โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทโรพอด

ดัชนี เทโรพอด

ทโรพอด (Theropods) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน(สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส ไจกันโนโทซอรัส คาร์โนทอรัส หรือสไปโนซอรั.

51 ความสัมพันธ์: กินรีไมมัสมอโนโลโฟซอรัสมาพูซอรัสยุคครีเทเชียสยูทาห์แรปเตอร์วิลอซิแรปเตอร์วิวัฒนาการศีรษะสยามโมไทรันนัสสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสไปโนซอรัสหย่งชวนโนซอรัสออร์นิโทไมมัสอัลโลซอรัสอิริอาเตอร์ทรูโอดอนทวีปแอฟริกาทอร์วอซอรัสทาร์โบซอรัสคอมป์ซอกนาทัสคาร์ชาโรดอนโทซอรัสคาร์โนทอรัสซอริสเกียซอโรพอดซอโรเพกาแนกซ์ซากดึกดำบรรพ์ซูโคไมมัสซีโลไฟซิสแบรีออนิกซ์แอโครแคนโทซอรัสโอวิแรปเตอร์โปรโตเซอราทอปส์ไก่งวงไมโครแรปเตอร์ไจกาโนโทซอรัสไทแรนโนซอรัสไดโลโฟซอรัสไดโนนีคัสไดโนเสาร์ไครโอโลโฟซอรัสไซน์แรปเตอร์เมกะโลซอรัสเมก้าแร็ปเตอร์เมตรเอบิลิซอรัสเฮอร์รีราซอรัสเทอริสิโนซอรัสเดสเพลโตซอรัส...เซอราโตซอรัส ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

กินรีไมมัส

กินรีไมมัส (Kinnareemimus) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของไดโนเสาร์สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ (โนเมน นูดัม) ของไดโนเสาร์เทอร์โรพอดพบในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียส จากหลุมขุดค้นที่ 5 อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวกออร์นิโธมิโมซอเรียน หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน ออร์นิโถมิโมซอร์ ไทรันโนซอรอยด์ ทรูดอนติดส์ และ ครีแนกนาธิดส์ หากมีอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นจริง จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย ริวอิชิ คาเนโกะ (Ryuichi Kaneko) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและกินรีไมมัส · ดูเพิ่มเติม »

มอโนโลโฟซอรัส

มอโนโลโฟซอรัส (อังกฤษ:Monolophosaurus) เป็นเทอโรพอดจากยุคจูราสสิคเมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน มีขนาดยาว 5 เมตร (16ฟุต) พื้นที่ที่ขุดพบมอโนโลโฟซอรัส มีการพบสัญญาณของน้ำจึงเป็นไปได้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่บนชายฝั่งของทะเลสาบหรือมหาสมุทร มอโนโลโฟซอรัส น่าจะพัฒนามาจากเมกะโลซอรัส มอโนโลโฟซอรัสถูกจัดให้อยู่ในตระกูลอัลโลซอร์ แต่ในปี2009 ชาล์ เอ็ทอัล กล่าวคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ของโครงกระดูกโดยบอกว่า มอโนโลโฟซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ในตระกูล เทตันนูรี.

ใหม่!!: เทโรพอดและมอโนโลโฟซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

มาพูซอรัส

มาพูซอรัส (Mapusaurus) เป็นไดโนเสาร์ในสกุลคาร์โนซอร์ (carnosaurian) ขนาดใหญ่ จากต้น ยุคครีเตเชียส อาศัยอยู่ที่ประเทศอาร์เจนตินา มันมีลักษณะคล้ายญาติของมันที่ชื่อ กิก้าโนโตซอรัส ตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดของ มาพูซอรัส ยาว 12.2 เมตร (40ฟุต) น้ำหนักเกิน 3 ตัน มีรูปร่างผอมเพรียวและว่องไว แต่แข็งแรง ชื่อ มาพูซอรัส (Mapusaurus) มาจาก มาพูเช (Mapuche) มาพู เป็นคำใน ภาษากรีก แปลว่า "ตุ๊กแก" ขนาดของมาพูซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีเขียว).

ใหม่!!: เทโรพอดและมาพูซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: เทโรพอดและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

ยูทาห์แรปเตอร์

ูทาห์แรปเตอร์ (Utahraptor) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดครอบครัว โดรมีโอซอร์ หรือ แรพเตอร์ ชนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ครอบครัวโดรมีโอซอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด นอกจากนั้นมันยังมีขนาด 7 เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในครอบครัวนี้ ฟอสซิลของมันพบที่รัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (เพิ่มเติม:ก่อนที่ยูทาห์แรปเตอร์ จะเป็นโดรมีโอซอร์ที่ใหญ่ที่สุด ในอดีตเมก้าแรพเตอร์ยาว 9 เมตร เคยใหญ่ที่สุดมาก่อน แต่ปัจจุบันมันจัดอยู่ในครอบครัว เมกะโลซอร์) ยูทาห์แรปเตอร์เคยได้เป็นตัวละครไดโนเสาร์ ตัวเอกในสารคดีของบีบีซี ชุด ไดโนเสาร์อาณาจักรอัศจรร.

ใหม่!!: เทโรพอดและยูทาห์แรปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลอซิแรปเตอร์

วิลอซิแรปเตอร์ (velociraptor) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว อยู่ในวงศ์โดรเมโอซอร์ (Dromaeosauridae) มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียสตอนปลาย มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณเอเชียกลาง (เคยมีการค้นพบฟอสซิลว่าต่อสู้กับโปรโตเซอราทอปส์ด้วย)มันยังถูกเข้าใจว่าคือ ไดโนนีคัส ของเอเชีย จึงแยกประเภทใหม่เพราะมันมีรูปร่างคล้ายกันและไดโนนีคัส ยังถูกเข้าใจผิดว่าคือ วิลอซิแรปเตอร์ ของอเมริกา วิลอซิแรปเตอร์มีไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ยูทาห์แรปเตอร์, ไดโนนีคัส และโดรมีโอซอรัส ขนาดของวิลอซิแรปเตอร์เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ หุ่นจำลองวิลอซิแรปเตอร์ วิลอซิแรปเตอร์ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในภาพยนตร์ไซไฟฮอลลีวุดเรื่อง Jurassic Park ในปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและวิลอซิแรปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: เทโรพอดและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: เทโรพอดและศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมไทรันนัส

มโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร ชื่อของมันหมายถึง"ทรราชแห่งสยามจากภาคอีสาน" พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและสยามโมไทรันนัส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เทโรพอดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เทโรพอดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: เทโรพอดและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สไปโนซอรัส

รงกระดูกของสไปโนซอรัส กราฟเปรียบเทียบ สไปโนซอรัส ที่เดิน 4ขาเป็นหลักกับมนุษย์ สไปโนซอรัส (Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง ถูกค้นพบครั้งแรกในทะเลทรายสะฮาร่าของอียิปต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและสไปโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

หย่งชวนโนซอรัส

หย่งชวนโนซอรัส (Yangchuanosaurus) ค้นพบในจีนเมื่อปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและหย่งชวนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ออร์นิโทไมมัส

ออร์นิโทไมมัส (Ornithomimus) ค้นพบที่รัฐมอนแทนา สหรัฐอเมริกา เป็นเหยื่อที่วิ่งเร็วที่สุดของทีเร็กซ์ โดยสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขนาดประมาณ 2 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 75-65 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: เทโรพอดและออร์นิโทไมมัส · ดูเพิ่มเติม »

อัลโลซอรัส

อัลโลซอรัส (Allosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าก่อนยุคไทรันโนซอรัสแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคเมื่อ 155-145 ล้านปีก่อน ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 3.2 เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10 เมตร (34 ฟุต) มีหน้าตาคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ มีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรทรงพลังมีฟันเรียงราย แม้จะไม่เทียบเท่าตระกูลไทรันโนซอรัสในยุคหลัง ร่างกายมีความสมดุลโดยยาวและหางหนัก ตามคุณสมบัติของตระกูล อัลโลซอร์ มันมีญาติอันตรายอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ กิก้าโนโตซอรัสในไทยอาจมีญาติของอัลโลซอรัสคือ สยามโมไทรันนัส ที่สันนิษฐานไว้.

ใหม่!!: เทโรพอดและอัลโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อิริอาเตอร์

อิริอาเตอร์ (Irritator) อยู่ในสกุลสไปโนซอร์หรือพวกฟันจระเข้ที่กินปลา มีเอกลักษณ์อยู่ตรงที่หงอนรูปครีบปลาของมันบนหัว เล็บขนาดใหญ่ของมันมีไว้เพื่อล่าเทอโรซอร์และปลา ฟอสซิลของมันค้นพบที่บราซิล อาสัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ 123-125 ล้านปี มีชื่อชนิดต้นแบบว่า I. challengeri ซึ่งตั้งตามศาสตราจารย์ชาลเลนเจอร์ ตัวละครใน The Lost World ของเซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์Isaak, Mark (2008).

ใหม่!!: เทโรพอดและอิริอาเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรูโอดอน

ทรโอดอน (Troodon หรือ Troödon) เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้อที่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ทีมีความฉลาดมากที่สุด ไดโนเสาร์โทรโอดอนเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ใน ช่วงครีเตเชียสตอนปลาย พบได้ ในประเทศอเมริกาและคานาดา ไดโนเสาร์โทรโอดอนจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างที่บอบบาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร ข้างกะโหลกศีรษะของมัน ค่อนข้างแตกต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะบริเวณด้านหลังและด้านข้างของจมูก จะมีโครงกระดูกแหลมโผล่ออกมา ฟันมีลักษณะแหลมและเป็นซี่เล็ก ๆ ตาโต ทำให้สามารถ มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ดี มีนิ้วมือสำหรับตะครุบ ด้วยความฉลาดและมีนิ้วมือสำหรับตะครุบ ในปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและทรูโอดอน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: เทโรพอดและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์วอซอรัส

วาดของทาร์วอซอรัสเมื่อขณะยังมีชีวิต ขนาดของทาร์วอซอรัสเมื่อเทียบกับมนุษย์และสัตว์อื่น (สีฟ้า) ทอร์วอซอรัส (อังกฤษ:Torvosaurus) เป็นหนึ่งใน เทอโรพอดขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลาย ยุคจูลาสสิค ชื่อ ทอร์วอซอรัส มาจาก ทอร์วัส ในภาษาละติน แปลว่า อำมหิต ซากดึกดำบรรพ์ของ ทอร์วอซอรัส มีการค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือและโปรตุเกส ทอร์วอซอรัส มีความยาวระหว่าง 9-11เมตร (30-36ฟุต) น้ำหนักประมาณ 2 ตัน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่สุดในยุคจูลาสสิค รองจาก ซอโรเพกาแนกซ์ และ อัลโลซอรัสคู่แข่งร่วมยุคของมัน ถูกพบครั้งแรกโดย เจมส์ เจนเซ่น และ เคนเน็ท แสตทแมน ในปี 1972 ที่ชั้นหินตะกอน มอร์ริสัน ฟอร์เมชั่นชั้น (Morrison Formation) ทางตะวันตกที่ราบสูงของโคโลร.

ใหม่!!: เทโรพอดและทอร์วอซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ทาร์โบซอรัส

ทาร์โบซอรัส บาร์ทา เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อดุร้ายมากเหมือนไทรันโนซอรัส เป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส พบได้ในเอเชีย มองโกเลีย และจีน ความยาวประมาณ 10-12 เมตร หนัก 5 - 7 ตัน สูงจากหัวถึงพื้น 3.3 เมตร อยู่ยุคครีเทเชียส 85 - 65 ล้านปีก่อน มันมีลักษณะไม่แตกต่างกับไทรันโนซอรัส เร็กซ์ เลย บางคนจึงเรียกมันว่าไทรันโนซอรัส บาร์ทา โดยทาร์โบซอรัส เป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของไทรันโนซอรัส โดยเหยื่อของมันก็ไม่ต่างอะไรกับเหยื่อที่ไทแรนโนซอรัส ล่าเป็นอาหารแต่ต่างกันตรงที่ ทาร์โบซอรัส จะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ซึ่งต่างจากทีเร็กซ์ที่จะล่าเหยื่อขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งความแตกต่างของ2นักล่าขนาดใหญ่นี้อยู่กะโหลก เพราะ กะโหลกของทาร์โบซอรัสนั้นบางกกว่ากะโหลกของทีเร็กซ์ ในทวีปเอเชียช่วงที่ทาร์โบซอรัสมีชีวิตอยู่ มันคือนักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วงที่มันมีชีวิตอยู่ ภาพเปรียบเทียบระหว่าง กะโหลกของ ทาร์โบซอรัส(A) กับ กะโหลกของทีเร็กซ์(B) หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: เทโรพอดและทาร์โบซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

คอมป์ซอกนาทัส

อมป์ซอกนาทัส (Compsognathus) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด สกุลไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 70 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัม ฟอสซิลของมันพบในเหมืองที่ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยีงพบในประเทศไทยของเราด้วย พบเศษกระดูก 2 ชิ้นของกระดูกแข้งด้านซ้าย และกระดูกน่องด้านขวา มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร พบที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น พบอยู่ในเนื้อหินทรายหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะของกระดูกที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกเนธัส ลองกิเปส มันล่าสัตว์ตัวเล็กอย่างแมลง หรือหนู อาศัยอยู่ปลายยุคจูแรสซิก วิ่งเร็ว เป็นไดโนเสาร์เทอราพอดขนาดเล็ก.

ใหม่!!: เทโรพอดและคอมป์ซอกนาทัส · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ชาโรดอนโทซอรัส

กะโหลกของคาร์ชาโรดอนโทซอรัส นั้นมีความสมบูรณ์มาก คาร์ชาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus) เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุดชนิดหนึ่ง มีขนาดโดยประมาณคือ 13.8 เมตร อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาเหนือเมื่อประมาณ 100-93 ล้านปีก่อน ชื่อ คาชาโรดอน มาจากภาษากรีกมีความหมาย ขรุขระ หรือ คม ซึ่งความหมายของชื่อคือ กิ้งก่าฟันฉลาม ขนาดของคาร์ชาโรดอนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีม่วง).

ใหม่!!: เทโรพอดและคาร์ชาโรดอนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

คาร์โนทอรัส

ร์โนทอรัส (Carnotaurus) ค้นพบที่ทุ่งราบปาตาโกเนียของอาร์เจนตินา มีเขาอยู่บนหัว 2 เขา เป็นลักษณะที่พิเศษของคาร์โนทอรัส และมีขาหน้าที่สั้นมากเมื่อเทียบกับเทอโรพอดชนิดอื่นๆ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ากระทิง ขนาดประมาณ 7.5 เมตร หนักประมาณ 2 ตัน ซึ่งถือว่าเบาเมื่อเทียบกับขนาดตัว ซึ่งทำให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่ปราดเปรียวและว่องไวอีกชนิด อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 75-80 ล้านปีก่อน หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: เทโรพอดและคาร์โนทอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ซอริสเกีย

ซอริสเกีย (Saurischia,, จากภาษากรีกโบราณ σαυρος (sauros) แปลว่า 'กิ้งก่า' และ ισχιον (ischion) แปลว่า "ร่วมสะโพก") เป็นการจัดอันดับของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วจำพวกไดโนเสาร์ นับเป็นอันดับของไดโนเสาร์ในวงกว้างหนึ่งในสองอันดับ (ร่วมกับออร์นิทิสเกียหรือไดโนเสาร์ที่มีโครงกระดูกสะโพกหรือเชิงกรานคล้ายนก) โดยเป็นการจัดมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและซอริสเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรพอด

ซอโรพอด (sauropod Diermibot) คือ ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีคอยาวอย่างน้อย 5 เมตร มีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือแอมพิโคเลียส และเล็กที่สุดคือพลาทีโอซอรัส ซอโรพอดชนิดเรกอาศัยอยู่ในยุคไตรแอสสิคตอนปลาย และชนิดสุดท้ายอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: เทโรพอดและซอโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรเพกาแนกซ์

ปรียเทียบ ซอโรฟากาแนกซ์กับญาติในตระกูลของอัลโลซอร์ ซอโรเพกาแนกซ์ (Saurophaganax) ชื่อมีความหมายว่านายพรานล่าซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในยุคจูราสสิก ยาวประมาณ 13 เมตร(ยาวกว่าTyranosaurus rex) และหนักประมาณ 3-5 ตัน อยู่ในตระกูลอัลโลซอร์(allosauroids) มีเขี้ยวยาวถึง 25 เซนติเมตร ไว้สำหรับบดกระดูกเช่นเดียวกับไทรันโนซอรัส ค้นพบในรัฐโอคลาโฮมา ส่วนกระดูกขาอ่อนกระดูกสันหลังหลายหางและกระดูกสะโพกมีการพบในภาคเหนือของนิว เม็กซิโก มันถูกพบครั้งแรกเมื่อปี 1995 โดย ดร.คลัช ในครั้งแรกที่ดร.คลัช ค้นพบฟอสซิลยังไม่สมบูรณ์ แต่ในปี 2003 ได้มีการค้นพบฟอสซิลกระดูกเพิ่ม ซึ่งประมาณการความยาวได้ 11-13 เมตร หนักประมาณ 3-5ตัน สูง 4เมตร.

ใหม่!!: เทโรพอดและซอโรเพกาแนกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: เทโรพอดและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซูโคไมมัส

ซูโคไมมัส เป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ในสกุล สไปโนซอร์ ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา ประเทศอียิปต์,ไนเจอร์ Suchomimus มีปากที่มีความยาวต่ำและแคบเป็นจะงอย ฟันคมมาก และโค้งย้อนหลัง ออกหาอาหารบริเวณริมแม่น้ำ อาหารหลักของมันคือปลา และสัตว์น้ำในยุคดึกดำบรรณ์ Suchomimus มีความยาว 11 เมตร หนักประมาณ 2.9-4.8 ตัน อาศัยอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้นเมื่อประมาณ 112 ล้านปีก่อน มันมีศัตรูขู้แข่งตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกันอย่าง จระเข้ยักษ์ ซาร์โคซูคัส (Sarcosuchus) ที่อาศัยอยู่ริมน้ำและจะคอยดักซุ่มโจมตีเหยื่ออยู่ในน้ำ Suchomimus มีญาติไกล้ชิดอย่าง สไปโนซอรัส ที่มีความยาว 15 เมตร กับ อิริอาเตอร์ (อังกฤษ: Irritator) ยาว 8 เมตร (26ฟุต) ที่มีลักษณะรูปร่างและการดำรงชีวิตคล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: เทโรพอดและซูโคไมมัส · ดูเพิ่มเติม »

ซีโลไฟซิส

ซีโลไฟซิส (Coelophysis) เป็นไดโนเสาร์มีความสามารถในการวิ่งอย่างรวดเร็ว เพราะกระดูกของซีโลไฟซิสนั้นกลวง ซีโลไฟซิสยาวประมาณ 3.2 เมตร อาหารของพวกซีโลไฟซิสคือซากสัตว์ที่ตายแล้ว กิ้งก่า และแมลง แต่บางครั้งเมื่อหน้าแล้งมาถึงซึ่งเป็นช่วงหาอาหารลำบาก ซีโลไฟซิสจึงกินพวกเดียวกันด้วย ฟอสซิลของซีโลไฟซิสพบที่รัฐนิวเม็กซิโก ซีโลไฟซิสอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย เคยมีการพบฟอสซิลของซีโลไฟซิส 1,000 ตัวที่ทุ่งปีศาจ จึงกล่าวว่าซีโลไฟซิสอาจจะอยู่เป็นฝูง แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนค้านว่าซีโลไฟซิสไมได้อยู่เป็นฝูง เพียงแต่ตายในที่เดียวกันเท่านั้น หมวดหมู่:ไดโนเสาร์.

ใหม่!!: เทโรพอดและซีโลไฟซิส · ดูเพิ่มเติม »

แบรีออนิกซ์

รีออนิกซ์ (Baryonyx) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์สไปโนซอร์ มีถิ่นกำเนิดที่อังกฤษ แบรีออนิกซ์มีฟันรูปกรวย มันมีเล็บหัวแม่มือที่ใหญ่กว่าเล็บอื่น ยังมีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ เลปิโดเทส ที่กระเพาะอาหารของมันอีกด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่า มันคงจะกินปลาเป็นอาหาร โดยใช้เล็บจิกปลาขึ้นมากิน อย่างไรก็ตาม มันก็กินไดโนเสาร์อื่น ๆ และกระทั่งลูกของมันเอง มันมีความยาวประมาณ10.5เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ120ล้านปีก่อน หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส หมวดหมู่:สไปโนซอริเด.

ใหม่!!: เทโรพอดและแบรีออนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แอโครแคนโทซอรัส

แอโครแคนโทซอรัส (acrocanthosaurus) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ในตระกูล อัลโลซอร์ (allosauroids) มีชีวิตอยู่ระหว่าง 112-125 ล้านปีก่อน ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ ฟอสซิลของมันมันยังคงพบส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐโอคลาโฮมาและรัฐเทกซัส แต่ก็มีการบันทึกว่าถูกค้นพบใน ทางตะวันออกในรัฐแมริแลนด์ ขนาดของแอโครแคนโทซอรัสเมื่อเทียบกับมนุษย์ ถือได้ว่ามีขนาดใหญ่โตมาก แอโครแคนโทซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุด มีความยาวโดยประมาณ 12 เมตร (40ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 6.8 ตัน แต่มันก็มีขนาดเล็กกว่าญาติขนาดใหญ่เช่น กิก้าโนโตซอรัสที่มีความยาว13เมตร (42ฟุต) ฟอสซิลของแอโครแคนโทซอรัส ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยค้นพบวัดจากปลายจมูกถึงพวยปลายหางมีความยาว11.5เมตร (38ฟุต) น้ำหนักประมาณ 6177 กิโลกรัม (6.1ตัน) กะโหลกของแอโครแคนโทซอรัส มีลักษณะคล้ายกับ ไดโนเสาร์ไนตระกูลอัลโลซอร์ อื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่มีความยาวและแคบ คุณสมบัติเด่นที่สุดของ แอโครแคนโทซอรัส คือ แถวของหนามประสาทสูง ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลังของคอ และสะโพกและหางบน ซึ้งคล้ายกับของ สไปโนซอรัส แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยหน้าที่ของมันนั้นยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอน นอกเหนือจากกระดูกสันหลัง แอโครแคนโทซอรัส มีโครงกระดูกแบบ ตระกูลอัลโลซอร์ ทั่วไปที่หางมีความยาวและหนัก ศรีษระ มีขนาดใหญ่และมีนำหนักเพื่อรักษา สมดุล ของร่างกาย แต่ละมือมี 3นิ้ว แขนมีขนาดสั้นแต่มีความแข็งแรง กว่าของไทรันโนซอรัส กระดูกขาหลังของแอโครแคนโทซอรัส มีความแข็งแรงกว่า อัลโลซอรัส ญาติขนาดเล็กกว่าของมันภาพวาดของแอโครแคนโทซอรัสเมื่อขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แอโครแคนโทซอรัส ถูกออกแบบมาเพื่อล่าเหยื่อเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่เช่น ทีนอนโตซอรัส หรือแม้แต่ซอโรพอดขนาดใหญ่อย่างซอโรโพไซดอน ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่มีความสูง 17 เมตร (56ฟุต) มีความยาวถึง 34เมตร (112ฟุต) ต่างจากไทรันโนซอรัสที่มักจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็ก โดยมันเป็นเพียงเทอโรพอดเพียงไม่กี่ขนิดที่สามารถล่าเหยือที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ได้.

ใหม่!!: เทโรพอดและแอโครแคนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

โอวิแรปเตอร์

โอวิแรปเตอร์(Oviraptor)มีหงอนเป็นเอกลักษณ์ ยาว 2 เมตร ส่วนสูงประมาณหัวเข่าของผู้ใหญ่ที่โตเต็มไวแล้ว พบที่มองโกเลีย มีการค้นพบฟอสซิลของมันอยู่กับลูกในรังของมัน ในท่ากกไข่ หลายชุด เป็นหลักฐานที่ระบุว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่เลี้ยงลูกของมันอย่างดี ฟอสซิลในท่ากกไข่ของโอวิแรปเตอร์ ตัวนั้นอาจตายตอนมีพายุทรายพัดมา พบในชั้นหินของยุคครีเทเซียส ช่วงเวลา 90-85 ล้านปี หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส.

ใหม่!!: เทโรพอดและโอวิแรปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรโตเซอราทอปส์

ปรโตเซอราทอปส์ (Protoceratops) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลเซอราทอปส์เชียน ค้นพบในประเทศมองโกเลีย ในทะเลทรายโกบี มีลักษณะซิทตาโคซอรัส ขนาดประมาณ 2 เมตรเคยค้นพบฟอสซิลของมันกำลังกัดเวโลซีแรปเตอร์ และในปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและโปรโตเซอราทอปส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไก่งวง

''Meleagris gallopavo'' ไก่งวง (Turkey) เป็นนกที่บินไม่ได้ประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Meleagridinae สกุล Meleagris มีปากสั้นเรียวบาง บริเวณหัวบางส่วนและลำคอไม่มีขนที่เห็นชัด แต่มีหนังย่น ๆ และตุ่มคล้ายหูด ขนหางมี 28-30 เส้น แพนหางชี้ตั้งขึ้น ขายาว ลักษณะนิ้วตีนเหมือนกับไก่ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้มีเดือย ขนตามลำตัวเป็นเงา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ M. gallopavo พบในอเมริกาเหนือ และ M. ocellata พบในอเมริกากลาง ในสหรัฐอเมริกา ชาวคริสต์นิยมรับประทานไก่งวงในวันขอบคุณพระเจ้า ไก่งวง มีขนาดใหญ่กว่าไก่ทั่วไป ในการประกอบอาหาร นิยมยัดไส้นานาชนิด แล้วนำไปปรุงแต่งอาหาร.

ใหม่!!: เทโรพอดและไก่งวง · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครแรปเตอร์

มโครแรปเตอร์ (Microraptor; ศัพทมูลวิทยา: ภาษากรีก, μίκρος, mīkros: "เล็ก"; ภาษาละติน, raptor: "ผู้ที่คว้าที่หนึ่ง") เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์โดรมีโอซอร์ (Dromaeosauridae) เช่นเดียวกับเวโลซีแรปเตอร์ ไมโครแรปเตอร์ มีรูปร่างคล้ายไดโนเสาร์ผสมนกมีขนปกคลุมลำตัวเหมือนนก ขนาดลำตัวเท่า ๆ กับนกพิราบ มีปีกทั้งหมด 4 ปีก (ขาหน้า 2 ปีก และขาหลัง 2 ปีก) มีขนหางที่เรียวยาว และเชื่อว่าดำรงชีวิตและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก รวมถึงทำรังบนต้นไม้ และมีหลักฐานว่าจับนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์กินเป็นอาหาร จากการพบซากในส่วนที่เป็นกระเพาะ ไมโครแรปเตอร์ ไม่สามารถบินได้ แต่จะใช้ปีกและขนร่อนไปมาเหมือนสัตว์ในยุคปัจจุบันหลายชนิดเช่น กระรอกบิน หรือบ่างChatterjee, S., and Templin, R.J. (2007).

ใหม่!!: เทโรพอดและไมโครแรปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไจกาโนโทซอรัส

ขนาดของไจแกนโนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีส้ม) ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ คือภาพที่ไจกาโนโทซอรัสเห็นไม่ทับซ้อนกัน ทำให้มองลำบากเพราะกะระยะไม่ถูกนัก จากการสำรวจพบว่าไจกาโนโทซอรัสเป็นสัตว์เลือดอุ่น หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส ไดโนเสาร์ โครงบรรพชีวินวิทยา.

ใหม่!!: เทโรพอดและไจกาโนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไทแรนโนซอรัส

กะโหลกของ ไทแรนโนซอรัส นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา ไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด ซึ่งความใหญ่ของกะโหลกวัดกันที่ความกว้าง หลังมีการค้นพบญาติร่วมวงศ์ตระกูลของทีเร็กซ์ ว่ามีขนปกคลุม ทำให้นักวิทยาศาตร์ ได้สันนิฐานว่า ทีเร็กซ์และญาติของมัน น่าจะมีขนปกคลุมตามตัว ไทแรนโนซอรัส หรือ ไทรันโนซอรัส (แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที.

ใหม่!!: เทโรพอดและไทแรนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโลโฟซอรัส

ลโฟซอรัส (Dilophosaurus) หงอนของมันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น มีไว้อวดตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีหงอน พบที่ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศจีน อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้นเมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน ยาวประมาณ 6-7 เมตร มันมีฟันหน้าอันแหลมคมที่นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่ามีไว้สำหรับฉีกเนื้อมากกว่าการขย้ำหรือขบกัด ส่วนหงอนบนหัวไว้สำหรับโอ้อวดตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์ ไดโลโฟซอรัส เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วจากไปจากการปรากฏตัวใน ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค โดยภายในภาพยนตร์ได้มีการแสดงว่า ไดโลโฟซอรัส สามารถพ่นพิษออกจากปากได้(คล้ายงูเห่าแอฟริกา) แต่เป็นเพียงเพื่อการเพิ่มอรรถรสในการชมเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า ไดโลโฟซอรัสสามารถพ่นพิษหรือกางแผงคอ ได้.

ใหม่!!: เทโรพอดและไดโลโฟซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนนีคัส

นนีคัส (Deinonychus) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว มีความยาวประมาณ 2-5 เมตร หนัก 73 กิโลกรัม อยู่ในวงศ์โดรเมโอซอร์ มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลก ช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส (Cretaceous) มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณอเมริกาเหนือชื่อก่อนคือ เวโลซีแร็พเตอร์ แอนเทอโรฟัส เจ้านี้คือตัวที่ปรากฏใน จูราสสิค พาร์ค แสดงว่า สตีเว่น สปีลเบิร์ก ทำถูกแล้วเขาไม่ได้เอา เวโลซีแร็พเตอร์ จากมองโกเลียมาแต่เป็น เวโลซีแร็พเตอร์แอนเทอโรฟัส มาใช้แสดงทั้ง 4.

ใหม่!!: เทโรพอดและไดโนนีคัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: เทโรพอดและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไครโอโลโฟซอรัส

ไครโอโลโฟซอรัส (Cryolophosaurus) มีความหมายว่า "กิ้งก่าหงอนแช่แข็ง" เพราะค้นพบในทวีปแอนตาร์กติก และสภาพฟอสซิลของสมบูรณ์มาก บางคนเรียกว่า "ไดโนเสาร์เอลวิส" เพราะหงอนมีลักษณะเหมือนผมของ "เอลวิส เพรสลีย์" หงอนมีลักษณะป็นรูปพัด หงอนนี้บางและอ่อนมากจึงไม่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ แต่เป็นเพียงเคลื่องที่อาจไว้ยั้วโมโหคู่ต่อสู้ ขนาดตัวอยู่ในราว 7 - 8 เมตร อาศัยอยู่ กินเนื้อเป็นอาหาร เป็นนักล่าขนาดกลางไม่ใหญ่มาก ในยุคจูแรสซิกตอนต้น ไครโอโลโฟซอรัสกินเนื้อเป็นอาหาร อยู่ในกลุ่มไดโลโฟซอริดส์ หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก.

ใหม่!!: เทโรพอดและไครโอโลโฟซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไซน์แรปเตอร์

ซน์แรปเตอร์ (Sinraptor) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าราชาหัวขโมยแห่งจีน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีนในปี..

ใหม่!!: เทโรพอดและไซน์แรปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมกะโลซอรัส

วัดขนาดของ เมกะโลซอรัส กับ มนุษย์ เมกะโลซอรัส หรือ เมกาโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อหรือเทอโรพอด มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสสิกตอนกลาง เมื่อประมาณ 166 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลของเมกาโลซอรัสถูกค้นพบในประเทศแถบยุโรปเป็นส่วนใหญ่ ค้นพบโดย บาทหลวงโรเบิร์ต พล็อต ลักษณะของเมกาโลซอรัสคือ มีหัวที่มีขนาดใหญ่ ฟันแบบสัตว์กินเนื้อ เดินด้วยสองข้าหลังอันทรงพลัง มีหางที่ยาวและใหญ่เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย เคลื่อนไหวคอได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น ขาหน้าเล็กและสั้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อแข็งแรง เมกาโลซอรัสมีลำตัวยาวประมาณ 9-10 เมตร และมีน้ำหนักราว 1.5 ตัน ชื่อของเมกาโลซอรัสเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่า กิ้งก่าตัวใหญ่ เมกาโลซอรัสมีสักษณะนิสัยล่าเหยื่อตัวคนเดียว หรือบางครั้งพวกมันก็จะออกล่าเป็นฝูงถ้าล่าไดโนเสาร์กินพืชตัวใหญ่ เนื่องจากเมกาโลซอรัสมีร่างกายที่ใหญ่โตและทรงพลัง เมกาโลซอรัสจึงนับเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อที่น่ากลัวที่สุดในยุคนั้นเลยทีเดียวและเมกะโลซอรัสยังเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อตัวแรกของโลกทีถูกค้นพบ หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก.

ใหม่!!: เทโรพอดและเมกะโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เมก้าแร็ปเตอร์

มก้าแร็ปเตอร์ (Megaraptor) ฟอสซิลของมันค้นพบครั้งแรกที่อาร์เจนตินา โดยนายโนวาส เมื่อปี..1998 มีชื่อเต็มว่า เมก้าแร็ปเตอร์ นามันฮัวอิคิวอิ (Megaraptor namunhuaiquii) ซึ่งมีความหมายว่าหัวขโมยขนาดยักษ์ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 98 ล้านปีก่อน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ประมาณรถเมล์ มีความยาวระหว่าง 6-8 เมตร สูงจากพื้นถึงหัว 4 เมตร แต่ก็เคยพบขนาดใหญ่ที่สุดยาว 9 เมตร มีเล็บที่มือยาวถึง 15 นิ้ว ซึ่งอาจจะยาวที่สุดในไดโนเสาร์ทั้งหมด คาดว่ามีไว้ล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างอมาร์กาซอรัส หรืออาร์เจนติโนซอรัส ในช่วงแรกมันถูกจัดอยู่ในพวกแร็พเตอร์โดรเมโอซอร์ เนื่องจากค้นพบฟอสซิลเพียงชิ้นเดียวคือกรงเล็บรูปร่างโค้งคล้ายเคียวขนาดใหญ่ของมัน แต่ทว่าเรื่องจริงก็ถูกเปิดเผย จากการค้นพบฟอสซิลเพิ่มเติม นักบรรพชีวินพบว่าแท้จริงแล้วกรงเล็บนั้นไม่ได้อยู่บนนิ้วเท้าแบบของพวกโดรมีโอซอร์ แต่กลับอยู่บนมือ ทำให้เมก้าแรพเตอร์เปลี่ยนสถานะไปในทันที ปัจจุบัน เมก้าแรพเตอร์มีวงศ์ย่อยเป็นของมันเองคือ Megaraptora ซึ่งจะประกอบไปด้วยเทอโรพอดแปลกประหลาดอีกหลายตัว เช่น อีโอไทแรนนัส ออสตราโลเวเนเทอร์ ฯ ส่วนวงศ์ใหญ่ที่คลุม Megaraptora อีกทีนั้นยังไม่แน่ชัด บ้างก็ว่าเป็น Tyrannosauroid บ้างก็ว่าเป็น Allosauroid หรือ Spinosauroid ไปเลยก็มี เพราะฉะนั้นในตอนนี้รูปร่างของเมก้าแรพเตอร์ก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป.

ใหม่!!: เทโรพอดและเมก้าแร็ปเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: เทโรพอดและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอบิลิซอรัส

วาดของเอบิลิซอรัส เอบิลิซอรัส (Abelisaurus) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในกลุ่มย่อยเอบิซอร์อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ในยุคครีเตเชียส เป็นสัตว์กินเนื้อสองเท้า มีความยาวประมาณ 7-9 เมตร (25-30 ฟุต) ถูกค้นพบในปีในปี ค.ศ.1995 โดยโรเบอร์โต้ อาเบล อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์Cipolletti ในประเทศอาร์เจนตินาในแคว้นปาตาโกเนี.

ใหม่!!: เทโรพอดและเอบิลิซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์รีราซอรัส

อรีราซอรัส (Herrerasaurus) มีชีวิตอยู่ในช่วงต้น ของยุคไทรแอสสิค พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในยุคไทรแอสสิค ความ ยาว 5 เมตร คล้ายนก ฟันมีลักษณะแหลมคม คอสั้น กระดูกต้นขายาว กว่ากระดูกหน้าแข้ง มีนิ้วเท้า 4 นิ้ว กระดูกสะโพกชิ้นหน้าเอียงไปทางด้านหลังค่อนข้าง คล้ายกับไดโนเสาร์ที่มีสะโพกเหมือนนก ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเฮอร์รีร.

ใหม่!!: เทโรพอดและเฮอร์รีราซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เทอริสิโนซอรัส

ทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus) เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดชนิดหนึ่ง โดยสายพันธุ์นี้จะไม่กินเนื้อ แต่จะกินพืช มันกินพืชเพราะลักษณะของฟันมัน ทำให้เทอริสิโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินพืช เทอริสิโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ 72-68 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีน มองโกเลีย และตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: เทโรพอดและเทอริสิโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เดสเพลโตซอรัส

ลโตซอรัส (Daspletosaurus) เป็นเทอโรพอดในวงศ์ไทรันโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea) ที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อประมาณ 77 ถึง 74 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส ซากฟอสซิลพบในรัฐอัลเบอร์ต้า และรัฐมอนแทนาเป็นส่วนใหญ่ เดสเพลโตซอรัส เป็นไดโนเสาร์ในวงส์เดียวกับไทรันโนซอรัส ที่มีคุณสมบัติกะโหลกใหญ่พันคม เช่นเดียวกับเทอโรพอดในวงศ์ไทรันโนซอรอยเดียอื่น.

ใหม่!!: เทโรพอดและเดสเพลโตซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เซอราโตซอรัส

ซอราโตซอรัส (Ceratosaurus - กิ้งก่ามีเขา) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) ช่วงปลายยุคจูแรสสิค มีความใกล้ชิดกับสายพันธุ์ของอัลโลซอรัส แต่ขนาดตัวเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตร แต่จากการคำนวณคาดว่า ตัวโตที่สุดอาจยาวได้ 8.8 เมตร มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอรัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี 4 นิ้วไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือจมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ "กิ้งก่ามีเขา"ของมัน แต่เขาของซีราโตซอรัส เป็นแผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็นอาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย ฟันของของเซอราโตซอรัสยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว แต่แบนและบางกว่า นักล่ายุคเดียวกัน เหมาะกับการตัดเนื้อกิน แต่ไม่สามารถบดกระดูกได้ ทำให้คาดได้ว่า เหยื่อของมันน่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลาง ที่ฉีกเนื้อกินได้ง่ายกว่า บวกกับการศึกษาที่พบฟอสซิล เชื่อว่า เซอราโตซอรัสมักจะล่าเหยื่อในป่าทึบ ตามลำพังคล้ายๆกับ เสือดาว แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่านักล่าอื่นๆ แต่ก็มีร่างกายแข็งแกร่ง และ ปราดเปรียว จัดได้ว่าเป็นนักล่าตัวยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง.

ใหม่!!: เทโรพอดและเซอราโตซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Theropodaเทอโรพอด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »