สารบัญ
11 ความสัมพันธ์: ภาษาสันสกฤตภาษาอังกฤษมหาภารตะราชวงศ์ปาณฑพราชวงศ์เการพศกุนิสงครามทุ่งกุรุเกษตรอัศวัตถามาทุรโยธน์ทุหศาสันโทรณาจารย์
ภาษาสันสกฤต
ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.
ภาษาอังกฤษ
ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).
มหาภารตะ
ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด.
ราชวงศ์ปาณฑพ
กซ้าย ภีมะ, อรชุน, ยุธิษฐิระ, ฝาแฝดนกุลและสหเทพ และพระนางเทราปตี ในเรื่องมหาภารตะ ปาณฑพ(ปาน-ดบ) เป็นกลุ่มพี่น้อง 5 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวปาณฑุ ประสูติจากพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ที่ร่ายเวทมนตร์อัญเชิญเทพมาประทานโอร.
ราชวงศ์เการพ
ทุรโยธน์ ผู้นำแห่งเการพ ในเรื่องมหาภารตะ เการพ เป็นกลุ่มพี่น้อง 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ ประสูติจากพระนางคานธารีธิดาของแห่งนครคันธาร.
ศกุนิ
ศกุนิ (สันสกฤต:शकुनि) พระราชาแห่งแคว้นคันธาระ เป็นโอรสของท้าวสุพลกับนางวสุมดี แห่งแคว้นคันธาระ มีอีกหลายชื่อเช่น เสาพละ,คันธารนเรศ,คันธารราช,สุพลราช มีมเหสีชื่อ นางอารศี มีบุตรชื่อ อุลูกะ และ วฤกาสุระ มีน้องสาว ชื่อ พระนางคานธารี เมื่อคราวที่ ท้าวธฤตราษฎร์ อภิเษกกับพระนางคานธารี ศกุนิจึงย้ายมาอยู่ที่หัสตินาปุระ ศกุนิไม่พอใจที่น้องสาวต้องแต่งงานกับท้าวธฤตราษฎร์ พระราชาตาบอด เขาจึงทำทุกวิถีทางที่จะทำลายราชวงศ์แห่งหัสตินาปุระ ศกุนิชอบเล่นสกา และมักโกงการเล่นสกา ว่ากันว่า ศกุนิได้นำอัฐิของท้าวสุพลมาทำเป็นลูกเต๋าสกา จึงสามารถควบคุมลูกเต๋าสกาได้ ศกุนิ คือ ปีศาจทวาบร ในเรื่อง พระนลและทมยันตี กลับชาติมาเกิด ศกุนิ ยังเป็นตัวแทนแห่งทวาปรยุคอีกด้วย ศกุนิได้วางแผนร้ายต่างๆในการทำลายเหล่าปาณฑพ เพื่อจะให้ทุรโยธน์ ผู้เป็นหลานได้ขึ้นเป็นใหญ่ เช่น ได้ยุยงให้ทุรโยธน์ในวัยเด็กวางยาพิษให้ภีมะกิน การจ้างปุโรจันให้สร้างพระราชวังที่ทำจากขี้ผึ้ง ชื่อ ลักษาคฤหะ ในวรรณาพรต และลอบวางเพลิง การขอร้องให้พญาตักษกนาคราชขโมยวัวในพิธีราชสูยะของยุธิษฐิระ การโกงการเล่นสกาและการเปลื้องพัสตราภรณ์ของพระนางเทราปทีในราชสภากรุงหัสตินาปุระ ศกุนิเล่นสกาโกงฝ่ายปาณฑพ ทำให้พี่น้องปาณฑพและพระนางเทราปที ต้องถูกเนรเทศเป็นเวลา 13 ปี ก่อนเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร ศกุนิได้วางแผนหลอกท้าวศัลยะ พระมาตุลาของฝ่ายปาณฑพให้มาอยู่ฝ่ายเการพ เมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตรเป็นระยะเวลา 18 วัน ในวันที่ 13 ศกุนิได้วางแผนที่จะสังหารอภิมันยุ โดยให้โทรณาจารย์ สร้างจักรพยุหะและยังได้ร่วมสังหารอภิมันยุอีกด้วย คืนวันที่ 16 ศกุนิขอให้พญาตักษกนาคราช มาสถิตเป็นศรนาคศาสตร์ให้กรรณะ คืนวันที่ 17 ศกุนิขอร้องให้พระนางคานธารี แก้ผ้าผูกตาของนางออก เพื่อจะทำให้ทุรโยธน์มีร่างกายแข็งแกร่งดังวัชระ ศกุนิถูกสหเทพใช้ขวานฟันคอตายในวันที่ 18 ของสงคราม หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
สงครามทุ่งกุรุเกษตร
ีษมะนอนบนเตียงธนู สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ในมหาภารตะ ทุ่งกุรุเกษตร เป็นที่ราบที่อยู่ใกล้ ๆ กับกรุงหัสตินาปุระ ที่ทั้งสองตระกูลคือปาณฑพและเการพใช้เป็นสมรภูมิรบ มีทหาร เจ้าชายและกษัตริย์จากแคว้นเมืองต่าง ๆ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่สมรภูมิรบแห่งนี้ ฝ่ายปาณฑพมีกำลังพลและหน่วยรบรวมกันทั้งหมด 7 อักเษาหิณี (ประมาณ 2 ล้านคน) และฝ่ายเการพ 11 อักเษาหิณี (ประมาณ 3 ล้านคน) ในสงครามหนนี้ มีผู้คนล้มตายไปราว ๆ 5 ล้านคน ที่รอดจากสงครามมาได้ก็มีเพียงฝ่ายปาณฑ.
ดู กฤปาจารย์และสงครามทุ่งกุรุเกษตร
อัศวัตถามา
อัศวัตถามา (สันสกฤต: अश्वत्थामा) มีอีกชื่อคือ เทราณี เป็นบุตรชายของโทรณาจารย์ ครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักนครหัสตินาปุระ และเป็นหลานของฤๅษีภรัทวาชะ อัศวัตถามาเป็นมหารถี (นักรบ) ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ในฝั่งเการพที่ต่อสู้กับฝั่งปาณฑพ อัศวัตถามาถือว่าเป็นอวตารหนึ่งใน ๑๙ อวตารของพระศิวะ หนึ่งในพระตรีมูรติทั้ง ๓ พระองค์ อัศวถามาได้ร่วมทำสงครามกุรุเกษตรโดยอยู่ฝั่งเการพเพราะอัศวัตถามาเป็นสหายของทุรโยธน์ พี่ชายคนโตของพี่น้องเการพ ด้วยเหตุนี้อัศวัตถามาจึงเข้าร่วมกับฝั่งเการพในสงครามทุ่งกุรุเกษตร อัศวัตถามาถือว่าเป็นนักรบไม่กี่คนของฝั่งเการพที่ไม่ตายในสงครามทุ่งกุรุเกษตร และในตอนท้ายของมหากาพย์มหาภารตะ อัศวัตถามาได้แอบเข้าไปสังหารธฤษฏัทยุมนะ ศิขัณฑี อุปปาณฑพ และเหล่าทหารของฝั่งปาณฑพ นอกจากนี้ยังใช้ศรพรหมเศียรพยายามฆ่าบุตรในครรภ์ของนางอุตตรา ชายาของอภิมันยุ พระกฤษณะจึงใช้จักรสุทรรศนะตัดอัญมณีบนหน้าผากของอัศวัตถามาออกพร้อมกับสาปให้อัศวัตถามามีหน้าตาหน้าเกลียดมีเลือดไหลออกจากร่างและไม่มีวันตายจนกว่าจะถึงการสิ้นสุดของโลกพร้อมกับต้องเร่ร่อนไม่มีใครจำได้ตลอดชั่วกัลปาวสาน หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารต.
ทุรโยธน์
ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์).
ทุหศาสัน
ทุหศาสัน เป็นโอรสองค์ที่สองของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีแห่งกรุงหัสตินาปุระ และเป็นน้องชายของทุรโยธน์ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นสกา การแข่งขันดำเนินไปอย่างยาวนาน ยุธิษฐิระเริ่มแพ้พนันสกาไปเรื่อย ๆ ทรัพย์สินและบ้านเมืองที่ใช้เดิมพันถูกทุรโยธน์ยึดไว้ทั้งหมด ยุธิษฐิระหน้ามืดตามัวเดิมพันตัวเองและน้อง ๆ ทั้งสี่ (คือ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ) แต่ก็แพ้ตกเป็นทาสของทุรโยธน์ ในที่สุดก็นำพระนางเทราปตี พระชายามาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์จึงให้ทุหศาสันลากตัวพระนางเทราปทีมาประจานที่กลางสภาเพื่อให้ทุกคนรับรู้ ทุหศาสันจิกผมนางและลากนางมาที่สภา ทุรโยธน์ออกคำสั่งให้ทุหศาสันเปลื้องผ้านางออก นางจึงขอให้พระกฤษณะ (ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ 8) ช่วยนาง พระองค์จึงเนรมิตผ้าสาหรี่ให้มีความยาวไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันดึงผ้านางอยู่นานก็ไม่มีทีท่าที่จะหมดไปจากกายนาง จนกระทั่งทุหศาสันหมดแรงไปเอง จากการกระทำอันชั่วช้าในครั้งนี้ ภีมะประกาศกร้าวที่จะฉีกอกทุหศาสันเอาเลือดจากอกมาดื่มกิน และเอาเลือดมาล้างผมพระนางเทราปทีเป็นการลบล้างมลทิน ต่อมาเมื่อเกิดศึกมหาภารตะที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายเการพของทุรโยธน์กับฝ่ายปาณฑพของยุธิษฐิระ ในวันที่ 16 ของสงครามทุ่งราบกุรุเกษตรนี้ ภีมะมีโอกาสได้สู้กับทุหศาสัน ภีมะฟาดกระะบองใส่ทุหศาสันจนล้มฟุบ แล้วตามไปกระชากแขนทั้งสองข้างจนขาดออกมาอย่างโหดเหี้ยม จากนั้นก็ฉีกอกทุหศาสันล้วงเอาเลือดออกมาดื่ม ตามคำสาบานที่เขาประกาศไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
โทรณาจารย์
ทรณะ (Droṇa) หรือ โทรณาจารย์ เป็นครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักหัสตินาปุระ และเป็นอาจารย์ของเหล่าตัวละครเอกในเรื่องมหาภารตะทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ ภายหลังเมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร โทรณะได้เป็นหนึ่งในแม่ทัพของฝ่ายเการพ จนกระทั่งเสียชีวิตลงด้วยน้ำมือของธฤษฏะทฺยุมัน ในสงครามครั้งนั้น.