โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไดโนเสาร์

ดัชนี ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

69 ความสัมพันธ์: บรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษชิคาโกชีววิทยาพ.ศ. 2365พ.ศ. 2385พ.ศ. 2476พ.ศ. 2536การสูญพันธุ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์กิเดียน แมนเทลภาษากรีกภาษาไทยมหายุคมีโซโซอิกมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมังกรมนุษย์หินฟลิ้นท์สโตนส์ยุคจูแรสซิกยุคครีเทเชียสยุคไทรแอสซิกระบบนิเวศรายชื่อไดโนเสาร์ริชาร์ด โอเวนลอนดอนวัฒนธรรมประชานิยมสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อะแพโทซอรัสอาร์โคซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์อิกัวนาอิกัวโนดอนอีลาสโมซอรัสองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติอนุกรมวิธานจังหวัดปทุมธานีจูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ธรณีกาลธรณีวิทยาทวีปอเมริกาใต้ทวีปแอนตาร์กติกาคิงคองตำนานน้ำท่วมโลกฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ...ซอโรพอดซากดึกดำบรรพ์ประเทศอาร์เจนตินาประเทศจีนนักวิทยาศาสตร์แบรคิโอซอรัสแองคิโลซอรัสโมซาซอร์โดราเอมอนไมเคิล ไครช์ตันไฮโนซอรัสไทรเซราทอปส์ไทแรนโนซอรัสไดพลอโดคัสไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพชรพระอุมาเมกะโลซอรัสเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนเทโรพอด ขยายดัชนี (19 มากกว่า) »

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอังกฤษ

วอังกฤษ เป็นกลุ่มของชาวยุโรปที่เคยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของบริเตนใหญ่ เป็นชาวแองโกล-แซกซอนส์ ที่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร มีอยู่ 45,265,093 คน สหรัฐอเมริกา 24,515,138 คน แคนาดา 5,978,875 คน ออสเตรเลีย 6.4 ล้านคน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และชาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ชิคาโก

ก (Chicago; คำอ่าน) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิส เมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2365

ทธศักราช 2365 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และพ.ศ. 2365 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2385

ทธศักราช 2385 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และพ.ศ. 2385 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2476

ทธศักราช 2476 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1933.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และพ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ำลองเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิเดียน แมนเทล

กิเดียน แมนเทล ค.ศ. 1790-1852 กิเดียน แมนเทล (Gideon Algernon Mantell) (3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1790 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1852) เป็นสูตินรีแพทย์, นักธรณีวิทยา, และนักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และกิเดียน แมนเทล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซโซอิก

มหายุคมีโซโซอิก (อังกฤษ: Mesozoic Era) เป็นมหายุคที่สองจาก 3 มหายุคทางธรณีกาลของโลกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยอยู่ถัดจากมหายุคพาลีโอโซอิกและอยู่ก่อนหน้ามหายุคซีโนโซอิก มหายุคมีโซโซอิกมีช่วงอายุตั้งแต่ 251-65 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในช่วงเวลาที่มีการแยกตัวออกจากกันของแผ่นดินพันเจีย ทำให้เกิดผืนแผ่นดินลอเรเซียและผืนแผ่นดินกอนด์วานา คั่นกลางด้วยมหาสมุทรเททิส จากนั้นจึงเกิดการแยกตัวขึ้นอีกภายในผืนแผ่นดินทั้งสองทำให้เกิดทวีปต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มหายุคมีโซโซอิกเป็นมหายุคที่เรียกได้ว่าสัตว์เลื้อยคลานครองโลก.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และมหายุคมีโซโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มังกร

มังกร มังกร (dragon; จากdraco) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดีของจีนและตะวันตก แม้จะใช้คำว่ามังกร (dragon) เหมือนกัน แต่มังกรของจีนและตะวันตกนั้นสื่อถึงสัตว์ต่างชนิดกัน มังกรของจีนมีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีก แต่สามารถบินไปในอากาศได้ ส่วนมังกรของตะวันตกจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้ ในตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษทั้งหลาย การฆ่ามังกรและขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตร.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และมังกร · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์หินฟลิ้นท์สโตนส์

ตัวละครหลักในเรื่อง มนุษย์หินฟลิ้นท์สโตนส์ (The Flintstones) เป็นการ์ตูนอเมริกัน สร้างโดย ฮันนา-บาร์เบอราโปรดักชัน เรื่องราวของครอบครัวยุคหินในจินตนาการที่มีการผสมผสานวัตถุและวิถีชีวิตสมัยปัจจุบันลงไป เช่นการใช้รถแบบวิ่งเอง การเลี้ยงไดโนเสาร์แทนสุนัข ชื่อสกุลของตัวละครเอกในเรื่อง (ฟลิ้นท์สโตนส์) แปลว่า หินเหล็กไฟ ส่วนชื่อสกุล รับเบิล แปลว่าเศษหินหรือเศษอ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และมนุษย์หินฟลิ้นท์สโตนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศ

ืดหินปะการังเป็นระบบนิเวศทะเลอย่างหนึ่ง ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นร.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และระบบนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อไดโนเสาร์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และรายชื่อไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด โอเวน

ริชาร์ด โอเวน เซอร์ ริชาร์ด โอเวน (Sir Richard Owen KCB) (20 ก.ค. ค.ศ. 1804 - 18 ธ.ค. ค.ศ. 1892) เป็นนักชีววิทยา, นักกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ, และนักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลแลงคาสเชอร์.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และริชาร์ด โอเวน · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมประชานิยม

วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture หรือ pop culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม วัฒนธรรมประชานิยมมักมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมประชานิยมคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความคิด มุมมอง ทัศนคติ ภาพลักษณ์ การเลียนแบบ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของสังคมในท่ามกลางวัฒนธรรมกระแสหลัก ส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม เช่น เพลงป็อปหรือเพลงสมัยนิยมที่จะเน้นในลักษณะตามความชอบของคนในสมัยนั้น เพลงป็อปในญี่ปุ่นจะเรียกว่า เจ-ป็อป.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และวัฒนธรรมประชานิยม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อะแพโทซอรัส

อะแพทโทซอรัส หรือ อะแพตโตซอรัส (Apatosarus) หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) เป็นไดโนเสาร์ยักษ์ในยุคจูแรสซิก กินพืชเป็นอาหาร เคยมีสมญาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง อาศัยอยู่บนโลกนี้เมือประมาณ 190-135 ล้านปีที่ผ่านมา ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "กิ้งก่าปลอม" อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 (สูสีกับดิพโพลโดคัสมากนะครับ) ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า ลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน) หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่ ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบัน อะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และอะแพโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อาร์โคซอร์

อาร์โคซอร์ (อังกฤษ: Archosaur, มาจากภาษากรีกแปลว่า กิ้งก่าผู้ครองโลก) ได้แก่กลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่งซึ่งมีกะโหลกแบบ diapsid (มีสองโพรงในแต่ละด้าน) ซึ่งในอดีตรวมไปถึงไดโนเสาร์ ส่วนสัตว์พวกอาร์โคซอร์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ จระเข้ และ นก ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า อาร์โคซอร์ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อไร พวกที่จัดให้สัตว์เลี้อยคลาย Archosaurus rossicus และ/หรือ Protorosaurus speneri ว่าเป็นอาร์โคซอร์เต็มตัว จะถือเอายุคเพอร์เมียนตอนปลายเป็นจุดเริ่มต้น ในขณะที่อีกกลุ่มจัดสัตว์เลื้อยคลานข้างตนเป็นพวก อาร์โคซอริฟอรมส์ (archosauriformes) และนับให้อาร์โคซอร์วิวัฒนาการต่อจาก archosauriformes อีกที ยึดเอายุคโอลีนีเคียน (Olenekian, ตรงกับยุคไทรแอสซิกตอนต้น) เป็นจุดกำเนิด อาร์โคซอร์เป็นสัตว์ที่ครองโลกในยุคไทรแอสซิก หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และอาร์โคซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์

อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (Arthur Ignatius Conan Doyle) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ในเมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ แห่งสหราชอาณาจักร และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 เป็นนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ประวัติศาสตร์ และแพทย์คนสำคัญของสกอตแลนด์ แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด คือนิยายรหัสคดีชุด "เชอร์ล็อก โฮมส์" โคนัน ดอยล์ได้รับการศึกษาจากคณะเยซูอิต ที่วิทยาลัยสโตนีเฮิสต์ และจบการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อปี ค.ศ. 1881 แล้วประกอบอาชีพแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับตีพิมพ์ในวารสารแชมเบอร์ (Chambers) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 และเขียนสารคดีเรื่องแรก ในวารสารการแพทย์ "British Medical Journal" ในเดือนเดียวกัน เรื่องที่ไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งในช่วงนั้น แสดงถึงการทดลองด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ การใช้ตัวเอกที่มีความรู้ในศาสตร์ลับ และคนเล่าเรื่องที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใด แต่พัฒนาการของแนวคิดดังกล่าวก้าวถึงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1886 และสร้างสีสันมีชีวิตชีวามาก จากเรื่อง "A Study in scarlet" เป็นเรื่องของนักสืบชื่อเชอร์ล็อก โฮลมส์ และเพื่อนชื่อหมอวัตสัน ด้วยการสร้างบทสนทนาที่สนุกสนาน น่าติดตาม ทำให้เรื่องของเขาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง และนวนิยาย 4 เรื่อง โดยได้รับแนวคิดจาก "Socrates and his disciples" ของเพลโต และ "Don Quixote" ของเซอร์บันเตส เป็นต้น โคนัน ดอยล์ยังถือว่าเป็นหนี้ความรู้ของเอ็ดก้าร์ แอลลแลน โป (Edgar Allan Poe) บิดาแห่งรหัสคดี แต่การสร้างสรรค์เรื่องของโคนัน ดอยล์ทำให้นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์มีความแตกต่างจากนิยายสืบสวนทั่วไป และกลายเป็นนิยายรหัสคดียิ่งใหญ่ในชั่วเวลาไม่นาน เขาให้เขียนให้โฮมส์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1893 เพื่อจบนิยายชุดนี้ แต่ต้องแต่งเรื่องให้โฮมส์กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของบรรดานักอ่านของเขา เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ได้แก่เรื่องเล่าสมัยกลาง เกี่ยวกับทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนเรื่องสั้นของเขาจะเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากกว่า งานของเขายังมีเรื่องราวการผจญภัยกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องสั้นชุด "Professor Challenger" เป็นต้น โคนัน ดอยล์นั้นได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1891 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองซัสเซ็กซ์ และเอสเซ็กซ์ เมื่อ ปี ค.ศ. 1902 โคนัน ดอยล์ได้รับพระราชทานยศอัศวิน อันเนื่องมาจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในสงครามแอฟริกา หลังจากบุตรชายของเขาเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งเขาได้เขียนประวัติเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้) เขาเริ่มสนใจเรื่องธรรมะ ซึ่งมีผลต่อเรื่องสยองขวัญของเขาด้วย โคนัน ดอยล์เสียชีวิตเมื่อปี 1930 อายุได้ 71 ปี ผ่านการสมรส 2 ครั้ง และมีบุตร 5 คน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ · ดูเพิ่มเติม »

อิกัวนา

อิกัวนา (อังกฤษและiguana) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าในสกุล Iguana ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) และในวงศ์ย่อย Iguaninae พบกระจายพันธุ์ในเม็กซิโก, อเมริกากลาง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคแคริบเบียนและพอลินีเซีย กิ้งก่าสกุลนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในเชิงวิทยาศาสตร์เมื่อปี..

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และอิกัวนา · ดูเพิ่มเติม »

อิกัวโนดอน

อิกัวโนดอน (Iguanodon) เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออก กิเดียน แมนเทล แพทย์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ค้นพบอิกัวโนดอนเมื่อ พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) นับเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรก ๆ ที่พบ และมีรายงานทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในสามปีต่อมา ที่ตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนเพราะฟันของมันคล้ายกับฟันของอิกัวนา และเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงว่าไดโนเสาร์พัฒนามาจากสัตว์เลื้อยคลาน อิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตร เมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่เป็นฝูง.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และอิกัวโนดอน · ดูเพิ่มเติม »

อีลาสโมซอรัส

อีลาสโมซอรัส ((จากภาษากรีก ελασμος elasmos 'แผ่นบาง' (หมายถึง แผ่นบาง ๆ ในกระดูกเชิงกราน) + σαυρος sauros 'กิ้งก่า') เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลในสกุล Elasmosaurus ในตระกูลเพลสิโอซอร์ เป็นสัตว์ประเภทคอยาว โดยมีคอยาวกว่าครึ่งหนึ่งของลำตัวเสียอีกอาศัยอยู่ยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อราว 80.5 ล้านปีก่อน ในสถานที่ ๆ ปัจจุบัน คือ ทวีปอเมริกาเหนือ โครงกระดูก อีลาสโมซอรัส มีลำตัวยาวประมาณ 10.3 เมตร (37 ฟุต) มีลักษณะเด่น คือ มีคอยาวถึง 5 เมตร (ประมาณ 16 ฟุต) ส่วนขาเป็นครีบ 4 ข้าง ความยาวของลำตัวมากกว่าครึ่งเป็นส่วนคอ ประกอบด้วยกระดูกมากกว่า 70 ชิ้น ซึ่งมีจำนวนกระดูกคอมากกว่าสัตว์ทุกชนิด ส่วนหัวค่อนข้างเล็ก และฟันคมกร.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และอีลาสโมซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.หรือ NSM) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่ เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บริเวณที่ตั้งนี้ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี (อาคารรูปลูกบาศก์ซึ่งรู้จักทั่วไปในชื่อ ตึกลูกเต๋า) อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กับอาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและสารสนเท.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปทุมธานี

ังหวัดปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัด คือ เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และจังหวัดปทุมธานี · ดูเพิ่มเติม »

จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์

ูราสสิค พาร์ค (ชื่อภาษาอังกฤษ: Jurassic Park; ชื่อภาษาไทย: กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์) เป็นนิยายโดย ไมเคิล ไครชตัน (Michael Crichton) ออกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ต่อมาถูกนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์โดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก (Steven Spielberg) ความยาว 127 นาที ฉายในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) และฉายในประเทศไทยวันแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2536.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และจูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และธรณีกาล · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

คิงคอง

งคอง (King Kong) เป็นลิงบนเกาะลึกลับ"เกาะหัวกะโหลก" เกาะลึกลับกลางมหาสมุทรอินเดีย คิงคองปรากฏอยู่ในผลงานภาพยนตร์, นิยาย, การ์ตูน จำนวนมากตั้งแต..

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และคิงคอง · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานน้ำท่วมโลก

''The Deluge'' (น้ำท่วมใหญ่) โดย กุสตาฟว์ ดอเร ตำนาน น้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ที่ทำให้เกิดโดยพระเจ้าหรือเทพเจ้า เพื่อทำลายล้างอารยธรรม โดยเป็นการลงโทษความบาปของมนุษย์ เพื่อเริ่มต้นอารยธรรมใหม่ ๆ ที่ส่งผลมายังปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่แพร่หลายในตำนานของวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และตำนานน้ำท่วมโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (23 พฤศจิกายน 2474 -) นักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2540 เป็นเจ้าของนามปากกา พนมเทียน ผู้แต่ง เพชรพระอุมา ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เกิดที่จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรคนสุดท้องของขุนวิเศษสุวรรณภูมิ กับนางสะอาด รัตนกุล เริ่มเขียนนวนิยายเรื่องแรกตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เรื่อง “เห่าดง” ลงในสมุดอ่านกันเล่น เมื่อ พ.ศ. 2484 นอกจากเขียนนวนิยายแล้ว ฉัตรชัยยังเป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความเกี่ยวกับอาวุธปืน ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารบางฉบับด้วย โดยใช้ชื่อจริง และนามปากกา "ก้อง สุรกานต์".

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรพอด

ซอโรพอด (sauropod Diermibot) คือ ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีคอยาวอย่างน้อย 5 เมตร มีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือแอมพิโคเลียส และเล็กที่สุดคือพลาทีโอซอรัส ซอโรพอดชนิดเรกอาศัยอยู่ในยุคไตรแอสสิคตอนปลาย และชนิดสุดท้ายอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และซอโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา (อังกฤษและArgentina อารฺเฆนตีนา (สเปน)) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic; República Argentina) เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และประเทศอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แบรคิโอซอรัส

แบรคิโอซอรัส บราชิโอซอรัส ก็เรียกได้ (Brachiosaurus) หรือ แขนยาว เป็นซอโรพอดขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 30 เมตร สูง 13-15 เมตร หนัก 78 ตันหรือเท่ากับช้างแอฟริกา 15 เชือก อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อน ขุดค้นพบในอเมริกาเหนือและแอฟริกา เคยเป็นซอโรพอดที่ตัวใหญ่ที่สุดก่อนค้นพบซุปเปอร์ซอรัส อาร์เจนติโนซอรัส และ ซูเปอร์ซอรัส ลักษณะเด่นของแบรคิโอซอรัสที่ต่างจากซอโรพอดอื่นคือ บริเวณจมูกบนกระหม่อมมีโหนกยื่นขึ้นมาชัดเจนกว่าคามาราซอรัสหรือซอโรพอดอื่น หางสั้นไม่มีปลายแส้ มีขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง ทำให้ตัวลาดลงแบบยีราฟ ส่งผลให้ส่วนคอของแบรคิโอซอรัสตั้งชันสูงกว่า ทำให้มันสามารถหาใบไม้บนยอดสูงได้ดีกว่าพวกอื่น และมีประโยชน์ในการมองเห็นไดโนเสาร์กินเนื้อแต่ไกล แบรคิโอซอรัสป็นที่รู้จักมากจากการปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง "จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" แต่มีข้อวิพากษ์ถึงท่าทางในภาพยนตร์ที่มันยืน 2 ขาเพื่อยืดตัวกินยอดใบไม้ ด้วยสาเหตุที่ส่วนคอของมันตั้งสูงเหมาะกับการกินอาหารบนยอดไม้อยู่แล้ว ส่วนขาหลัง 2 ข้างของมันยังสั้นและเล็ก และสรีระทางสะโพกก็น้อย นอกจากนี้มันไม่มีท่อนหางยาวสำหรับคานน้ำหนักเหมือนซอโรพอดวงศ์ดิปพลอโดซิเด จึงไม่น่าจะแบกรับน้ำหนักของร่างกายช่วงบนเวลาที่มัน "ยืน" ไหว ดังนั้นภาพที่เห็นมันยืน 2 ขาในหนังก็ไม่น่าจะจริง.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และแบรคิโอซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

แองคิโลซอรัส

แองคิโลซอรัส (Ankylosaurus) เป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสกุล แองคิโลซอร์ (ankylosaurid) อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียส ในทวีปอเมริกาเหนือ โครงกระดูกของ แองคิโลซอรัส ยังไม่สมบูรณ์ แองคิโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะในแบบสกุล แองคิโลซอร์ที่มีน้ำหนักตัวหนักมีเกราะแข็งหุ้มทั่วทั้งตัว และมีลูกตุ้มขนาดใหญ่(ลักษณะคล้ายกับรังผึ้ง)สำหรับไว้ป้องกันตัวจากนักล่าในยุคนั้นอย่าง ไทรันโนซอรัส และ ทาร์โบซอรัส ที่บริเวณหาง.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และแองคิโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

โมซาซอร์

มซาซอร์ (Mosasaur) ความหมายชื่อคือ "ราชากิ้งก่าแม่น้ำมิวส์"เป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงูในวงศ์ Mosasauridae ที่เคยมีชีวิตอยู่ปลายยุคครีเทเชียส เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู (Squamata) ที่รู้จักกันว่า aigialosaurs ช่วงต้นยุค และหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมัน โดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงู โมซาซอร์เป็นญาติห่างจากไลโอพลัวเรอดอนแต่โมซาซอร์ยาวกว่ามากและโมซาซอร์อาศัยกระจายไปหลายส่วนของโลก เพราะในยุคนี้มีระดับน้ำทะเลสูง เรียกว่าน้ำทะเลไปถึงไหนเจ้าสัตว์กลุ่มนี้ก็ไปถึงนั่น ดังจะเห็นได้จากมีการค้นพบฟอสซิลในหลายพื้นที่ ทั้งในอเมริกาเหนือ ได้แก่ แคนาดาและสหรัฐ ที่พบในหลายรัฐซึ่งเคยเป็นเส้นทางทะเล นอกจากนี้ยังพบในเนเธอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะเวกานอกชายฝั่งขั้วโลกใต้ โดยพบฟอสซิลครั้งแรกในเขตเหมืองหินปูนในเมืองมาสตริกช์ของเนเธอร์แลนด์ ปี 1764 และจากฟอสซิลที่ค้นพบทำให้แบ่งสัตว์กลุ่มนี้ได้ 4 วงศ์ย่อยคือ Halisaurinae,Mosasaurinae, Plioplatecarpinae และTylosaurinae สกุลที่ใหญ่ที่คือไทโลซอรัส ฮอฟมานี โมซาซอร์เป็นกิ้งก่าทะเลที่ว่ายน้ำเก่งและสามารถปรับตัวได้ดีเพื่ออยู่ในเขต ทะเลน้ำตื้นและอบอุ่น และแม้แต่ออกลูกในน้ำ ซึ่งออกลูกเป็นตัว ไม่ต้องขึ้นฝั่งเพื่อไปวางไข่เหมือนเต่าทะเลทั่วไป ส่วนอาหารกินได้ทุกอย่าง รวมถึงพวกทากทะเล หอยและสัตว์ทะเลอื่น ๆ เพราะมีฟันแข็งแรง ตัวเล็กสุดมีขนาดยาวประมาณ 5-9 เมตร ในวงศ์ย่อย ฮาลิซอร์ ส่วนตัวใหญ่สุดยาวระหว่าง 16.8-20 เมตรคือ "ไทโลซอร์รัส" แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายคนและข้อมูลบีบีซีเชื่อว่ามันไม่ได้ยาวแค่นั้นและเป็นไปได้ที่อาจยาวถึง30เมตรหรือหนักราว58-74ตันและอาจเคยกินวาฬหัวทุยแล้วก็ได้ด้วยกรามที่แข็งแรงมันจึงสามารถกัดเหล็กชั้นหนาจนขาดได้และบางทีมันอาจว่ายน้ำได้ถึง 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ได้ซึ่งเหยื่อที่โมซาซอร์ก็คือฉลามขาว หมึกยักษ์หรือแม้แต่โมซาซอร์ด้วยกันเองโดยมีชีวิตอยู่ช่วง 65-89 ล้านปีก่อนและบางทีอาจจะกินวาฬได้ด้วย หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในยุคไดโนเสาร์ หมวดหมู่:โมซาซอร์ หมวดหมู่:กิ้งก่าในยุคครีเทเชียส หมวดหมู่:กิ้งก่า.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และโมซาซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โดราเอมอน

ราเอมอน หรือ โดเรมอน (ドラえもん) (Doraemon) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ โนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย ของวิเศษ จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ เดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดย สำนักพิมพ์โชงะกุกัง โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก นิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของ ทวีปเอเชีย จาก ประเทศญี่ปุ่น จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของ ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัท บันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิต หุ่นยนต์ โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My Doraemon" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552 ใน ประเทศไทย โดราเอมอนฉบับ หนังสือการ์ตูน มีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรก วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัท โรส วิดีโอ .

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และโดราเอมอน · ดูเพิ่มเติม »

ไมเคิล ไครช์ตัน

นายแพทย์ จอห์น ไมเคิล ไครช์ตัน (John Michael Crichton, M.D.; 23 ตุลาคม พ.ศ. 2485 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551) เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน รวมถึงเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ และนายแพทย์ผู้โด่งดังจากงานเขียนนิยายวิทยาศาสตร์และงานเขียนเชิงเทคโนโลยี-ระทึกขวัญ ซึ่งได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มากมายหลายเรื่อง ที่โด่งดังที่สุดคือเรื่อง จูราสสิค ปาร์ค, ER (ER เป็นละครโทรทัศน์ที่ไครช์ตันเองเป็นคนคิดขึ้น) เป็นต้น ไมเคิล ไครช์ตันเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ขณะมีอายุได้ 66 ปี.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และไมเคิล ไครช์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโนซอรัส

นซอรัส (Hainosaurus) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานทะเลในวงศ์ โมซาซอร์ เคยได้รับการขนานว่าเป็น โมซาซอร์ ที่ใหญ่ที่สุด โดยได้รับฉายาว่า “ที.เร็กซ์แห่งมหาสมุทร” ตอนแรกประมาณการความยาวไว้ที่ 17เมตร(54 ฟุต) ต่อมาในปี 1990 มีการปรับขนาดลดลงมาที่15 เมตร(49 ฟุต) แต่ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ จอห์น ลินเกรน ได้ลดขนาดลงมาที่ 12.2เมตร (40 ฟุต) (ปัจจุบัน โมซาซอร์ที่ใหญ่ที่สุดคือไทโลซอรัส ฮอฟมานี โดยมีความยาว 19 เมตร) มันเป็นหนึ่งในนักล่าในทะเลที่อยู่บนสุดใน ยุคครีเทเซียส มันมีคู่แข่งร่วมยุคอย่าง อีลาสโมซอรัส โดยมีการพบหลักฐานฟอสซิลรอยกัดของ ไฮโนซอรัส ที่บริเวณหาง และครีบ ของ อีลาสโมซอรัส ไฮโนซอรัส เป็นกิ้งก่าทะเลในวงศ์ย่อย ไทโลซอร์ (อังกฤษ:Tylosaurinae) ซึ่งเป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลตัวใหญ่ที่อยู่ในทุกทวีปของโลกยกเว้นในออสเตรเลียและอเมริกาใต้ แม้ว่าไฮโนซอรัสจะเป็นนักล่าในลำดับต้นๆเหมือนกัน แต่ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก โดยชอบว่ายน้ำช้าๆ อาศัยครีบช่วยผลักดัน และมีโครงสร้างร่างกายที่ช่วยให้ลอยตัวได้ดีในน้ำ มีการลดน้ำหนักตัวโดยมีขาหน้าและหลังที่มีขนาดเล็ก กระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้ออกเล็ก มีเนื้อกระดูกบางและอาจเต็มไปด้วยเซลล์ไขมันระหว่างที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งช่วยในการลอยตัวเหมือนทุ่นลอยในน้ำ ในเรื่องการกินก็ไม่ได้มีปัญหาโดยอาศัยขากรรไกรที่แข็งแรงพร้อมฟัน แหลมคม กินแม้กระทั่งโมซาซอร์ด้วยกันเอง เต่า ฉลาม และปลาอื่นๆ และอาจรู้จักใช้วิธีแอบซุ่มในหินหรือสาหร่ายในยามล่าเหยื่อ ซึ่งอะไรก็ตามที่หากเข้าไปในปากของมันแล้วก็ยากที่จะรอด แต่มีบ้างเหมือนกันที่เจ้าโมซาซอร์เพลี่ยงพล้ำถูกฉลามกัด หรือลูกๆของมันต้องกลายเป็นเหยื่อของฉลามไปบ้างก็มี ตัวทารกของมันมีขนาดเท่ากับ จระเข้ ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และไฮโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไทรเซราทอปส์

นาดของไทรเซราทอปซ์เมื่อเทียบกับมนุษย์ ไทรเซราทอปส์ (triceratops) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจะงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเอราทอปส์ ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซราทอปส์ตัวแรกพบโดยมารช์ คู่แข็งของโคป ในสงครามกระดูกไดโนเสาร์ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได่สันนิฐานว่า ไทรเซราทอปส์ น่าจะใช้เขาขวิดศัตรูแบบวัวกระทิง เนื่องจากกะโหลกของมันบาง หากใช้วิธีพุ่งชนแบบแรดอาจจะทำให้กะโหลกของมันแตกได้.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และไทรเซราทอปส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทแรนโนซอรัส

กะโหลกของ ไทแรนโนซอรัส นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา ไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด ซึ่งความใหญ่ของกะโหลกวัดกันที่ความกว้าง หลังมีการค้นพบญาติร่วมวงศ์ตระกูลของทีเร็กซ์ ว่ามีขนปกคลุม ทำให้นักวิทยาศาตร์ ได้สันนิฐานว่า ทีเร็กซ์และญาติของมัน น่าจะมีขนปกคลุมตามตัว ไทแรนโนซอรัส หรือ ไทรันโนซอรัส (แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และไทแรนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดพลอโดคัส

ลอโดคัส () หรือ กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ ดิพโพลโดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่นเดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร(David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร) แต่หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 - 147 ล้านปีก่อน ไดพลอโดคัส เป็นสายพันธุ์ที่แยกประเภทได้ง่าย เนื่องจาก ลักษณะตามแบบไดโนเสาร์ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย และเอียงลาด ตาลึก รูจมูกอยู่เหนือตา จมูกกว้าง คอและหางยาว ปลายแส้ที่หางยาวมากกว่า อะแพทโตซอรัส ขา 4 ข้างที่ใหญ่โตเหมือนเสา ลักษณะที่โดดเด่นคือ เงี่ยงกระดูกเป็นคู่ที่ยื่นโผล่ออกมาจากกระดูกสันหลังตั้งแต่หลังคอเรียงรายไปถึงหาง หลายปีก่อน ไดพลอโดคัส เคยเป็น ไดโนเสาร์ที่ตัวยาวที่สุด ขนาดตัวมหึมาของมัน เป็นอุปสรรคระดับหนึ่งต่อนักล่า อย่าง อัลโลซอรัส พบที่อเมริกาเหนือ อยู่ในยุคจูราสสิคตอนปล.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และไดพลอโดคัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

นื่องจากไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จึงอยู่ในชั้นของหินตะกอนที่สะสมตัวกันในช่วงนี้ ซึ่งในประเทศไทย หินที่มีอายุดังกล่าวพบอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราช และพบอยู่เป็นแห่งๆ ในภาคเหนือและภาคใต้ หินบริเวณที่ราบสูงโคราชนั้น เรียกว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดหินย่อยๆ ได้อีก 6 หมวด คือ.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และไดโนเสาร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เพชรพระอุมา

รพระอุมา เป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่มีขนาดความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และนับว่าเป็นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในโลกรักษ์ชนก นามทอน, เจาะลึกเบื้องหลังเพชรพระอุมา คำนิยมจากบรรณาธิการ, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544 บทประพันธ์โดย พนมเทียน ซึ่งเป็นนามปากกาของนายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน ใช้ระยะเวลาในการประพันธ์ยาวนานกว่า 25 ปี โดยพนมเทียนเริ่มต้นการประพันธ์เพชรพระอุมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 และสิ้นสุดเนื้อเรื่องทั้งหมดในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2533 รวมระยะเวลาในการประพันธ์ทั้งสิ้น 25 ปี 7 เดือน กับ 2 วัน เพชรพระอุมาถูกนำมาตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มซ้ำใหม่หลาย ๆ ครั้งในรูปแบบของพ็อกเก็ตบุ๊ค จำนวน 48 เล่ม โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ลิขสิทธิ์โดยพนมเทียน (เดิมเป็นชนิดปกแข็งจำนวน 53 เล่ม แต่ละเล่มมีความหนาประมาณ 33 ยก หรือ 16 หน้ายก และเมื่อนำมารวมกันทั้งหมดจะมีความหนาประมาณ 1,749 ยก แบ่งเป็นสามภาคได้แก่ ภาคแรก จำนวน 24 เล่ม ภาคสอง จำนวน 15 เล่ม และ ภาคสาม จำนวน 14 เล่ม แต่ปัจจุบันได้รวบรวมเนื้อหาในแต่ละภาคและลดลงคงเหลือเพียงแค่ 48 เล่ม) แบ่งเป็นสองภาคคือภาคแรก จำนวน 24 เล่ม 6 ตอน และภาคสมบูรณ์ จำนวน 24 เล่ม 6 ตอน ตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2541 และทำการปรับปรุงต้นฉบับเดิมพร้อมกับตีพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544 และตีพิมพ์ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2547 อีกทั้งยังมีการทำเป็น eBook โดยสำนักพิมพ์อมรินทร์ในปี พ.ศ. 2556 โดยเนื้อเรื่องต่าง ๆ ของเพชรพระอุมานั้น พนมเทียนได้นำเค้าโครงเรื่องมาจาก คิง โซโลมอน'ส มายน์ส (King Solomon's Mines) หรือ สมบัติพระศุลี นวนิยายของเซอร์เฮนรี่ ไรเดอร์ แฮกการ์ด (H. Rider Haggard) ที่ผจญภัยในความลี้ลับของป่าดงดิบภายในทวีปแอฟริกาพนมเทียน, เจาะลึกเบื้องหลังเพชรพระอุมา เค้าโครงเรื่องจากคิง โซโลมอน'ส มายน์ส (King Solomon's Mines), สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2546 หน้า 11.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และเพชรพระอุมา · ดูเพิ่มเติม »

เมกะโลซอรัส

วัดขนาดของ เมกะโลซอรัส กับ มนุษย์ เมกะโลซอรัส หรือ เมกาโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อหรือเทอโรพอด มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสสิกตอนกลาง เมื่อประมาณ 166 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลของเมกาโลซอรัสถูกค้นพบในประเทศแถบยุโรปเป็นส่วนใหญ่ ค้นพบโดย บาทหลวงโรเบิร์ต พล็อต ลักษณะของเมกาโลซอรัสคือ มีหัวที่มีขนาดใหญ่ ฟันแบบสัตว์กินเนื้อ เดินด้วยสองข้าหลังอันทรงพลัง มีหางที่ยาวและใหญ่เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย เคลื่อนไหวคอได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น ขาหน้าเล็กและสั้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อแข็งแรง เมกาโลซอรัสมีลำตัวยาวประมาณ 9-10 เมตร และมีน้ำหนักราว 1.5 ตัน ชื่อของเมกาโลซอรัสเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่า กิ้งก่าตัวใหญ่ เมกาโลซอรัสมีสักษณะนิสัยล่าเหยื่อตัวคนเดียว หรือบางครั้งพวกมันก็จะออกล่าเป็นฝูงถ้าล่าไดโนเสาร์กินพืชตัวใหญ่ เนื่องจากเมกาโลซอรัสมีร่างกายที่ใหญ่โตและทรงพลัง เมกาโลซอรัสจึงนับเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อที่น่ากลัวที่สุดในยุคนั้นเลยทีเดียวและเมกะโลซอรัสยังเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อตัวแรกของโลกทีถูกค้นพบ หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และเมกะโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

ำลองเหตุการณ์อุกบาตพุ่งเข้าชนโลก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งนี้ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส-พาลิโอจีน เกิดขึ้นเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน เป็นหนึ่งในการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก การสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดหลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคไทรแอสสิก-จูแรสสิก ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งกวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% หรือประมาณ 3 ใน 4 ของสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลกรวมถึงพวกไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ และสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล สาเหตุการสูญพันธุ์ในครั้งนี้นั้นได้มีการสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

เทโรพอด

ทโรพอด (Theropods) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน(สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส ไจกันโนโทซอรัส คาร์โนทอรัส หรือสไปโนซอรั.

ใหม่!!: ไดโนเสาร์และเทโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DinosaurDinosauria

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »