โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอดิท ชไตน์

ดัชนี เอดิท ชไตน์

อดิท ชไตน์ (Edith Stein) หรือนักบุญเทเรซา เบเนดิกตา แห่งไม้กางเขน (Saint Teresa Benedicta of the Cross) เป็นนักพรตหญิงนิกายโรมันคาทอลิกชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ท่านได้ถูกขังที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ และถึงแก่มรณกรรมจากการถูกรมด้วยก๊าซพิษ คริสตจักรโรมันคาทอลิกยกย่องท่านเป็นพรหมจารีและมรณสักขี และได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในปี..

23 ความสัมพันธ์: ชาวยิวชาวเยอรมันพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนการประกาศเป็นบุญราศีการประกาศเป็นนักบุญมรณสักขีในศาสนาคริสต์วรอตสวัฟสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2สงครามโลกครั้งที่สองอาสนวิหารโคโลญจักรวรรดิเยอรมันทวีปยุโรปคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าค่ายกักกันเอาชวิทซ์ประเทศโปแลนด์ประเทศเยอรมนีปรัชญาปรากฏการณ์วิทยานักพรตหญิงนาซีเยอรมนีนครรัฐวาติกันโรมันคาทอลิกโคโลญ

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นบุญราศี

็ดบุญราศีมรณสักขีแห่งสองคอน เป็นคริสต์ศาสนิกชนชาวไทยกลุ่มแรกที่ได้รับการประกาศเป็นบุญราศี การประกาศเป็นบุญราศี (Beatification) คือกระบวนการที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดขึ้นเพื่อรับรองว่าบุคคลหนึ่งได้เข้าสู่สวรรค์และสามารถวอนขอพรจากพระเป็นเจ้าแทนมนุษย์บนโลกได้ กระบวนการนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สี่ของการประกาศเป็นนักบุญ.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และการประกาศเป็นบุญราศี · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วรอตสวัฟ

วรอตสวัฟ (Wrocław) หรือ เบรสเลา (Breslau) เป็นเมืองหลักของจังหวัดดอลนือชล็อนสก์ ประเทศโปแลนด์ และถือว่าเป็นที่นัดพบสำคัญในทวีปยุโรป มีความหลากหลายและการเปี่ยมล้นด้วยวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์ในเมืองนี้ เป็นดังสะพานเชื่อม ที่เชื่อมระหว่างคนในแต่ละรุ่น แต่ละวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน เป็นแบบเมืองที่ทันสมัยของเมืองใหญ่ ที่มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ ชีวิตที่เต็มด้วยวัฒนธรรมและการศึกษา และมากไปกว่านั้น เมืองวรอตสวัฟใกล้เขตชายแดนของสองประเทศ นั่นคือชายแดนติดกับสาธารณรัฐเช็ก และชายแดนติดกับประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ห่างกรุงเบอร์ลิน 350 กิโลเมตร, ห่างจากเมืองปราก 280 กิโลเมตร, ห่างจากกรุงเวียนนา 390 กิโลเมตร และห่างจากกรุงวอร์ซอ 340 กิโลเมตร มีประชากร 632,240 คน ทำให้เป็นเมืองใหญ่อันดับ 4 ของประเทศโปแลนด์ Breslau.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และวรอตสวัฟ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโคโลญ

อาสนวิหารโคโลญ (Cologne Cathedral; Kölner Dom) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกระดับอาสนวิหารในเมืองโคโลญ เป็นวิหารประจำมุขนายกแห่งโคโลญ สถานที่นี่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นที่ศาสนสถาน นิกายโรมันคาทอลิก สถานที่แห่งสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ประพิธีกรรมของสามมหากษัตริย์แห่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นสถานที่เก็บหีบสามกษัตริย์ไว้ ณ ที่แห่งนี้ด้วย ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองแห่งนี้ มีผู้เยี่ยมชมราวๆ 20,000 คนต่อวัน อาสนวิหารโคโลญได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 1248 แต่มีปัญหาให้ต้องหยุดพักการก่อสร้างไปบ้าง จึงต้องใช้เวลากว่าหกร้อยปีจึงสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ สร้างเสร็จในปี 1880 พร้อมกับมีพีธีวางหลักหินบันทึกข้อมูลการก่อสร้าง อาสนวิหารโคโลญเป็นศาสนสถานของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก นับเป็นวิหารที่ใหญ่และเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในเป็นเวลา 4 ปี (ปี ค.ศ 1880-1884) ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโคโลญ ถูกทิ้งระเบิดทางอากาศทั้งหมด 14 ลูก แม้วิหารจะได้รับความเสียหายบางส่วน แต่ก็ไม่พังทลายลงมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นปาฏิหาริย์ บ้างก็เชื่อว่า เพราะวิหารเป็นจุดสังเกตที่สำคัญของนักบิน จึงไม่ต้องการจะระเบิดทำลายทิ้งไปเสียทีเดียว จากความเสียหายดังกล่าว จึงมีการซ่อมแซมภายในต่อมาตั้งแต่ ปี..1945 - 1948 แต่ถึงอย่างไรก็ดีปัจจุบันก็ยังคงติดอันดับสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกอยู่ด้วย และปัจจุบันก็ได้ถูกจัดอันดับให้อยู่อันดับ 4 วิหารที่สูงที่สุดในโลกลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโกธิก เป็นหอคอยแฝดสูง 157.38 เมตร กว้าง 86 เมตร ยาว 144 เมตร สร้างเพื่ออุทิศให้นักบุญซีโมนเปโตรและพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารโคโลญนับจุดหมายสำคัญของเมืองโคโลญและประเทศเยอรมนี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในปี 2536 (จากเหตุผลที่ i, ii, iv) ปัจจุบัน อาสนวิหารเปิดให้เข้าชมภายในได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าชมในส่วนพิพิธภัณฑ์ของมีค่าที่ขุดค้นพบเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกสมัยโรมันในราคา 5 ยูโร และ การเดินจุดชมวิวบนหอคอยสูง ในราคา 3 ยูโร สามารถเดินทางด้วยรถไฟที่สถานีกลาง รหัส HBF (Köln Hauptbahnhof หรือ Cologne Central Station).

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และอาสนวิหารโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า

ณะภราดาไม่สวมรองเท้าแห่งพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล (Ordo Fratrum Discalceatorum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo: Order of Discalced Brothers of the Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) เรียกโดยย่อว่าคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า (Order of Discalced Carmelites) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะคาร์เมไลท์เดิม โดยมีนักบุญเตเรซาแห่งอาบีลาและนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนร่วมกันดำเนินการปฏิรูป นักบุญที่มีชื่อเสียงอีกองค์ในคณะนี้คือนักบุญเตแรซแห่งลีซีเยอ.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันเอาชวิทซ์

ทางเข้าค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หรือ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีของนาซีเยอรมนีที่ทำการระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อของค่ายกักกันมาจากชื่อของเมือง "ออชเฟียนชิม" (Oświęcim) หลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และค่ายกักกันเอาชวิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์วิทยา

ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology; φαινόμενον (phainómenon) "สิ่งที่ปรากฏ" กับ λόγος (lógos) "การพูด, การศึกษา") เป็นวิธีการทางปรัชญาที่มีเป้าประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเชิงอุตระของสำนึก และสาระของสัต โดยการย้อนกลับไปที่ข้อมูลที่มีอยู่ในสำนึก ปรากฏการณ์วิทยาพยายามค้นหาความจริง แต่ความจริงที่ปรากฏการณ์วิทยาแสวงหานั้นอยู่ใน “โลกที่ปรากฏต่อหน้า” (immanence) หาใช่การมุ่งก้าวพ้นผ่านประสบการณ์ ไปสู่โลกของแบบ หรือแม้แต่พระเจ้า อันเป็นความจริงสูงสุดที่รองรับยืนยันโลกปรากฏแต่อย่างใดไม่ ดังชื่อของปรัชญาของสำนักนี้ได้ระบุไว้ว่า จุดยืนในการหาความจริงวางอยู่บนฐานที่เรียกว่า “ประสบการณ์” ในความหมายที่กว้างที่สุด ในแง่นี้ ปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) คือสำนักทางปรัชญาที่เน้นการหาความจริงในปรากฏการณ์ (phenomena) การให้คำนิยามที่ชัดเจนกับคำว่า ปรากฏการณ์วิทยา เป็นเรื่องยาก เพราะปรากฏการณ์วิทยาเป็นแนวคิด หรือ คอนเซปต์ที่แตกออกไปได้หลากหลายแขนง และนักปรัชญาในสายความคิดนี้มีวิธีการมองและวิธีการเข้าหาปัญหาแตกต่างกัน แต่เราสามารถเข้าใจจุดร่วมที่นักปรัชญาแต่ละท่านมีร่วมกันได้ จุดร่วมนี้คือการมองว่าปรากฏการณ์วิทยาคือ การศึกษาสำนึกจากแง่มุมของมนุษย์ในฐานะประธานบุรุษที่หนึ่ง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์วิทยาปฏิเสธการค้นคว้าในเชิงภาวะวิสัย (objective research) เหมือนอย่างการศึกษาทางจิตวิทยา ซึ่งเน้นการศึกษาธรรมชาติของจิตที่เป็นสากล และเป็นกลาง ดังนั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสำนักความคิดนี้ จึงหลีกเลี่ยงการศึกษาสำนึกอย่างเป็นเอกเทศ หรืออย่างเดี่ยวๆ แต่เน้นว่าเราต้องศึกษาสำนึกในฐานะที่สำนึกต้องพุ่งไปสู่อะไรบางอย่าง ดังที่ฮุสเซิร์ลกล่าวไว้ว่า การสำนึกคือการสำนึกถึงอะไรบางอย่าง เราเรียกกระบวนการที่สำนึกพุ่งไปสู่อะไรบางอย่างนี้ว่า “การพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentionality) และเรียกวัตถุหรือสิ่งที่เราสำนึกว่า “วัตถุของการพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentional object).

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และปรากฏการณ์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: เอดิท ชไตน์และโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »