โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทุรโยธน์

ดัชนี ทุรโยธน์

ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์).

11 ความสัมพันธ์: พระนางคานธารีภีษมะมหากาพย์มหาภารตะยุยุตสุราชวงศ์เการพศกุนิทุหศาลาทุหศาสันท้าวธฤตราษฎร์ท้าวปาณฑุ

พระนางคานธารี

คานธารี เป็นธิดาของท้าวสุพล แห่งนครคันธาระ มีพี่ชายชื่อศกุนิผู้เลวทราม เมื่อพระนางคานธารี รู้ว่าต้องอภิเษกกับท้าวธฤตราษฎร์ สามีตาบอด นางได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณถวายความภักดี โดยใช้ผ้าผูกตาให้มืดมิดเหมือนสวามีชั่วชีวิต พระนางมีโอรส 100 คนและธิดาอีก 1 พระองค์ โดยมีทุรโยธน์ เป็นพี่ใหญ่ มีนิสัยอันธพาลชาติชั่ว เหมือนศกุนิผู้เป็นลุง พระนางคานธารี เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรมมาโดยตลอด แต่ไม่ทัดทานนิสัยของลูกๆ และพี่ชายได้เลย จึงปล่อยไปตามยถากรรม จึงเกิดศึกมหาภารตะของปาณฑพ และเการพขึ้น เนื่องจากศึกมหาภารตะ ทำให้ลูกของนางและพี่ชายตายจนหมด นางแค้นใจพระกฤษณะผู้ชี้ทางแก่ปาณฑพ จนสังหารลูกของนางตายจนเกลี้ยง จึงสาปแช่งพระกฤษณะ และวงศาคณาญาติให้รบราฆ่าฟันสังหารกันเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และพระนางคานธารี · ดูเพิ่มเติม »

ภีษมะ

"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ ราชา รวิ วรรมา "มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมบัติของพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา) ภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคา เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าวศานตนุก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง 16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้พระแม่คงคาจึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดยฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร,วิชารัฐศาสตร์โดยพระพฤหัสบดี และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือฤๅษีปรศุราม(ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้) ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ เจ้าหญิงอัมพา เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา มาเป็นมเหสีของวิจิตรวีรยะผู้เป็นน้องต่างมารดา (ตอนนั้นจิตรางคทะเสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย เจ้าหญิงอัมพาเกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับท้าวศัลวะ ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนางสัตยวดีและวิจิตรวีรยะตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัวเจ้าหญิงอัมพาให้ท้าวศัลวะ แต่ท้าวศัลวะไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป เจ้าหญิงอัมพาเสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ นางอัมพาโกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้ฤๅษีปรศุรามผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูกพระนารายณ์และพระศิวะห้ามไว้ก่อน เจ้าหญิงอัมพาจึงไม่สมหวังและขอพรกับเทพบุตรสันมุข พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าวทรุปัท พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของท้าวทรุปัทชื่อ ศิขัณทิน (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง) ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่ศิขัณทิน ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดยอรชุนระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และภีษมะ · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และมหากาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุยุตสุ

ยุยุตสุ เป็นน้องชายต่างมารดาที่เกิดจากท้าวธฤตราษฎร์กับนางสนมเสาวาลีคนเดียวของทุรโยธน์ ในเรื่องไม่มีบทบาทมากนัก แต่เมื่อคราวที่ยุธิษฐิระเดินลงจากรถศึกเพื่อไปขอขมาจากท้าวภีษมะ ผู้เป็นปู่ และ โทรณาจารย์, กฤปาจารย์ ผู้เป็นอาจารย์, ท้าวศัลยะ ผู้เป็นลุง ยุธิษฐิระได้ถามเป็นครั้งสุดท้ายว่าจะมีผู้ใดที่จะเปลี่ยนฝ่ายมาเป็นฝ่ายปาณฑพหรือไม่ ยุยุตสุก็เกิดเปลี่ยนใจเพราะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของฝ่ายเการพเสมอมา จึงเปลี่ยนมาเข้ากับฝ่ายปาณฑพและช่วยรบอย่างแข็งขัน เมื่อสิ้นสุดสงคราม ได้เป็นมหามนตรีที่ปรึกษาช่วยดูแลราชการงานเมืองของ ยุธิษฐิระ และ เจ้าชายปรีกษิต โอรสของอภิมันยุที่ครองกรุงหัสตินาปุระอีกด้วย หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และยุยุตสุ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เการพ

ทุรโยธน์ ผู้นำแห่งเการพ ในเรื่องมหาภารตะ เการพ เป็นกลุ่มพี่น้อง 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ ประสูติจากพระนางคานธารีธิดาของแห่งนครคันธาร.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และราชวงศ์เการพ · ดูเพิ่มเติม »

ศกุนิ

ศกุนิ (สันสกฤต:शकुनि) พระราชาแห่งแคว้นคันธาระ เป็นโอรสของท้าวสุพลกับนางวสุมดี แห่งแคว้นคันธาระ มีอีกหลายชื่อเช่น เสาพละ,คันธารนเรศ,คันธารราช,สุพลราช มีมเหสีชื่อ นางอารศี มีบุตรชื่อ อุลูกะ และ วฤกาสุระ มีน้องสาว ชื่อ พระนางคานธารี เมื่อคราวที่ ท้าวธฤตราษฎร์ อภิเษกกับพระนางคานธารี ศกุนิจึงย้ายมาอยู่ที่หัสตินาปุระ ศกุนิไม่พอใจที่น้องสาวต้องแต่งงานกับท้าวธฤตราษฎร์ พระราชาตาบอด เขาจึงทำทุกวิถีทางที่จะทำลายราชวงศ์แห่งหัสตินาปุระ ศกุนิชอบเล่นสกา และมักโกงการเล่นสกา ว่ากันว่า ศกุนิได้นำอัฐิของท้าวสุพลมาทำเป็นลูกเต๋าสกา จึงสามารถควบคุมลูกเต๋าสกาได้ ศกุนิ คือ ปีศาจทวาบร ในเรื่อง พระนลและทมยันตี กลับชาติมาเกิด ศกุนิ ยังเป็นตัวแทนแห่งทวาปรยุคอีกด้วย ศกุนิได้วางแผนร้ายต่างๆในการทำลายเหล่าปาณฑพ เพื่อจะให้ทุรโยธน์ ผู้เป็นหลานได้ขึ้นเป็นใหญ่ เช่น ได้ยุยงให้ทุรโยธน์ในวัยเด็กวางยาพิษให้ภีมะกิน การจ้างปุโรจันให้สร้างพระราชวังที่ทำจากขี้ผึ้ง ชื่อ ลักษาคฤหะ ในวรรณาพรต และลอบวางเพลิง การขอร้องให้พญาตักษกนาคราชขโมยวัวในพิธีราชสูยะของยุธิษฐิระ การโกงการเล่นสกาและการเปลื้องพัสตราภรณ์ของพระนางเทราปทีในราชสภากรุงหัสตินาปุระ ศกุนิเล่นสกาโกงฝ่ายปาณฑพ ทำให้พี่น้องปาณฑพและพระนางเทราปที ต้องถูกเนรเทศเป็นเวลา 13 ปี ก่อนเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร ศกุนิได้วางแผนหลอกท้าวศัลยะ พระมาตุลาของฝ่ายปาณฑพให้มาอยู่ฝ่ายเการพ เมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตรเป็นระยะเวลา 18 วัน ในวันที่ 13 ศกุนิได้วางแผนที่จะสังหารอภิมันยุ โดยให้โทรณาจารย์ สร้างจักรพยุหะและยังได้ร่วมสังหารอภิมันยุอีกด้วย คืนวันที่ 16 ศกุนิขอให้พญาตักษกนาคราช มาสถิตเป็นศรนาคศาสตร์ให้กรรณะ คืนวันที่ 17 ศกุนิขอร้องให้พระนางคานธารี แก้ผ้าผูกตาของนางออก เพื่อจะทำให้ทุรโยธน์มีร่างกายแข็งแกร่งดังวัชระ ศกุนิถูกสหเทพใช้ขวานฟันคอตายในวันที่ 18 ของสงคราม หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และศกุนิ · ดูเพิ่มเติม »

ทุหศาลา

ทุหศาลา เป็นธิดาคนสุดท้องของท้าวธฤตราษฎร์และพระนางคานธารี ในบรรดาพี่น้องเการพทั้งหมด และเป็นชายาของชัยทรัถ ซึ่งไม่มีบทบาทอะไรมากนักในเรื่อง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และทุหศาลา · ดูเพิ่มเติม »

ทุหศาสัน

ทุหศาสัน เป็นโอรสองค์ที่สองของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีแห่งกรุงหัสตินาปุระ และเป็นน้องชายของทุรโยธน์ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นสกา การแข่งขันดำเนินไปอย่างยาวนาน ยุธิษฐิระเริ่มแพ้พนันสกาไปเรื่อย ๆ ทรัพย์สินและบ้านเมืองที่ใช้เดิมพันถูกทุรโยธน์ยึดไว้ทั้งหมด ยุธิษฐิระหน้ามืดตามัวเดิมพันตัวเองและน้อง ๆ ทั้งสี่ (คือ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ) แต่ก็แพ้ตกเป็นทาสของทุรโยธน์ ในที่สุดก็นำพระนางเทราปตี พระชายามาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์จึงให้ทุหศาสันลากตัวพระนางเทราปทีมาประจานที่กลางสภาเพื่อให้ทุกคนรับรู้ ทุหศาสันจิกผมนางและลากนางมาที่สภา ทุรโยธน์ออกคำสั่งให้ทุหศาสันเปลื้องผ้านางออก นางจึงขอให้พระกฤษณะ (ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ 8) ช่วยนาง พระองค์จึงเนรมิตผ้าสาหรี่ให้มีความยาวไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันดึงผ้านางอยู่นานก็ไม่มีทีท่าที่จะหมดไปจากกายนาง จนกระทั่งทุหศาสันหมดแรงไปเอง จากการกระทำอันชั่วช้าในครั้งนี้ ภีมะประกาศกร้าวที่จะฉีกอกทุหศาสันเอาเลือดจากอกมาดื่มกิน และเอาเลือดมาล้างผมพระนางเทราปทีเป็นการลบล้างมลทิน ต่อมาเมื่อเกิดศึกมหาภารตะที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายเการพของทุรโยธน์กับฝ่ายปาณฑพของยุธิษฐิระ ในวันที่ 16 ของสงครามทุ่งราบกุรุเกษตรนี้ ภีมะมีโอกาสได้สู้กับทุหศาสัน ภีมะฟาดกระะบองใส่ทุหศาสันจนล้มฟุบ แล้วตามไปกระชากแขนทั้งสองข้างจนขาดออกมาอย่างโหดเหี้ยม จากนั้นก็ฉีกอกทุหศาสันล้วงเอาเลือดออกมาดื่ม ตามคำสาบานที่เขาประกาศไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และทุหศาสัน · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวธฤตราษฎร์

ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นโอรสในนามของวิจิตรวีรยะและอัมพิกา แต่ที่จริงเป็นบุตรของฤๅษีวยาส กับการนิโยคกับอัมพิกา จึงได้บุตรชายชื่อ ท้าวธฤตราษฎร์ ผู้มีนัยน์ตาบอด พระองค์มีมเหสีชื่อ พระนางคานธารีและมีบุตร 100 คนและธิดา 1 องค์ เรียกว่า เการพ และมีบุตรกับนางสนม 1 คนคือ ยุยุตสุ ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกรุงหัสตินาปุระ เป็นคนอ่อนไหว ใจโลเล และลำเอียง ไม่อบรมสอนสั่งลูก จึงเป็นเหตุให้ทุรโยธน์มีใจชั่วร้าย กระทำเลวร้ายต่อฝ่ายปาณฑพ และเป็นเหตุให้เกิดสงครามมหาภารตะขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และท้าวธฤตราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวปาณฑุ

ท้าวปาณฑุ เป็นพระโอรสของเจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาส ซึ่งเกิดจากพิธีที่เรียกว่า นิโยค มีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีผิวกายที่ขาวซีด เป็นน้องชายของท้าวธฤตราษฎร์และเป็นบิดาของปาณฑพทั้ง 5 มีพระชายา 2 พระองค์คือพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ครั้งหนึ่งเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วเสด็จประพาสป่า ได้ยิงธนูใส่กวางคู่หนึ่งที่กำลังสมสู่กันอยู่ แต่ปรากฏว่ากวางคู่นั้นเป็นฤๅษีกินทมะจำแลงกายเป็นกวาง ก่อนตายฤๅษีได้สาปแช่งท้าวปาณฑุว่า เมื่อใดที่ท่านสมสู่กับหญิงผู้ใดก็ตามขอให้ท่านได้ประสบถึงแก่ความตาย ทำให้ท้าวปาณฑุเสียใจมากจึงสละราชสมบัติแล้วเข้าป่าออกบวช ซึ่งชายาทั้ง 2 ก็ขอติดตามไปด้วย วันหนึ่งท้าวปาณฑุได้เข้าไปในป่ากับพระนางมาทรีเพื่อไปเก็บผลไม้และดอกไม้ ระหว่างนั้นได้เกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนางมาทรีขึ้น จึงทำให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจในเวลาต่อมาตามคำสาปของฤๅษีที่ได้สาปแช่งไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ทุรโยธน์และท้าวปาณฑุ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »