เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อาการเพ้อ

ดัชนี อาการเพ้อ

อาการเพ้อ (delirium) หรือภาวะสับสนเฉียบพลัน (acute confusional state) เป็นการเสื่อมจากระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้เดิมที่เคยมีอันมีสาเหตุจากพยาธิสภาพทางกาย ตรงแบบเป็นขึ้น ๆ ลง ๆ ขาดความใส่ใจและความไม่สมประกอบของพฤติกรรมอย่างรุนแรงทั่วไป ตรงแบบเกี่ยวข้องกับการขาดการรู้อย่างอื่น สภาวะตื่นตัวเปลี่ยนแปลง (ตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม) การขาดการรับรู้ วงจรหลับ-ตื่นเปลี่ยนแปลงและลักษณะโรคจิตอย่างประสาทหลอนและอาการหลงผิด อาการเพ้อเองมิใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการทางคลินิก ซึ่งมีสาเหตุจากโรคพื้นเดิม จากยารักษาโรคที่ให้ระหว่างการรักษาโรคนั้นในระยะวิกฤต จากปัญหาใหม่ทีมีการคิดหรือจากปัจจัยเหล่านี้ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปผสมกัน เกณฑ์การวินิจฉัยอาการเพ้อไม่สามารถทำได้หากไม่มีการประเมินหรือความรู้มาก่อนซึ่งระดับเส้นฐานการทำหน้าที่รู้ของบุคคลที่เป็นนั้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้พิการทางจิตหรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมซึ่งกำลังทำงานที่ระดับความสามารถทางจิตเส้นฐานจะถูกคาดว่าดูมีอาการเพ้อหากไม่มีสถานะการทำหน้าที่ของจิตเส้นฐานให้เปรียบเทียบ อาการเพ้ออาจแสดงตื่นตัวมาก ตื่นตัวน้อยหรือผสม ในรูปตื่นตัวมาก อาการแสดงเป็นความสับสนและความงุนงงสับสนรุนแรง ดำเนินโดยมีการเริ่มต้นค่อนข้างเร็วและมีความรุนแรงขึ้น ๆ ลง ๆ ในรูปตื่นตัวน้อย อาการแสดงโดยการถอนตัวจากอันตรกิริยากับโลกภายนอกเฉียบพลันเท่ากัน อาการเพ้ออาจเกิดในรูปผสม ซึ่งบางคนอาจขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างทั้งระยะตื่นตัวมากและตื่นตัวน้อย อาการเพ้อเป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า ทว่า พบว่าเกิดในผู้ป่วยอายุน้อยและสูงอายุได้ในอัตราพอ ๆ กันเมื่อเกิดในระหว่างการเจ็บป่วยวิกฤต อาการเพ้ออาจเกิดจากกระบวนการของโรคนอกสมองแต่มีผลต่อสมอง เช่น การติดเชื้อ (การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปอดบวม) หรือผลของยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอนติโคลิเนอร์จิกหรือยากดระบบประสาทส่วนกลางอื่น (เบนโซไดอาซีพีนและโอปิออยด์) แม้ประสาทหลอนและอาการหลงผิดปรากฏในอาการเพ้อบ้าง แต่ไม่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัย และอาการของอาการเพ้อทางคลินิกต่างจากอาการที่เกิดจากการชักนำโดยโรคจิตหรือสารก่อประสาทหลอน (ยกเว้นสารก่ออาการเพ้อ) ตามบทนิยาม อาการเพ้อต้องเกิดจากกระบวนการทางกาย เช่น ปัญหาทางโครงสร้าง การทำหน้าที่หรือเคมีที่สามารถระบุได้เชิงกายภาพในสมอง ฉะนั้น การคิดขึ้น ๆ ลง ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการหรือโรคจิตเวช เช่น โรคจิตเฉียบพลันจากจิตเภทหรือโรคอารมณ์สองขั้วจึงไม่เรียกอาการเพ้อ เช่นเดียวกับองค์ประกอบของมัน (การไม่สามารถมุ่งความใส่ใจ ความสับสนทางจิตและการบกพร่องของความตระหนักหลายอย่างและการรับรู้กาลเทศะ) อาการเพ้อเป็นการปรากฏอาการทั่วไปของการทำหน้าที่ผิดปรกติของสมองจากพยาธิสภาพทางกายใหม่ (ไม่ว่าด้วยเหตุใด) อาการเพ้อต้องมีทั้งการเปลี่ยนแปลงการคิดเฉียบพลันและสาเหตุทางกาย ฉะนั้น หากไม่มีการประเมินโดยระวังและประวัติ อาการเพ้อสามารถสับสนกับความผิดปกติจิตเวชจำนวนหนึ่งหรือกลุ่มอาการของสมองจากพยาธิสภาพทางกายระยะยาวได้ง่าย เพราะอาการและอาการแสดงหลายอย่างของอาการเพ้อเป็นภาวะที่ยังพบในโรคสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้าและโรคจิต อาการเพ้ออาจปรากฏใหม่บนพื้นหลังความเจ็บป่วยทางจิต ความพิการทางเชาวน์ปัญญาเส้นฐานหรือโรคสมองเสื่อม โดยไม่จำเป็นต้องเกิดจากปัญหาดังกล่าว การรักษาอาการเพ้อต้องรักษาเหตุทางกายพื้นเดิม ในผู้ป่วยบางคน ใช้การรักษาชั่วคราวหรือประทังหรือตามอาการเพื่อประโลมผู้ป่วยหรือให้จัดการผู้ป่วยได้ดีขึ้น (ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจพยายามดึงท่อช่วยหายใจซึ่งจำเป็นต่อการรอดชีวิต) อาการเพ้ออาจเป็นความผิดปกติเฉียบพลันที่พบมากที่สุดในผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลทั่วไป โดยพบใน 10-20% ของผู้ใหญ่นอนโรงพยาบาลทั้งหมด และ 30-40% ของผู้ป่วยสูงอายุที่นอนโรงพยาบาลและมากถึง 80% ของผู้ป่วยหน่วยอภิบาล ในผู้ป่วยหน่วยอภิบาลหรือในผู้ป่วยอื่นที่ต้องดูแลวิกฤต อาากรเพ้อมิใช่เพียงความผิดปกติของสมองเฉียบพลันแต่ที่จริงเป็นการเพิ่มโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากใน 12 เดือนให้หลังการจำหน่ายผู้ป่วยหน่วยอภิบาลออกจากโรงพยาบาล.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: กลุ่มอาการภาวะสมองเสื่อมสภาวะตื่นตัวหน่วยอภิบาลความซึมเศร้าประสบการณ์ผิดธรรมดาโรคโรคจิตเภทโอปิออยด์

  2. กลุ่มอาการทางจิตเวช
  3. ความผิดปกติในการรู้
  4. เวชบำบัดวิกฤต

กลุ่มอาการ

กลุ่มอาการ (syndrome) คือชุดความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดงหลายๆ อย่าง ซึ่งพบร่วมกัน และสามารถอธิบายกลไกซึ่งเป็นสาเหตุได้ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะใบหน้าเฉพาะ มีความบกพร่องของพัฒนาการ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีหัวใจผิดปกติ และมีกลไกซึ่งเป็นสาเหตุคือการมีแฝดสามของโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น กลุ่มอาการหลายอย่างตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ หรืออาจตั้งชื่อตามที่มาอื่นๆ เช่น สถานที่ ประวัติศาสตร์ ตำนาน หรือไม่ใช้ชื่อเฉพาะแต่ตั้งตามลักษณะเฉพาะของกลุ่มอาการนั้นๆ ก็ได้.

ดู อาการเพ้อและกลุ่มอาการ

ภาวะสมองเสื่อม

วะสมองเสื่อม หรือ โรคสมองเสื่อม (มาจากภาษาละติน de- "ออกไป" และ mens มาจาก mentis "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือโรคที่เกิดในสมองซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความผิดปกติในพัฒนาการ (developmental disorders) ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความจำ, ความใส่ใจ, ภาษา, และการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร) กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับสมุฏฐานโรค (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, ดีซ่าน, หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่มอาการเพ้อ (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก อาการป่วยทางจิต (mental illness) บางชนิด เช่น ภาวะซึมเศร้า (depression) และโรคจิต (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ.

ดู อาการเพ้อและภาวะสมองเสื่อม

สภาวะตื่นตัว

ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.

ดู อาการเพ้อและสภาวะตื่นตัว

หน่วยอภิบาล

หน่วยอภิบาล (ไอซียู) หน่วยอภิบาล (intensive-care unit) หรือที่รู้จักกันว่า ไอซียู (ICU) เป็นหน่วยเฉพาะทางในโรงพยาบาลซึ่งให้บริการเวชบำบัดวิกฤตหรือดูแลผู้ป่วยวิกฤต ในโรงพยาบาลบางแห่งได้แยกหน่วยอภิบาลที่จำเพาะกับสาขาเฉพาะทางต่างๆ เช่น หน่วยอภิบาลกุมารเวชศาสตร์ หน่วยอภิบาลทารกแรกเกิด หน่วยอภิบาลศัลยศาสตร์ หน่วยอภิบาลอายุรศาสตร์ หน่วยอภิบาลโรคหัวใจ เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในหน่วยอภิบาล อาทิ เครื่องช่วยหายใจ (mechanical ventilator) เครื่องเฝ้าระวังเกี่ยวกับหัวใจ ได้แก่ เครื่องวัดความดัน อัตราการเต้นหัวใจ ตัวคุมจังหวะหัวใจนอกร่างกาย และเครื่องกระตุ้นหัวใจ อุปกรณ์สำหรับการล้างไต เครื่องตรวจวัดการทำหน้าที่ของร่างกาย อุปกรณ์สำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สายให้อาหาร เครื่องดูดเสมหะ สายระบายและหลอดสวน รวมทั้งยา หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต.

ดู อาการเพ้อและหน่วยอภิบาล

ความซึมเศร้า

วามซึมเศร้า (depression) อาจหมายถึง.

ดู อาการเพ้อและความซึมเศร้า

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี..

ดู อาการเพ้อและประสบการณ์ผิดธรรมดา

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ดู อาการเพ้อและโรค

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ดู อาการเพ้อและโรคจิตเภท

โอปิออยด์

อปิออยด์ (opioid) เป็นสารที่เชื่อมกับโอปิออยด์ รีเซพเตอร์ (opioid receptor) พบในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) และ ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) โอปิออยด์มี 4 กลุ่มคือ.

ดู อาการเพ้อและโอปิออยด์

ดูเพิ่มเติม

กลุ่มอาการทางจิตเวช

ความผิดปกติในการรู้

เวชบำบัดวิกฤต

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Delirium