โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคราต์ร็อก

ดัชนี เคราต์ร็อก

ราต์ร็อก (Krautrock) เป็นดนตรีในรูปแบบดนตรีทดลองที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ในประเทศเยอรมนี ได้รับความนิยมคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ โดยดีเจจอห์น พีล จากบีบีซีได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เผยแพร่ให้เคราต์ร้อกได้รับความนิยม นอกประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน เคราต์ร็อกเป็นการแนวเพลงรวมหลายแนวเพลง โดยมักจะผสมเพลงการแจมกันแบบโพสต์-ไซเคเดลิกของชาวแองโกลอเมริกัน และโพรเกรสซีฟร็อก รวมเข้ากับการเพลงทดลองคลาสสิกร่วมสมัย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักประพันธ์ คาร์ลไฮนซ์ สต็อกเฮาเซน เป็นต้น) และจากทิศทางการทดลองแบบใหม่ ที่ปรากฏในเพลงแจ๊ซช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 (อย่างฟรีแจ๊ซ โดยออร์เนตต์ โคลแมน หรืออัลเบิร์ต ไอเลอร์) ที่ตีห่างจากโครงสร้างรูปแบบทั่วไปของเพลงและเมโลดี้ที่ร็อกมากขึ้นในเพลงเคราต์ร็อกในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และยังมีบางกระแสที่ใช้เครื่องดนตรีและซาวน์อีเลกโทรนิกมากขึ้น ลักษณะโดยหลักของเพลงนี้คือการรวมของกลุ่มเพลงใต้รูปแบบ การสังเคราะห์จังหวะของเพลงร็อกแอนด์โรลอเมริกัน แต่ค่อนไปทางเยอรมันหรือใช้แหล่งดนตรีอื่น ลายเซ็นดนตรีของเพลงเคราต์ร็อก คือกรวมดนตรีเพลงร็อก และเครื่องดนตรีของวงร็อกอย่างกีตาร์ เบส กลอง เข้ากับเครื่องดนตรีอีเลกโทรนิก และทำให้เสียงมีความหยาบละเอียด โดยมากมักหมายถึงความรู้สึกแบบดนตรีแอมเบียนต์ จังหวะทั่วไปของดนตรี จะใช้จังหวะแน่นอน 4/4 มักจะเรียกว่า "โมโตริก" (motorik) จากสื่อประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ.

27 ความสัมพันธ์: ฟังก์กลองชุดการาจร็อกกีตาร์กีตาร์เบสร็อกร็อกแอนด์โรลดึสเซิลดอร์ฟดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ดนตรีทดลองดนตรีแอมเบียนต์ครัฟท์แวร์คคีย์บอร์ดประเทศอังกฤษประเทศเยอรมนีประเทศเยอรมนีตะวันตกนิวเอจแจ๊สแทรนซ์โพรเกรสซิฟร็อกโพสต์พังก์โพสต์ร็อกไซเคเดลิกร็อกเบอร์ลินเฟาสต์เอ็มบริโอเครื่องสังเคราะห์เสียง

ฟังก์

ฟังก์ (Funk) เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้นด้วยเบสอิเล็กทรอนิกและกลองให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน ผู้มีอิทธิพลต่อดนตรีฟังก์ เช่น เจมส์ บราวน์,สลาย แอนด์ เดอะ แฟมิลี สโตน, จอร์จ คลินตัน แอนด์ พาร์ไลเมน-ฟังก์คาเดลิก,เคอร์ติส เมฟิลด์, เดอะ เมเตอร์ส,เดอะ ฟังก์ บราเตอร์ส, บูทซี คอลลินส์ และ พรินซ์ วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1970 อย่าง เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์,ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์, คอมโมดอร์ส และคูลแอนด์เดอะแก๊ง ที่โด่งดังหลายๆ วง ก็เล่นเพลงในแนวดิสโก้และโซลด้วย ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและฟังก์ · ดูเพิ่มเติม »

กลองชุด

กลองชุด ประกอบด้วย (1) Bass drum (2) Floor tom (3) Snare (4) Toms (5) Hi-hat (6) Crash cymbal และ Ride cymbal กลองชุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยตัวกลองและฉาบจำนวนหลายใบ และใช้"ไม้กลอง"เพื่อตีควบคุมจังหวะ กลองชุดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงหนักแน่น สามารถเพิ่มพลังให้กับบทเพลงได้หลากหลายแนว เช่น ร็อก, บลูส์, ป็อป, ฟังก์, ดิสโก้ และ แจ๊ส เป็นต้น กลองชุดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและกลองชุด · ดูเพิ่มเติม »

การาจร็อก

การาจร็อก (Garage rock) คือเพลงร็อกแอนด์โรลแบบดิบที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในปี 1963-1967 ในช่วงทศวรรษที่ 60 ไม่ได้เป็นแนวถูกเรียกชื่อว่าการาจร็อกและไม่มีชื่อเฉพาะ จนช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 70 นักวิจารณ์บางคนได้ทำการจัดประเภทย้อนหลังของแนวเพลงพวกนี้ให้อยู่ในหมวดของพังค์ร็อก อย่างไรก็ดีการแยกแยะนี้เพื่อเป็นการแยกการาจร็อก (หรือ พังค์ยุค 60) เพื่อกันความสับสนกับ พังค์ร็อกปลายทศวรรษที่ 70 อย่างเช่น วงเซ็กซ์ พิสทอลส์และเดอะ แคลช เป็นต้น ตัวอย่างวงการาจร็อกเช่น The Kingsmen,The Gestures,The Dovers และ The Strokes เป็นต้น หมวดหมู่:ดนตรีร็อก.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและการาจร็อก · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์เบส

ป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า), electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสมีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลัก ๆ ในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การ Tapping การเดิน Improvising การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติ) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่าง ๆ ก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่ เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่าง ๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่น ๆ อีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย, 9 สาย เป็นต้น.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและกีตาร์เบส · ดูเพิ่มเติม »

ร็อก

ร็อก (Rock) แนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาW.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและร็อก · ดูเพิ่มเติม »

ร็อกแอนด์โรล

อลวิส เพรสลีย์ นักร้องร็อกแอนด์โรลที่มีอิทธิพลที่สุดคนนึงในยุคนั้น ร็อกแอนด์โรล (Rock and roll หรือ rock 'n' roll) คือแนวเพลงประเภทหนึ่งที่ได้พัฒนาในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 40s จนมาได้รับความนิยมในต้นยุค 50s และได้แพร่ขยายความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเราจะเรียกกันสั้นๆว่า "ร็อก" ส่วนเรื่องจังหวะจะเป็นจังหวะ บูกี้ วูกี้ บลูส์ โดยจะทำให้เด๋นโดยจังหวะแบ็ค บีท (Back Beat) ซึ่งต่อมาจะใช้กลองสแนร์ ดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงแรกจะเล่นโดยกีตาร์ไฟฟ้า หนึ่งหรือสองตัว (1 ลีด,1 ริทึม),กีตาร์เบส (หรือดับเบิ้ลเบส),ชุดกลอง ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็นส่วนเสริม ร็อกแอนด์โรลในช่วงต้นยุค 50s มักจะใช้แซกโซโฟนนำดนตรี ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นกีตาร์ช่วงกลางยุค 50s เปียโนก็ถูกใช้เป็นส่วนสำคัญในดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงกลางยุค 40s ความได้รับความนิยมในดนตรีร็อกแอนด์โรลเป็นอย่างมากได้แพร่กระจายสู่สังคม นอกจากทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีผลต่อแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ภาษา ศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือ เอลวิส เพรสลีย์ ที่สร้างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ในรูปแบบของร็อกแอนด์โรล ในปี..

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและร็อกแอนด์โรล · ดูเพิ่มเติม »

ดึสเซิลดอร์ฟ

ึสเซิลดอร์ฟ (Düsseldorf) เป็นเมืองหลวงของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินในประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำไรน์ มีประชากรประมาณ 581,858 คน (พ.ศ. 2549) มีพื้นที่ 217 ตารางกิโลเมตร เฉลี่ย 2,861 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ เขตประชาชนหนาแน่น.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและดึสเซิลดอร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์

นตรีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic music) เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า"The stuff of electronic music is electrically produced or modified sounds.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีทดลอง

Moodswinger, Yuri Landman ดนตรีทดลอง (Experimental music) ในงานเขียนภาษาอังกฤษ มีความหมายถึงรูปแบบการจัดวางดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในกลางศตวรรษที่ 20 โดยมากในอเมริกาเหนือที่หมายถึง การประพันธ์ดนตรีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ได้ผลมาแบบไม่สามารถคาดเดาได้ มีชื่อเสียงอย่างมากและมีผู้สนับสนุนอันมีอิทธิพลอย่าง จอห์น เคจ ส่วนในความหมายหลวม ๆ แล้ว คำว่า "ทดลอง" (experimental) ใช้เป็นตัวเชื่อมกับชื่อแนวเพลงที่อธิบายถึงดนตรีในทางเฉพาะที่ดันขอบเขตหรือนิยามหรืออย่างอื่นซึ่งเป็นสไตล์ลูกผสมที่แตกต่างอย่างมาก หรือแนวรวมแบบนอกคอก หรือส่วนผสมที่โดดเด่นแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ความโดดเด่นของดนตรีทดลองเด่นชัดขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ที่อธิบายถึงการประพันธ์โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในบางครั้งก็จะใช้เรียกว่า ดนตรีอีเลกโทรนิก และ musique concrète คำว่าดนตรีทดลองนั้น ได้ใช้โดยสื่อมวลชน ที่คำทั่วไปที่หมายถึง การขัดคอกันของดนตรีที่แยกมาจากดนตรีปกติดั้งเดิม.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและดนตรีทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีแอมเบียนต์

นตรีแอมเบียนต์ เป็นแนวเพลงที่เน้นเรื่องของเสียงมากกว่าตัวโน้ต เน้นบรรยากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม ในธรรมชาติ แอมเบียนต์เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นการนำสไตล์เพลงหลาย ๆ อย่างมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นแนวแจ๊ซ, อิเล็กทรอนิกส์, นิวเอจ, ร็อค แอนด์ โรล,ดนตรีคลาสสิก, เร็กเก้, เวิลด์มิวสิก หรือแม้กระทั่งเสียงทั่ว ๆ ไป (Noise) ไบรอัน อีโน่ (สมาชิกวง Roxy Music และโปรดิวเซอร์ของ U2 กับ เดวิด โบวี่) ให้คำนิยามดนตรีแอมเบียนต์ โดยเขียนนิยามดนตรีในอัลบั้มของเขาอัลบั้มชื่อ Ambient 1: Music for Airports ในปี 1978 ดนตรีแอมเบียนต์ เป็นดนตรีที่ไม่ได้เรียกร้องความสนใจ มันเหมือนเสียงบรรยากาศในสกอร์ประกอบหนังที่ไม่มีใครสังเกต เหมือนเสียงเพลงเบาๆ ในลิฟต์ที่ไม่มีใครใส่ใจ หรือเสียงซาวด์เอ็ฟเฟกต์ตามคลื่นวิทยุ ได้ซ่อนตัวเป็นเหมือนชั้นบรรยาก.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและดนตรีแอมเบียนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ครัฟท์แวร์ค

รัฟท์แวร์ค (Kraftwerk) เป็นวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์วงแรก ๆ จากเมืองดึสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งในปี 1970 โดยรัลฟ์ ฮึทเทอร์ และฟลอเรียน ชไนเดอร์ ครัฟท์แวร์คถือเป็นวงสำคัญวงหนึ่งที่สร้างสรรค์เพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในเยอรมนี วงอยู่สังกัดอีเอ็มไอ คราฟต์แวร์คถือเป็นวงอิเล็กทรอนิกส์วงแรกที่ได้ทำสัญญากับค่ายใหญ่ ถึงแม้ว่าวงจะไม่ประสบความสำเร็จด้านการตลาด จนกระทั่งวงดนตรี วงรุ่นอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ สร้างกระแสแนวอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับการสืบทอดมาจากแนวดนตรีของครัฟท์แวร์ค ต่อมา มีการพัฒนาไปสู่แนวดนตรีใหม่ ๆ อย่างเทคโน, อิเล็กโทร, อิเล็กโทรป็อป โดยเพลงดังของเขาได้ถูกนำมาทำใหม่บ่อยที่สุด และหลายเวอร์ชันคือเพลง das Model เช่นโดย Rammstein เป็นต้น.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและครัฟท์แวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด

ีย์บอร์ด (keyboard) เป็นของหมักดอง มีรสและกลิ่นเปรี้ยว เนื่องจากถูกหมักบ่ม และ เก็บมานานภายใต้สภาพอากาศปิด ยิ่งนานยิ่งมีกลิ่นที่เปรี้ยวรุนแรง อาจรวมถึง Mouse ด้วย เช่นกัน; ในการพิม.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและคีย์บอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและประเทศเยอรมนีตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

นิวเอจ

นตรีนิวเอจ หากแปลตามตัวก็หมายถึง ดนตรียุคใหม่ เป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งมีจุดเริ่มต้นจากงานความหลากหลายของนักดนตรียุโรปและอเมริกันในทศวรรษที่ 60 ที่ทำเพลงอีเลกโทรนิกและอคูสติก โดยทั่วไปมีลักษณะการใช้เครื่องดนตรีพื้นฐานและความซ้ำของเมโลดี้ในธรรมชาติ การบันทึกเสียงจากธรรมชาติก็มีการนำมาใช้ในเพลง ดนตรีนิวเอจมีดนตรีที่ให้ความผ่อนคลาย แรงบันดาลใจ และมักใช้กับกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น โยคะ การนวด การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ และการบริหารความเครียด ที่จะสร้างบรรยากาศไม่ว่าจะที่บ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ลักษณะของดนตรีนิวเอจมักผสมระหว่างเสียงเอฟเฟกหรือเสียงจากธรรมชาติ รวมกับเพลงอีเลกโทรนิกและเครื่องดนตรี อาศัยโครงของดนตรีหนุนไว้ อย่างเช่น ฟลุต เปียโน อคูสติกกีตาร์ และอาจรวมถึงเครื่องดนตรีตะวันออก ซึ่งในบางเพลงอาจมีการร้องลำนำในภาษาสันสกฤต ทิเบต หรือการสวดของคนพื้นถิ่นในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น หรือในบางคร้งก็มีการเขียนเนื้อร้องที่อิงมาจากเทพนิยายอย่างตำนานเคลติก เป็นต้น สำหรับเพลงที่มีความยาวมากกว่า 20 นาทีในเพลงประเภทนี้ไม่ใช่สิ่งที่แปลกอะไร และในบางครั้งลักษณะของเพลงแบบนี้ก็มีการเปรียบได้ว่าดนตรีแอมเบียนต์ (ambient music) ในช่วงทศวรรษที่ 80 ดนตรีนิวเอจได้รับความนิยมทางสถานีวิทยุทั่วไป.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและนิวเอจ · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แทรนซ์

แทรนซ์ เป็นแนวเพลงอีเลกโทรนิกแด๊นซ์ ที่พัฒนาในทศวรรษ 1990 มีจังหวะอยู่ราว 128 และ 160 บีพีเอ็ม เมโลดี้ใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงที่รวมรูปแบบต่าง ๆ ของดนตรีอีเลกโทรนิก อย่างเช่น ดนตรีแอมเบียนต์ เทคโน และดนตรีเฮาส์ ยังมีการอธิบายว่าแทรนซ์ มีเมโลดี้คลาสสิกบนจังหวะจังเกิล คำว่า แทรนซ์ ไม่แน่ชัดเรื่องที่มา แต่มีบางกระแสบอกว่ามาจากชื่ออัลบั้มของ Klaus Schulze ที่ชื่อ Trancefer (1981) หรือศิลปินแทรนซ์ยุคแรกอย่าง Dance 2 Trance เพลงแนวแทรนซ์มักเล่นในไนต์คลับ สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน ในเมือง และแทรนซ์ยังถูกจัดเป็นหนึ่งในดนตรีคลั.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและแทรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรเกรสซิฟร็อก

รเกรสซิฟร็อก (Progressive rock หรือเขียนสั้น ๆ ว่า prog หรือ prog rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 เป็นส่วนหนึ่งของ "ความพยายามในการยกฐานะเพลงร็อกอังกฤษสู่ระดับใหม่ ด้านความเชื่อถือด้านศิลปะดนตรี" คำว่า "อาร์ตร็อก" มักจะใช้ในความหมายเช่นเดียวกับ "โพรเกรสซิฟร็อก" แต่ขณะที่ทั้งสองแนวเพลงก็ข้ามกันไปข้ามกันมา แต่ทั้งสองแนวเพลงก็ไม่ใช่อย่างเดียวกัน วงดนตรีโพรเกรสซิฟร็อก ได้ผลักดัน ด้านเทคนิกและขอบเขตการจัดวาง โดยทำให้เหนือมาตรฐานร็อกทั่วไป หรือเพลงนิยมที่มีท่อนร้อง-คอรัส เป็นหลักโครงสร้าง นอกจากนี้ การเรียบเรียงมักจะรวมองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิก แจ๊ส และเวิลด์มิวสิก เข้าไป ใช้เครื่องดนตรีทั่วไป แต่เพลงและเนื้อเพลง ในบางครั้งจะเป็นนามธรรม แนวความคิด หรือแฟนตาซี ในบางครั้งวงโพรเกรสซิฟร็อกจะใช้คำว่า "คอนเซปต์อัลบั้ม เพื่ออธิบายถ้อยแถลง มักใช้การอธิบายเรื่องราวแบบมหากาพย์ หรือความยิ่งใหญ่" ดนตรีโพรเกรสซิฟร็อกพัฒนามาตั้งแต่ปลายยุคไซเคเดลิกร็อก ทศวรรษ 1960 ที่เพลงร็อกได้รับความนิยม วงดนตรีแนวนี้ที่เป็นที่นิยมอย่างเช่น เดอะไนซ์, มูดี้บลูส์, คิงคริมสัน, เยส, เจเนซิส, เจโทรทัล และอีเมอร์สัน, เลค แอนด์ พาร์เมอร์ เพลงโพรเกรสซิฟร็อกได้รับความนิยมกว้างขวางราวกลางทศวรรษ 1970 ขณะที่ได้รับความนิยมสุงสุดในทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและโพรเกรสซิฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

โพสต์พังก์

ต์พังก์ (post-punk) เป็นแนวพังก์ร็อกที่เกิดขึ้นปลายทศวรรษที่ 70 เกิดขึ้นหลังพังค์ร็อกได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 70 มีการหยิบซาวนด์มาทดลองมากกว่า อย่างเช่น ซาวนด์ของอิเล็กทรอนิกส์ เร้กเก้ แอฟริกันบีต แจ๊ส โฟล์ค เข้าไปใช้ โพสต์พังก์ได้รับความนิยมมากเมื่อประมาณปี 1977-1984 อย่าง ทอล์คกิ้ง เฮด เป็นต้น วงโพสต์พังก์รุ่นใหม่ เช่น เดอะ ฟิวเจอร์เฮดส์, ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์, เดอะ สโตรคส์ เป็นต้น.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและโพสต์พังก์ · ดูเพิ่มเติม »

โพสต์ร็อก

ต์ร็อก (post-rock) เป็นแนวเพลงของเอ็กซ์เพอร์ริเมนทัลร็อก ซึ่งมีลักษณะในการใช้เครื่องดนตรีร็อกเป็นหลักในการสร้างสีสันของเสียงและเนื้อเสียงมากกว่าที่เน้นเล่นกีตาร์คอร์ดและริฟฟ์ วงโพสต์ร็อกมักจะใช้เครื่องดนตรีร็อกร่วมกับอิเล็กทรอนิกส์ และมักจะทำเพลงบรรเลง แม้ว่ารากฐานจะมาจากยุคเพลงอินดี้หรือใต้ดินในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษ ที่ 1990 โพสต์ร็อกมีลักษณะคล้ายกับอินดี้ร็อกร่วมสมัย ซึ่งได้ห่างจากดนตรีร็อกทั่วไป องค์ประกอบที่ยืมมาจากแนวดนตรีอื่น เช่น ดนตรีแอมเบียนต์ เคราต์ร็อก ไอดีเอ็ม แจ๊ส มัลลิสม์คลาสสิกและดั๊บเร็กเก.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและโพสต์ร็อก · ดูเพิ่มเติม »

ไซเคเดลิกร็อก

ซเคเดลิกร็อก (Psychedelic rock) เป็นแนวเพลงร็อกชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมไซเคเดลิก หรือพยายามที่จะปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเห็นภาพหลอนใหม่ โดยแนวเพลงนี้เกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1960 ท่ามกลางกระแสเพลงการาจร็อก และวงโฟล์กร็อก ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ไซเคเดลิกร็อกได้เชื่อมการเปลี่ยนแปลงจากแนวบลูส์-ร็อกเป็นฐานหลัก ไปเป็นโพรเกรสซีฟร็อก, อาร์ตร็อก, เอ็กซ์เพอร์ริเมนทอลร็อก และเฮฟวีเมทัล.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและไซเคเดลิกร็อก · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เฟาสต์

วาดในปี 1925 แสดงภาพเฟาสต์ และเมฟิสโตฟิลีส จากเฟาสต์ฉบับของเกอเธอ ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นภาพของนายแพทย์โยฮันน์ จอร์จ เฟาสต์ ต้นแบบของเฟาสต์ เฟาสต์ (Faust) หรือ เฟาสตุส (Faustus) เป็นตัวเอกในตำนานโศกนาฏกรรมของเยอรมัน เกี่ยวกับชายที่ขายวิญญาณให้ปิศาจเมฟิสโตฟิลีส (Mephistopheles) เพื่อแลกกับความรู้ ได้รับการดัดแปลงเป็นวรรณกรรม บทละคร ภาพเขียน และงานดนตรี เป็นจำนวนมาก ที่มาของตัวละครเฟาสต์ สันนิษฐานว่ามาจากเรื่องราวของโยฮันน์ จอร์จ เฟาสต์ (ค.ศ. 1480–1540) นักเล่นแร่แปรธาตุและนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน หรืออาจมาจากเรื่องราวของโยฮันน์ ฟุสต์ (ค.ศ. 1400-1466) จิตรกรเยอรมัน เพื่อนสนิทของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก (ค.ศ. 1398–1468) นักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียง ตำนานของเฟาสต์นั้นบันทึกเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและเฟาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

ใหม่!!: เคราต์ร็อกและเครื่องสังเคราะห์เสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Krautrockเคร้าร็อก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »