สารบัญ
21 ความสัมพันธ์: พระอินทร์พระนางกุนตีพระนางสัตยวดีพระแม่คงคากรรณะกฤปาจารย์ภีมะภีษมะมหาภารตะยุธิษฐิระฤๅษีวยาสวิจิตรวีรยะศานตนุอรชุนอัศวัตถามาจิตรางคทะธฤตราษฎร์ทุรโยธน์ท้าวธฤตราษฎร์ท้าวปาณฑุโทรณาจารย์
พระอินทร์
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-5627.html | สถานบำบวงหลัก.
พระนางกุนตี
พระนางกุนตี มีชื่อเดิมว่า "ปฤถา" เป็นธิดาในท้าวศูระเสน กษัตริย์แห่งกรุงมถุรา มีพี่ชายนามว่า "วาสุเทพ" ซึ่งเป็นบิดาของ"พระกฤษณะ" ดังนั้นพระกฤษณะจึงมีศักดิ์เป็นหลานชายของพระนางนั่นเอง กาลต่อมาท้าวกุนติโภช ซึ่งเป็นพระญาติสนิทกับท้าวศูระเสนได้ขอพระนางไปเลี้ยงเป็นพระธิดาบุญธรรม เนื่องจากไม่มีโอรสธิดา ท้าวศูระเสนจึงมอบให้ด้วยความยินดี เมื่อมาอยู่กับท้าวกุนติโภชจึงได้นามใหม่ว่า "กุนตี" อยู่มาวันหนึ่งมหาฤๅษีทุรวาสได้เดินทางมายังเมืองของท้าวกุนติโภช ซึ่งท้าวกุนติโภชได้มอบหมายให้พระธิดากุนตีคอยปรนนิบัติรับใช้จนมหาฤๅษีพอใจ จึงให้พรเป็นมนต์สำหรับเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะมหาฤๅษีทุรวาสทราบด้วยญาณว่า ในอนาคตพระธิดากุนตีต้องเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะไม่อาจมีบุตรกับสวามีของนางได้นั่นเอง แต่ด้วยความคึกคะนองของนางที่อยากทดสอบมนต์ของมหาฤๅษีว่าจะศักดิ์สิทธิ์เพียงใด จึงลองเชิญพระสุริยเทพดู พระสุริยะเทพก็ปรากฏกายต่อหน้านาง แต่ด้วยความที่นางไร้เดียงสาจึงไม่ต้องการมีบุตร แต่ด้วยมนต์นั้นพระสุริยะเทพไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ จึงประทานบุตรให้แก่นางโดยที่นางไม่เสียพรหมจรรย์ เมื่อนางคลอดลูกแล้ว ด้วยความอายกลัวคนอื่นจะครหาว่ามีบุตรก่อนจะแต่งงาน นางจึงนำบุตรน้อยใส่กล่องแล้วลอยไปในแม่น้ำคงคา ซึ่งต่อมาบุตรคนนี้ก็คือ "กรรณะ" พี่ชายคนโตของเหล่าปาณฑพ แต่อยู่ฝ่ายเการพและมีบทบาทอย่างมากในสงครามมหาภารตะนั่นเอง ต่อมาท้าวกุนติโภชได้จัดพิธีสยุมพรให้แก่พระธิดากุนตีกับท้าวปาณฑุแห่งกรุงหัสตินาปุระ และต่อมาไม่นานท้าวปาณฑุก็มีชายาอีกองค์หนึ่ง นามว่า "พระนางมาทรี" ในตอนแรกพระนางกุนตียังไม่ยอมรับในพระนางมาทรีเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากันเห็นว่านางเป็นคนดีจึงยอมรับและรักนางเหมือนน้องสาวคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งท้าวปาณฑุได้ออกไปล่าสัตว์ เห็นกวางสองตัวกำลังเสพสังวาสกัน จึงแผลงศรไปโดนกวางทั้งสองตัวเข้า ซึ่งกวางทั้งสองเป็นพราหมณ์และพราหมณีแปลงร่างมา ก่อนทั้งสองจะสิ้นใจได้สาปว่า หากท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์ที่จะอภิรมย์สมสู่กับชายาตนเมื่อใด จงสิ้นชีวิตเมื่อนั้น ท้าวปาณฑุเกรงในคำสาปนี้จึงสละราชสมบัติให้ท้าวธฤตราษฎร์ขึ้นครองแทน แล้วไปบำเพ็ญศีลในป่า ซึ่งพระนางกุนตีและพระนางมาทรีได้ติดตามไปด้วย และในวันหนึ่งท้าวปาณฑุปรารถนาจะมีโอรส พระนางกุนตีจึงบอกเรื่องมนต์เชิญเทพเจ้ามาประทานบุตร ท้าวปาณฑุจึงขอให้พระนางกุนตีเชิญ "พระธรรมราช" (พระยม) "พระวายุ" และ"พระอินทร์" มาประทานบุตรให้ ซึ่งก็ได้บุตรชายคือ "ยุธิษฐิระ""ภีมะหรือภีมเสน" และ"อรชุน" ตามลำดับ ฝ่ายพระนางมาทรีปรารถนาจะมีโอรสบ้างจึงอ้อนวอนให้พระนางกุนตีสอนมนต์ให้แก่นาง พระนางกุนตีก็ไม่ขัดข้อง พระนางมาทรีจึงเชิญ "พระอัศวิน" โอรสฝาแฝดของพระสุริยะเทพมาประทานโอรสให้ ก็ได้โอรสแฝดนามว่า "นกุล" กับ "สหเทพ" รวมกันเป็นพี่น้อง "ปาณฑพ" นั่นเอง วันหนึ่งท้าวปาณฑุกับพระนางมาทรีไปหาฟืนและอาหารในป่า ท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์รักเข้าจึงจะสมสู่กับพระนางมาทรี แต่ในขณะกำลังซบบนพระถันของพระนางมาทรี ท้าวปาณฑุก็สิ้นใจตายในทันทีตามคำสาป พระนางมาทรีทำใจไม่ได้จึงตามท้าวปาณฑุไปในกองไฟเผาศพ แต่ก่อนไปพระนางได้ฝากฝังนกุลกับสหเทพให้กับพระนางกุนตีคอยดูแลด้วย ซึ่งต่อมาพระนางกุนตีกับโอรสทั้ง 5 ได้กลับไปยังกรุงหัสตินาปุระอีกครั้ง มีอยู่คราวหนึ่งพระนางกุนตีกับพี่น้องปาณฑพได้รับคำเชิญให้ไปประทับยังเมืองวาราณาวัต ซึ่งทุรโยธน์กับลุงนามศกุนิ ได้วางแผนให้ ปุโรจัน ไปสร้างพระราชวังที่ประทับให้กับพี่น้องปาณฑพซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อเหล่าปาณฑพกับพระนางกุนตีนอนหลับ ปุโรจันก็วางเพลิง แต่โชคดีที่มหามนตรีวิฑูรทราบเรื่องก่อน จึงเตรียมทางหนีไว้ให้ ทั้งพระนางกุนตีและพี่น้องปาณฑพจึงรอดจากการวางเพลิงไปได้ ส่วนปุโรจันนั้นตายในกองเพลิงนั้นเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
พระนางสัตยวดี
ท้าวศานตนุและนางสัตยวดี, ผลงานภาพวาดของ ราชา รวิ วรรมา พระนางสัตยวดี เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นลูกของกษัตริย์พระองค์หนึ่งกับนางอัปสรซึ่งถูกสาปให้เป็นปลากับ วันหนึ่งชาวประมงได้จับนางปลาออกมาผ่าท้อง เนื่องจากท้องโตผิดปกติ เมื่อผ่าออกมาดูปรากฏว่าเป็นเด็กผู้หญิง ซึ่งก็คือ พระนางสัตยวดี คนนี้นี่เอง ชาวประมงจึงเลี้ยงไว้ด้วยความสงสาร ในวัยเด็ก สัตยวดี มีกลิ่นตัวเป็นกลิ่นคาวปลาแรงมาก เพราะอาศัยอยู่ในท้องปลาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีชายใดหมายปอง แต่เมื่อฤๅษีตนหนึ่งผ่านมาชื่อว่า ฤๅษีปราศร ก็ถูกใจนางสัตยวดีมากเพราะเป็นคนสวยและจริง ๆ แล้วเป็นคนวรรณะกษัตริย์ ก็ให้พรโดยให้กลิ่นตัวของนางหายไป และกลายเป็นกลิ่นหอมของดอกไม้มาแทน จากนั้นฤๅษีปราศรกับนางสัตยวดีก็มีความสัมพันธ์กันและมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ ฤๅษีวยาส ซึ่งเป็นคนสำคัญในเรื่องมหาภารตะ เพราะเป็นปู่โดยตรงของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ และจะออกมาคลี่คลายปัญหาเป็นพัก ๆ ให้กับฝ่ายต่าง ๆ เมื่อนางสัตยวดีโตขึ้น พระราชาศานตนุก็มาเจอกับนางเข้าและถูกใจมาก แต่พ่อของนางขอไว้ว่าลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ ท้าวศานตนุไม่ตกลงในทันทีเพราะเห็นแก่ภีษมะ ลูกของพระองค์กับพระแม่คงคา แต่ผู้ให้สัญญานี้คือ ภีษมะ นั่นเอง พระนางสัตยวดีเมื่อแต่งงานกับพระราชาศานตนุก็มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ ซึ่งถือเป็นน้อยชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ ๒ คน กล่าวได้ว่าท้าวศานตนุมีผู้สืบเชื้อสายโดยตรง ๑๐ พระองค์ แต่ ๗ คนแรก พระแม่คงคาได้นำไปทิ้งลงสู่แม่น้ำ ท้าวภีษมะก็สาบานต่อฟ้าดินอย่างเคร่งครัดไว้ว่าจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใด จิตรางคทะก็ถูกคนธรรพ์ชื่อเหมือนกันท้ารบและถูกฆ่าตายในวัยเยาว์ ส่วนวิจิตรวีรยะแม้จะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงอัมพิกาและเจ้าหญิงอัมพาลิกาแล้ว แต่ก็ยังไม่มีพระโอรสสืบต่อพระราชบัลลังก์แม้แต่คนเดียว พระนางสัตยวดีเกรงว่าตนจะเป็นคนบาปที่ทำให้ราชวงศ์กุรุต้องสิ้นสุด จึงให้ฤๅษีวยาส ลูกนอกสมรสมาทำพิธีนิโยค (รับภรรยาของญาติที่เป็นหม้ายมาเป็นภรรยาเพื่อสืบเชื้อสายของวงศ์ตระกูลต่อไป) ทำให้ลูกของฤๅษีวยาสกับเจ้าหญิงอัมพิกาชื่อ ธฤตราษฎร์ (ตาบอดตั้งแต่เกิด แต่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นพระบิดาของฝ่ายเการพ), เจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาสชื่อ ปาณฑุ (มีสีผิวซีด สุขภาพไม่แข็งแรง แต่เป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระบิดาของปาณฑพทั้งห้าด้วย), นางกำนัลกับฤๅษีวยาสชื่อ วิทูร (ครบถ้วนสมบูรณ์ดี เป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรม) หลังจากที่พระราชาปาณฑุสิ้นพระชนม์ ฤๅษีวยาสก็แนะนำให้พระนางสัตยวดีไปบำเพ็ญเพียรช่วงสุดท้ายของชีวิตในป่า จะได้ไม่ต้องมารับรู้เรื่องที่หลาน ๆ เหลน ๆ จะมาฆ่าฟันกัน พระนางสัตยวดีเห็นดีด้วยจึงทำตามคำแนะนำของฤๅษีวยาส และออกป่าไปพร้อมกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกาและในเรื่องก็ไม่ได้พูดถึงอีก หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
พระแม่คงคา
ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.
กรรณะ
กรรณะ (कर्ण) หรือ ราเธยะ (राधेय) เป็นตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตามเนื้อเรื่องแล้ว กรรณะเป็นบุตรของพระอาทิตย์และพระนางกุนตี ซึ่งพระนางกุนตีไม่ตั้งใจที่จะเรียกมนต์วิเศษให้พระอาทิตย์มาสมสู่กับตน แต่เมื่อนางเรียกมาแล้วก็ได้ลูกเป็นกรรณะคนนี้ แต่หลังจากนั้นจึงกลายเป็นสาวพรหมจรรย์ตามมนต์วิเศษ กรรณะ แปลว่า ผู้เกิดมาพร้อมเกราะและต่างหู กรรณะยังมีชื่ออื่นๆอีก ดังนี้.
กฤปาจารย์
กฤปะ (สันสกฤต: कृप อังกฤษ: Kripa) เป็นตัวละครฝ่ายชายใน มหากาพย์มหาภารตะ เป็นอาจารย์ของพวกปาณฑพและพวกเการพ เป็นพี่ชายของนางกฤปิ ซึ่งเป็นภรรยาของ โทรณาจารย์ ซึ่งตัวเขานั้นเป็นอาจารย์สอนวิชากับเหล่าพวกปาณฑพและเการพในช่วงแรกๆ ก่อนที่โทรณาจารย์จะเข้ามาช่วยสอนในภายหลัง ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร กฤปาจารย์เป็น 1 ในแม่ทัพคนสำคัญของเหล่าเการพ และยังเป็น 1 ใน 3 ของเหล่าเการพที่รอดชีวิตจากสงครามครั้งนี้ (อีก 2 คนคือ อัศวัตถามา และ กฤตวรมัน) หลังจากสงคราม กฤปาจารย์กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำราชสำนักหัสตินาปุระ(กุลคุรุ)ตามเดิม หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
ภีมะ
ีมะ (สันสกฤต: भीम) เป็นโอรสที่เกิดจากพรของพระพายและเป็นน้องชายต่างมารดาของหนุมาน ซึ่งเกิดวัน เดือน และปีเดียวกับทุรโยธน์ เป็นศิษย์ของพระพลรามผู้เป็นพี่ชายของพระกฤษณะ วันสุดท้ายของสงครามได้ตีหน้าตักของทุรโยธน์แหลกเป็นเสี่ยงตามคำสาบานของภีมะเอง และที่ฤๅษีไมเตรยะเคยสาปไว้ด้ว.
ภีษมะ
"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ ราชา รวิ วรรมา "มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมบัติของพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา) ภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคา เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าวศานตนุก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง 16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้พระแม่คงคาจึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดยฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร,วิชารัฐศาสตร์โดยพระพฤหัสบดี และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือฤๅษีปรศุราม(ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้) ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ เจ้าหญิงอัมพา เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา มาเป็นมเหสีของวิจิตรวีรยะผู้เป็นน้องต่างมารดา (ตอนนั้นจิตรางคทะเสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย เจ้าหญิงอัมพาเกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับท้าวศัลวะ ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนางสัตยวดีและวิจิตรวีรยะตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัวเจ้าหญิงอัมพาให้ท้าวศัลวะ แต่ท้าวศัลวะไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป เจ้าหญิงอัมพาเสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ นางอัมพาโกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้ฤๅษีปรศุรามผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูกพระนารายณ์และพระศิวะห้ามไว้ก่อน เจ้าหญิงอัมพาจึงไม่สมหวังและขอพรกับเทพบุตรสันมุข พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าวทรุปัท พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของท้าวทรุปัทชื่อ ศิขัณทิน (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง) ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่ศิขัณทิน ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดยอรชุนระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม.
มหาภารตะ
ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด.
ยุธิษฐิระ
ยุธิษฐิระ (สันสกฤต:युधिष्ठिर) เป็นพี่ชายคนโตของตระกูลปาณฑพ โดยถือว่าเป็นพระโอรสของท้าวปาณฑุ กับ พระนางกุนตี แต่จริง ๆ แล้วเป็นพระโอรสของพระนางกุนตีและพระธรรมเทพ (พระยม) มีลักษณะโดดเด่นคือเป็นผู้มีความยุติธรรม ตั้งอยู่บนหลักธรรมเคร่งครัดตลอดมา พี่น้องปาณฑพจึงยึดเอาการตัดสินใจของพี่คนโตคนนี้เป็นหลัก ยุธิษฐิระ แปลว่า ผู้มีความมั่นคงในการสงคราม และยังมีชื่ออื่นๆอีก เช่น ภารตะวงศี อชาตศัตรู ธรรมนันทัน ธรรมราช ยุธิษฐิระมีพระมเหสีคือพระนางเทราปตี (ซึ่งเป็นพระมเหสีของปาณฑพทั้งห้า) มีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์คือ ประติวินธยะ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์อิจฉาพวกปานฑพมาก จึงขอให้ท้าวธฤตราษฎร์แบ่งกรุงหัสตินาปุระออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือกรุงหัสตินาปุระที่รุ่งเรืองให้กับทุรโยธน์ครอบครองและดินแดนขาณฑวปรัสถ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงหัสตินาปุระ ให้พวกปาณฑพครอบครอง ยุธิษฐิระซึ่งเป็นพี่คนโตและมีหลักธรรมประจำใจว่าจะไม่ปฏิเสธคำของผู้ใหญ่จึงรับดินแดนส่วนนี้ไว้ พระกฤษณะ (นารายณ์อวตาร) ทราบจึงมาช่วยพวกปาณฑพพลิกฟื้นดินแดนส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ โดยให้พระวิษณุกรรม (พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชฉลูกรรม) ซึ่งเป็นสถาปนิกของพระอินทร์มาช่วยสร้างพระราชวังใหญ่โตให้กับพวกปาณฑพ โดยยุธิษฐิระเป็นกษัตริย์และตั้งชื่อว่ากรุงอินทรปรัสถ์ จากนั้นเมื่อมีผู้ทราบว่าพวกปาณฑพมาเป็นกษัตริย์ที่เมืองนี้ ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อินทรปรัสถ์บ้าง ทำให้กรุงอินทรปรัสถ์รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากที่ไม่มีอะไรเลย มีอยู่วันหนึ่งพระกฤษณะและอรชุนได้ช่วยยักษ์ที่ชื่อมายาสูร (เป็นผู้ช่วยพระวิษณุกรรมด้วย) ไม่ให้พระอัคนีที่กำลังเผาป่าขาณฑวะกินเป็นอาหาร เผายักษ์ตนนี้ด้วย ยักษ์มายาจึงสำนึกในบุญคุณของอรชุนและพระกฤษณะมากจึงดำเนินการสร้างสภาอันยิ่งใหญ่ตระการตาให้กับพวกปาณฑพ โดยตั้งชื่อว่า มายาสภา หลังจากสร้างมายาสภาได้ไม่นาน เทพฤๅษีนารัทมุนี ก็แนะนำให้ยุธิษฐิระทำพิธีราชสูยะ (เป็นพิธีที่ประกาศความยิ่งใหญ่ของกรุงอินทรปรัสถ์ โดยส่งสาส์นออกไปให้พระราชาแคว้นต่าง ๆ ยอมรับ หากไม่ยอมรับก็ทำสงครามกัน) อรชุนไปทางทิศเหนือ ภีมะไปทางทิศตะวันออก นกุลเลือกทิศตะวันตก ส่วนสหเทพเลือกทิศใต้ โดยทำได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกทุรโยธน์อิจฉาขึ้นมาอีก จึงสร้างสภาขึ้นมาบ้างและเชิญพวกปาณฑพมาเล่นสกากัน จุดมุ่งหมายคือ จะเล่นสกาพนันเอาบ้านเอาเมืองกัน ยุธิษฐิระเมื่อเห็นว่าท้าวธฤตราษฎร์เป็นผู้กล่าวชักชวน จึงไม่ปฏิเสธ โดยทุรโยธน์ให้ศกุนิผู้เป็นลุงและชำนาญในการเล่นสกามาก เป็นผู้เล่นแทนและชนะทุกครั้ง ผลคือพวกปาณฑพแพ้และไม่เหลืออะไรสักอย่าง ยุธิษฐิระจึงเริ่มจากการพนันน้องชาย นกุล สหเทพ อรชุน และภีมะตามลำดับ จากนั้นจึงเอาตัวเองเป็นพนันและเล่นสกาต่อไปโดยใช้พระนางเทราปตีพนัน แต่ก็แพ้จนหมด ทุรโยธน์สั่งให้ทุหศาสันนำตัวพระนางเทราปตีมายังสภาและย่ำยีเกียรติของนางโดยบอกให้นางมานั่งตัก ภีมะทนไม่ไหวจึงลั่นคำสาบานออกมาว่าจะใช้คทาของภีมะเองทุบหน้าขาของทุรโยธน์ให้แหลก จากนั้นกรรณะหรือราธียะก็ให้ทุหศาสันดึงผ้าส่าหรีของพระนางเทราปตีออกมา แต่พระนางได้ขอให้พระกฤษณะช่วยไว้ พระกฤษณะจึงประทานผ้าส่าหรีให้นางไม่มีวันหมดสิ้นจนในที่สุดทุหศาสันก็หมดแรง ภีมะลั่นคำสาบานออกมาอีกเป็นรอบที่สองคือ จะฉีกอกทุหศาสันเพื่อดื่มเลือดให้หายแค้น นอกจากนี้ภีมะยังบอกอีกว่า ตนจะเป็นคนฆ่าทุรโยธน์ ทุหศาสันและ อรชุนจะฆ่ากรรณะ สหเทพจะฆ่าศกุนิ ส่วนนกุลก็สาบานว่าจะฆ่าลูกของศกุนิ เช่น อูลูกะ เรื่องราวเลยเถิดออกมามากจนในที่สุดท้าวธฤตราษฎร์ก็ขอให้พระนางเทราปตีให้อภัยและแลกกับให้นางขออะไรก็ได้ นางจึงขอให้คืนทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิม ท้าวธฤตราษฎร์จึงตกลงตามที่ว่า แต่ทุรโยธน์ไม่จบแค่นั้น ยังให้ท้าวธฤตราษฎร์ชักชวนให้พวกปาณฑพมาเล่นสกาอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้แพ้ต้องออกป่าเป็นเวลา 13 ปี และในปีที่ 13 ห้ามให้ใครจำได้ ถ้าใครจำได้ต้องเดินป่าอีก 13 ปี ยุธิษฐิระทราบชะตากรรมดี แต่ก็ยอมเล่นสกา ระหว่างที่เดินป่าฤๅษีวยาสก็สอนมนต์เพื่อขออาวุธวิเศษจากพระศิวะแก่ยุธิษฐิระเพื่อถ่ายทอดให้กับอรชุนต่อไปด้วย อรชุนจึงได้อาวุธวิเศษกลับมาพร้อมทั้งได้รับการสอนการร่ายรำ นาฏศิลป์ต่าง ๆ จากท้าวจิตรเสนและรับการสอนการใช้อาวุธจากอินทรเทพผู้เป็นพระบิดาอีกด้วย ระหว่างนั้น นางอัปสรอุรวศีก็พอใจอรชุนมาก แต่อรชุนเห็นว่านางเป็นแม่เท่านั้น นางโกรธมากจึงสาปให้อรชุนเป็นกะเทยตลอดไป แต่พระอินทร์ก็เกลี้ยกล่อมให้นางลดคำสาปเหลือ 1 ปี ให้เป็นในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องเดินป่า จะได้เป็นประโยชน์ในการอำพรางตัว ในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องไม่ให้ใครจำได้นั้น ยุธิษฐิระได้ขอพรจากพระธรรมเทพผู้เป็นบิดาว่าในปีที่ 13 นี้ขอให้ไม่มีใครจำได้ เนื่องจากพระธรรมเทพมาพิสูจน์ความตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมของยุธิษฐิระ โดยการทำให้น้องชายทั้งสี่คนตายไปและแปลงกายเป็นยักษ์ ผู้เฝ้าธารน้ำที่พี่น้องปาณฑพสี่คนลงไปดื่ม แล้วถามว่ายุธิษฐิระจะเลือกใครให้ฟื้นขึ้นมา จึงเลือกนกุล เพราะตนเป็นบุตรพระมารดากุนตี ส่วนบุตรของพระมารดามาทรีหรือมัทรีได้ตายไปหมดแล้ว จึงเลือกนกุลให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง พระธรรมเทพพอใจมากจึงคืนชีวิตให้กับทุกคนและปรากฏร่างเป็นพระธรรมเทพดังเดิม จากนั้นปาณฑพตกลงว่าจะแฝงตัวไปทำงานในวังของท้าววิราฎ แคว้นมัตสยะ โดยยุธิษฐิระได้ใช้ชื่อว่า กังกะ เข้ามาทำงานเป็นมหามนตรีและสอนสกาแก่ท้าววิราฏ, ภีมะใช้ชื่อว่าวัลลภ เข้ามาทำงานเป็นพ่อครัวหลวง, อรชุน ใช้ชื่อว่าพฤหันนลา(ในขณะนั้นเป็นกะเทย) เข้ามาทำงานสอนนาฏศิลป์แก่เจ้าหญิงอุตตรา พระธิดาของท้าววิราฏ,นกุล ใช้ชื่อว่า ครันถิกะ เข้ามาทำงานดูแลม้า, สหเทพ ใช้ชื่อว่า ตันติบาล เข้ามาทำงานดูแลปศุสัตว์ ส่วนพระนางเทราปตีใช้ชื่อว่า ไศรันทรี เข้ามาทำงานดูแลความงามให้กับพระนางสุเทศนา พระมเหสีของท้าววิราฎ เมื่อสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรเกิดขึ้น ยุธิษฐิระก็ได้เข้าร่วมการรบด้วย แต่ไม่ได้ตายในสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุด ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกรุงหัสตินาปุระ แต่หลังจากนั้นปาณฑพเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพราะเห็นผลของสงคราม จึงยกบัลลังก์ให้ปรีกษิต หลานชายของอรชุน และพี่น้องปาณฑพกับนางเทราปตีก็ออกเดินป่า พร้อมกับสุนัขอีก 1 ตัว สุดท้ายพี่น้องปาณฑพทั้งสี่และนางเทราปตีก็สิ้นชีวิตลงและขึ้นสวรรค์บนยอดเขาหิมาลัย จากนั้นสุนัขที่ติดตามมาด้วยก็กลับกลายเป็นพระธรรมเทพ และพายุธิษฐิระขึ้นไปบนสวรรค์ (แต่ตอนนั้นยุธิษฐิระยังไม่ตาย และมีผู้กล่าวว่ายุธิษฐิระเป็นคนคนเดียวในโลกที่สามารถขึ้นไปยังยอดเขาหิมาลัยได้ทั้งเป็น) แต่กลับพบว่าทุรโยธน์นั่งครองบัลลังก์อยู่ แต่ปาณฑพและนางเทราปตีต้องตกนรกเพราะฆ่าพี่น้องของตน ยุธิษฐิระจึงตัดสินใจตกนรกด้วย จากนั้นพระธรรมเทพจึงบอกว่าทั้งหมดเป็นภาพลวงตา จริง ๆ แล้วเการพต้องตกนรก แต่ปาณฑพอยู่บนสวรรค์ ทั้งหมดที่ทำมาคือการทดสอบจิตใจของยุธิษฐิระ ยุธิษฐิระ พี่น้องปาณฑพและนางเทราปตีก็ได้อยู่บนสวรรค์ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
ฤๅษีวยาส
ฤๅษีวยาส (เทวนาครี:व्यास) เป็นโอรสของนางสัตยวดี กับฤๅษีปราศร และคลอดตรงบริเวณ เกาะกลางแม่น้ำยมุนามีชื่อเต็มว่า กฤษณไทวปายน แปลว่าผู้มีผิวคล้ำเกิดบนเกาะ ต่อมาเปลี่ยนเป็น วยาสแล้วออกบวชตามบิดาอยู่ในป่าหิมาลัย ต่อมานางสัตยวดีผู้เป็นมารดาได้ให้ไปทำนิโยคกับมเหสีม่าย ของวิจิตรวีรยะ น้องชายต่างบิดา จึงต้องหลับนอนกับมเหสีม่ายทั้งสองและนางกำนัลอีก1คน จนมีโอรสคือ ท้าวธฤตราษฎร์ ท้าวปาณฑุ และท้าววิทูร ต่อมาโอรสของท้าวธฤตราษฎร์และท้าวปาณฑุ แย่งบัลลังก์กันและล้มตายจำนวนนับล้าน ท่านฤๅษีเกิดความรันทด จึงต้องการบอกเล่าเรื่องราวของลูกหลานที่ฆ่าฟันกันเอง จึงเชิญ พระคเณศร์ มาเขียน เป็นที่มาของมหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:ศาสดา.
วิจิตรวีรยะ
วิจิตรวีรยะ เป็นพระโอรสของท้าวศานตนุกับพระนางสัตยวดี มีศักดิ์เป็นน้องของท้าวภีษมะ แต่เป็นน้องแท้ ๆ ของจิตรางคทะ โดยวิจิตรวีรยะมีมเหสี ๒ พระองค์คือ เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา แต่ไม่มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกันเลย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ต้น ๆ เรื่องของมหากาพย์มหาภารตะด้วยโรคร้ายแรงหลังจากอภิเษกกับเจ้าหญิงทั้งสองได้ไม่นาน หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
ศานตนุ
ท้าวศานตนุ เป็นโอรสของราชาประตีปะ ซึ่งครองกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ ส่วนตัวของท้าวศานตนุ มีพี่น้องรวมอุทร ๓ คน คือ เทวาปิ(ภายหลังได้รับพรให้เป็นอมตะไป)พี่คนโต พาหลีกะ หรือ วาหลีกะ น้องชายคนสุดท้าย และท้าวศานตนุเป็นคนกลาง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ในขณะนั้นได้เป็นผู้ให้กำเนิดบุคคลสำคัญของเรื่องมหากาพย์มหาภารตะอีกคนหนึ่ง นั่นก็คือ เจ้าชายเทวพรต หรือตอนหลังถูกขนานนามว่า ภีษมะ นั่นเอง ซึ่งเป็นพระโอรสของท้าวศานตนุและพระแม่คงคา หลังจากอยู่กินกับพระแม่คงคาได้ไม่นาน ก็ได้พระโอรสออกมาหนึ่งพระองค์ ท้าวศานตนุดีใจมาก แต่เมื่อจะเสด็จไปหาพระแม่คงคา ปรากฏว่าพระนางนั้นไม่อยู่กับที่ประทับ และกลับทิ้งพระโอรสลงไปในแม่น้ำ โดยทำอย่างนี้กับพระโอรสถึงเจ็ดพระองค์ด้วยกัน (เมื่อครั้งที่ท้าวศานตนุได้เจอกับพระแม่คงคานั้น ได้ให้สัญญาไว้ว่า จะไม่โกรธไม่เกลียดและจะไม่ซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่พระแม่คงคาทำทั้งสิ้น) แต่เมื่อพระแม่คงคาได้ให้ประสูติพระโอรสองค์ที่แปดออกมาท้าวศานตนุก็ทนไม่ไหวและซักถามพระแม่คงคา พระนางจึงตรัสบอกกับพระองค์ว่าจะนำพระโอรสองค์ที่ ๘ (ซึ่งก็คือเจ้าชายเทวพรตหรือภีษมะ) ไปเลี้ยงดูเอง หลังจากนั้น ๑๖ ปีพระแม่คงคาก็นำพระโอรสองค์ที่ ๘ มาคืนกับท้าวศานตนุ ท้าวศานตนุอยู่กับเจ้าชายเทวพรตอย่างมีความสุขมาประมาณ ๔ ปี และตั้งให้เจ้าชายเทวพรตเป็นพระยุพราช (ผู้มีตำแหน่งจะได้ครอบครองบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์) พระองค์ก็เจอกับลูกสาวชาวประมงซึ่งมีกลิ่นกายหอมมาก ชื่อว่า สัตยวดี จึงไปสู่ขอนางกับพ่อของนาง แต่พ่อของนางกลับบอกว่าต้องให้ลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีเป็นกษัตริย์ต่อจากท้าวศานตนุแทนเจ้าชายเทวพรต ท้าวศานตนุไม่ตรัสอะไรและกลับไปยังพระราชวัง จากนั้นก็ซึมเศร้าตลอดมา เจ้าชายเทวพรตจึงไปไถ่ถามกับสารถีของพระบิดาว่าเหตุใดหลังจากกลับมาแล้วพระองค์ดูเศร้าโศกผิดปกติ สารถีจึงตอบไปตามความ เจ้าชายเทวพรตเมื่อเห็นพระบิดาเศร้าโศกเสียพระทัยก็ไม่สบายใจจึงไปที่บ้านของชาวประมงและตกลงว่าพระองค์จะให้ตำแหน่งพระยุพราชแก่น้องชายที่เกิดจากท้าวศานตนุและนางสัตยวดี แต่พ่อของนางกลับไม่พอใจแค่นั้น กลับพูดทำนองที่ว่า "ข้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าลูกหลานที่เกิดจากท่าน เจ้าชายเทวพรต จะไม่มาชิงบัลลังก์ของหลานชายข้า" เจ้าชายเทวพรตก็ค่อนข้างหงุดหงิดแต่ก็ต้องการทำตามพระประสงค์ของพระบิดาจึงให้คำสาบานต่อฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์พระราชาและจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใดอีกตลอดชีวิตอย่างหนักแน่น จึงเป็นที่มาของชื่อที่รู้จักกันดีคือ ภีษมะ เมื่อท้าวศานตนุอภิเษกสมรสกับนางสัตยวดีไม่นานก็มีพระโอรสสองพระองค์คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ จากนั้นไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
อรชุน
อรชุน (เทวนาครี: अर्जुन, อังกฤษ: Arjuna) เป็นหนึ่งในตัวละครเอกในมหากาพย์มหาภารตะ ชื่อนี้หมายถึง สว่าง ส่องแสง ขาว หรือ เงิน อรชุนเป็นนักยิงธนูที่มีฝีมือสูงส่ง ไม่มีใครเทียบได้ เป็นพี่น้องคนที่สามในบรรดาปาณฑพทั้งห้า เป็นลูกของนางกุนตี ภรรยาคนแรกของปาณฑุ และเป็นคนเดียวในพี่น้องปาณฑพที่ได้รับพรและอาวุธวิเศษจากเทพเจ้ามากที่สุดด้ว.
อัศวัตถามา
อัศวัตถามา (สันสกฤต: अश्वत्थामा) มีอีกชื่อคือ เทราณี เป็นบุตรชายของโทรณาจารย์ ครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักนครหัสตินาปุระ และเป็นหลานของฤๅษีภรัทวาชะ อัศวัตถามาเป็นมหารถี (นักรบ) ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ในฝั่งเการพที่ต่อสู้กับฝั่งปาณฑพ อัศวัตถามาถือว่าเป็นอวตารหนึ่งใน ๑๙ อวตารของพระศิวะ หนึ่งในพระตรีมูรติทั้ง ๓ พระองค์ อัศวถามาได้ร่วมทำสงครามกุรุเกษตรโดยอยู่ฝั่งเการพเพราะอัศวัตถามาเป็นสหายของทุรโยธน์ พี่ชายคนโตของพี่น้องเการพ ด้วยเหตุนี้อัศวัตถามาจึงเข้าร่วมกับฝั่งเการพในสงครามทุ่งกุรุเกษตร อัศวัตถามาถือว่าเป็นนักรบไม่กี่คนของฝั่งเการพที่ไม่ตายในสงครามทุ่งกุรุเกษตร และในตอนท้ายของมหากาพย์มหาภารตะ อัศวัตถามาได้แอบเข้าไปสังหารธฤษฏัทยุมนะ ศิขัณฑี อุปปาณฑพ และเหล่าทหารของฝั่งปาณฑพ นอกจากนี้ยังใช้ศรพรหมเศียรพยายามฆ่าบุตรในครรภ์ของนางอุตตรา ชายาของอภิมันยุ พระกฤษณะจึงใช้จักรสุทรรศนะตัดอัญมณีบนหน้าผากของอัศวัตถามาออกพร้อมกับสาปให้อัศวัตถามามีหน้าตาหน้าเกลียดมีเลือดไหลออกจากร่างและไม่มีวันตายจนกว่าจะถึงการสิ้นสุดของโลกพร้อมกับต้องเร่ร่อนไม่มีใครจำได้ตลอดชั่วกัลปาวสาน หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารต.
จิตรางคทะ
จิตรางคทะ เป็นพระโอรสของท้าวศานตนุกับพระนางสัตยวดี มีศักดิ์เป็นน้องชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ และเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของวิจิตรวีรยะ สิ้นพระชนม์ก่อนวิจิตรวีรยะ เพราะมีคนธรรพ์ที่ชื่อเหมือนกัน คนธรรพ์จิตรางคทะไม่ต้องการให้มีคนชื่อเดียวกับตน จึงมาท้าสู้กับจิตรางคทะตัวต่อตัว เจ้าชายจิตรางคทะยังเยาว์วัยเกินไป และมีความสามารถไม่เท่ากับคนธรรพ์จึงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
ธฤตราษฎร์
ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นโอรสในนามของวิจิตรวีรยะ และอัมพิกา แต่ที่จริงเป็นบุตรของฤๅษีวยาส กับการนิโยคกับอัมพิกา ท้าวธฤตราษฎร์ มีนัยน์ตาบอด พระองค์มีมเหสีชื่อ พระนางคานธารีและมีบุตร 100 คนและธิดา 1 องค์ เรียกว่า เการพ และมีบุตรกับนางสนม 1 คนคือ ยุยุตสุ ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกรุงหัสตินาปุระ เป็นคนอ่อนไหว ใจโลเล และลำเอียง ไม่อบรมสอนสั่งลูก จึงเป็นเหตุให้ ทุรโยธน์ มีใจชั่วร้าย กระทำเลวร้ายต่อ ปาณฑพ และเป็นเหตุให้เกิดสงครามมหาภารตะขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
ทุรโยธน์
ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์).
ท้าวธฤตราษฎร์
ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นโอรสในนามของวิจิตรวีรยะและอัมพิกา แต่ที่จริงเป็นบุตรของฤๅษีวยาส กับการนิโยคกับอัมพิกา จึงได้บุตรชายชื่อ ท้าวธฤตราษฎร์ ผู้มีนัยน์ตาบอด พระองค์มีมเหสีชื่อ พระนางคานธารีและมีบุตร 100 คนและธิดา 1 องค์ เรียกว่า เการพ และมีบุตรกับนางสนม 1 คนคือ ยุยุตสุ ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกรุงหัสตินาปุระ เป็นคนอ่อนไหว ใจโลเล และลำเอียง ไม่อบรมสอนสั่งลูก จึงเป็นเหตุให้ทุรโยธน์มีใจชั่วร้าย กระทำเลวร้ายต่อฝ่ายปาณฑพ และเป็นเหตุให้เกิดสงครามมหาภารตะขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
ท้าวปาณฑุ
ท้าวปาณฑุ เป็นพระโอรสของเจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาส ซึ่งเกิดจากพิธีที่เรียกว่า นิโยค มีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีผิวกายที่ขาวซีด เป็นน้องชายของท้าวธฤตราษฎร์และเป็นบิดาของปาณฑพทั้ง 5 มีพระชายา 2 พระองค์คือพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ครั้งหนึ่งเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วเสด็จประพาสป่า ได้ยิงธนูใส่กวางคู่หนึ่งที่กำลังสมสู่กันอยู่ แต่ปรากฏว่ากวางคู่นั้นเป็นฤๅษีกินทมะจำแลงกายเป็นกวาง ก่อนตายฤๅษีได้สาปแช่งท้าวปาณฑุว่า เมื่อใดที่ท่านสมสู่กับหญิงผู้ใดก็ตามขอให้ท่านได้ประสบถึงแก่ความตาย ทำให้ท้าวปาณฑุเสียใจมากจึงสละราชสมบัติแล้วเข้าป่าออกบวช ซึ่งชายาทั้ง 2 ก็ขอติดตามไปด้วย วันหนึ่งท้าวปาณฑุได้เข้าไปในป่ากับพระนางมาทรีเพื่อไปเก็บผลไม้และดอกไม้ ระหว่างนั้นได้เกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนางมาทรีขึ้น จึงทำให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจในเวลาต่อมาตามคำสาปของฤๅษีที่ได้สาปแช่งไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
โทรณาจารย์
ทรณะ (Droṇa) หรือ โทรณาจารย์ เป็นครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักหัสตินาปุระ และเป็นอาจารย์ของเหล่าตัวละครเอกในเรื่องมหาภารตะทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ ภายหลังเมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร โทรณะได้เป็นหนึ่งในแม่ทัพของฝ่ายเการพ จนกระทั่งเสียชีวิตลงด้วยน้ำมือของธฤษฏะทฺยุมัน ในสงครามครั้งนั้น.