โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัลโลซอรัส

ดัชนี อัลโลซอรัส

อัลโลซอรัส (Allosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าก่อนยุคไทรันโนซอรัสแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคเมื่อ 155-145 ล้านปีก่อน ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 3.2 เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10 เมตร (34 ฟุต) มีหน้าตาคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ มีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรทรงพลังมีฟันเรียงราย แม้จะไม่เทียบเท่าตระกูลไทรันโนซอรัสในยุคหลัง ร่างกายมีความสมดุลโดยยาวและหางหนัก ตามคุณสมบัติของตระกูล อัลโลซอร์ มันมีญาติอันตรายอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ กิก้าโนโตซอรัสในไทยอาจมีญาติของอัลโลซอรัสคือ สยามโมไทรันนัส ที่สันนิษฐานไว้.

26 ความสัมพันธ์: ชื่อตั้งไร้คำบรรยายการสูญพันธุ์ยุคจูแรสซิกรัฐไวโอมิงสยามโมไทรันนัสสหรัฐสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์สเตโกซอรัสอะแพโทซอรัสทวีปอเมริกาทอร์วอซอรัสคาร์ชาโรดอนโทซอรัสซอริสเกียซอโรพอดซากดึกดำบรรพ์ประเทศโปรตุเกสแคมาราซอรัสแคมป์โทซอรัสไจกาโนโทซอรัสไทแรนโนซอรัสไดโนเสาร์เทโรพอดเซอราโตซอรัส

ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย

ื่อตั้งไร้คำบรรยาย (Nomen nudum) เป็นคำในภาษาละตินที่แปลว่า "ชื่อที่ปราศจาก" ใน อนุกรมวิธาน ถูกใช้เพื่อแสดงถ้อยคำที่ดูเหมือน ชื่อวิทยาศาสตร์และมีความมุ่งหมายให้มันเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา แต่ยังไม่สามารถเป็นได้เพราะที่มีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ออกไปยังไม่มีรายละเอียดที่เพียงพอ และด้วยเหตุนี้จึงเป็น "ปราศจาก" เพราะ ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย ยังไม่ใช่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ผู้เขียนสามารถตีพิมพ์ลงไปให้ถูกต้องได้ ถ้าผู้เขียนตีพิมพ์โดยใช้ชื่อ ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย เป็นคนแรก และภายหลังถูกรับรองด้วยรายละเอียดที่ใช้ได้และเหตุผลที่เพียงพอ วันที่ตีพิมพ์, เหตุผล, รายละเอียด จะกลายเป็นวันที่ที่อนุกรมวิธานตั้งชื่อนี้ขึ้น ของระบบชื่ออนุกรมวิธานสัตว์สากล (International Code of Zoological Nomenclature (ICZN)) ให้นิยามว่า: และระเบียบของระบบชื่ออนุกรมวิธานสัตว์: อภิธานของระบบชื่ออนุกรมวิธานพืชสากล (International Code of Botanical Nomenclature (ICBN)) ให้นิยามว่า.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและชื่อตั้งไร้คำบรรยาย · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐไวโอมิง

รัฐไวโอมิง (Wyoming) เป็นรัฐตั้งอยู่ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ภูมิประเทศภายในรัฐมีลักษณะเป็นเทือกเขา เมืองหลวงของรัฐคือ ไชแอนน์ รัฐไวโอมิงเป็นรัฐที่มีประชากรน้อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีประชากร 493,782 คน ในขณะเดียวกันมีพื้นที่รัฐเป็นอันดับ 10 ของประเทศ มีขนาด 253,554 กม.² รัฐไวโอมิงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน อุทยานแห่งชาติแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี 2550 ไวโอมิงมีประชากร 522,830 คน.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและรัฐไวโอมิง · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมไทรันนัส

มโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร ชื่อของมันหมายถึง"ทรราชแห่งสยามจากภาคอีสาน" พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี..

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและสยามโมไทรันนัส · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สเตโกซอรัส

สเตโกซอรัส (Stegosaurus) สเตโกซอรัส (กิ้งก่ามีหลังคา) เป็นไดโนเสาร์กินพืชจำพวกสะโพกนก (Ornithischia) ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆ มีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลือดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัส รูปร่างดูน่ากลัวแต่สมองมันเล็กกว่าถั่วเขียวและหนักไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันอาศัยอยู่ยุคจูแรสซิก 170-130 ล้านปี หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก หมวดหมู่:สเตโกซอร์.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและสเตโกซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

อะแพโทซอรัส

อะแพทโทซอรัส หรือ อะแพตโตซอรัส (Apatosarus) หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) เป็นไดโนเสาร์ยักษ์ในยุคจูแรสซิก กินพืชเป็นอาหาร เคยมีสมญาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง อาศัยอยู่บนโลกนี้เมือประมาณ 190-135 ล้านปีที่ผ่านมา ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "กิ้งก่าปลอม" อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 (สูสีกับดิพโพลโดคัสมากนะครับ) ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า ลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน) หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่ ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบัน อะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและอะแพโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกา

แผนที่ทวีปอเมริกาโดย Jonghe. Ca. พ.ศ. 2313 แผนที่ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกา (Americas)america.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์วอซอรัส

วาดของทาร์วอซอรัสเมื่อขณะยังมีชีวิต ขนาดของทาร์วอซอรัสเมื่อเทียบกับมนุษย์และสัตว์อื่น (สีฟ้า) ทอร์วอซอรัส (อังกฤษ:Torvosaurus) เป็นหนึ่งใน เทอโรพอดขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลาย ยุคจูลาสสิค ชื่อ ทอร์วอซอรัส มาจาก ทอร์วัส ในภาษาละติน แปลว่า อำมหิต ซากดึกดำบรรพ์ของ ทอร์วอซอรัส มีการค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือและโปรตุเกส ทอร์วอซอรัส มีความยาวระหว่าง 9-11เมตร (30-36ฟุต) น้ำหนักประมาณ 2 ตัน เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่สุดในยุคจูลาสสิค รองจาก ซอโรเพกาแนกซ์ และ อัลโลซอรัสคู่แข่งร่วมยุคของมัน ถูกพบครั้งแรกโดย เจมส์ เจนเซ่น และ เคนเน็ท แสตทแมน ในปี 1972 ที่ชั้นหินตะกอน มอร์ริสัน ฟอร์เมชั่นชั้น (Morrison Formation) ทางตะวันตกที่ราบสูงของโคโลร.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและทอร์วอซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ชาโรดอนโทซอรัส

กะโหลกของคาร์ชาโรดอนโทซอรัส นั้นมีความสมบูรณ์มาก คาร์ชาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus) เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุดชนิดหนึ่ง มีขนาดโดยประมาณคือ 13.8 เมตร อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาเหนือเมื่อประมาณ 100-93 ล้านปีก่อน ชื่อ คาชาโรดอน มาจากภาษากรีกมีความหมาย ขรุขระ หรือ คม ซึ่งความหมายของชื่อคือ กิ้งก่าฟันฉลาม ขนาดของคาร์ชาโรดอนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีม่วง).

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและคาร์ชาโรดอนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ซอริสเกีย

ซอริสเกีย (Saurischia,, จากภาษากรีกโบราณ σαυρος (sauros) แปลว่า 'กิ้งก่า' และ ισχιον (ischion) แปลว่า "ร่วมสะโพก") เป็นการจัดอันดับของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วจำพวกไดโนเสาร์ นับเป็นอันดับของไดโนเสาร์ในวงกว้างหนึ่งในสองอันดับ (ร่วมกับออร์นิทิสเกียหรือไดโนเสาร์ที่มีโครงกระดูกสะโพกหรือเชิงกรานคล้ายนก) โดยเป็นการจัดมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและซอริสเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรพอด

ซอโรพอด (sauropod Diermibot) คือ ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีคอยาวอย่างน้อย 5 เมตร มีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือแอมพิโคเลียส และเล็กที่สุดคือพลาทีโอซอรัส ซอโรพอดชนิดเรกอาศัยอยู่ในยุคไตรแอสสิคตอนปลาย และชนิดสุดท้ายอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและซอโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

แคมาราซอรัส

คามาราซอรัส (Camarasaurus) เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาว 18 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 18-20 ตัน กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น ชื่อของเจ้าคามาราซอรัสมาจากภาษากรีก แปลว่า "โพรง" สาเหตุที่ได้ชื่อสุดพิศวงนี้ก็เพราะกระดูกที่เป็นโพรงของมัน นัก-วิทยาศาสตร์ทั้งหลายกล่าวว่าโพรงนี้เอาไว้ลดภาระของขาทั้ง 4ของมันไม่ให้แบกรับน้ำหนักตัวอันอ้วนฉุมากเกินไปแถมยังช่วยระบายความร้อนในร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนี้เจ้าคามาราซอรัสยังมีคอและหางสั้นกว่าไดโนเสาร์ตัวอื่นในสายพันธุ์เดียวกัน หากลองสังเกตใบหน้างามๆดีๆ จะพบว่ากระโหลกศีรษะของมันลึกเข้าไปด้านในและมีรูขนาดใหญ่อยู่เหนือดวงตา ฟันเป็นซี่ถี่เอาไว้งับแล้วรูดใบไม้เรียวออกจากกิ่งชนิดไม่เหลือเศษติดก้านในคำเดียว หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสซิก หมวดหมู่:ซอโรโพดา.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและแคมาราซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

แคมป์โทซอรัส

แคมป์โทซอรัส (Camptosaurus - กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอรัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนักเนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมักกลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมันเริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่างอิกัวโนดอน.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและแคมป์โทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไจกาโนโทซอรัส

ขนาดของไจแกนโนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีส้ม) ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ คือภาพที่ไจกาโนโทซอรัสเห็นไม่ทับซ้อนกัน ทำให้มองลำบากเพราะกะระยะไม่ถูกนัก จากการสำรวจพบว่าไจกาโนโทซอรัสเป็นสัตว์เลือดอุ่น หมวดหมู่:ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส ไดโนเสาร์ โครงบรรพชีวินวิทยา.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและไจกาโนโทซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไทแรนโนซอรัส

กะโหลกของ ไทแรนโนซอรัส นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา ไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมด ซึ่งความใหญ่ของกะโหลกวัดกันที่ความกว้าง หลังมีการค้นพบญาติร่วมวงศ์ตระกูลของทีเร็กซ์ ว่ามีขนปกคลุม ทำให้นักวิทยาศาตร์ ได้สันนิฐานว่า ทีเร็กซ์และญาติของมัน น่าจะมีขนปกคลุมตามตัว ไทแรนโนซอรัส หรือ ไทรันโนซอรัส (แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและไทแรนโนซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทโรพอด

ทโรพอด (Theropods) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน(สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส ไจกันโนโทซอรัส คาร์โนทอรัส หรือสไปโนซอรั.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและเทโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

เซอราโตซอรัส

ซอราโตซอรัส (Ceratosaurus - กิ้งก่ามีเขา) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) ช่วงปลายยุคจูแรสสิค มีความใกล้ชิดกับสายพันธุ์ของอัลโลซอรัส แต่ขนาดตัวเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตร แต่จากการคำนวณคาดว่า ตัวโตที่สุดอาจยาวได้ 8.8 เมตร มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอรัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี 4 นิ้วไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือจมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ "กิ้งก่ามีเขา"ของมัน แต่เขาของซีราโตซอรัส เป็นแผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็นอาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย ฟันของของเซอราโตซอรัสยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว แต่แบนและบางกว่า นักล่ายุคเดียวกัน เหมาะกับการตัดเนื้อกิน แต่ไม่สามารถบดกระดูกได้ ทำให้คาดได้ว่า เหยื่อของมันน่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลาง ที่ฉีกเนื้อกินได้ง่ายกว่า บวกกับการศึกษาที่พบฟอสซิล เชื่อว่า เซอราโตซอรัสมักจะล่าเหยื่อในป่าทึบ ตามลำพังคล้ายๆกับ เสือดาว แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่านักล่าอื่นๆ แต่ก็มีร่างกายแข็งแกร่ง และ ปราดเปรียว จัดได้ว่าเป็นนักล่าตัวยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง.

ใหม่!!: อัลโลซอรัสและเซอราโตซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »