โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไจกาโนโทซอรัส

ดัชนี ไจกาโนโทซอรัส

ขนาดของไจแกนโนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีส้ม) ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ คือภาพที่ไจกาโนโทซอรัสเห็นไม่ทับซ้อนกัน ทำให้มองลำบากเพราะกะระยะไม่ถูกนัก จากการสำรวจพบว่าไจกาโนโทซอรัสเป็นสัตว์เลือดอุ่น หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส ไดโนเสาร์ โครงบรรพชีวินวิทยา.

17 ความสัมพันธ์: มาพูซอรัสยุคครีเทเชียสสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์สไปโนซอรัสอัลโลซอรัสอาร์เจนติโนซอรัสคาร์ชาโรดอนโทซอรัสซอริสเกียประเทศอาร์เจนตินาแอโครแคนโทซอรัสไทแรนโนซอรัสไดโนเสาร์เมกะโลซอรัสเทโรพอด

มาพูซอรัส

มาพูซอรัส (Mapusaurus) เป็นไดโนเสาร์ในสกุลคาร์โนซอร์ (carnosaurian) ขนาดใหญ่ จากต้น ยุคครีเตเชียส อาศัยอยู่ที่ประเทศอาร์เจนตินา มันมีลักษณะคล้ายญาติของมันที่ชื่อ กิก้าโนโตซอรัส ตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดของ มาพูซอรัส ยาว 12.2 เมตร (40ฟุต) น้ำหนักเกิน 3 ตัน มีรูปร่างผอมเพรียวและว่องไว แต่แข็งแรง ชื่อ มาพูซอรัส (Mapusaurus) มาจาก มาพูเช (Mapuche) มาพู เป็นคำใน ภาษากรีก แปลว่า "ตุ๊กแก" ขนาดของมาพูซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีเขียว).

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและมาพูซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สไปโนซอรัส

รงกระดูกของสไปโนซอรัส กราฟเปรียบเทียบ สไปโนซอรัส ที่เดิน 4ขาเป็นหลักกับมนุษย์ สไปโนซอรัส (Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง ถูกค้นพบครั้งแรกในทะเลทรายสะฮาร่าของอียิปต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและสไปโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อัลโลซอรัส

อัลโลซอรัส (Allosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าก่อนยุคไทรันโนซอรัสแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคเมื่อ 155-145 ล้านปีก่อน ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 3.2 เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10 เมตร (34 ฟุต) มีหน้าตาคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ มีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรทรงพลังมีฟันเรียงราย แม้จะไม่เทียบเท่าตระกูลไทรันโนซอรัสในยุคหลัง ร่างกายมีความสมดุลโดยยาวและหางหนัก ตามคุณสมบัติของตระกูล อัลโลซอร์ มันมีญาติอันตรายอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ กิก้าโนโตซอรัสในไทยอาจมีญาติของอัลโลซอรัสคือ สยามโมไทรันนัส ที่สันนิษฐานไว้.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและอัลโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เจนติโนซอรัส

อาร์เจนติโนซอรัส (Argentinosaurus) เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด กลุ่มไททันโนซอร์ที่ใหญ่ที่สุด ยาวถึง 35 เมตร เป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่รองลงมาจาก พาตาโกไททันที่ยาวถึง 37-40 เมตร อาร์เจนติโนซอรัส หนักถึง 75-80 ตัน ถูกค้นพบโดย กัลลิเมอร์ เฮเลเดีย ที่ประเทศ อาร์เจนตินา ชื่อมีความหมายว่ากิ้งก่าแห่งอาร์เจนตินา เป็นเหยื่อที่ใหญ่ที่สุดของกิก้าโนโตซอรัส ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศอาร์เจนตินา อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ 97-94 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและอาร์เจนติโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ชาโรดอนโทซอรัส

กะโหลกของคาร์ชาโรดอนโทซอรัส นั้นมีความสมบูรณ์มาก คาร์ชาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus) เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุดชนิดหนึ่ง มีขนาดโดยประมาณคือ 13.8 เมตร อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาเหนือเมื่อประมาณ 100-93 ล้านปีก่อน ชื่อ คาชาโรดอน มาจากภาษากรีกมีความหมาย ขรุขระ หรือ คม ซึ่งความหมายของชื่อคือ กิ้งก่าฟันฉลาม ขนาดของคาร์ชาโรดอนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีม่วง).

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและคาร์ชาโรดอนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ซอริสเกีย

ซอริสเกีย (Saurischia,, จากภาษากรีกโบราณ σαυρος (sauros) แปลว่า 'กิ้งก่า' และ ισχιον (ischion) แปลว่า "ร่วมสะโพก") เป็นการจัดอันดับของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วจำพวกไดโนเสาร์ นับเป็นอันดับของไดโนเสาร์ในวงกว้างหนึ่งในสองอันดับ (ร่วมกับออร์นิทิสเกียหรือไดโนเสาร์ที่มีโครงกระดูกสะโพกหรือเชิงกรานคล้ายนก) โดยเป็นการจัดมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและซอริสเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา (อังกฤษและArgentina อารฺเฆนตีนา (สเปน)) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic; República Argentina) เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและประเทศอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

แอโครแคนโทซอรัส

แอโครแคนโทซอรัส (acrocanthosaurus) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ในตระกูล อัลโลซอร์ (allosauroids) มีชีวิตอยู่ระหว่าง 112-125 ล้านปีก่อน ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ ฟอสซิลของมันมันยังคงพบส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐโอคลาโฮมาและรัฐเทกซัส แต่ก็มีการบันทึกว่าถูกค้นพบใน ทางตะวันออกในรัฐแมริแลนด์ ขนาดของแอโครแคนโทซอรัสเมื่อเทียบกับมนุษย์ ถือได้ว่ามีขนาดใหญ่โตมาก แอโครแคนโทซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุด มีความยาวโดยประมาณ 12 เมตร (40ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 6.8 ตัน แต่มันก็มีขนาดเล็กกว่าญาติขนาดใหญ่เช่น กิก้าโนโตซอรัสที่มีความยาว13เมตร (42ฟุต) ฟอสซิลของแอโครแคนโทซอรัส ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยค้นพบวัดจากปลายจมูกถึงพวยปลายหางมีความยาว11.5เมตร (38ฟุต) น้ำหนักประมาณ 6177 กิโลกรัม (6.1ตัน) กะโหลกของแอโครแคนโทซอรัส มีลักษณะคล้ายกับ ไดโนเสาร์ไนตระกูลอัลโลซอร์ อื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่มีความยาวและแคบ คุณสมบัติเด่นที่สุดของ แอโครแคนโทซอรัส คือ แถวของหนามประสาทสูง ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลังของคอ และสะโพกและหางบน ซึ้งคล้ายกับของ สไปโนซอรัส แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยหน้าที่ของมันนั้นยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอน นอกเหนือจากกระดูกสันหลัง แอโครแคนโทซอรัส มีโครงกระดูกแบบ ตระกูลอัลโลซอร์ ทั่วไปที่หางมีความยาวและหนัก ศรีษระ มีขนาดใหญ่และมีนำหนักเพื่อรักษา สมดุล ของร่างกาย แต่ละมือมี 3นิ้ว แขนมีขนาดสั้นแต่มีความแข็งแรง กว่าของไทรันโนซอรัส กระดูกขาหลังของแอโครแคนโทซอรัส มีความแข็งแรงกว่า อัลโลซอรัส ญาติขนาดเล็กกว่าของมันภาพวาดของแอโครแคนโทซอรัสเมื่อขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แอโครแคนโทซอรัส ถูกออกแบบมาเพื่อล่าเหยื่อเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่เช่น ทีนอนโตซอรัส หรือแม้แต่ซอโรพอดขนาดใหญ่อย่างซอโรโพไซดอน ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่มีความสูง 17 เมตร (56ฟุต) มีความยาวถึง 34เมตร (112ฟุต) ต่างจากไทรันโนซอรัสที่มักจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็ก โดยมันเป็นเพียงเทอโรพอดเพียงไม่กี่ขนิดที่สามารถล่าเหยือที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ได้.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและแอโครแคนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไทแรนโนซอรัส

กะโหลกของ ไทแรนโนซอรัส นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา ไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด ซึ่งความใหญ่ของกะโหลกวัดกันที่ความกว้าง หลังมีการค้นพบญาติร่วมวงศ์ตระกูลของทีเร็กซ์ ว่ามีขนปกคลุม ทำให้นักวิทยาศาตร์ ได้สันนิฐานว่า ทีเร็กซ์และญาติของมัน น่าจะมีขนปกคลุมตามตัว ไทแรนโนซอรัส หรือ ไทรันโนซอรัส (แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและไทแรนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมกะโลซอรัส

วัดขนาดของ เมกะโลซอรัส กับ มนุษย์ เมกะโลซอรัส หรือ เมกาโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อหรือเทอโรพอด มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสสิกตอนกลาง เมื่อประมาณ 166 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลของเมกาโลซอรัสถูกค้นพบในประเทศแถบยุโรปเป็นส่วนใหญ่ ค้นพบโดย บาทหลวงโรเบิร์ต พล็อต ลักษณะของเมกาโลซอรัสคือ มีหัวที่มีขนาดใหญ่ ฟันแบบสัตว์กินเนื้อ เดินด้วยสองข้าหลังอันทรงพลัง มีหางที่ยาวและใหญ่เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย เคลื่อนไหวคอได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น ขาหน้าเล็กและสั้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อแข็งแรง เมกาโลซอรัสมีลำตัวยาวประมาณ 9-10 เมตร และมีน้ำหนักราว 1.5 ตัน ชื่อของเมกาโลซอรัสเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่า กิ้งก่าตัวใหญ่ เมกาโลซอรัสมีสักษณะนิสัยล่าเหยื่อตัวคนเดียว หรือบางครั้งพวกมันก็จะออกล่าเป็นฝูงถ้าล่าไดโนเสาร์กินพืชตัวใหญ่ เนื่องจากเมกาโลซอรัสมีร่างกายที่ใหญ่โตและทรงพลัง เมกาโลซอรัสจึงนับเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อที่น่ากลัวที่สุดในยุคนั้นเลยทีเดียวและเมกะโลซอรัสยังเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อตัวแรกของโลกทีถูกค้นพบ หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและเมกะโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เทโรพอด

ทโรพอด (Theropods) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน(สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส ไจกันโนโทซอรัส คาร์โนทอรัส หรือสไปโนซอรั.

ใหม่!!: ไจกาโนโทซอรัสและเทโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Giganotosaurusกิก้าโนโตซอรัสจิกแกนโนโตซอรัสไกกาโนโตซอรัสไจกาโนโตซอรัสไจแกนโนโตซอรัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »