โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความซึมเศร้า

ดัชนี ความซึมเศร้า

วามซึมเศร้า (depression) อาจหมายถึง.

9 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมการวินิจฉัยทางการแพทย์อารมณ์ความรู้สึกความผิดปกติทางอารมณ์ความคิดความซึมเศร้า (อารมณ์)โรคอารมณ์สองขั้วโรคซึมเศร้า

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัยทางการแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์เป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุซึ่งเป็นโรคหรือความผิดปกติ รวมถึงความเห็นอันได้มาจากกระบวนการนั้น เกณฑ์การวินิจฉัยหมายถึงผลรวมระหว่างอาการ อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและการวินิจฉัยทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความรู้สึก

วามรู้สึกนั้นถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ ทั้งระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ผ่านอย่างน้อย 30 ประสาทเคมี ซึ่งทำปฏิกิริยาเดี่ยวหรือร่วมกันอย่างซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่นความรู้สึกกลัว แปลอย่างกว้างๆ ความกลัวเป็นการคาดการณ์ถึงอันตรายหรือความเจ็บปวด ความกลัวเพิ่มสารเคมีในสมองเช่น adrenalin และ cortisol ความกลัวนั้นมีประโยชน์ เพราะมันเกิดจากสิ่งรอบกายซึ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่ออันตรายหรือ การประเชิญกับอันตรายโดยตรง ถึงกระนั้นก็ดี บางครั้งในสถานการณ์ที่ไม่มีภัย ความนึกคิด จิตใต้สำนึก และ จินตนาการณ์ ก็สามารถก็ให้เกิดความกลัวได้ การหยั่งรู้ถึงสิ่งรอบกายนั้นไม่จำเป็นว่าผู้เห็นต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ในวิธีที่ผู้เห็นจัดการกับสถานการณ์ การเกี่ยวเนื่องของสถานการณ์กันอดีตของผู้เห็น และ อีกหลากหลายปัจจัย ความคิดและความรู้สึกนั้น ส่วนใหญ่จะมาด้วยกัน ความคิดเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลของของบางอย่าง ในระหว่างที่ความรู้สึกเป็นการวิเคราะห์ความแตกต่างของของจากภายใน เมื่อความคิดเชื่อมโยงถึงสาเหตุของความแตกต่างของของบางอย่าง ความหยั่งรู้จึงเชื่อมกับลักษณะชึ่งถูกเลือกโดยประสบการณ์ในอดีต สิ่งนี้เรียกว่าอารมณ.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางอารมณ์

วามผิดปกติทางอารมณ์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorder) เป็นกลุ่มโรคในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่ปัญหาทางอารมณ์ (mood) สันนิษฐานว่าเป็นอาการหลักของโรค ส่วนในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) เป็นกลุ่มที่เรียกว่า mood (affective) disorders ซึ่งแปลได้อย่างเดียวกัน จิตแพทย์ชาวอังกฤษเสนอหมวดโรคที่ครอบคลุมเรียกว่า affective disorder ในปี..

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความคิด

ทั่วไป ความคิด หมายถึง กิจกรรมทางจิตใจหรือทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกเฉพาะคน ความคิดยังอาจหมายถึงกระบวนการคิดหรือลำดับแง่คิด ในทำนองเดียวกัน กรอบความคิด หมายรวมถึง กระบวนการการรับรู้ การรับรู้ความรู้สึก ความมีจิตสำนึก และจินตนาการ การทำความเข้าใจถึงจุดกำเนิดที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม กระบวนวิธี และผล ยังคงเป็นเป้าหมายที่นักวิชาการจำนวนมาก เช่น นักชีววิทยา นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักสังคมวิทยา ตั้งไว้ เนื่องมาจากความคิดนั้นเป็นหลักพื้นฐานรองรับการกระทำและปฏิกิริยาของมนุษย์ การคิดทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจโลกหรือออกแบบชีวิตได้แตกต่างกัน ทั้งยังทำให้นำเสนอหรือแปลความหมายสิ่งต่าง ๆ ไปตามความหมายที่เขาเข้าใจ หรือเชื่อมโยงไปถึงความต้องการ ความปรารถนา ข้อผูกมัด วัตถุประสงค์ แผน และเป้าหมายของเขาได้.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและความคิด · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า (อารมณ์)

วามซึมเศร้า หรือ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) เป็นสภาวะอารมณ์หดหู่และไม่ชอบทำอะไร ๆ ที่อาจมีผลต่อความคิด พฤติกรรม ความรู้สึก และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคล คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ อับอาย หรือกระวนกระวาย อาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย การนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย อารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะอาการทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) แต่ก็อาจะเป็นปฏิกิริยาปกติต่อเหตุการณ์ในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ถ้าไม่คงยืนเป็นระยะยาว และอาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกาย หรือเป็นผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางแพทย์บางอย่าง ''Melencolia I'' (ราว พ.ศ. 2057), โดยจิตรกรชาวเยอรมัน อัลเบรชท์ ดือเรอร.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและความซึมเศร้า (อารมณ์) · ดูเพิ่มเติม »

โรคอารมณ์สองขั้ว

รคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) เดิมเรียก ความเจ็บป่วยฟุ้งพล่าน-ซึมเศร้า (manic-depressive illness) เป็นโรคจิตซึ่งมีลักษณะ คือ มีช่วงที่ครึ้มใจและช่วงที่ซึมเศร้า อารมณ์ครึ้มใจมีความสำคัญและเรียก อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือภาวะไฮโปเมเนีย (hypomania) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือมีโรคจิตหรือไม่ ระหว่างภาวะฟุ้งพล่าน ปัจเจกบุคคลรู้สึกหรือแสดงออกว่ามีความสุข มีกำลังหรือหงุดหงิดผิดปกติ มักตัดสินใจไม่ดีโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ ความต้องการนอนหลับมักลดลง ระหว่างช่วงซึมเศร้า อาจมีการร้องไห้ เลี่ยงการสบตากับผู้อื่นและมองชีวิตในแง่ลบ ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคนี้สูงที่กว่า 6% ในเวลา 20 ปี ขณะที่การทำร้ายตัวเองเกิด 30–40% โรคนี้ปกติสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอื่น เช่น โรควิตกกังวลและโรคการใช้สารเสพต.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและโรคอารมณ์สองขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: ความซึมเศร้าและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Depressionภาวะซึมเศร้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »