก เป็นต้น สมาชิกแต่ละคนมีความสามารถในการร้อง การเต้น และร้องเพลงที่อยู่ในกระแสหลัก และมีการแต่งตัวที่นำกระแสแฟชั่น ส่วนใหญ่สมาชิกของวงจะมาจากการออดิชั่น โดยผู้จัดการวงหรือโปรดิวเซอร์เพลง พวกเขาอาจมีทักษะในการร้อง การเต้น การแร็ป โดยส่วนมากสมาชิกจะอยู่ที่ 3 ถึง 6 คน เมอริซ สตารร์ มักจะถูกยกเครดิตว่าเป็นคนเริ่มต้นในการปั้นวงบอยแบนด์ อย่างวงนิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก โดยสตารร์ได้เคยปั้นวงเด็กอย่างวงนิว อีดิชั่น (วงวัยรุ่นผิวสี) และได้ปรับมาลองกับกลุ่มนักร้องเพลงในแนวป็อป สูตรนี้ มีผู้จัดการวงในยุโรปได้นำมาใช้เช่น ไนเจล มาร์ติน สมิธ (Nigel Martin-Smith) และ หลุยส์ วอลช์ (Louis Walsh) หากย้อนไปในอดีตในสมัยยุค 60-70 โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ เบิร์ต ชไนเดอร์ (Bert Schneider) และ บ๊อบ ราเฟลสัน (Bob Rafelson) ได้สมาชิก 4 คนเพื่อแสดงทางรายการโทรทัศน์ เดอะ มังกีส์ ก็สามารถถูกจำกัดความว่าเป็นวงบอยแบนด์ในยุคแรกๆได้ วงเดอะ มังกีส์เริ่มก่อตั้งวงในปี 1965 และยุบวงไปในที่สุดในปี 1970 ต่อมาก็มีวงชายล้วนที่ได้รับความนิยมในยุค 60 อย่าง เดอะ บีทเทิลส์, เดอะ บีช บอยส์, บีจีส์, เดอะ แจ็คสัน ไฟฟ์, ดิ ออสมอนด์ส เป็นต้น และในปี 1977 ก็มีการฟอร์มวงบอยแบนด์แนวละติน คือวง Menudo ในช่วงต้นถึงปลายยุค 90 ซึ่งเป็นช่วงที่บอยแบนด์กำลังรุ่งเรือง ได้มีวงบอยแบนด์ประสบความสำเร็จหลายวงด้วยกัน เช่น เทค แดท, บอยโซน, แบ็คสตรีท บอยส์, เอ็นซิงค์ และ เวสท์ไลฟ์ ซึ่งทุกวันนี้บอยแบนด์เริ่มมีความคล้ายคลึงกับวงบอยแบนด์ในยุค 60 คือสมาชิกในวงสามารถเล่นดนตรี เขียนเพลง แต่งเพลงได้ เช่นวงบัสเต็ด และ แมคฟลาย เป็นต้น.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและบอยแบนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กลอง

กลอง ทำด้วยหนังวัวขึงด้วยเชือก กลอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยแผ่นบาง มักทำด้วยแผ่นหนังขึงยึดติดกับโครงให้ตึง ทำให้เกิดเสียงโดยการตีด้วยไม้ หรืออวัยวะของผู้เล่น กลองจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก กลอง มีทั้งกลองที่ทำจากหนังสัตว์ และ กลองที่ทำจากพลาสติก ซึ่งจะให้เสียงที่แตกต่างกันไป และการใช้อุปกรณ์ช่วย กลองที่ทำจากพลาสติกจะต้องใช้ไม้ช่วยตีเพราจะช่วยให้เกิดเสียงที่ดังขึ้น เช่น กลองสแนร์ และ กลองชุด เป็นต้น ส่วนกลองที่ทำจากหนังสัตว์ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ไม้ เนื่องจาก เราสามารถใช้แค่มือตีก็จะทำให้เกิดเสียงดังพอตัวอยู่แล้ว เช่น กลองยาว กลองรำมะนา ตะโพน เป็นต้น แต่ก็มีกลองหนัง ที่จำเป็นต้องใช้ไม้ก็มี เช่น กลองสะบัดชัย และ กลองทัด เนื่องจากเป็นกลองขนาดใหญ่จึงไม่สามารถใช้มือตีอย่างเดียวได้ กลองไม่ได้มีแค่ใช้ในทางเท่านั้นแต่ยังใช้ในด้านอื่นๆอีกด้วยเช่น การตีกลองเพื่อร้องทุกข์ต่อศาล การตีกลองเพื่อเปิดสงครามในสมัยก่อน และ การตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณเพื่อให้พระสงฆ์ฉันเพลได้.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและกลอง · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์เบส

ป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและกีตาร์เบส · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรแดนซ์

ูโรแดนซ์ (Eurodance) เป็นแนวเพลงในลักษณะคลับ/แดนซ์ ของชาวยุโรปในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 ยูโรแดนซ์ได้รับอิทธิพลจากเพลงแนวดิสโก้ ไฮ-เอ็นอาร์จี ดนตรีเฮาส์ และ ฮิบฮอบ อีกทั้งยังประกอบการบันทึกเสียงด้วยเครื่องสังเคราะห์เสียงและดรัมแมชชีน ในส่วนภาคการผลิตโปรดิวเซอร์จะรับผิดชอบด้านการผลิตมากกว่าตัวนักร้อง และเช่นเดียวกับแนวเพลงใกล้เคียงอย่างยูโรป็อป คือมักมีความเรียบง่าย เบาบางและติดหู กับเนื้อเพลงที่เบา ๆ ร้องซ้ำ ๆ ที่ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องมาตีความมากนักสำหรับผู้พูดภาษาอื่น ยูโรแดนซ์กลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรและยุโรปตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 90 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 90 ยูโรแดนซ์ได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 90 ดนตรียูโรแดนซ์ได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง เช่นเพลงแนว บับเบิลกัมแดนซ์, ยุโรแทรนซ์ และ อิตาโอแดนซ์ เป็นต้น และยูโรแดนซ์ยุคใหม่ได้พัฒนาไปอีกขึ้น โดยเพลงแนว แทรนซ์และยูโรแทรนซ์ได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้ยูโรแดนซ์รับความนิยมในช่วงแรก.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและยูโรแดนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ริทึมแอนด์บลูส์

ริทึมแอนด์บลูส์ (rhythm and blues หรือรู้จักกันในชื่อ R&B หรือ RnB) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยม โดยผสมผสานระหว่างเพลงแนว แจ๊ส กอสเปล และบลูส์ โดยเริ่มแรกจะเล่นโดยศิลปินแอฟริกัน-อเมริกัน.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและริทึมแอนด์บลูส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์แอนด์บีร่วมสมัย

อาร์แอนด์บีร่วมสมัย (Contemporary R&B) คือแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในฝั่งตะวันตก ถึงแม้ว่าคำย่อของคำว่า อาร์แอนด์บี จะดูเชื่อมโยงกับเพลงริทึมแอนด์บลูส์ดั้งเดิม แต่คำว่าอาร์แอนด์บีในปัจจุบันมักจะใช้ระบุหมายถึง ดนตรีของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่มีต้นกำเนิดหลังจากการจากไปของดนตรีดิสโก้ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แนวเพลงใหม่นี้มีองค์ประกอบของดนตรีโซล ฟังก์ แดนซ์ และตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมาหลังการเกิดของเพลงนิวแจ็กสวิงที่เป็นเพลงอาร์แอนด์บี ฮิปฮอป คำย่อ อาร์แอนด์บี โดยมากมักจะมีความหมายความหมายรวมทั้งหมดของริทึมแอนด์บลูส์ ถึงแม้ว่าบางแหล่งจะอ้างว่าหมายถึงเพลงแนวเออเบินคอนเทมโพแรรี (ชื่อใช้เช่นเดียวกับรูปแบบสถานีวิทยุที่เปิดเพลงในแนวฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย) เพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัยเป็นงานเพลงที่ลื่นไหล มีจังหวะดรัมแมชชีนเป็นเบื้องหลัง ในบางครั้งใช้จังหวะแซกโซโฟนร้อยเข้ากับจังหวะให้ได้ความรู้สึกแบบแจ๊ซ (โดยมากเพลงอาร์แอนด์บีเช่นนี้จะมีในปี 1993) และดูนุ่มนวล การเรียบเรียงเสียงร้องอย่างโอ่อ่า ใช้จังหวะที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงฮิปฮอป ถึงแม้ว่าความกระด้างที่เป็นลักษณะทั่วไปของฮิปฮอปจะมีอยู่แต่ก็ลบและทำให้ดูนุ่มนวลลงในเพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัย นักร้องแนวอาร์แอนด์บีมักใช้เทคนิคที่เรียกว่าเมลิสม่า นักร้องที่ได้รับความนิยมเช่น สตีวี วันเดอร์, วิตนีย์ ฮูสตัน, และมารายห์ แครี.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กทรอนิกา

อิเล็กทรอนิกา (electronica) เป็นคำที่ใช้รวมกับแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์หลายประเภท เช่น เทคโน เฮาส์ แอมเบียนต์ ดรัมแอนด์เบส จังเกิล อินดัสเทรียลแดนซ์ และท่ามกลางแนวดนตรีอื่น มันถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายรูปแบบดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้จัดเป็นเพียงแค่เพลงเต้นรำ แต่ยังเน้นในการฟังเพลงมากกว.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและอิเล็กทรอนิกา · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโทรป็อป

อิเล็กโทรป็อป (Electropop) เป็นแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะเน้นการใช้งานเครื่องสังเคราะห์เสียง แนวเพลงได้เห็นการฟื้นตัวจากความนิยมและมีอิทธิพล ตั้งแต่ช่วงปลายยุค 2000 "อิเล็กโทรป็อป" เป็นคำย่อมาจาก อิเล็กทรอนิกส์ป็อป (electronic pop) หมวดหมู่:แนวดนตรี.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและอิเล็กโทรป็อป · ดูเพิ่มเติม »

ทีนป็อป

ทีนป็อป (Teen pop) เป็นแนวดนตรีของเพลงป็อปที่สร้างสรรค์ขึ้นมา มุ่งเน้นด้านการตลาดสำหรับวัยรุ่น และวัยก่อนวัยรุ่น ทีนป็อปครอบคลุมเพลงสไตล์ ป็อป, แดนซ์, อาร์แอนด์บี, ฮิปฮอป และ ร็อก.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและทีนป็อป · ดูเพิ่มเติม »

ดรัมแมชชีน

รัมแมชชีน Yamaha RY30 ดรัมแมชชีน (Drum machine) เป็นเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่จำรองเสียงกลอง ฉาบ เครื่องเคาะจังหวะอื่นๆ และเบสไลน์ ดรัมแมชชีนมักมีความเกี่ยวข้องกับดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ดนตรีเฮาส์ แต่ยังรวมถึงแนวเพลงอื่นๆ อีกมากมาย ยังถูกใช้แทนมือกลองที่ไม่ว่างหรือการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างมือกลองที่มีค่าจ้างแพง นอกจากนี้ดรัมแมชชีนในปัจจุบันมีเสียงหลายรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน และช่วยให้ผู้ใช้แต่งจังหวะและการเขียนที่ไม่ซ้ำกันด้วย ที่ใช้งานไม่ยากและง่ายเหมือนคนตีกลองของจริง ในปัจจุบันดรัมแมชชีนยังเป็นซีเควนเซอร์ในรูปแบบแซมเพิล (rompler) หรือ ซินธิไซเซอร์ที่สังเคราะห์เสียงกลองจากกลอง.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและดรัมแมชชีน · ดูเพิ่มเติม »

ดิสโก้

ก้ (Disco) เป็นแนวเพลงประเภทหนึ่ง สาขาย่อยของดนตรีแดนซ์ซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่ผสมผสานแนวฟังก์กับโซลเข้าด้วยกัน ดิสโก้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วยยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ตอนกลางถึงปลาย ศิลปินแนวดิสโก้ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น เช่น ดอนนา ซัมเมอร์, เดอะแจ็กสันไฟฟ์, แบร์รี ไวต์, บีจีส์, บอนนี เอ็ม. และแอ็บบ้า เป็นต้น ดิสโก้ได้ลดความนิยมไปในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและดิสโก้ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีแดนซ์

ดนตรีแดนซ์ (dance music) เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อคลอไปกับการเต้นรำ ในด้านการแสดง ดนตรีแดนซ์แบ่งประเภทหลักเป็นดนตรีแดนซ์สดกับดนตรีแดนซ์ที่บันทึกไว้ ขณะที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการเต้นรำพร้อมกับดนตรีตั้งแต่ยุคโบราณ (ตัวอย่างเช่น แจกันสมัยกรีกโบราณแสดงนักเต้นรำร่วมกับนักดนตรี) ดนตรีแดนซ์ฝั่งตะวันตกยุคแรก ๆ คือการเต้นรำยุคกลางที่เหลือรอดมาได้ ในยุคบาโรก รูปแบบการเต้นรำหลัก ๆ คือการเต้นรำในราชสำนักคนชั้นสูง ดนตรีแดนซ์สมัยใหม่ได้เกิดขึ้นจากเพลงลีลาศแบบตะวันตกในปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การเต้นลีลาศได้เพิ่มความนิยมในหมู่ชนชั้นแรงงานที่มักเข้าร่วมงานเต้นรำสาธารณะ ดนตรีแดนซ์กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุค 1920 ในยุค 1930 ดนตรีสวิงเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยมในอเมริกา ยุค 1950 ร็อกแอนด์โรลกลายเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยม ในช่วงปลายยุค 1960 มีการเกิดของแนวเพลงโซลและอาร์แอนด์บีและดิสโก้ในยุค 1970 ซึ่งทำให้ดนตรีแดนซ์เป็นที่นิยมมากในผู้คนทั่วไป มาถึงช่วงปลายยุค 1970 ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ได้รับการพัฒนามาเรี่อย ๆ โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบของเพลงสมัยนิยมที่มักจะเปิดในไนต์คลับ สถานีวิทยุ คอนเสิร์ต หมวดหมู่:ดนตรีแดนซ์.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและดนตรีแดนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1980

ริสต์ทศวรรษ 1980 (1980s) หรือยุคเอจตี้ส์ เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1980 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1989 เป็นช่วงเวลาที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทั่วไปอย่างความร่ำรวย การผลิตที่เปลี่ยนไปสู่ยุคเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม เศรษฐกิจเสรีที่พัฒนาไปทั่วโลก บริษัทข้ามชาติทางด้านอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ประเทศอย่าง ประเทศไทย มาเลเซีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศจีน และเศรษฐกิจตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก ตามมาด้วยการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีถือเป็นประเทศที่เห็นเด่นชัดว่าพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตลอดทศวรรษนี้ ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกมีประสบความยากลำบากด้านความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ประเทศเหล่านั้นพบกับปัญหาหนี้สินในคริสต์ทศวรรษ 1980 ประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ประเทศเอธิโอเปียประสบปัญหาความยากจนในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผลคือประเทศต้องการความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านอาหารกับประชากรและทั่วโลกต่างกันช่วยหาเงินช่วยเหลือต่อชาวเอธิโอเปีย อย่างเช่นคอนเสิร์ตไลฟ์เอด ในปี 1985 ที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินดังกล่าว ปัญหาด้านสงคราม เกิดความรุนแรงในตะวันออกกลาง อย่างสงครามอิรัก-อิหร่าน และความขัดแย้งในเลบานอนช่วงปี 1982 ถึง 1983 และกองทัพอเมริกันเข้าบุกลิเบียในปี 1985 และ Intifada ในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ คริสต์ทศวรรษ 1980 ยังเป็นยุคที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างมาก ไปทั่วโลก มากกว่าแม้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1990 มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะชาวแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ตลอดทศวรรษ ด้วยอัตราการเพิ่มใกล้หรือมากกว่า 4% ต่อปี.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและคริสต์ทศวรรษ 1980 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1990

คริสต์ทศวรรษ 1990 (1990s) เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1990 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เป็นทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 เป็นทศวรรษแรกที่ตามมาด้วยผลกระทบของการสิ้นสุดสงครามเย็น คริสต์ทศวรรษ 1990.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและคริสต์ทศวรรษ 1990 · ดูเพิ่มเติม »

ซินท์ป็อป

ซินท์ป็อป หรือบางครั้งเรียกว่า เทคโนป็อป (techno-pop).

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและซินท์ป็อป · ดูเพิ่มเติม »

ป็อป

นตรีป็อป หรือ เพลงป็อป (pop music พอปมิวสิก) เป็นประเภทของเพลงสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950S.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและป็อป · ดูเพิ่มเติม »

แร็ป

แร็ปเปอร์ (Rapper) คือการพูดในลักษณะคำกลอนลงจังหวะเพลง โดยส่วนใหญ่จะใช้จังหวะเร็ว เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของวัฒนธรรมฮิปฮอปและเป็นฉันทลักษณ์สมัยนิยม แร็ปเป็นการร้องแบบที่เป็นจังหวะ การร้องคล้ายเสียงพูด และเนื้อหาของเพลงที่มีความหมายและมีความคล้องจองกัน รวมทั้งเน้นที่การกำกับจังหวะ โดยใช้จังหวะกลองอิเล็กทรอนิกส์ และเทคนิคการ Sampling งานเพลงอื่น ๆ การแร็ปได้พัฒนาทั้งภายในและนอก ของดนตรีแนวฮิปฮอป Kool Herc ชาวจาไมก้าในนิวยอร์กได้เริ่มการพูดลงบนเพลงประเภทแดนซ์ฮอลล์ ในทศวรรษที่ 70 จนในทศวรรษที่ 80 ความสำเร็จของวงรัน-ดีเอ็มซี ได้เปิดกว้างให้วงการเพลงแร็ป พอถึงปลายยุคทศวรรษที่ 90 ฮิปฮอปได้ก้าวเข้าสู่กระแสหลัก ในยุค 2000 ฮิปฮอปใต้ดินเริ่มจะมีการใช้จังหวะที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ท้วงทำนองในการพูด เนื้อคำกลอนที่ซับซ้อน และการเล่นคำอย่างสร้างสรรค์ เนื้อเพลงแร็ปมักถ่ายทอดชีวิตบนถนนที่เป็นที่มาของฮิปฮอป ผนวกกับอ้างอิงถึงวัฒนธรรมกระแสนิยม และคำสแลงฮิปฮอปต่าง ๆ ศิลปินเพลงแร็ปชื่อดังของโลก ได้แก่ 2pac, Eminem, N.W.A, Kanye West, Drake, J.Cole, Nicki Minaj.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและแร็ป · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แนวเพลง

แนวดนตรี เป็นการจำแนกเพลงที่มีลักษณะพื้นฐานต่าง ๆ ร่วมกัน โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงเกี่ยวกับด้านเพลงอย่างเดียว (เช่น ที่มาของเพลง และ เนื้อหาของเพลง เป็นต้น) อาจพูดได้ว่า แนวเพลงนั้นพิจารณาจาก เทคนิค รูปแบบ บริบท ที่มา และเนื้อหาของเพลง เป็นต้น.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและแนวเพลง · ดูเพิ่มเติม »

เกิร์ลกรุป

กิร์ลกรุป (girl group) หมายกลุ่มศิลปินหญิงแนวป็อป เริ่มเกิดขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ครั้งนั้นเป็นกลุ่มนักร้องหญิงที่ตั้งขึ้นโดยมีนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์เพลงอยู่เบื้องหลังเพื่อผลิตซิงเกิลยอดนิยม ต่อมาจึงกลายเป็นแบบฉบับสำหรับดิสโก้ อาร์แอนด์บี และคันทรี.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและเกิร์ลกรุป · ดูเพิ่มเติม »

เฮาส์ (แนวดนตรี)

() เป็นแนวเพลงหนึ่งของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ เกิดในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 โดยมีต้นกำเนิดมาจากเมืองชิคาโก รัฐอิลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แรกเริ่มเดิมทีเป็นที่นิยมในดิสโก้เทคสำหรับชาวแอฟริกัน-อเมริกัน, ละตินอเมริกันและสังคมเกย์ในสมัยกลางทศวรรษที่ 1980 ที่เมืองชิคาโก ต่อมาจึงกระจายความนิยมไปยังนิวยอร์ก, นิวเจอร์ซีย์, ดีทรอยต์และไมอามี จนกระทั่งถึงยุโรปก่อนจะมีบทบาทสำคัญแก่แนวเพลงป็อปและเพลงแดนซ์ทั่วโลก แนวดนตรีเฮาส์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากองค์ประกอบของดนตรีโซลและฟังก์ในช่วงกลางยุค 1970 เฮาส์มีลักษณะโดดเด่นในการนำเอาการเคาะเพอคัสชั่น (percussion) แบบดิสโก้มาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ดรัมเบสในทุก ๆ บีต (beat) แล้วพัฒนาเป็นแนวดนตรีแนวใหม่โดยผสมไลน์เบสของเครื่องสังเคราะห์เสียงอิเล็กทรอนิก, กลองอิเล็กทรอนิก, เอฟเฟกต์อิเล็กทรอนิก,แซมเปิลฟังก์และป็อป รวมไปถึงการใช้เสียงก้องและเสียงร้องดีเล.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและเฮาส์ (แนวดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

ใหม่!!: แดนซ์ป็อปและเครื่องสังเคราะห์เสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dance-PopDance-popป๊อปแดนซ์ป็อปแดนซ์แดนซ์-ป็อปแดนซ์ป๊อป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »