โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศานตนุ

ดัชนี ศานตนุ

ท้าวศานตนุ เป็นโอรสของราชาประตีปะ ซึ่งครองกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ ส่วนตัวของท้าวศานตนุ มีพี่น้องรวมอุทร ๓ คน คือ เทวาปิ(ภายหลังได้รับพรให้เป็นอมตะไป)พี่คนโต พาหลีกะ หรือ วาหลีกะ น้องชายคนสุดท้าย และท้าวศานตนุเป็นคนกลาง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ในขณะนั้นได้เป็นผู้ให้กำเนิดบุคคลสำคัญของเรื่องมหากาพย์มหาภารตะอีกคนหนึ่ง นั่นก็คือ เจ้าชายเทวพรต หรือตอนหลังถูกขนานนามว่า ภีษมะ นั่นเอง ซึ่งเป็นพระโอรสของท้าวศานตนุและพระแม่คงคา หลังจากอยู่กินกับพระแม่คงคาได้ไม่นาน ก็ได้พระโอรสออกมาหนึ่งพระองค์ ท้าวศานตนุดีใจมาก แต่เมื่อจะเสด็จไปหาพระแม่คงคา ปรากฏว่าพระนางนั้นไม่อยู่กับที่ประทับ และกลับทิ้งพระโอรสลงไปในแม่น้ำ โดยทำอย่างนี้กับพระโอรสถึงเจ็ดพระองค์ด้วยกัน (เมื่อครั้งที่ท้าวศานตนุได้เจอกับพระแม่คงคานั้น ได้ให้สัญญาไว้ว่า จะไม่โกรธไม่เกลียดและจะไม่ซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่พระแม่คงคาทำทั้งสิ้น) แต่เมื่อพระแม่คงคาได้ให้ประสูติพระโอรสองค์ที่แปดออกมาท้าวศานตนุก็ทนไม่ไหวและซักถามพระแม่คงคา พระนางจึงตรัสบอกกับพระองค์ว่าจะนำพระโอรสองค์ที่ ๘ (ซึ่งก็คือเจ้าชายเทวพรตหรือภีษมะ) ไปเลี้ยงดูเอง หลังจากนั้น ๑๖ ปีพระแม่คงคาก็นำพระโอรสองค์ที่ ๘ มาคืนกับท้าวศานตนุ ท้าวศานตนุอยู่กับเจ้าชายเทวพรตอย่างมีความสุขมาประมาณ ๔ ปี และตั้งให้เจ้าชายเทวพรตเป็นพระยุพราช (ผู้มีตำแหน่งจะได้ครอบครองบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์) พระองค์ก็เจอกับลูกสาวชาวประมงซึ่งมีกลิ่นกายหอมมาก ชื่อว่า สัตยวดี จึงไปสู่ขอนางกับพ่อของนาง แต่พ่อของนางกลับบอกว่าต้องให้ลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีเป็นกษัตริย์ต่อจากท้าวศานตนุแทนเจ้าชายเทวพรต ท้าวศานตนุไม่ตรัสอะไรและกลับไปยังพระราชวัง จากนั้นก็ซึมเศร้าตลอดมา เจ้าชายเทวพรตจึงไปไถ่ถามกับสารถีของพระบิดาว่าเหตุใดหลังจากกลับมาแล้วพระองค์ดูเศร้าโศกผิดปกติ สารถีจึงตอบไปตามความ เจ้าชายเทวพรตเมื่อเห็นพระบิดาเศร้าโศกเสียพระทัยก็ไม่สบายใจจึงไปที่บ้านของชาวประมงและตกลงว่าพระองค์จะให้ตำแหน่งพระยุพราชแก่น้องชายที่เกิดจากท้าวศานตนุและนางสัตยวดี แต่พ่อของนางกลับไม่พอใจแค่นั้น กลับพูดทำนองที่ว่า "ข้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าลูกหลานที่เกิดจากท่าน เจ้าชายเทวพรต จะไม่มาชิงบัลลังก์ของหลานชายข้า" เจ้าชายเทวพรตก็ค่อนข้างหงุดหงิดแต่ก็ต้องการทำตามพระประสงค์ของพระบิดาจึงให้คำสาบานต่อฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์พระราชาและจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใดอีกตลอดชีวิตอย่างหนักแน่น จึงเป็นที่มาของชื่อที่รู้จักกันดีคือ ภีษมะ เมื่อท้าวศานตนุอภิเษกสมรสกับนางสัตยวดีไม่นานก็มีพระโอรสสองพระองค์คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ จากนั้นไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

6 ความสัมพันธ์: พระนางสัตยวดีพระแม่คงคาภีษมะราชา รวิ วรรมาวิจิตรวีรยะจิตรางคทะ

พระนางสัตยวดี

ท้าวศานตนุและนางสัตยวดี, ผลงานภาพวาดของ ราชา รวิ วรรมา พระนางสัตยวดี เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นลูกของกษัตริย์พระองค์หนึ่งกับนางอัปสรซึ่งถูกสาปให้เป็นปลากับ วันหนึ่งชาวประมงได้จับนางปลาออกมาผ่าท้อง เนื่องจากท้องโตผิดปกติ เมื่อผ่าออกมาดูปรากฏว่าเป็นเด็กผู้หญิง ซึ่งก็คือ พระนางสัตยวดี คนนี้นี่เอง ชาวประมงจึงเลี้ยงไว้ด้วยความสงสาร ในวัยเด็ก สัตยวดี มีกลิ่นตัวเป็นกลิ่นคาวปลาแรงมาก เพราะอาศัยอยู่ในท้องปลาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีชายใดหมายปอง แต่เมื่อฤๅษีตนหนึ่งผ่านมาชื่อว่า ฤๅษีปราศร ก็ถูกใจนางสัตยวดีมากเพราะเป็นคนสวยและจริง ๆ แล้วเป็นคนวรรณะกษัตริย์ ก็ให้พรโดยให้กลิ่นตัวของนางหายไป และกลายเป็นกลิ่นหอมของดอกไม้มาแทน จากนั้นฤๅษีปราศรกับนางสัตยวดีก็มีความสัมพันธ์กันและมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ ฤๅษีวยาส ซึ่งเป็นคนสำคัญในเรื่องมหาภารตะ เพราะเป็นปู่โดยตรงของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ และจะออกมาคลี่คลายปัญหาเป็นพัก ๆ ให้กับฝ่ายต่าง ๆ เมื่อนางสัตยวดีโตขึ้น พระราชาศานตนุก็มาเจอกับนางเข้าและถูกใจมาก แต่พ่อของนางขอไว้ว่าลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ ท้าวศานตนุไม่ตกลงในทันทีเพราะเห็นแก่ภีษมะ ลูกของพระองค์กับพระแม่คงคา แต่ผู้ให้สัญญานี้คือ ภีษมะ นั่นเอง พระนางสัตยวดีเมื่อแต่งงานกับพระราชาศานตนุก็มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ ซึ่งถือเป็นน้อยชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ ๒ คน กล่าวได้ว่าท้าวศานตนุมีผู้สืบเชื้อสายโดยตรง ๑๐ พระองค์ แต่ ๗ คนแรก พระแม่คงคาได้นำไปทิ้งลงสู่แม่น้ำ ท้าวภีษมะก็สาบานต่อฟ้าดินอย่างเคร่งครัดไว้ว่าจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใด จิตรางคทะก็ถูกคนธรรพ์ชื่อเหมือนกันท้ารบและถูกฆ่าตายในวัยเยาว์ ส่วนวิจิตรวีรยะแม้จะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงอัมพิกาและเจ้าหญิงอัมพาลิกาแล้ว แต่ก็ยังไม่มีพระโอรสสืบต่อพระราชบัลลังก์แม้แต่คนเดียว พระนางสัตยวดีเกรงว่าตนจะเป็นคนบาปที่ทำให้ราชวงศ์กุรุต้องสิ้นสุด จึงให้ฤๅษีวยาส ลูกนอกสมรสมาทำพิธีนิโยค (รับภรรยาของญาติที่เป็นหม้ายมาเป็นภรรยาเพื่อสืบเชื้อสายของวงศ์ตระกูลต่อไป) ทำให้ลูกของฤๅษีวยาสกับเจ้าหญิงอัมพิกาชื่อ ธฤตราษฎร์ (ตาบอดตั้งแต่เกิด แต่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นพระบิดาของฝ่ายเการพ), เจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาสชื่อ ปาณฑุ (มีสีผิวซีด สุขภาพไม่แข็งแรง แต่เป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระบิดาของปาณฑพทั้งห้าด้วย), นางกำนัลกับฤๅษีวยาสชื่อ วิทูร (ครบถ้วนสมบูรณ์ดี เป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรม) หลังจากที่พระราชาปาณฑุสิ้นพระชนม์ ฤๅษีวยาสก็แนะนำให้พระนางสัตยวดีไปบำเพ็ญเพียรช่วงสุดท้ายของชีวิตในป่า จะได้ไม่ต้องมารับรู้เรื่องที่หลาน ๆ เหลน ๆ จะมาฆ่าฟันกัน พระนางสัตยวดีเห็นดีด้วยจึงทำตามคำแนะนำของฤๅษีวยาส และออกป่าไปพร้อมกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกาและในเรื่องก็ไม่ได้พูดถึงอีก หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ศานตนุและพระนางสัตยวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: ศานตนุและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

ภีษมะ

"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ ราชา รวิ วรรมา "มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมบัติของพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา) ภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคา เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าวศานตนุก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง 16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้พระแม่คงคาจึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดยฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร,วิชารัฐศาสตร์โดยพระพฤหัสบดี และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือฤๅษีปรศุราม(ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้) ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ เจ้าหญิงอัมพา เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา มาเป็นมเหสีของวิจิตรวีรยะผู้เป็นน้องต่างมารดา (ตอนนั้นจิตรางคทะเสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย เจ้าหญิงอัมพาเกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับท้าวศัลวะ ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนางสัตยวดีและวิจิตรวีรยะตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัวเจ้าหญิงอัมพาให้ท้าวศัลวะ แต่ท้าวศัลวะไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป เจ้าหญิงอัมพาเสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ นางอัมพาโกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้ฤๅษีปรศุรามผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูกพระนารายณ์และพระศิวะห้ามไว้ก่อน เจ้าหญิงอัมพาจึงไม่สมหวังและขอพรกับเทพบุตรสันมุข พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าวทรุปัท พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของท้าวทรุปัทชื่อ ศิขัณทิน (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง) ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่ศิขัณทิน ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดยอรชุนระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม.

ใหม่!!: ศานตนุและภีษมะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชา รวิ วรรมา

ราชา รวิ วรรมา เป็นจิตกรและศิลปินผู้มีชื่อเสียงของอินเดีย เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของศิลปะอินเดียสำหรับเหตุผลทางด้านสุนทรียศาสตร์และกว้างขึ้นหลายประการ ประการแรกผลงานของราชา รวิ วรรมา ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการผสมผสานของเทคนิคยุโรปกับความรู้สึกของอินเดียอย่างหมดจด ในขณะที่ยังคงรักษาประเพณีและสุนทรียภาพของศิลปะอินเดียไว้ ประการที่สองเขาเป็นคนน่าจดจำสำหรับการพิมพ์ภาพราคาไม่แพงจากภาพวาดของเขาที่มีต่อสาธารณชนซึ่งช่วยเพิ่มการเข้าถึงและอิทธิพลของเขาในฐานะจิตรกรและบุคคลสาธารณะ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของราชา รวิ วรรมาส่วนมากมักเป็นภาพเทพเจ้าฮินดูและเรื่องราวจากวรรณคดีสันสฤตเรื่องต่าง ๆ เช่น มหาภารตะ รามายณะ ฯลฯ เป็นต้น.

ใหม่!!: ศานตนุและราชา รวิ วรรมา · ดูเพิ่มเติม »

วิจิตรวีรยะ

วิจิตรวีรยะ เป็นพระโอรสของท้าวศานตนุกับพระนางสัตยวดี มีศักดิ์เป็นน้องของท้าวภีษมะ แต่เป็นน้องแท้ ๆ ของจิตรางคทะ โดยวิจิตรวีรยะมีมเหสี ๒ พระองค์คือ เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา แต่ไม่มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกันเลย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ต้น ๆ เรื่องของมหากาพย์มหาภารตะด้วยโรคร้ายแรงหลังจากอภิเษกกับเจ้าหญิงทั้งสองได้ไม่นาน หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ศานตนุและวิจิตรวีรยะ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรางคทะ

จิตรางคทะ เป็นพระโอรสของท้าวศานตนุกับพระนางสัตยวดี มีศักดิ์เป็นน้องชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ และเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของวิจิตรวีรยะ สิ้นพระชนม์ก่อนวิจิตรวีรยะ เพราะมีคนธรรพ์ที่ชื่อเหมือนกัน คนธรรพ์จิตรางคทะไม่ต้องการให้มีคนชื่อเดียวกับตน จึงมาท้าสู้กับจิตรางคทะตัวต่อตัว เจ้าชายจิตรางคทะยังเยาว์วัยเกินไป และมีความสามารถไม่เท่ากับคนธรรพ์จึงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ศานตนุและจิตรางคทะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ท้าวศานตนุ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »