โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาภารตะ

ดัชนี มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

47 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2475พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพลรามพระกฤษณะพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์พระนางสัตยวดีพระนางเทราปตีพระแม่คงคากรรณะกรุณา กุศลาสัยกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ภาษาสันสกฤตภีษมะภควัทคีตามหากาพย์ราชบัณฑิตราชวงศ์ปาณฑพราชวงศ์เการพรามายณะฤๅษีวยาสวิจิตรวีรยะวีระ ธีรภัทรศาสนาฮินดูสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสาวิตรีอักษรเทวนาครีอักเษาหิณีอัศวัตถามาอารีเฟน ฮะซานีอาทิบรรพอีเลียดจำนงค์ ทองประเสริฐจิตรางคทะธฤษฏัทยุมนะทุรโยธน์ทุหศาลาทุหศาสันท้าวทรุปัทคัมภีร์ประเทศอินเดียแสง มนวิทูรโอดิสซีย์โทรณาจารย์เรืองอุไร กุศลาสัยเจ้าหญิงอัมพา

พ.ศ. 2475

ทธศักราช 2475 ตรงกั.

ใหม่!!: มหาภารตะและพ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: มหาภารตะและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: มหาภารตะและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพลราม

ระพลราม พระพลราม (เทวนาครี: बलराम) เป็นบุตรของพระวาสุเทพ นางเทวกี และโยคะนิทรา ได้ย้ายไปอยู่ในครรภ์ของนางโหหิณี ภรรยาอีกคนของพระวาสุเทพ ซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านโคกุล พระพลรามเป็นพี่ชายของพระกฤษณะ ในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร พระพลรามได้วางตัวเป็นกลางไม่ยอมไปยุ่งเกี่ยวกับปาณฑพและเการพ ก็เพราะว่าภีมะ ในฝ่ายของปาณฑพ และทุรโยธน์ในฝ่ายของเการพ ต่างเป็นศิษย์ของพระพลรามด้วยกันทั้งคู่ สาเหตุที่พระพลรามเป็นอาจารย์ของภีมะและทุรโยธน์ ก็เพราะว่าโทรณาจารย์ได้ขอร้องให้ พระพลรามสอนวิชาตีตะบองให้กับภีมะและทุรโยธน์ อยู่มาวันหนึ่ง รุกมินได้ไปร่วมงานกับในงานพิธีหนึ่ง รุกมินได้พูดจาดูถูกเหยียดหยามพระกฤษณะและพระพลรามและก็ได้ถูกพระพลรามสังหาร ภรรยาของพระพลราม คือ นางเรวดี.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระพลราม · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

อำมาตย์เอก พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นนักเขียน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ท่านใช้นามปากกาหลายนาม ที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ "อ.น.ก.", "อุนิกา", "อนึก คำชูชีพ" และเป็นผู้ริเริ่มคำทักทายคำว่า "สวัสดี" และยังเป็นผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์หรือที่เรียกว่าอาจารย์ใหญ่ เป็นท่านแรกของประเทศไทย โดยกล่าวว่า "ฉันเป็นครู ตายแล้วขอเป็นครูต่อไป".

ใหม่!!: มหาภารตะและพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

มหาอำมาตย์โท พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือนามปากกว่า น.ม.. (10 มกราคม พ.ศ. 2419 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี" สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม..

ใหม่!!: มหาภารตะและพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางสัตยวดี

ท้าวศานตนุและนางสัตยวดี, ผลงานภาพวาดของ ราชา รวิ วรรมา พระนางสัตยวดี เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นลูกของกษัตริย์พระองค์หนึ่งกับนางอัปสรซึ่งถูกสาปให้เป็นปลากับ วันหนึ่งชาวประมงได้จับนางปลาออกมาผ่าท้อง เนื่องจากท้องโตผิดปกติ เมื่อผ่าออกมาดูปรากฏว่าเป็นเด็กผู้หญิง ซึ่งก็คือ พระนางสัตยวดี คนนี้นี่เอง ชาวประมงจึงเลี้ยงไว้ด้วยความสงสาร ในวัยเด็ก สัตยวดี มีกลิ่นตัวเป็นกลิ่นคาวปลาแรงมาก เพราะอาศัยอยู่ในท้องปลาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีชายใดหมายปอง แต่เมื่อฤๅษีตนหนึ่งผ่านมาชื่อว่า ฤๅษีปราศร ก็ถูกใจนางสัตยวดีมากเพราะเป็นคนสวยและจริง ๆ แล้วเป็นคนวรรณะกษัตริย์ ก็ให้พรโดยให้กลิ่นตัวของนางหายไป และกลายเป็นกลิ่นหอมของดอกไม้มาแทน จากนั้นฤๅษีปราศรกับนางสัตยวดีก็มีความสัมพันธ์กันและมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ ฤๅษีวยาส ซึ่งเป็นคนสำคัญในเรื่องมหาภารตะ เพราะเป็นปู่โดยตรงของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ และจะออกมาคลี่คลายปัญหาเป็นพัก ๆ ให้กับฝ่ายต่าง ๆ เมื่อนางสัตยวดีโตขึ้น พระราชาศานตนุก็มาเจอกับนางเข้าและถูกใจมาก แต่พ่อของนางขอไว้ว่าลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ ท้าวศานตนุไม่ตกลงในทันทีเพราะเห็นแก่ภีษมะ ลูกของพระองค์กับพระแม่คงคา แต่ผู้ให้สัญญานี้คือ ภีษมะ นั่นเอง พระนางสัตยวดีเมื่อแต่งงานกับพระราชาศานตนุก็มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ ซึ่งถือเป็นน้อยชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ ๒ คน กล่าวได้ว่าท้าวศานตนุมีผู้สืบเชื้อสายโดยตรง ๑๐ พระองค์ แต่ ๗ คนแรก พระแม่คงคาได้นำไปทิ้งลงสู่แม่น้ำ ท้าวภีษมะก็สาบานต่อฟ้าดินอย่างเคร่งครัดไว้ว่าจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใด จิตรางคทะก็ถูกคนธรรพ์ชื่อเหมือนกันท้ารบและถูกฆ่าตายในวัยเยาว์ ส่วนวิจิตรวีรยะแม้จะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงอัมพิกาและเจ้าหญิงอัมพาลิกาแล้ว แต่ก็ยังไม่มีพระโอรสสืบต่อพระราชบัลลังก์แม้แต่คนเดียว พระนางสัตยวดีเกรงว่าตนจะเป็นคนบาปที่ทำให้ราชวงศ์กุรุต้องสิ้นสุด จึงให้ฤๅษีวยาส ลูกนอกสมรสมาทำพิธีนิโยค (รับภรรยาของญาติที่เป็นหม้ายมาเป็นภรรยาเพื่อสืบเชื้อสายของวงศ์ตระกูลต่อไป) ทำให้ลูกของฤๅษีวยาสกับเจ้าหญิงอัมพิกาชื่อ ธฤตราษฎร์ (ตาบอดตั้งแต่เกิด แต่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นพระบิดาของฝ่ายเการพ), เจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาสชื่อ ปาณฑุ (มีสีผิวซีด สุขภาพไม่แข็งแรง แต่เป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระบิดาของปาณฑพทั้งห้าด้วย), นางกำนัลกับฤๅษีวยาสชื่อ วิทูร (ครบถ้วนสมบูรณ์ดี เป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรม) หลังจากที่พระราชาปาณฑุสิ้นพระชนม์ ฤๅษีวยาสก็แนะนำให้พระนางสัตยวดีไปบำเพ็ญเพียรช่วงสุดท้ายของชีวิตในป่า จะได้ไม่ต้องมารับรู้เรื่องที่หลาน ๆ เหลน ๆ จะมาฆ่าฟันกัน พระนางสัตยวดีเห็นดีด้วยจึงทำตามคำแนะนำของฤๅษีวยาส และออกป่าไปพร้อมกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกาและในเรื่องก็ไม่ได้พูดถึงอีก หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระนางสัตยวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเทราปตี

ระนางเทราปที (द्रौपदी) (อ่านว่า ทะเรา-ปะ-ที พยางค์หน้าออกเสียง/อะ/ กึ่งมาตรา) เป็นบุตรของท้าวทรุปัทและเป็นน้องสาวของธฤษฏัทยุมนะ มีต้นกำเนิดมาจากกองไฟยัญญะ ที่ฤๅษีได้ทำพิธีขึ้นมา เนื่องจากท้าวทรุปัทมีความแค้นโทรณาจารย์ที่ได้ให้ลูกศิษย์คือ อรชุน มาแก้แค้นและแพ้สงครามแก่อรชุน จึงแค้นใจตนเองว่าเหตุใดจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน จึงให้ฤๅษีกระทำพิธีขอบุตรชายที่รบและเก่งในการทำสงครามและบุตรสาวที่รูปงามเพื่อที่จะมาเป็นภรรยาของอรชุนในภายภาคหน้า ต่อมาท้าวทรุปัทได้ให้ทำพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที ปรากฏว่าอรชุนได้รับเลือกเป็นสามี แต่ต่อมาอรชุนได้ยกพระนางเทราปทีแก่เหล่าพี่น้องได้แก่ 1.ยุธิษฐิระ 2.ภีมะ 3.นกุล 4.สหเทพ ให้มาเป็นสามีร่วมกัน เนื่องจากพระนางกุนตีผู้เป็นพระมารดาของปาณฑพได้กล่าวให้แบ่งกันอย่างเท่าเทียมกันด้วยความไม่ได้ตั้งใจ และพวกปาณฑพเองต่างได้ถือคำพูดของมารดาเป็นวาจาสิทธิ์ นอกจากนั้นพระนางเทราปทียังเป็นชนวนเหตุของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย เพราะพระนางเทราปทีได้ถูกทุหศาสันลากมากระทำอนาจารที่กลางสถา ทำให้ฝ่ายปาณฑพแค้นมากจึงประกาศสงครามขึ้น นางเทราปทีได้ให้กำเนิดพระโอรสแก่พี่น้องปาณฑพทั้งห้า ดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระนางเทราปตี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: มหาภารตะและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

กรรณะ

กรรณะ (कर्ण) หรือ ราเธยะ (राधेय) เป็นตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตามเนื้อเรื่องแล้ว กรรณะเป็นบุตรของพระอาทิตย์และพระนางกุนตี ซึ่งพระนางกุนตีไม่ตั้งใจที่จะเรียกมนต์วิเศษให้พระอาทิตย์มาสมสู่กับตน แต่เมื่อนางเรียกมาแล้วก็ได้ลูกเป็นกรรณะคนนี้ แต่หลังจากนั้นจึงกลายเป็นสาวพรหมจรรย์ตามมนต์วิเศษ กรรณะ แปลว่า ผู้เกิดมาพร้อมเกราะและต่างหู กรรณะยังมีชื่ออื่นๆอีก ดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะและกรรณะ · ดูเพิ่มเติม »

กรุณา กุศลาสัย

กรุณา กุศลาสัย (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552) เป็นนักเขียนบทความและสารคดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และวัฒนธรรมอินเดีย ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลศรีบูรพา ประจำปี..

ใหม่!!: มหาภารตะและกรุณา กุศลาสัย · ดูเพิ่มเติม »

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ เป็นวรรณกรรมประเภทคำฉันท์ ส่วนใหญ่เป็นกาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์ สันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์แต่งกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ระหว่างที่พระยาราชสุภาวดีไปรับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช พราะยาราชสุภาวดีแต่งก่อนในตอนต้นแล้วอาราธนาพระภิกษุอินท์แต่งต่อตอนท้าย กฤษณาสอนน้องคำฉันท์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนกุลสตรีในสมัยนั้น มีเค้าโครงเรื่องมาจากมหาภารตะของอินเดีย เป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ต้นฉบับคงจะสูญหายไป พระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์จึงแต่งขึ้นใหม่ ดังกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า แม่คิงต๋.

ใหม่!!: มหาภารตะและกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: มหาภารตะและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภีษมะ

"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ ราชา รวิ วรรมา "มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมบัติของพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา) ภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคา เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าวศานตนุก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง 16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้พระแม่คงคาจึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดยฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร,วิชารัฐศาสตร์โดยพระพฤหัสบดี และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือฤๅษีปรศุราม(ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้) ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ เจ้าหญิงอัมพา เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา มาเป็นมเหสีของวิจิตรวีรยะผู้เป็นน้องต่างมารดา (ตอนนั้นจิตรางคทะเสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย เจ้าหญิงอัมพาเกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับท้าวศัลวะ ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนางสัตยวดีและวิจิตรวีรยะตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัวเจ้าหญิงอัมพาให้ท้าวศัลวะ แต่ท้าวศัลวะไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป เจ้าหญิงอัมพาเสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ นางอัมพาโกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้ฤๅษีปรศุรามผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูกพระนารายณ์และพระศิวะห้ามไว้ก่อน เจ้าหญิงอัมพาจึงไม่สมหวังและขอพรกับเทพบุตรสันมุข พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าวทรุปัท พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของท้าวทรุปัทชื่อ ศิขัณทิน (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง) ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่ศิขัณทิน ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดยอรชุนระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม.

ใหม่!!: มหาภารตะและภีษมะ · ดูเพิ่มเติม »

ภควัทคีตา

หนังสือภควัทคีตาฉบับภาษาสันสกฤต คัดลอกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระกฤษณะสำแดงร่างเป็นพระนารายณ์ ขณะสอนอนุศาสน์ภควัทคีตาแก่อรชุน ภควัทคีตา (สันสกฤต: भगवद्गीता, อ่านว่า "พะ-คะ-วัด-คี-ตา") เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า" นำเรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท.

ใหม่!!: มหาภารตะและภควัทคีตา · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ใหม่!!: มหาภารตะและมหากาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: มหาภารตะและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาณฑพ

กซ้าย ภีมะ, อรชุน, ยุธิษฐิระ, ฝาแฝดนกุลและสหเทพ และพระนางเทราปตี ในเรื่องมหาภารตะ ปาณฑพ(ปาน-ดบ) เป็นกลุ่มพี่น้อง 5 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวปาณฑุ ประสูติจากพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ที่ร่ายเวทมนตร์อัญเชิญเทพมาประทานโอร.

ใหม่!!: มหาภารตะและราชวงศ์ปาณฑพ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เการพ

ทุรโยธน์ ผู้นำแห่งเการพ ในเรื่องมหาภารตะ เการพ เป็นกลุ่มพี่น้อง 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ ประสูติจากพระนางคานธารีธิดาของแห่งนครคันธาร.

ใหม่!!: มหาภารตะและราชวงศ์เการพ · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะและรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษีวยาส

ฤๅษีวยาส (เทวนาครี:व्यास) เป็นโอรสของนางสัตยวดี กับฤๅษีปราศร และคลอดตรงบริเวณ เกาะกลางแม่น้ำยมุนามีชื่อเต็มว่า กฤษณไทวปายน แปลว่าผู้มีผิวคล้ำเกิดบนเกาะ ต่อมาเปลี่ยนเป็น วยาสแล้วออกบวชตามบิดาอยู่ในป่าหิมาลัย ต่อมานางสัตยวดีผู้เป็นมารดาได้ให้ไปทำนิโยคกับมเหสีม่าย ของวิจิตรวีรยะ น้องชายต่างบิดา จึงต้องหลับนอนกับมเหสีม่ายทั้งสองและนางกำนัลอีก1คน จนมีโอรสคือ ท้าวธฤตราษฎร์ ท้าวปาณฑุ และท้าววิทูร ต่อมาโอรสของท้าวธฤตราษฎร์และท้าวปาณฑุ แย่งบัลลังก์กันและล้มตายจำนวนนับล้าน ท่านฤๅษีเกิดความรันทด จึงต้องการบอกเล่าเรื่องราวของลูกหลานที่ฆ่าฟันกันเอง จึงเชิญ พระคเณศร์ มาเขียน เป็นที่มาของมหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:ศาสดา.

ใหม่!!: มหาภารตะและฤๅษีวยาส · ดูเพิ่มเติม »

วิจิตรวีรยะ

วิจิตรวีรยะ เป็นพระโอรสของท้าวศานตนุกับพระนางสัตยวดี มีศักดิ์เป็นน้องของท้าวภีษมะ แต่เป็นน้องแท้ ๆ ของจิตรางคทะ โดยวิจิตรวีรยะมีมเหสี ๒ พระองค์คือ เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา แต่ไม่มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกันเลย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ต้น ๆ เรื่องของมหากาพย์มหาภารตะด้วยโรคร้ายแรงหลังจากอภิเษกกับเจ้าหญิงทั้งสองได้ไม่นาน หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและวิจิตรวีรยะ · ดูเพิ่มเติม »

วีระ ธีรภัทร

วีระ ธีรภัทร (ใส่แว่น) วีระ ธีรภัทร นักจัดรายการวิทยุ นักเขียน คอลัมนิสต์ และพิธีกรชาวไทย ผู้มีลีลาและเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: มหาภารตะและวีระ ธีรภัทร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: มหาภารตะและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) และเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ยังเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ประสูติในสมัยรัตนโกสินทร์อีกด้วย ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี..

ใหม่!!: มหาภารตะและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส · ดูเพิ่มเติม »

สาวิตรี

วิตรี (Sāvitrī) มีความหมายว่า ผู้ยังให้เกิดแสงสว่าง ผู้ยังให้เกิดชีวิตใหม่ หรือผู้ขับเคลื่อน และอาจหมายถึง; วัฒนธรรมฮินดู.

ใหม่!!: มหาภารตะและสาวิตรี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: มหาภารตะและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อักเษาหิณี

อักเษาหิณี (บางที่ใช้ อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี) เป็นหน่วยนับจำนวนกองทัพของอินเดียโบราณ อักเษาหิณี (अक्षौहिणी - Akshauhini) มักถูกใช้วัดขนาดของกองทัพในวรรณกรรมอินเดียโบราณ (อย่างเช่นเรื่อง มหาภารตะ) บางตำราถือว่า 1 อักเษาหิณี ประกอบด้วยกองรบช้าง 21,870 เชือก, รถรบ 21,870 คัน กองรบม้า 65,610 ตัว, ทหารราบ 109,350 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะและอักเษาหิณี · ดูเพิ่มเติม »

อัศวัตถามา

อัศวัตถามา (สันสกฤต: अश्वत्थामा) มีอีกชื่อคือ เทราณี เป็นบุตรชายของโทรณาจารย์ ครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักนครหัสตินาปุระ และเป็นหลานของฤๅษีภรัทวาชะ อัศวัตถามาเป็นมหารถี (นักรบ) ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ในฝั่งเการพที่ต่อสู้กับฝั่งปาณฑพ อัศวัตถามาถือว่าเป็นอวตารหนึ่งใน ๑๙ อวตารของพระศิวะ หนึ่งในพระตรีมูรติทั้ง ๓ พระองค์ อัศวถามาได้ร่วมทำสงครามกุรุเกษตรโดยอยู่ฝั่งเการพเพราะอัศวัตถามาเป็นสหายของทุรโยธน์ พี่ชายคนโตของพี่น้องเการพ ด้วยเหตุนี้อัศวัตถามาจึงเข้าร่วมกับฝั่งเการพในสงครามทุ่งกุรุเกษตร อัศวัตถามาถือว่าเป็นนักรบไม่กี่คนของฝั่งเการพที่ไม่ตายในสงครามทุ่งกุรุเกษตร และในตอนท้ายของมหากาพย์มหาภารตะ อัศวัตถามาได้แอบเข้าไปสังหารธฤษฏัทยุมนะ ศิขัณฑี อุปปาณฑพ และเหล่าทหารของฝั่งปาณฑพ นอกจากนี้ยังใช้ศรพรหมเศียรพยายามฆ่าบุตรในครรภ์ของนางอุตตรา ชายาของอภิมันยุ พระกฤษณะจึงใช้จักรสุทรรศนะตัดอัญมณีบนหน้าผากของอัศวัตถามาออกพร้อมกับสาปให้อัศวัตถามามีหน้าตาหน้าเกลียดมีเลือดไหลออกจากร่างและไม่มีวันตายจนกว่าจะถึงการสิ้นสุดของโลกพร้อมกับต้องเร่ร่อนไม่มีใครจำได้ตลอดชั่วกัลปาวสาน หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารต.

ใหม่!!: มหาภารตะและอัศวัตถามา · ดูเพิ่มเติม »

อารีเฟน ฮะซานี

อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ) อารีเฟน ฮะซานี หรือในนามปากกา เฟน สตูดิโอ (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2500) นักเขียนการ์ตูนชาวไทย ประจำสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ในหนังสือการ์ตูนมหาสนุก สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ รามาวตาร และ ศึกมหาภารต.

ใหม่!!: มหาภารตะและอารีเฟน ฮะซานี · ดูเพิ่มเติม »

อาทิบรรพ

อาทิบรรพ คือ เรื่องราวบทแรกของมหาภารตะ จากทั้งหมด 25 ตอน โดยเรื่องราวของมหาภารตะเริ่มต้นจากการเปิดตำนานเล่าเรื่องโดยเริ่มต้นจากการลำดับวงศ์กษ้ตริย์แห่งราชวงศ์กุรุ ตำนานเริ่มจากพระราชาชื่อ ท้าวศานตนุแห่งราชวงศ์กุรุเป็นสำคัญ แต่เมื่อเล่าไปก็จะย้อนถึงจำนานกษัตริย์ในราชวงศ์กุรุถอยหลังขึ้นไปโดยละเอียด และพิสดารมากขึ้นตามการเสริมแต่งในเวลาต่อม.

ใหม่!!: มหาภารตะและอาทิบรรพ · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: มหาภารตะและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

จำนงค์ ทองประเสริฐ

ตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สาขาตรรกศาสตร์ ประจำราชบัณฑิตยสถาน มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก.

ใหม่!!: มหาภารตะและจำนงค์ ทองประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรางคทะ

จิตรางคทะ เป็นพระโอรสของท้าวศานตนุกับพระนางสัตยวดี มีศักดิ์เป็นน้องชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ และเป็นพี่ชายแท้ ๆ ของวิจิตรวีรยะ สิ้นพระชนม์ก่อนวิจิตรวีรยะ เพราะมีคนธรรพ์ที่ชื่อเหมือนกัน คนธรรพ์จิตรางคทะไม่ต้องการให้มีคนชื่อเดียวกับตน จึงมาท้าสู้กับจิตรางคทะตัวต่อตัว เจ้าชายจิตรางคทะยังเยาว์วัยเกินไป และมีความสามารถไม่เท่ากับคนธรรพ์จึงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและจิตรางคทะ · ดูเพิ่มเติม »

ธฤษฏัทยุมนะ

ธฤษฏัทยุมนะ (धृष्टद्युम्न, dhṛṣṭadyumna) คือตัวละครหนึ่งในมหากาพย์มหาภารตะ เป็นบุตรของท้าวทรุปัท ที่เกิดจากการประกอบพิธียัญญะบูชาตามพิธีพราหมณ์ หลังจากที่ท้าวทรุปัทพ่ายแพ้ต่ออรชุน และถูกจับตัวไปเป็นเชลย มอบให้กับ โทรณาจารย์ แต่ภายหลัง โทรณาจารย์ปล่อยตัวโดยขอดินแดนแคว้นปัญจาละ ครึ่งหนึ่ง ท้าวทรุปัทรู้สึกเจ็บแค้นและเสียใจที่ไม่มีบุตรชายสืบเชื้อสาย ในการประกอบพิธีในครั้งนั้น ทำให้ท้าวทรุปัท ได้บุตร สองคน คือ ธฤษฏัทยุมนะ และ พระนางเทราปตี (ภายหลังได้กลายเป็นมเหสีของพี่น้องปาณฑพ ทั้ง 5 คน) ในสงครามมหายุทธ ณ ทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะได้รับหน้าที่เป็นประธานเสนาบดี(แม่ทัพ)ฝ่ายปาณฑพ นำกำลังพลทั้งสิ้น 7 อักเษาหิณี (เป็นหน่วยนับจำนวนของอินเดียโบราณ) ภายหลังธฤษฏัทยุมนะได้ขอเข้ามาเป็นศิษย์ในสำนักของโทรณาจารย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาและยุทธวิทยาการรบ แต่ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะกลับเป็นคนที่สังหารโทรณาจารย์ ในการรบวันที่ 15 จากการรบทั้งสิ้น 18 วันโดยการใช้ดาบตัดศีรษะ การที่ศิษย์ต้องมาสังหารอาจารย์นั้นก็เพราะเป็นการล้างแค้นแทนท้าวทรุปัทผู้เป็นบิดาซึ่งถูกสังหารโดยโทรณาจารย์ ที่เป็นอาจารย์ของตนเอง นั่นนับเป็นอีกสิ่งเลวร้ายอีกหนึ่งอย่างในหลายๆ สิ่งในสงครามครั้งนั้น และในวันสุดท้ายของศึก ธฤษฏัทยุมนะ ก็ถูกสังหารโดยอัศวัตถามา บุตรชายของโทรณาจารย์โดยการใช้ดาบตัดศีรษะเพื่อล้างแค้นให้บิดาเช่นกัน หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและธฤษฏัทยุมนะ · ดูเพิ่มเติม »

ทุรโยธน์

ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์).

ใหม่!!: มหาภารตะและทุรโยธน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทุหศาลา

ทุหศาลา เป็นธิดาคนสุดท้องของท้าวธฤตราษฎร์และพระนางคานธารี ในบรรดาพี่น้องเการพทั้งหมด และเป็นชายาของชัยทรัถ ซึ่งไม่มีบทบาทอะไรมากนักในเรื่อง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและทุหศาลา · ดูเพิ่มเติม »

ทุหศาสัน

ทุหศาสัน เป็นโอรสองค์ที่สองของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีแห่งกรุงหัสตินาปุระ และเป็นน้องชายของทุรโยธน์ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นสกา การแข่งขันดำเนินไปอย่างยาวนาน ยุธิษฐิระเริ่มแพ้พนันสกาไปเรื่อย ๆ ทรัพย์สินและบ้านเมืองที่ใช้เดิมพันถูกทุรโยธน์ยึดไว้ทั้งหมด ยุธิษฐิระหน้ามืดตามัวเดิมพันตัวเองและน้อง ๆ ทั้งสี่ (คือ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ) แต่ก็แพ้ตกเป็นทาสของทุรโยธน์ ในที่สุดก็นำพระนางเทราปตี พระชายามาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์จึงให้ทุหศาสันลากตัวพระนางเทราปทีมาประจานที่กลางสภาเพื่อให้ทุกคนรับรู้ ทุหศาสันจิกผมนางและลากนางมาที่สภา ทุรโยธน์ออกคำสั่งให้ทุหศาสันเปลื้องผ้านางออก นางจึงขอให้พระกฤษณะ (ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ 8) ช่วยนาง พระองค์จึงเนรมิตผ้าสาหรี่ให้มีความยาวไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันดึงผ้านางอยู่นานก็ไม่มีทีท่าที่จะหมดไปจากกายนาง จนกระทั่งทุหศาสันหมดแรงไปเอง จากการกระทำอันชั่วช้าในครั้งนี้ ภีมะประกาศกร้าวที่จะฉีกอกทุหศาสันเอาเลือดจากอกมาดื่มกิน และเอาเลือดมาล้างผมพระนางเทราปทีเป็นการลบล้างมลทิน ต่อมาเมื่อเกิดศึกมหาภารตะที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายเการพของทุรโยธน์กับฝ่ายปาณฑพของยุธิษฐิระ ในวันที่ 16 ของสงครามทุ่งราบกุรุเกษตรนี้ ภีมะมีโอกาสได้สู้กับทุหศาสัน ภีมะฟาดกระะบองใส่ทุหศาสันจนล้มฟุบ แล้วตามไปกระชากแขนทั้งสองข้างจนขาดออกมาอย่างโหดเหี้ยม จากนั้นก็ฉีกอกทุหศาสันล้วงเอาเลือดออกมาดื่ม ตามคำสาบานที่เขาประกาศไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะและทุหศาสัน · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวทรุปัท

ท้าวทรุปัท หรือ ท้าวยัชนเสน เป็นกษัตริย์ครองแคว้นปัญจาละ เป็นบิดาของศิขัณฑี ธฤษฏัทยุมนะ และพระนางเทราปตี (2 คนหลังเกิดจากการทำพิธี) ต่อมาโทรณาจารย์ได้ให้เหล่าลูกศิษย์จับตัวท้าวทรุปัทมาให้ตน ซึ่งเป็นพิธีคุรุทักษิณา โดยทุรโยธน์นำน้อง ๆ บุกตะลุยก่อนแต่ถูกท้าวทรุปัทตีทัพพ่ายกลับมา ต่อมาปาณฑพทั้ง 5 ได้มาต่อสู้กับท้าวทรุปัทอีกครั้ง ท้าวทรุปัทรบแพ้อรชุนและจับตัวไปให้คุรุโทรณาจารย์ แต่โทรณาจารย์ปล่อยตัวไปแต่ได้ขอดินแดนปัญจาละไว้ครึ่งหนึ่ง ท้าวทรุปัทรู้สึกน้อยใจว่าเหตุใดตนจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน ทำให้ท้าวทรุปัทอยากได้อรชุนมาเป็นลูกเขยจึงได้ให้ฤๅษีทำพิธีขอบุตรให้กับตน 2 คน คือ ธฤษฏัทยุมนะ จุดมุ่งหมายคือสังหารโทรณาจารย์ และพระนางเทราปทีเพื่อเป็นชายาของอรชุน ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร ท้าวทรุปัทได้เข้าร่วมกำลังรบกับฝ่ายปาณฑพ และถูกโทรณาจารย์ คู่อริสังหารด้วยดาบในการรบวันที่ 15 ของสงครามทุ่งกุรุเกษตร.

ใหม่!!: มหาภารตะและท้าวทรุปัท · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์

ัมภีร์ (religious text; holy writ; holy books; scripture; scriptures) หมายถึง ตำราที่ยกย่องหรือนับถือว่าสำคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: มหาภารตะและคัมภีร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: มหาภารตะและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

แสง มนวิทูร

ตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 -7 ตุลาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักวิชาการด้านภาษาบาลีและสันสกฤตของ กรมศิลปากร และศาสตราจารย์พิเศษคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรับหน้าที่ในการสอนภาษาสันสกฤต บาลี และศาสนา ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีผลงานแปลจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก อาทิ ชินกาลมาลีปกรณ์ ศาสนวงศ์ สิหิงคนิทาน รัตนพิมพวงศ์ รสวาหินี นาฏยศาสตร์ คัมภีร์ลลิตวิสตระ และภควัทคีตา เป็นต้น.

ใหม่!!: มหาภารตะและแสง มนวิทูร · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสซีย์

โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์ โอดีสซีย์ (Odyssey; Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีกD.C.H. Rieu's introduction to The Odyssey (Penguin, 2003), p. xi.

ใหม่!!: มหาภารตะและโอดิสซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรณาจารย์

ทรณะ (Droṇa) หรือ โทรณาจารย์ เป็นครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักหัสตินาปุระ และเป็นอาจารย์ของเหล่าตัวละครเอกในเรื่องมหาภารตะทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ ภายหลังเมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร โทรณะได้เป็นหนึ่งในแม่ทัพของฝ่ายเการพ จนกระทั่งเสียชีวิตลงด้วยน้ำมือของธฤษฏะทฺยุมัน ในสงครามครั้งนั้น.

ใหม่!!: มหาภารตะและโทรณาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

เรืองอุไร กุศลาสัย

ตราจารย์พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย (สกุลเดิม: หิญชีระนันทน์; 21 มิถุนายน พ.ศ. 2463 – 31 มกราคม พ.ศ. 2561) เป็นนักเขียน นักแปล ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีชื่อเสียงจากหนังสือและบทความเกี่ยวกับประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับกรุณา กุศลาสัย ซึ่งเป็นสามี ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลนราธิป ประจำปี..

ใหม่!!: มหาภารตะและเรืองอุไร กุศลาสัย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอัมพา

เจ้าหญิงอัมพา ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เป็น เจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี เป็นพี่สาวของ อัมพิกาและอัมพาลิกา เมื่อถึงพิธีสยุมพรให้เจ้าหญิงทั้งสามเลือกคู่ กับเจ้าชายเมืองต่างๆ ภีษมะ ต้องการให้เจ้าหญิงทั้งสาม เป็นมเหสีของ วิจิตรวีรยะ น้องชายต่างมารดา แต่เนื่องจากว่าเจ้าหญิงอัมพามีใจให้กับราชาศาลวะ แต่ภีษมะกระทำรากษสวิวาห์ ศาลวะจึงคิดว่าอัมพาเป็นสมบัติของภีษมะ แม้อัมพาจะอธิบายอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้ายราชาศาลวะก็ไม่ต้องการอัมพา ทำให้อัมพาไปหาภีษมะอีกครั้ง แต่ภีษมะไม่รับรับนางเป็นชายา อัมพาจึงสรรหาผู้ที่จะสังหารภีษมะแต่ไม่มีใครอาสา อัมพาจึงบำเพ็ญตบะแด่พระขันธกุมาร พระขันธกุมารจึงมอบพวงมาลัย (คนที่สวมพวงมาลัยจะสังหารภีษมะได้) แต่ไม่มีราชาคนใดอาสาสังหารภีษมะ จนถึงแคว้นปัญจาละของท้าวทรุปัท นางจึงแขวนพวงมาลัยไว้หน้าเมือง แล้วจึงขอพรพระศิวะ ให้ตนเกิดใหม่เป็นผู้นำความตายสู่ภีษมะ และเผาตนเองในกองไฟ แล้วไปเกิดใหม่เป็น ศิขัณฑิณ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ en:Amba (Mahabharata).

ใหม่!!: มหาภารตะและเจ้าหญิงอัมพา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหากาพย์มหาภารตะสหเทพนกุล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »