โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซากดึกดำบรรพ์

ดัชนี ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

13 ความสัมพันธ์: บรรพชีวินวิทยาฟันกระดูกการกลายเป็นหินสิ่งมีชีวิตอำพันความดันซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยาซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินน้ำบาดาลไซบีเรีย

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และฟัน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

การกลายเป็นหิน

ในทางธรณีวิทยาการกลายเป็นหิน (Petrifaction)คือกระบวนการที่อินทรียสารกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ผ่านการแทนที่วัสดุเดิมและการเติมช่องว่างของรูพรุนเดิมด้วยแร่ ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินเป็นหนึ่งในตัวอย่างของกระบวนการนี้ แต่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดตั้งแต่แบคทีเรียไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถกลายเป็นหินได้ (แม้ว่ากระดูกและเปลือกจะอยู่ได้นานกว่าผิวหนังและเนื้อเยื้อ) การกลายเป็นกินเกิดขึ้นผ่านการรวมกันของสองกระบวนการที่คล้ายกันคือกระบวนการเกิดแร่ในช่องว่าง (Permineralization) และกระบวนการแทนที่ (replacement) กระบวนการเหล่านี้สร้างตัวอย่างแบบจำลองของต้นฉบับซึ่งมีขนาดลักษณะใกล้เคียงกันในระดับจุล.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และการกลายเป็นหิน · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

อำพัน

อำพันตกแต่งเป็นเหรียญประดับรูปไข่ขนาด 2x1.3 นิ้ว อำพัน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ เป็นสิ่งมีค่าด้วยสีสันและความสวยงามของมัน อำพันที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับและอัญมณี แม้ว่าอำพันจะไม่จัดเป็นแร่แต่ก็ถูกจัดให้เป็นพลอย โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจผิดกันว่าอำพันเกิดจากน้ำเลี้ยงของต้นไม้ แต่แท้ที่จริงแล้ว น้ำเลี้ยงเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบท่อลำเลียงของพืช ขณะที่ยางไม้เป็นอินทรียวัตถุเนื้ออสัณฐานกึ่งแข็งที่ถูกขับออกมาผ่านเซลล์เอพิทีเลียมของพืช เพราะว่าอำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล สีของอำพันมีได้หลากหลายสีสัน ปรกติแล้วจะมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม เนื้อของอำพันเองอาจมีสีได้ตั้งแต่ขาวไปจนถึงเป็นสีเหลืองมะนาวอ่อนๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลจนถึงเกือบสีดำ สีที่พบน้อยได้แก่สีแดงที่บางทีก็เรียกว่าอำพันเชอรี่ อำพันสีเขียวและสีฟ้าหายากที่มีการขุดค้นหากันมาก อำพันที่มีค่าสูงมากๆจะมีเนื้อโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามอำพันที่พบกันมากทั่วไปจะมีสีขุ่นหรือมีเนื้อทึบแสง อำพันเนื้อทึบแสงมักมีฟองอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากที่รู้จักกันในนามของอำพันบาสตาร์ดหมายถึงอำพันปลอม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นอำพันของแท้ๆนั่นเอง.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

ความดัน

วามดัน คือ แรงที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ภาพจำลอง–ความดันที่เกิดขึ้นจากการชนของอนุภาคในภาชนะปิด ความดันที่ระดับต่าง ๆ (หน่วยเป็น บาร์) ความดัน (pressure; สัญลักษณ์ p หรือ P) เป็นปริมาณชนิดหนึ่งในทางฟิสิกส์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ต่อพื้นที่ของสารใด ๆ (ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส) ความดันเป็นปริมาณสเกลาร์ ซึ่งเป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดไม่มีทิศทาง จากความหมายของความดันข้างต้นสามารถเขียนเป็นสูตรคณิตศาสตร์ (โดยทั่วไป) ได้ดังนี้ กำหนดให้ เนื่องจาก F มีหน่วยเป็น "นิวตัน" (N) และ A มีหน่วยเป็น "ตารางเมตร" (m2) ความดันจึงมีหน่วยเป็น "นิวตันต่อตารางเมตร" (N/m2; เขียนในรูปหน่วยฐานว่า kg·m−1·s−2) ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) มีการคิดค้นหน่วยของความดันขึ้นใหม่ เรียกว่า ปาสกาล (pascal, Pa) และกำหนดให้หน่วยชนิดนี้เป็นหน่วยเอสไอสำหรับความดัน โดยให้ 1 ปาสกาลมีค่าเท่ากับ 1 นิวตันต่อตารางเมตร (หรือ แรง 1 นิวตัน กระทำตั้งฉากกับพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร) เพื่อให้เห็นภาพ ความดัน 1 ปาสกาลจะมีค่าประมาณ แรงกดของธนบัตรหนึ่งดอลลาร์ที่วางอยู่เฉย ๆ บนโต๊ะราบ ซึ่งนับว่าเป็นขนาดที่เล็กมาก ดังนั้นในชีวิตประจำวัน ความดันทั้งหลายมักมีค่าตั้งแต่ "กิโลปาสกาล" (kPa) ขึ้นไป โดยที่ 1 kPa.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และความดัน · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย

ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย (trace fossils หรือ ichnofossils) เป็นหลักฐานทางธรณ๊วิทยาที่เกิดจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น รูที่อยู่อาศัย รอยขุดคุ้ย รอยตีน และร่องรอยรากไม้ ทั้งนี้ ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยได้รวมถึงอินทรีย์วัตถุที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น มูลสัตว์ (coprolites) และ สโตรมาโทไลต์ (stromatolites) อย่างไรก็ตาม โครงสร้างทางตะกอนวิทยา อย่างเช่น ร่องรอยที่เกิดจากการกลิ้งของเปลือกหอยตามพื้นท้องทะเลซึ่งไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต จึงไม่จัดให้เป็นซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย การศึกษาร่องรอยเรียกว่า ร่องรอยวิทยา (ichnology) โดยวิชาที่ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยเรียกว่า Paleoichnology และวิชาที่ศึกษาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเรียกว่า Neoichnology โดยการศึกษารูปร่างลักษณะของร่องรอยต่างๆโดยหวังที่จะทำให้ทราบถึงกิจกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจทำให้เกิดร่องรอยที่คล้ายกันได้ การจำแนกซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยจึงเป็นสิ่งยากและอาจแตกต่างไปจากการจำแนกทางอนุกรมวิธานของซากดึกดำบรรพ์ซากเหลือ (body fossils) เอดอล์ฟ เซลาสเชอร์ (Adolf Seilacher) เป็นผู้ศึกษาและจำแนกชนิดของซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย โดยเอดอล์ฟ เซลาสเชอร์ ได้สังเกตเห็นร่องรอยการกระทำของสัตว์ออกเป็น 5 กลุ่มตามพฤติกรรมของสัตว์ ดังนี้.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นซากเหลือของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate fossil) ที่พบถูกเก็บรักษาไว้ในเนื้อของหินที่มีอายุมากถึงยุคแคมเบรียน จนถึงหินที่มีอายุอ่อนที่สุด มีการค้นพบที่หลากหลายประเภทโดยในที่นี้จะแบ่งย่อยเป็นไฟลั่มที่สำคัญๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา

ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา (Sporopollen fossil) คือซากของพืชขนาดจุลภาค เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน (fossil palynomorph หรือ fossil sporomorph) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาบรรพชีวินวิทยา(Palyontology) ที่เกี่ยวข้องกับซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตขนาดจุลภาค และส่วนประกอบขนาดจุลภาคของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ซากดึกดำบรรพ์ละอองเรณู ซากดึกดำบรรพ์สปอร์ ไดโนแฟลกเจลเลตซีสต์ อาคริทาร์ช ชิตินโนซวน และวัตถุขนาดจุลภาคของซากดึกดำบรรพ์สาหร่าย และซากดึกดำบรรพ์ฟังไจ ซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน จะมีโครงสร้างประกอบด้วยสารเซลลูโลสจำพวกสปอโรพอลเลนิน ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดแม้ว่าจะเป็นกรดเข้มข้นหรือที่อุณหภูมิน้ำเดือดก็ตาม ดังนั้นในการสกัดซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐานออกจากเนื้อหินจึงต้องอาศัยการละลายตัวอย่างหินด้วยกรดชนิดต่างๆ เช่น กรดเกลือ และกรดกัดแก้ว จะทำการกัดกร่อนแร่ประกอบหิน เช่น สารประกอบในหินปูน และ สารประกอบหินประเภทซิลิกา ให้ละลายออกไป ท้ายที่สุดก็จะเหลืออนุภาคสารอินทรีย์ที่อาจเป็นเศษสารอินทรีย์ทั่วไปและอินทรีย์วัตถุของซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน จากนั้นจะทำการแยกซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐานออกจากอินทรีย์วัตถุอื่นๆด้วยสารเคมีบางตัว เช่น ซิงค์โบไมด์ หรือ ซิงค์คลอไรด์ เป็นต้น การศึกษาซากดึกดำบรรพ์เรณูสัณฐาน จะทำการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ทั้งกล้องจุลทรรศน์แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนแบบส่องกราด เพื่อทำให้ทราบถึงขนาด รูปร่าง ผนังเซลล์ และลวดลายต่างๆบนพื้นผิว เป็นต้น รูปด้านขวามือเป็นภาพของเรณูสัณฐานละอองเรณูของกระจับโบราณ (สปอโรทราปออิดิทีส เมดิอุส หรือ Sporotrapoidites medius) จากชั้นหินอายุประมาณสมัยโอลิโกซีน-ไมโอซีน ของเหมืองนาฮ่อง ตำบลบ้านนาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ภาพด้านบนได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เป็นภาพด้านขั้วของเรณูสัณฐานซึ่งหากเรณูสัณฐานไม่ถูกกดทับทำให้แบน เรณูสัณฐานนี้จะมีรูปทรงกรม มีสันนูน 3 สันโยงมาบรรจบกันเห็นเป็นสามแฉกบนพื้นที่ขั้วนี้ โดยพื้นที่ขั้วด้านตรงข้ามก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนจากภาพที่ถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงเนื่องจากเรณูสัณฐานมีคุณสมบัติโปร่งแสง การประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์ทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกัน จะช่วยให้การบรรยายรูปลักษณ์สัณฐานของเรณูสัณฐานได้ละเอียดถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น หมวดหมู่:ซากดึกดำบรรพ์.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน

ม้กลายเป็นหิน (petrified wood) คือซากดึกดำบรรพ์ของพืชประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นจากท่อนไม้ถูกฝังกลบอยู่ใต้ผิวดินในสภาพที่ขาดออกซิเจนทำให้เนื้อไม้ไม่เน่าเปื่อย และถูกฝังแช่อยู่ในสารละลายซิลิก้าที่มีความเข้มข้นสูงเพียงพอ ในสภาพแวดล้อมที่ท่อนไม้และสารละลายซิลิกาได้สัมผัสกับออกซิเจนเป็นบางช่วงเวลาทำให้สารละลายซิลิกาตกตะกอนในรูปของซิลิกาเจล สะสมตัวแทนที่โมเลกุลของเนื้อไม้ (replacement) จนทำให้ท่อนไม้ที่เป็นเนื้อสารอินทรีย์เปลี่ยนไปเป็นเนื้อหินซิลิกาแต่ยังคงรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไว้ ด้วยระยะเวลานับเป็นหมื่นเป็นแสนปีหรือมากกว่านี้ ไม้กลายเป็นหินจะค่อย ๆ สูญเสียน้ำทีละน้อยและค่อย ๆ พัฒนาเป็นโอปอลที่มีสีสันสวยงามได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมลทินซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ปะปนอยู่ในเนื้อของซิลิกาออกไซด์ ซึ่งแร่ธาตุต่าง ๆ ให้สีสันต่าง ๆ กันไป เช่น.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำบาดาล

น้ำใต้ดินแบ่งเป็น 3 โซนได้แก่ soil zone, intermediate zone และ the upper part of capillary fringe น้ำบาดาล (groundwater) คือน้ำที่ถูกกักเก็บหรือสะสมตัวอยู่ใต้ดิน อาจสะสมตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของชั้นหิน หรืออาจสะสมตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดกรวด หรือเม็ดทรายใต้ผิวดิน น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลแย่งออกได้เป็น 2 โซนคือ unsaturated zone เป็นโซนที่มีทั้งน้ำและอากาศ และ saturated zone เป็นโซนที่มีแต่น้ำเท่านั้นโดยส่วนนี้จะเป็นส่วนของน้ำใต้ดินที่แท้จริง.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และน้ำบาดาล · ดูเพิ่มเติม »

ไซบีเรีย

ซบีเรีย ไซบีเรีย (Siberia, Сиби́рь) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีอากาศหนาวเย็นได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี..

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์และไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FossilFossil recordบันทึกซากดึกดำบรรพ์ฟอสซิลซากฟอสซิล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »